ที่มา thaifreenews
เมื่อวันที่ 19 ต.ค.2555 นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส. เพื่อไทย ได้ตั้งกระทู้ถามว่า จากกรณีที่เกิด “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ในปี 2540
นาย
กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ได้ตอบกระทู้ถาม เรื่อง
ความเสียหายของประเทศจากกรณีองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
(ปรส.)ผ่านราชกิจจานุเบกษา โดยนายกิตติรัตน์ ชี้แจงว่า
กระทรวงการคลังรายงานว่า
คณะรัฐมนตรีได้มีมติยุบเลิกองค์การเพื่อการปฏิรูป ระบบสถาบันการเงิน (ปรส.)
เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๔๕ และแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ชำระบัญชี
เพื่อชำระบัญชีองค์การในวันเดียวกัน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๔๑ - ๔๓
ของพระราชกำหนดการปฎิรูป ระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๔๐
กระทรวง
การคลังได้ให้ความช่วยเหลือแก่กองทุนฯ ไปแล้ว จำนวน ๑.๓๐๕ ล้านล้านบาท
โดยได้มี การชำระคืนต้นเงินกู้แล้ว ๑๖๓,๒๒๖ ล้านบาท
จึงคงเหลือยอดหนี้คงค้าง ๑.๑๔ ล้านล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน
๒๕๕๔)
ปัจจุบัน
ได้มีการออกพระราชกำหนด
ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุน
เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบ สถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งมีสาระสำคัญคือ
เพิ่มแหล่งเงินสำหรับใช้ชำระคืนต้นเงินกู้ที่ยังคงค้างอยู่ ๑.๑๔
ล้านล้านบาท รวมทั้งดอกเบี้ย
(เดิมกำหนดให้ชำระต้นเงินกู้จากเงินกำไรสุทธิที่ธนาคาร
แห่ง ประเทศไทยนำส่งเป็นรายได้ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยในแต่ละปี จำนวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๙๐ และสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีตามกฎหมายว่าด้วยเงินตราหลัง จาก หักค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎหมายดังกล่าวแล้ว) โดยกำหนดให้
แห่ง ประเทศไทยนำส่งเป็นรายได้ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยในแต่ละปี จำนวนไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๙๐ และสินทรัพย์คงเหลือในบัญชีผลประโยชน์ประจำปีตามกฎหมายว่าด้วยเงินตราหลัง จาก หักค่าใช้จ่ายตามที่กำหนดในกฎหมายดังกล่าวแล้ว) โดยกำหนดให้
(๑) กองทุน ฯ มีหน้าที่และรับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนฯและ
(๒)
ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจเรียกให้สถาบันการเงินนำส่งเงินในอัตราที่รวม
กับอัตราที่ สถาบันการเงินต้องนำส่งให้สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
(ปัจจุบันนำส่งร้อยละ ๐.๔๐ ของยอดเงินฝาก
ถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝาก) แล้วไม่เกินร้อยละ ๑ ต่อปี
ทั้งนี้
เพื่อประโยชน์ในการชำระคืนต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ยเงินกู้ให้พอเพียงธนาคาร
แห่งประเทศไทยอาจเรียกให้สถาบันการเงินนำส่ง
เงินเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดข้างต้นก็ได้
แต่เมื่อรวมกับเงินที่นำส่งตามที่กำหนดข้างต้นแล้วต้องไม่เกินร้อยละ ๑
ของยอดเงินที่สถาบันการเงินได้รับจากประชาชน