นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช กล่าววันนี้ (16 เม.ย.) ถึงประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหากเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่การดำเนินการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว เนื่องจากเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีอคติต่อฝ่ายการเมือง เป็นเหตุให้ควรมีการแก้ไข อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธที่จะวิจารณ์รายละเอียดว่าควรจะแก้ไขในประเด็นใด โดยเฉพาะมาตรา 237 และ มาตรา 309 เชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหาความวุ่นวาย หากทุกฝ่ายมีความบริสุทธิ์ ใจ แต่ไม่เห็นด้วยหากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะหยิบยกประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาใช้ในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล
นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช กล่าววันนี้ (16 เม.ย.) ถึงประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญหากเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน ไม่ใช่การดำเนินการเพื่อประโยชน์ส่วนตัว เนื่องจากเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีอคติต่อฝ่ายการเมือง เป็นเหตุให้ควรมีการแก้ไข อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธที่จะวิจารณ์รายละเอียดว่าควรจะแก้ไขในประเด็นใด โดยเฉพาะมาตรา 237 และ มาตรา 309 เชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหาความวุ่นวาย หากทุกฝ่ายมีความบริสุทธิ์ ใจ แต่ไม่เห็นด้วยหากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จะหยิบยกประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาใช้ในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล
หัวหน้าพรรคประชาราช กล่าวด้วยว่า ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในรัฐบาลหันหน้าเข้าหากันเพื่อแก้ไขปัญหาบ้านเมือง หลังมีปัญหาความแตกแยก อย่างไรก็ตามเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นต้องปรับ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในขณะนี้
ด้าน นางสิริพรรณ นกสวน อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องไม่สร้างเงื่อนไขให้เกิดความรุนแรง และต้องไม่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ขณะเดียวกัน ควรแก้ไขทั้งฉบับผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมภาคประชาชน ด้วยการตั้ง สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มีตัวแทนจากทุกภาคส่วนมาแก้ไข เพราะการตั้ง ส.ส.ร.จะช่วยลดความกดดันของสังคม เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
นางสิริพรรณ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวเห็นว่าควรแก้มาตรา 291 ที่เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญควบคู่ด้วย เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้ยากขึ้น เพราะเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และในประเทศที่พัฒนาแล้ว การแก้ไขต้องใช้เสียงที่เป็นฉันทามติสูงสุด ขณะเดียวกันเชื่อว่าหากรัฐบาลจะแก้ไขเฉพาะมาตรา 237 และ 309 โดยผ่านกระบวนการของ ส.ส. และ ส.ว. เท่านั้น จะทำให้ถูกมองว่าการแก้ไขเป็นไปอย่างไม่ชอบธรรม รัฐบาลไม่ควรดึงดันโดยอ้างเสียงข้างมากเป็นตัววัด
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต่อถึงการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า หากทำประชามติเช่นที่ผ่านมาจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง จึงไม่ควรดำเนินการ แต่ควรส่งเสริมให้มีการทำประชาพิจารณ์ ให้ประชาชน มีความเข้าใจกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญอย่างเข้มข้นจะทำให้เกิดประโยชน์มากกว่า เห็นว่า การแก้ไขควรให้ระยะเวลา ไม่ควรเอาเงื่อนไขการยุบพรรคหรือสถานการณ์ทางการเมืองมาเป็นตัวบีบบังคับให้ต้องเร่งดำเนินการ และเห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 237 ที่พรรคไม่ควรร่วมรับผิดชอบกับการกระทำของกรรมการบริหารพรรค เพียงคนเดียว เพราะเป็นการตัดสิทธิขั้นพื้นฐาน ทำให้กลไกทางการเมืองและเสถียรภาพทางการเมือง ลดลง ขณะเดียวกัน หากมีการแก้ไข มาตรา 309 ก็จะทำให้ถูกมองว่าเป็นการทำลายกระบวนการตรวจสอบการทุจริตที่เป็นสาเหตุของการทำรัฐประหาร และจะนำมาสู่ความขัดแย้งในสังคมอีกครั้ง