WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, October 25, 2010

ลาภมิควรได้ หรือ ลาภลอย กรณีคืนเงิน 823 ล้านคดีที่ดินรัชดา

ที่มา มติชน



โดย สุษม ศุภนิตย์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีที่กองทุนฟื้นฟูฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจด ทะเบียนนิติกรรมการโอนที่ดิน ถนนรัชดาภิเษกให้คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ อดีตภรรยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพราะนิติกรรมเป็นโมฆะ


ปรากฏ ว่า มีความเห็นที่แตกต่างหลายแนวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย 7.5% รวมเป็นเงินจำนวน 823 ล้านบาทเศษเพราะเป็นลาภมิควรได้


นักกฎหมายบางท่านเห็นว่า กรณีนี้เป็นเรื่องนิติกรรมเป็นโมฆะเพราะผิดกฎหมายตาม มาตรา 411ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีผลทำให้ไม่สามารถเรียกคืนเงินที่ชำระโดยผิดกฎหมายได้อันเป็นข้อยกเว้นหลัก ลาภมิควรได้


นักกฎหมายอาญาเห็นว่า กรณีเป็นความผิดตามกฎหมายที่มีโทษทางอาญาเงินที่จ่ายเป็นค่าที่ดินเป็น ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด ต้องถูกยึดเป็นของแผ่นดินตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

แต่เหตุผลในคำพิพากษาของศาลแพ่งมิได้อาศัยหลักกฎหมายดังกล่าว

น่า สังเกตว่า หลักกฎหมายลาภมิควรได้ที่ปรับใช้ในคดีนี้มิได้สอดรับกับผลของคดีหลักตามคำ พิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อันเป็นต้นเหตุของการฟ้องคดีเพิกถอนนิติกรรมในคดีนี้


แม้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเห็นว่า คุณหญิงพจมานมิได้มีความผิดและในคดีนี้ทั้งโจทก์และจำเลยต่างสุจริต


แต่ปัญหาน่าคิดอยู่ที่ว่า ถ้านิติกรรมซื้อขายที่ดินต้องห้ามตามกฎหมายที่ประสงค์จะควบคุมผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมือง(พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต พ.ศ.2542) จนเป็นเหตุให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ต้องโทษจำคุก 2ปี การปรับหลักกฎหมายในคดีของศาลแพ่งควรถือเอาข้อเท็จจริงในคดีแรกเป็นสำคัญ ซึ่งผลควรเป็นว่า


1.นิติกรรม การซื้อขายที่ดินเป็นโมฆะไม่มีผล ผูกพันในทางกฎมายถือว่า มิได้เกิดขึ้น มิใช่ถือว่า ให้กลับคืนสู่ที่เดิม เพราะในทางกฎหมายไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้นในระหว่างโจทก์และจำเลย


ดัง นั้นเมื่อไม่มีนิติกรรมก็มิใช่กรณีผิดนัด ผิดสัญญาจึงมิใช่การคืนหนี้เงินที่มีดอกเบี้ย7.5% เพราะผิดนัดตามมาตรา 224 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แต่อย่างใด


2. เมื่อนิติกรรมเป็นโมฆะเพราะผิดกฎหมายเข้าลักษณะลาภมิควรได้อันเป็นกฎหมายที่ ใช้ในกรณีที่มีการได้และเสียทรัพย์ไปโดยมิได้รู้ว่าการได้และเสียนั้นไม่อาจ อ้างเอาไว้ได้ตามกฎหมาย


กฎหมายให้ความเป็นธรรมด้วยการคืนสิ่ง ที่ได้มาแก่กันเฉพาะกรณีที่ มิใช่การทำผิดข้อห้ามตามกฎหมายและ พิจารณาความสุจริตของคู่กรณีเป็นสำคัญ หากต่างก็สุจริตให้คืนทรัพย์เท่าที่ยังคงเหลือ ส่วนดอกผลของทรัพย์ที่ได้มาต้องคืนให้เจ้าของทรัพย์เมื่อถูกเรียกคืน


ใน คดีนี้หากโจทก์(กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินผู้ ขายที่ดิน)ไม่อ้างมาตรา 411 ในคำฟ้องและต่างสืบได้ว่า ทั้ง 2 ฝ่ายต่างสุจริต(อันเป็นประเด็นที่น่าคิดอย่างยิ่ง) กรณีก็ไม่ใช่หนี้เงินตามมาตรา224 แต่อย่างใด


ศาลแพ่งเห็นว่า เป็นเรื่องคืนเงินตามมาตรา412 แต่ มิได้ปรับบทมาตรา 415 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเรื่องการคืนดอกผล ในกรณีนี้ดอกผลของเงินคือดอกเบี้ยที่มิใช่ดอกเบี้ย7.5%เพราะผิดนัดแต่อย่าง ใดเพราะมิใช่เรียกให้ใช้ค่าเสียหายเพราะผิดสัญญา


ดัง นั้นที่ถูกก็กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯน่าจะคืนดอกเบี้ยเงินค่าที่ดิน ที่รับไว้ตามอัตราตลาดในขณะที่ถูกเรียกคืนคงมิใช่คิดง่ายๆ คือ7.5%


3. เหตุผลของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯในการยอมคืนเงินแก่คุณหญิงพจมานโดยไม่ อุทธรณ์ตามที่ออกประกาศแถลงให้ทราบ หากพิจารณาด้วยหลักกฎหมายดูเหมือนจะมิได้ใช้กฎหมายเล่มเดียวกันกับที่สอนใน โรงเรียนกฎหมายในเมืองไทย แม้จะมีการอ้างความเห็นของอัยการฝ่ายคดีแพ่งก็ตาม คงไม่มีข้อสันนิษฐานเป็นประการอื่น


นอกจากจะต้องสรุป ว่า อาจถึงเวลาต้องปิดโรงเรียน หรือคณะนิติศาสตร์หรือมิฉะนั้นก็ฉีกตำรากฎหมายทิ้งให้รู้แล้วรู้รอดไป เพราะเราไม่ใช้กฎหมายเป็นหลักในการแก้ปัญหา กลายเป็นว่า หรือนักกฎหมายกลับเป็นปัญหาเสียเอง
--------------------------------------------------
หมายเหตุ

มาตรา 411 บุคคลใดได้กระทำการเพื่อชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือ ศีลธรรมอันดี ท่านว่าบุคคลนั้นหาอาจจะเรียกร้องคืนทรัพย์ได้ไม่

มาตรา 412 ถ้าทรัพย์สินซึ่งได้รับไว้เป็นลาภมิควรได้นั้นเป็นเงินจำนวนหนึ่งท่านว่า ต้องคืนเต็มจำนวนนั้น เว้นแต่เมื่อบุคคลได้รับไว้โดยสุจริต จึงต้องคืนลาภมิควรได้เพียงส่วนที่ยังมีอยู่ในขณะเมื่อเรียกคืน

มาตรา 415 บุคคลผู้ได้รับทรัพย์สินไว้โดยสุจริต ย่อมจะได้ดอกผลอันเกิดแต่ทรัพย์สินนั้นตลอดเวลาที่ยังคงสุจริตอยู่
ถ้าผู้ที่ได้รับไว้จะต้องคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อใด ให้ถือว่าผู้นั้นตกอยู่ในฐานะทุจริตจำเดิมแต่เวลาที่เรียกคืนนั้น