WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, October 24, 2010

ยุคทมิฬ

ที่มา โลกวันนี้



ไม่ได้เหนือความคาดหมาย
ที่ประเทศไทยจะถูกจัดอันดับที่ 153 จากทั้งหมด 178 ประเทศ
ของประเทศที่มีเสรีภาพสื่อมวลชนที่แย่ที่สุดในโลก
จากการจัดอันดับประจำปีขององค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน
(Reporters Without Borders) ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในฝรั่งเศส

โดยกลุ่มชาติที่มีสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนมากที่สุด 20 ประเทศ
ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสหภาพยุโรป 13 ประเทศ จากชาติสมาชิก 27 ประเทศ
โดยเฉพาะฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน
และสวิตเซอร์แลนด์ ติดกลุ่มท็อป 20 มาตลอด
นับตั้งแต่เริ่มจัดทำรายงานเมื่อปี 2545
เพราะสื่อมวลชนได้รับความเคารพสิทธิเสรีภาพมากที่สุด
ทั้งยังได้รับการช่วยเหลือปกป้องจากการถูกดำเนินคดีโดยมิชอบอีกด้วย

ส่วนชาติที่มีการจำกัดและคุกคามสิทธิเสรีภาพ
สื่อมวลชนแย่ที่สุดของโลกคือ
เอริเทรีย อันดับ 178
เกาหลีเหนืออันดับ 177
ซีเรียอันดับ 173
จีนอันดับ 171
เยเมนอันดับ 170
รวันดาอันดับ 169
พม่าอันดับ 168 และ
เวียดนามอันดับ 165
ซึ่งกลุ่มชาติเหล่านี้รัฐบาลปิดกั้นและเซ็นเซอร์
ข่าวสารสื่อมวลชนอย่างเหนียวแน่น
เพราะไม่ต้องการให้ประชาชนรับทราบข้อมูลข่าวสารแตกต่างจากของรัฐบาล

สำหรับประเทศไทยที่ถูกลดลง 23 อันดับ
เพราะเหตุการณ์ “เมษา-พฤษภาอำมหิต”
ที่ทหารใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุม
และทำให้สื่อมวลชนชาวญี่ปุ่นและอิตาลีเสียชีวิต
รวมทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่อีก 89 ศพ นอกจากนี้
รัฐบาลยังใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินปิดสื่อ
ที่เสนอความเห็นและข้อมูลข่าวสารต่างจากรัฐบาล โดยอ้างว่า
บิดเบือนข้อเท็จจริง และปลุกเร้าความรุนแรง
แต่ไม่ปิดสื่อที่มีความเห็นสอดคล้องหรือสนับสนุนรัฐบาล
แม้จะใช้ข้อความที่บิดเบือนข้อเท็จจริงและปลุกเร้าความรุนแรงก็ตาม

เสรีภาพของสื่อไทยจึงนับว่าตกต่ำและเลวร้ายที่สุดยุคหนึ่ง
หลังจากยุคเผด็จการที่มีการปิดสื่อและยึดแท่นพิมพ์
โดยใช้อำนาจกฎหมายพิเศษที่ตราขึ้นมาเอง
แม้ปัจจุบันรัฐบาลจะเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย
แต่ใช้อำนาจไม่ต่างรัฐบาลเผด็จการ โดยมี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
และศูนย์แก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเครื่องมือของรัฐบาล

ขณะที่สื่อกระแสหลักและองค์กรสื่อเอง
ก็ไม่ได้ออกมาต่อสู้การคุมคามของรัฐบาล
แต่กลับเซ็นเซอร์ตัวเองด้วยความกลัว
ซึ่งเท่ากับสื่อกระแสหลักและองค์กรสื่อยอมรับอำนาจเผด็จการ
และร่วมกันทำลายสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ที่จะได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงและรอบด้านด้วย

จึงไม่แปลกที่จะเห็นสื่อกระแสหลักและองค์กรสื่อ
สนับสนุนรัฐบาลในการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินต่อไป
รวมทั้งเพิกเฉยกับการค้นหาความจริงในเหตุการณ์
“เมษา-พฤษภาอำมหิต” ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 91 ศพ
และบาดเจ็บพิการเกือบ 2,000 คน ทั้งนี้
จึงต้องปฏิรูปสื่อไปพร้อมๆกับการปฏิรูปประเทศภายใต้อำนาจของประชาชน
ไม่ใช่อุปโลกน์โดยอำนาจรัฐ