WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, October 30, 2010

ยุบศาล รธน. เกาไม่ถูกที่คัน

ที่มา มติชน



โดยประสงค์ วิสุทธิ์

เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์"มติชน"ว่า ได้ยินข่าวว่า มีข่าวพูดกันมากในฝ่ายการเมืองที่ต้องการแก้ไขในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญโดยจะ ให้ยุบองค์กรนี้และให้งานเกี่ยวกับการวินิจฉัยคดีรัฐธรรมนูญไปอยู่ที่ศาล ฎีกาหรือศาลปกครอง


เหตุผลที่กล่าวอ้างว่า เป็นที่มาของข่าวดังกล่าวคือ เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของศาลรัฐธรรมนูญถูกย่ำยี โดยมีการให้ข่าวเชิงทำลายความน่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญมากขึ้นเรื่อยๆ


ณ ที่นี้คงไม่มาถกเถียงกันว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ดีหรือไม่ดีในการยุบศาลรัฐธรรมนูญเพราะนอกจากต้องถกเถียงกันทางด้านวิชาการ ในประเด็นต่างๆ มากมายแล้ว ต้องดูโครงสร้างของสถาบันการเมืองทั้งระบบด้วย มิเช่นนั้นแล้วการตั้งโน่น ยุบนี่ก็เหมือนเอารัฐธรรมนูญมาปะผุอย่างเช่นที่กำลังทำอยู่ทุกวันนี้หรือการ ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550


แต่ประด็นที่ต้องการนำเสนอคือ มิใช่ศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้นที่มีปัญหา องค์กรตามรัฐธรรมนูญสำคัญๆ อาทิ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ฯลฯ ล้วนมีปัญหามากมาย ถ้าไม่เร่งแก้ไขหรือปฏิรูปครั้งใหญ่อาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชนและความน่า เชื่อถืออย่างรุนแรงเช่นกัน (องค์กรตามรัฐธรรมนูญบางแห่งแทบไม่มีความน่าเชื่อถือหลงเหลืออยู่อีกแล้ว?)


ปัญหาในองค์กรเหล่านี้มีอยู่ด้วยกัน 2 ด้านหลักซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก


ด้านแรก คุณภาพหรือมาตรฐานในการวินิจฉัยชี้ขาดคดี ต้องยอมรับว่า กกต. และ ป.ป.ช.ถูกตั้งคำถามในเรื่องนี้ค่อนข้างมากกว่าศาลยุติธรรมและศาลปกครอง อย่างไรก็ตามปัญหานี้ผูกพันอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคมอย่าง รวดเร็วด้วย


ด้านที่สอง คุณภาพของบุคคลากรและการบริหารจัดการ ปัญหานี้องค์กรเก่าแก่กว่า 100 ปี อย่างศาลยุติธรรม แม้จะมีความพยายามในการปรับปรุงการบริหาร แต่ปัญหาหนักที่ทับถมศาลยุติธรรมคือ ปริมาณคดีค้างการพิจารณาเป็นจำนวนมาก


ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2553 คดีค้างในศาลทุกชั้น(ชั้นต้น-อุทธรณ์-ฎีกา)รวมแล้ว 265,058 คดี จริงอยู่ในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ อัตราเร่งในการพิจารณาค่อนข้างเร็ว แต่คดีที่รับใหม่ก็มีปริมาณสูง เช่น เพียง 8 เดือนของปีนี้มีคดีรับใหม่ในศาลชั้นต้นกว่า 700,000 คดี


ขณะ ที่ปัญหาหนักตกอยู่ที่ศาลฎีกาที่มีผู้ พิพากษาเพียง 100 คนเศษ แต่มีคดีค้างอยู่กว่า 37,000 คดีและมีปริมาณคดีรับใหม่ในอัตราสูง โดยไม่มีใครรู้ว่า คดีที่ค้างอยู่นานเกินกว่า 10 ปีมีจำนวนเท่าใดเพราะเป็นข้อมูลที่ไม่อาจตรวจสอบได้


อย่าลืมว่า ยิ่งคดีพิจารณาล่าช้าเท่าใด ยิ่งไม่ยุติธรรมกับประชาชนมากเท่านั้น

ขณะ ที่องค์กรอื่น แม้ตั้งขึ้นใหม่ แต่ก็มีปัญหาในด้านการบริหารจัดการอย่างหนักหน่วงไม่แพ้กัน เพราะเป็นการรวมคนมาจากร้อยพ่อพันแม่ ต่างวัฒนธรรมความคิดมาอยู่รวมกัน ทำให้หลายแห่งมีการช่วงชิงอำนาจ ไม่มีความผูกพันกับองค์กร ไร้กฎระเบียบที่ชัดเจน ทำให้เกิดการเล่นพรรคเล่นพวก ฯลฯ


อาทิ สำนักงานศาลปกครองไม่มีการกำหนดขอบเขตงานและอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจนของที่ปรึกษา แต่ใช้วิธีการง่ายๆคือ แต่ง ตั้งตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่เกษียณอายุเป็นที่ปรึกษาทั้งหมด ทำให้มีที่ปรึกษาถึง9-10คน ทำให้ต้องจ่ายเงินค่าตอบแทนรายละ 60,000 บาท/เดือน รวมเดือนละ 600,000 บาท ปีละ 7,200,000 บาท(ยังไม่รวมค่าปรับปรุงห้องทำงานใหม่ให้พอกับจำนวนที่ปรึกษาที่เพิ่มขึ้นอีก) ขณะที่ตุลการศาลปกครองสูงสุดมีเพียง 17 คนเท่านั้น


คำถามคือ ถ้ามีตุลาการศาลปกครองสูงสุดเกษียณอายุอีกจะตั้งเป็นที่ปรึกษาไปเรื่อยๆเช่นที่ผ่านมาหรือไม่ และมีจำนวนเท่าใดจึงจะเพียงพอ


ศาล รัฐธรรมนูญก็มีปัญหาเช่นเดียวกันองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆและดู เหมือนว่าจะหนักหน่วงกว่าด้วยซ้ำโดยเฉพาะเรื่องมาตรฐานคำวินิจฉัยที่ผ่าน มา(ไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญชุดไหนก็ตาม)และปัญหาบริหารจัดการโดยเฉพาะคนสนิทของ ประธานศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากคนในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเอง ว่า แอบอิงอำนาจ"นาย"ในการแสวงหาผลประโยชน์ในรูปต่างๆ โดยผู้มีอำนาจทำตัวเป็น"จ่าเฉย"จนปัญหาบานปลายกลายเป็นคลิปฉาว


จริง อยู่ การโจมตีศาลรัฐธรรมนูญของพรรคฝ่ายค้านอาจมีเป้าหมายในทางการเมืองในเรื่อวง คดียุบพรรค แต่สิ่งสกปรกที่เกิดขึ้นในสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องมีการปัดกวาดเช็ดถู เช่นเดียวกัน