ที่มา Thai E-News
โดย โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
ที่มา เว็บไซต์โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม
เมื่อ ไม่นานมานี้ นิตยสาร Foreign Policy ได้นำเสนอเรื่องราวในทางลบเกี่ยวกับอดีตนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย ทักษิณ ชินวัตร (อดีตผู้นำยอดแย่: 1 ตุลาคม 2553) ในฐานะที่ปรึกษาทางกฎหมายของอดีตนายกรัฐมนตรี ผมขอให้ผู้อ่านพิจารณาอย่างรอบคอบว่า เหตุใดทักษิณยังคงได้รับความนิยมจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในประเทศไทยอยู่
ผม รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เป็นตัวแทนของอดีตผู้นำเพียงบุคคลเดียวใน ประวัติศาสตร์ไทย ตั้งแต่มีการเปลี่ยนการปกครองในปี 2475 ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนครบวาระ 4ปี (2544-2548) นายกรัฐมนตรีทักษิณและพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้ง โดยเป็นพรรคเดียวที่ได้รับเสียงส่วนมากในสภา จากคะแนนเสียงของประชาชนที่ทักษิณรับใช้อย่างท่วมท้น พรรคไทยรักไทยครองที่นั่งในสภาถึง 75เปอร์เซ็นต์ และในเดือนกันยายน ปี 2549
นาย Joel Schectman ได้เขียนบทความใน Newsweek เดือนพฤษภาคม ปี 2553 ว่า แม้ทักษิณจะมีข้อตำหนิแต่ “ทักษิณแสดงให้เห็นถึง “จุดสูงสุด” ของระบอบประชาธิปไตยและรัฐบาลที่มีความรับผิดชอบในประเทศไทย และความสำเร็จที่สำคัญในการบริหารงานคือ การพัฒนาชนบทและสวัสดิการรักษาพยาบาล ผู้เขียนยังกล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2544 ไปจนถึงปี 2549 ทักษิณได้เปิดโอกาสให้คนส่วนใหญ่เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งทำให้ระบอบประชาธิปไตยในประเทศมีประสิทธิภาพ”
เหมือนกับผู้นำ ทั่วไป ทักษิณมีผู้ที่ไม่เห็นด้วยและมีคนวิพากษ์วิจารณ์ แต่ต่างจากฝ่ายตรงข้ามในประเทศทั่วไป ตรงที่ฝ่ายตรงข้ามทักษิณพยายามที่จะหยิบคดีที่ไม่มีมูลมาฟ้องร้องกล่าวหา ทักษิณ ข้อกล่าวหาเดียวที่มีคือ ภรรยาของทักษิณเข้าร่วมประมูลที่ดินสาธารณะ แม้ว่าการซื้อขายที่ดินนั้นจะเป็นราคาที่เหมาะสม แต่ทักษิณถูกตัดสินว่ามีความผิดในกรณีของ “ผลประโยชน์ทับซ้อน” เนื่องจากภรรยาของทักษิณไม่ควรที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมประมูลที่ดินใน ขณะที่สามีดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การตัดสินคดีดังกล่าว ไม่ได้ถูกตัดสินโดยศาลที่มีความเป็นอิสระ แต่ถูกตัดสินโดยกลุ่มคนที่ถูกแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร
การกล่าวหา อย่างผิดๆ ถือเป็นกลยุทธ์ของรัฐบาลชุดนี้ เพราะทักษิณไม่ใช่บุคคลเดียวที่ตกเป็นเป้าหมาย แต่ยังมีคนเสื้อแดงอีกนับร้อยที่ถูกคุมขังด้วยข้อกล่าวหาที่น่าสงสัย นอกจากนี้เวปไซต์อีกกว่า 100,000 เวปไซต์ที่ต่อต้านรัฐบาลยังถูกสั่งปิด ในขณะที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พระราชบัญญัติความมั่นคงภายใน รวมถึงพระราชกำหนดบริหารราชการแผ่นดินในกรณีฉุกเฉินที่ยืดเยื้อยังได้ทำให้ ประเทศไทยกลายเป็นรัฐโอเวลเลี่ยน (รัฐที่ประชาชนถูกควบคุมอย่างมาก)อีกด้วย เมื่อไม่นานมานี้ ฝ่ายตรงข้ามทักษิณได้สังหารหมู่ผู้ชุมนุมโดยสงบอีกกว่า 80ราย และประชาชนที่มุงดูเหตุการณ์ รวมถึงนักข่าว โดยการใช้มือปืนซุ่มอยู่บนดาดฟ้ายิงประชาชนอย่างไม่เลือกและเกินกว่าเหตุ ตั้งแต่การทำรัฐประหาร เสรีภาพทางการพูด สิทธิพลเรือน และสิทธิมนุษยชน ในประเทศไทยได้เสื่อมโทรมลงอย่างมาก อาทิเช่น จากการจัดลำดับของการคอร์รัปชั่นในประเทศไทยขององค์กร Transparency International ระหว่างปี 2549 ถึง 2552 ปรากฏว่าประเทศไทยตกลงไปอยู่ในอันดับที่ 59 จาก 84 และเมื่อวานนี้ กลุ่มนักข่าวไร้พรมแดนได้จัดอันดับให้ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 153 จากการจัดลำดับ “เสรีภาพของสื่อในโลก” โดยก่อนหน้ารัฐประหาร ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 66 แม้จะทราบข้อเท็จจริงที่ว่าประเทศไทยมีรากฐานของอำนาจนิยม แต่สื่อต่างชาติบางสำนักยังคงเชื่อว่า ในสมัยทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรีและประเทศไทยมีความเป็นประชาธิปไตยนั้นแย่กว่า ในสมัยปัจจุบันมาก
เมื่อพิจารณาถึงวิกฤตการณ์การเมืองไทยและบทบาท ของ ทักษิณแล้ว ผู้อ่านของ Foreign Policy ควรจะต้องจะต้องมองไปไกลกว่าภาพโปสเตอร์แหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทย และจะต้องคำถามว่า เหตุใดรัฐบาลไทยยังคงกลัวเสรีภาพแห่งการพูด และคัดค้านการเลือกตั้งที่แท้จริง