WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, May 26, 2012

แอมเนสตี้ฯ เปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลก

ที่มา Thai E-News


25 พฤษภาคม 2555
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์


 ที่มา ประชาไท

วันนี้เวลา 9.30 น. แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทยได้จัดแถลงข่าวเปิดตัวรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลก ประจำปี 2555 ของ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ณ โรงแรมรอยัล เบญจา ซึ่งงานดังกล่าวจะจัดขึ้นพร้อมกันทั่วโลก รายงานฉบับนี้ได้รวบรวมสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนตลอดปี 2554 โดยให้ทั้งภาพรวมของห้าภูมิภาคและข้อมูลของแต่ละประเทศจากทั้งหมด 155 ประเทศและดินแดน รายงานชี้ให้เห็นว่าการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนยังดำเนินต่อไปอย่างเข้มแข็งใน ทุกมุมโลก  สำหรับประเทศไทยมีหลายประเด็นที่น่าห่วงใยเช่น การขัดแย้งกันด้วยอาวุธภายในประเทศ การลอยนวลพ้นผิด เสรีภาพในการแสดงออก  ผู้ลี้ภัยและผู้อพยพเข้าเมือง และโทษประหารชีวิต

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (สากล) ซึ่งได้ดำเนินการให้การศึกษา สร้างความเข้าใจ และรณรงค์ในประเด็นสิทธิมนุษยชนมาอย่างยาวนาน ได้ส่งจดหมายถึงรัฐบาลไทยเรียกร้องให้รัฐให้ความสำคัญในการเคารพสิทธิมนุษย ชนและเห็นคุณค่าของทุกชีวิตอย่างเท่าเทียมกัน  โดยแนะรัฐบาลไทยควรพิจารณาและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลดังนี้
  

กฎหมายด้านความมั่นคงในประเทศ

  •  ปฏิรูปหรือยกเลิกกฎหมายฉุกเฉินที่ไม่สอดคล้องต่อพันธกรณีของประเทศไทยตาม กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกฎหมายที่จำกัดสิทธิที่จะมีเสรีภาพปลอดพ้นจากการควบคุมตัวโดยพลการ เสรีภาพในการแสดงความเห็น การรวมตัวและการชุมนุมโดยสงบ และเสรีภาพในการเดินทาง
  •   ยุติการจับกุมและควบคุมตัวโดยพลการและประกันว่าผู้ถูกควบคุมตัวทุกคนจะได้ รับการนำตัวเข้าสู่การไต่สวนของคณะตุลาการอย่างเป็นอิสระโดยทันที โดยเป็นองค์คณะที่มีคุณสมบัติในการพิจารณาความชอบด้วยกฎหมายของการควบคุมตัว บุคคล

 กฎหมายจำกัดเสรีภาพในการแสดงความเห็น

  • แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐาน ระหว่างประเทศ โดยให้ยกเลิกข้อบัญญัติที่อนุญาตให้บุคคลใดๆ สามารถฟ้องร้องบุคคลอื่นในข้อหาละเมิดกฎหมายหมิ่นฯ และให้ชะลอการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ระหว่างที่รอการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว
  • ยุติการเซ็นเซอร์เว็บไซต์โดยอ้างว่าเป็นไปเพื่อคุ้มครองกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
  • ให้ยกเลิกข้อกล่าวหาใดๆ ที่มีต่อจีรนุช เปรมชัยพร บรรณาธิการข่าวออนไลน์สำหรับความเห็นที่มีผู้โพสต์ในเว็บบอร์ดที่เธอเป็นผู้ ดูแล และยกเลิกข้อกล่าวหาต่อบุคคลอื่นๆ ทั้งหมดที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาเพียงเพราะต้องการแสดงความเห็นของตนอย่างสงบและ สันติ

 โทษประหาร

  • กำหนดให้มีข้อตกลงยุติการประหารชีวิตโดยทันที โดยมีเจตจำนงที่จะยกเลิกโทษประหารในทางกฎหมายในท้ายที่สุด
  • ให้มีการเปลี่ยนการลงโทษประหารชีวิตมาเป็นการลงโทษด้วยการจำคุกตลอดชีวิต
  •  ให้ประเทศไทยให้สัตยาบันรับรองพิธีสารเลือกรับฉบับที่สองของกติการะหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Second Optional Protocol to the International Covenant on Civil and Political Rights)

 การทรมานและการปฏิบัติอื่นๆ ที่โหดร้าย

  •  กำหนดข้อบัญญัติตามกฎหมายในประเทศให้สอดคล้องกับข้อบัญญัติในอนุสัญญาต่อ ต้านการทรมานขององค์การสหประชาชาติ โดยเฉพาะการกำหนดฐานความผิดด้านการทรมานอย่างชัดเจนตามนิยามที่กำหนดใน อนุสัญญา
  •  ให้สอบสวนรายงานการทรมานและการปฏิบัติอื่นๆ ที่โหดร้ายที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่ทหารและบุคคลอื่นๆ ทั้งนี้เพื่อนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ 

การขัดแย้งกันด้วยอาวุธในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย

  • ดำเนินการสอบสวนโดยทันที อย่างมีประสิทธิภาพ และอย่างไม่ลำเอียงกรณีการสังหารที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทุกกรณี โดยเฉพาะในส่วนที่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงมีส่วนเกี่ยวข้อง และให้นำตัวผู้ถูกกล่าวหาเข้ารับการไต่สวนตามกระบวนการยุติธรรมที่ได้ มาตรฐานสากลของความเป็นธรรม ไม่ให้สั่งลงโทษประหารชีวิต
  • ยุติการสนับสนุนและการให้เงินอุดหนุนการจัดซื้ออาวุธขนาดเล็ก และให้เข้มงวดต่อการบังคับใช้ระเบียบที่เกี่ยวกับการครอบครองอาวุธปืน
  • ให้มีการแก้ไขเนื้อหาของกฎอัยการศึกอย่างกว้างขวาง หรือให้ยกเลิกไป
  • ในการนำมาตรการฉุกเฉินมาใช้นั้น ให้ใช้ตามหลักกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้แก้ไขข้อบัญญัติในพรก.ฉุกเฉินฯ ที่ไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายและมาตรฐานดังกล่าว รวมทั้งการแก้ไขมาตรา 17 ที่มีข้อยกเว้นไม่ให้ฟ้องร้องดำเนินคดีต่อเจ้าพนักงานในสภาพการณ์ทั่วไป
  • ประกันว่าผู้ที่ถูกควบคุมตัวตามสถานที่ต่างๆ และตามค่ายทหารสามารถเข้าถึงทนายความ ญาติพี่น้อง และได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเหมาะสม และมีการอนุญาตให้หน่วยงานสิทธิมนุษยชนที่เป็นอิสระเข้าเยี่ยมสถานควบคุมตัว ทุกแห่ง
  • ให้หาทางสืบหาและแจ้งให้ทราบถึงที่อยู่ของทนายสมชาย นีลไพจิตรและบุคคลอื่นที่ถูกบังคับให้สูญหาย เพื่อประกันว่าจะมีการนำตัวผู้ที่รับผิดชอบต่อการสูญหายมาลงโทษ
  • ให้สัตยาบันรับรองต่ออนุสัญญาสากลว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลสูญหาย (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced Disappearance) และดำเนินการที่จำเป็นเพื่อบังคับใช้อนุสัญญาในระดับประเทศโดยทันทีหลังมี การให้สัตยาบัน

วิกฤตทางการเมือง

  •  ให้ประกันว่าจะมีการสอบสวนข้อร้องเรียนว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้า หน้าที่ฝ่ายความมั่นคง อย่างรอบด้านและอย่างเป็นอิสระ และให้มีการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ และในระหว่างการสอบสวน ให้สั่งพักราชการบุคคลใด ๆ ที่ต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการละเมิดดังกล่าว
  • ให้ประกันว่าผู้เสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนและครอบครัวได้รับการเยียวยาช่วยเหลืออย่างเต็มที่

ผู้ลี้ภัยและผู้เข้าเมือง

  •  ให้เคารพต่อหลักการไม่ส่งกลับ (non-refoulement) และประกันว่าจะไม่มีการขับไล่ ส่งกลับ หรือบังคับให้เดินทางกลับไปยังประเทศหรือดินแดนกรณีที่มีความเสี่ยงว่าต้อง กลับไปเผชิญการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรง โดยเฉพาะในประเทศพม่าหรือลาว
  •  ให้มีการสอบสวนกรณีการบังคับขับไล่ชาวโรฮิงญา และประกันว่ามีการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ และให้มีการดำเนินการที่จำเป็นเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการบังคับขับไล่เช่น นี้อีกในอนาคต
  •  ให้เคารพต่อพันธกรณีที่ต้องอนุญาตให้ผู้แสวงหาที่พักพิงสามารถเข้าถึง กระบวนการแสวงหาที่พักพิงอย่างจริงจัง และให้ได้รับการติดต่อกับ UNHCR และประกันว่าบุคคลที่หลบหนีจากภัยคุกคามจะได้รับการคุ้มครองระหว่างประเทศ
  •  ให้ยุติการควบคุมตัวผู้ลี้ภัยอย่างไม่มีเวลากำหนดและโดยพลการ และยุติการควบคุมตัวผู้ลี้ภัยในสภาพที่แออัดเป็นเวลานาน
  •  ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาว่าด้วยสถานะของผู้ลี้ภัย 1951 และพิธีสาร 1967 (1951 Convention Relating to the Status of Refugees and its 1967 Protocol)
  •  ให้ปฏิบัติตามพันธกรณีที่มีต่อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ เกี่ยวข้องกับคนงานพลัดถิ่น เพื่อประกันว่าคนงานเหล่านี้ได้รับค่าแรงที่เป็นธรรมและได้รับผลตอบแทนที่ เท่าเทียมจากการทำงาน มีสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ มีโอกาสได้พักผ่อน ทำกิจกรรมสันทนาการ และมีการจำกัดชั่วโมงทำงานอย่างชอบด้วยเหตุผล
  •  ให้ยุติการละเมิดใดๆ ที่กระทำต่อคนงานพลัดถิ่น ทั้งการค้ามนุษย์และการรีดไถ