WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, June 24, 2012

รำลึก24 มิถุนา 2475 เปลี่ยนNetwork Monarchy

ที่มา Thai E-News




โดย โครงการประกายแสงดาว



เนื่องในโอกาสรำลึก 24 มิถุนา 2475 การปฏิวัติลดอำนาจของสถาบันกษัตริย์ ที่มีบางด้านบันทึกประวัติศาสตร์ฝ่ายระบบราชการทหารของคณะราษฎรประสบความสำเร็จในการปฏิวัติ เมื่อทหารขณะรอคำสั่งที่ลานพระราชวัง ดุสิต 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 คือ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 (หรือเรียกว่าเป็น รัฐประหาร หรือ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง) เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
ซึ่งมีผลทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา เกิดขึ้นจากคณะนายทหารและพลเรือนที่ประกอบกันขึ้นเป็นพรรคการเมืองพรรคแรกของสยาม ที่เรียกตัวเองว่า "คณะราษฎร" โดยเป็นผลพวงมาจากการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์โลก ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองภายในประเทศ การปฏิวัติดังกล่าวยังทำให้ประชาชนชาวสยามได้รับรัฐธรรมนูญฉบับแรกอีกด้วย
แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจาก2475-หลังพฤษภา2535 เกิดการตีความเหตุการณ์2475 ถึง4 แบบ คือ แบบที่หนึ่ง เชียร์คณะราษฎร โจมตีเจ้า แบบที่สอง เชียร์เจ้า โจมตีคณะราษฎร แบบที่สาม โจมตีทั้งเจ้า ทั้งคณะราษฎร แบบที่สี่ เชียร์ทั้งเจ้า ทั้งปรีดี (คณะราษฎร) ในปัจจุบันจากทัศนะของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล โดย ขณะเดียวกัน การรื้อฟื้นเกียรติภูมิของปรีดี ก็มีลักษณะที่คล้ายกับการยกย่องผู้นำแบบจารีตของไทยในอดีตมากขึ้นทุกที (โปรดสังเกตการเรียกปรีดีว่า พ่อ” ในกลอน พ่อของข้าฯนามระบือชื่อปรีดี”) เราจึงอาจกล่าวถึง การรองรับซึ่งกันและกัน” (mutual-accommodation) ระหว่างกระบวนทัศน์ทั้งสองต้นแบบ ของการรองรับซึ่งกันและกันนี้ เริ่มมีร่องรอยให้เห็นตั้งแต่ปลายปี ๒๕๒๓ ในหนังสือที่ระลึกพระราชพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระปกเกล้า
ซึ่งนอกจากมีเนื้อหาที่เป็นรา ชสดุดีต่อรัชกาลที่ ๗ แล้ว ยังมีการตีพิมพ์ประกาศคณะราษฎร (ที่ประณามพระองค์) ฉบับเต็มด้วย ในทางกลับกัน ในงานฉลอง ๑๐๐ ปีปรีดี ที่ธรรมศาสตร์ในเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ ในภาพสไลด์ชุดสดุดีปรีดี มีภาพหนึ่งเป็นพระราชหัตถเลขาสละราชย์ (ที่ประณามปรีดีและคณะราษฎร)
แต่ที่อาจถือเป็นแบบฉบับของกระบวนทัศน์ใหม่นี้ คือบทความ (จากปาฐกถา) ของประเวศ วะสี เรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ กับรัฐบุรุษอาวุโส ปรีดี พนมยงค์ที่สำคัญ กระบวนทัศน์การตีความ ๒๔ มิถุนาใหม่นี้ แสดงออกที่ ในปัจจุบัน รัฐได้ให้การสนับสนุนและดำเนินการ จัดตั้งองค์การอย่าง สถาบัน และ พิพิธภัณฑ์ พระปกเกล้า ขณะเดียวกับที่ ทำการเสนอชื่อปรีดี ให้เป็นบุคคลสำคัญของยูเนสโก และจัดงานฉลอง ๑๐๐ ปีให้กับปรีดี(1)
โดยประเด็นเครือข่ายในหลวง(Network Monarchy) มีประเวศ วะสี ที่มีการกล่าวถึงก่อนรัฐประหาร ที่มีนักวิชาการอย่างสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กล่าวว่าเกษียร ประเมินบทบาท นิธิ (และตัวเอง) ก่อนรัฐประหาร โดยเฉพาะในประเด็นสถาบันกษัตริย...ในการสัมมนาที่เชียงใหม่ในเดือนมิถุนายน ที่ ฟ้าเดียวกัน นำมาตีพิมพ์ในฉบับ "โครงการเปลี่ยนประเทศไทย" เกษียร ได้กล่าวประเมินถึงท่าทีทางการเมืองของตัวเขาเองและของนิธิในระยะเวลาที่ผ่านมา ในส่วนที่เกี่ยวกับ สิ่งที่ McCargo เรียกว่า Network Monarchy ข้อสังเกตตอนนี้ของเกษียร เป็นข้อสังเกตที่ผมเห็นว่าแหลมคมยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง...
นี่คือคำพูดของเกษียร (เน้นคำของผม) :ผมคิดว่าพันธมิตรระหว่างขบวนการประชาชนกับสถาบันกษัตริย์ก่อตัวในช่วงสิบปีหลังพฤษภาฯ 2535 ...[ note นี่เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในด้านที่ค้านกับการที่ธงชัยพยายามเน้นย้อนหลังกลับไปที่ 14 ตุลา - สมศักดิ์] ....สิ่งที่เรียกว่า monarchical network หรืออาจแปลเป็นไทยเพื่อความเข้าใจได้ว่า "เครือข่ายในหลวง" เครือข่ายนี้ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจในช่วงสิบปีหลังพฤษภาฯ 2535 คือปรากฏปีกเสรีนิยมที่รวมตัวกันเข้มข้นขึ้นมา
ถ้าพูดถึงตัวบุคคลคือ คุณอานันท์ ปัญญารชุน หมอประเวศ วะสี พออ่านมาถึงตอนนี้ผมก็ฉุกคิดว่าอาจครอบคลุมถึง อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ และมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนด้วย ทั้งนี้ไม่ว่าความรับรู้หรือเจตนาสำนึกทางอัตวิสัยจะเป็นเช่นใด ทว่าเครือข่ายความสัมพันธ์ทางภววิสัยได้พ่วงพาเข้ามาอยู่ใน liberal monarchical network ด้วย.... ดังนั้น พันธมิตรดังกล่าวไม่ได้เพิ่งมาก่อตัวเมื่อจัดตั้ง 'พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต้นปีนี้นะครับ หากมีการปูพื้นมานานกว่าที่จะเดินมาถึงจุดนี้ และเมื่อมาย้อนคิดดู พูดตรงๆ ถ้าสิบปีที่ผ่านมา ผมไม่ไปร่วมกลุ่มนี้แล้ว จะให้ไปร่วมกลุ่มไหน?....(2)
อย่างไรก็ดี กลุ่มฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ก็อ้างถึงบทความ เครือข่ายของราชา กับ ทักษิณ” ซึ่งเขียนตั้งแต่3 สิงหาคม 2549และแสดงถึงอคติต่อนักการเมือง ซึ่งวริษฐ์ ลิ้มทองกุล กล่าวในเครือข่ายของราชา กับ ทักษิณ” โดยอ้างอิง…“Duncan McCargo” ซึ่งวริษฐ์อ้างอิงว่า การจะทำความเข้าใจกับการเมืองของประเทศไทยนั้น จำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงเครือข่ายทางการเมือง (Political Network)ซึ่ง McCargo อธิบาย ต่อว่า เครือข่ายทางการเมืองที่ชี้นำการเมืองไทยในห้วงเวลาระหว่าง พ.ศ.2516-2544 (ค.ศ.1973-2001) นั้นคือ เครือข่ายที่มีศูนย์กลางอยู่ในวัง หรือเรียกกันในอีกนามหนึ่งว่า เครือข่ายของราชา (Network Monarchy) ซึ่งเครือข่ายของราชา เข้ามามีส่วนร่วมและแทรกเข้ามามีบทบาททางการเมืองผ่านตัวแทนของกษัตริย์คือ คณะองคมนตรี (Privy Council) ที่นำโดยประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
ทั้งนี้ แม้เครือข่ายของราชาจะพัฒนาขึ้นมาจนมีบทบาทสูงต่อสังคมในระดับหนึ่ง แต่เครือข่ายของราชาก็ไม่เคยก้าวล่วงเข้ามาจนกลายสภาพเป็นการครอบงำสังคมไทย ในทางกลับกันเครือข่ายของราชากลับมีภารกิจในการทำหน้าที่ผ่านองค์กร ทางการ เมืองทั้งหลาย (ที่เรารู้จักกันดีก็คือ อำนาจทางการปกครองผ่านรัฐบาล อำนาจทางนิติบัญญัติผ่านรัฐสภา และอำนาจทางตุลาการผ่านศาลยุติธรรม) โดยมีรัฐสภาไทยที่ผ่านกระบวนการเลือกตั้งเป็นพื้นฐาน ซึ่งศาสตราจารย์ จากมหาวิทยาลัยลีดส์ กล่าวต่อด้วยว่า ถึงแม้เครือข่ายของราชาจะมีลักษณะของความเป็นอนุรักษ์นิยมโดยธรรมชาติ
แต่ในช่วงทศวรรษที่ 90 (ห้วงเวลาระหว่าง พ.ศ.2533-2543) เครือข่ายนี้ ก็ยังแสดงออกถึงความเป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะหลังจากปี พ.ศ.2535 ที่ประเทศไทยต้องประสบกับวิกฤตการณ์ทางการเมืองใหญ่ๆ ถึง 3 ครั้ง โดยในแต่ละครั้ง พล.อ.เปรม ก็ทำหน้าที่เป็นตัวแทนเพื่อรักษาสมดุลย์ทางการเมือง และนำประเทศไทยกลับสู่สภาวะปกติได้ทุกครั้ง กระนั้นการเข้าแทรกแซงดังกล่าวก็สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแรงลงของเครือข่าย แห่งราชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากชัยชนะในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายของพรรค ไทยรักไทย ที่นำโดย ทักษิณ ชินวัตร ในปี พ.ศ.2544 และ 2548 โดยในจุดนี้ McCargo มอง ว่าในช่วงเวลาห้าปีที่ผ่านมา ทักษิณพยายามที่จะสร้างเครือข่ายใหม่ที่อยู่ภายใต้อาณัติของตน เพื่อจะนำมาแทนที่เครือข่ายเก่าที่ดำรงอยู่และกำลังอ่อนแรงลงทุกทีๆ....(3)
โดยนับตั้งแต่ช่วงเวลา 2475-หลังพฤษภา2535 และหลังเหตุการณ์เมษา-พฤษภา53 ก็อุดมการณ์ทางการเมืองถูกเปลี่ยนแปลงไปในสถานการณ์ปัจจุบันดังกล่าว และอำนาจที่ถูกสภาวะยกเว้น ไม่ได้ถูกลดทอนอำนาจ คือ สถาบันกษัตริย์ ศาล และทหาร โดยผ่านเครือข่ายในหลวง หรือเรียกว่า Network Monarchyเฉพาะเจาะจงสายประเวศ วะสี
ฉะนั้น นี่เป็นการเปิดโอกาสการเปลี่ยนแปลงในการถกเถียงและทบทวนประเด็นเชียงใหม่จัดการตนเอง ซึ่งเชียงใหม่เป็นที่ขนานนามว่าเมืองหลวงเสื้อแดง ภายใต้อิทธิพลกลุ่มเอ็นจีโอขุนนางอำมาตย์ฝ่ายเหลือง มีวาระซ่อนเร้นเชียงใหม่จัดการตนเองนำขบวนโดยเครือข่ายในหลวงอย่างประเวศ วะสี ผ่านทุนต่างๆ นานา เช่น ทุนสสส.แหล่งทุนภาษีของประชาชน และจุดยุทธศาสตร์เชียงใหม่จัดการตนเอง หรือนี่อาจจะเป็นการสร้างฟื้นฟูกำลังของเครือข่ายในหลวงอีกครั้งของฝ่ายร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย!
อ้างอิง
1.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ๒๔ มิถุนา: การตีความ ๔ แบบ
http://somsakwork.blogspot.com/2006/06/causes-mutation-in-existing-structural.html
2.เกษียร ประเมินบทบาท นิธิ (และตัวเอง) ก่อนรัฐประหาร โดยเฉพาะในประเด็นสถาบันกษัตริย
http://somsakcouppostings.blogspot.com/2006/11/blog-post_3878.html
3. วริษฐ์ ลิ้มทองกุล เครือข่ายของราชา กับ ทักษิณ” ผู้จัดการ 3 สิงหาคม 2549 16:21 น. และวริษฐ์ ลิ้มทองกุล นั่งฟังฝรั่ง’ พูดถึงการเมืองไทยhttp://oldforum.serithai.net/index.php?action=printpage%3Btopic=21135.0