ที่มา Thai E-News
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
24 มิถุนายน 2555
ลิงก์ภาพ |
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นรูปหล่อลอยตัว ประกอบด้วยรูปเล่มรัฐธรรมนูญในสมุดไทย ประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า สร้างด้วยทองแดง มีความสูง 3 เมตร หนัก 4 ตัน ตั้งบนฐานรูปทรงกลมด้านบนโค้งกลม ลานอนุสาวรีย์ยกสูงมีบันไดโดยรอบ รอบนอกลานอนุสาวรีย์มีครีบทรงแบน อยู่ 4 ทิศ ที่โคนครีบ มีภาพแกะสลักลายปั้นนูน และมีรั้วเตี้ย ๆ กั้นโดยรอบลานอนุสาวรีย์ รั้วนี้ใช้ปืนใหญ่โบราณจำนวน 75 กระบอก ฝังดินโผล่ท้ายกระบอกขึ้นมา เป็นเสา คล้องโซ่เชื่อมต่อกัน
- ครีบ 4 ด้าน สูงจากแท่นพื้น 24 เมตร มีรัศมียาว 24 เมตร หมายถึง วันที่ 24 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
- พานรัฐธรรมนูญ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดป้อมกลางตัวอนุสาวรีย์ สูง 3 เมตร หมายถึง เดือน 3 หรือ เดือนมิถุนายน (ขณะนั้นนับเมษายนเป็นเดือนแรกของปี) ตรงกับเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองสมัยนั้น และหมายถึง อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญ (นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ)
- ปืนใหญ่จำนวน 75 กระบอก (ปากกระบอกปืนฝังลงดิน) โดยรอบฐานของอนุสาวรีย์ที่มีโซ่เหล็กร้อยไว้ หมายถึงปีที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เลข 75 เป็นเลขท้ายสองหลักของปี พ.ศ. 2475) ส่วนโซ่ที่ร้อยไว้ด้วยกันหมายถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ
- ลายปั้นนูนที่ฐานครีบทั้ง 4 เน้นถึงเรื่องราวการดำเนินงานของคณะราษฎรตอนที่นัดหมายและแยกย้ายกันก่อการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
- พระขรรค์ 6 เล่ม ที่รายล้อมรอบป้อมกลางตัวอนุสาวรีย์ หมายถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
+++++++++++++++++++++++++++
10.30 น. นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์จากหลายรั้วมหาลัยแสดงละครสะท้อนปัญหาการเมือง ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยมีการแต่งตัวเป็นนักโทษทางการเมือง (อ่านเพิ่ม) |
+++++++++++++++++++++++++++
80 ปี ประชาธิปไตย หมู่บ้านเสื้อแดงจัดใหญ่"วันชาติไทย" (อ่านเพิ่ม) |
+++++++++++++++++++++++++++
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ: ๘๐ ปีวันชาติไทย (อ่านเพิ่ม) +++++++++++++++++++++++++++ |
+++++++++++++++++++++++++++
ละครนักศึกษา80ปี 24 มิ.ย. 2475
++++++++++++++++++++++++
++++++++++++++++++++++++
โต้ เอกกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ : ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ ประวัติศาสตร์ของใคร? (อ่านฉบับเต็มที่นิติราษฎร์) |
++++++++++++++++++++++++
วานก่อน อ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ (ปาฐกถา ที่ จุฬาฯ) ได้จำแนกนักกฎหมายไทย
ออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ (๑) นักกฎหมายฝ่าย ๒๔๗๕ และ (๒) นักกฎหมายฝ่าย ๒๔๙๐
ผมจะย่อยคร่าวๆ นะครับ
(๑) นักกฎหมายฝ่าย ๒๔๗๕
สนับสนุนการอภิวัตน์ก่อตั้งรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย
และปฏิเสธการกระทำของกลุ่มอำนาจเก่า ที่ทำลายรัฐธรรมนูญ เช่น
เมื่อคราวพระยามโนปกรณ์นิติธาดา (อดีตองคมนตรี สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)
นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ตราพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
อันเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ (รัฐประหารโดยไม่ฉีกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ) แล้ว
"พระยาพหลพลพยุหเสนา" ก็ได้กระทำการเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ๒๔๗๕
โดยใช้กำลังยึดอำนาจรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา
เพื่อเปิดสภาผู้แทนราษฎรและให้ใช้รัฐธรรมนูญต่อไป
เป็นการยึดอำนาจเพื่อรักษาการดำรงอยู่ของรัฐธรรมนูญ
ฉะนั้น ใครที่ฝักใฝ่การรัฐประหาร
หรือใช้อำนาจละเมิดรัฐธรรมนูญในทางเนื้อหา ย่อมไม่ใช่นักกฎหมายในกลุ่มนี้
(แต่จะถูกจัดให้เป็นนักกฎหมายกลุ่มที่ ๒)
(๒) นักกฎหมายฝ่าย ๒๔๙๐ สนับสนุนการถวายคืนพระราชอำนาจ
และการก่อรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร (ฉบับ ๒๔๘๙) โจมตีว่า
คณะราษฎรชิงสุกก่อนห่าม, ราษฎรโง่,
ป่วนสภาให้ระบบรัฐสภาไม่อาจดำเนินหน้าที่ภารกิจได้ พยายามอ้างอิง
"นิติโบราณราชประเพณี" เพื่อทำลาย
หรือบั่นทอนสถานะในทางกฎหมายของรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร
เป็นการจำแนกที่ชัดเจน ใครเชียร์รัฐประหาร ให้ย้อนกลับไปยังสภาวะอำนาจของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็เป็นพวกนักกฎหมาย ๒๔๙๐
ใครปฏิเสธรัฐประหาร และปฏิเสธพระราชอำนาจที่ขัดแย้งต่อระบอบประชาธิปไตย
(ประชาธิปไตย หรือตัวระบอบ ต้องยึดเป็นฐาน)
นับถือความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียม-เสมอภาค เช่นนี้ ก็เป็นพวกนักกฎหมาย
๒๔๗๕.