ที่มา ประชาไท
Sat, 2012-06-23 22:06
1. การที่สังคมจำประวัติศาสตร์อะไร ลืมอะไร มักไม่ใช่เหตุบังเอิญ
2. เหตุการณ์ในอดีตมีมากมายสารพัดจนบันทึกได้ไม่ครบถ้วน ความทรงจำในอดีตจึงเป็นสิ่งที่คัดสรร ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม/ ความทรงจำร่วมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่คนปัจจุบันเกิดไม่ทันเป็นสิ่งที่ ต้องผลิตซ้ำและตอกย้ำผ่านตำราเรียน หนัง พิธีกรรม ฯลฯ มันไม่ใช่สิ่งที่เรียนรู้เองโดยธรรมชาติ
3. ผู้มีอำนาจมักอยากให้ประชาชนจำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้มีอำนาจ และลืมในสิ่งที่เป็นลบต่อผู้มีอำนาจเช่น 24 มิถุนายน วันชาติไทย = วันที่ประเทศไทยเคยมี แต่ถูกเผด็จการยกเลิก+ทำให้คนส่วนใหญ่ลืม
4. อดีตมักถูกจัดการโดยคนในปัจจุบัน ไม่ว่าถูกเอามาอ้างเพื่อเสริมความชอบธรรมหรือทำให้ลืมเพื่อสนองประโยชน์บางอย่าง
5. สังคมที่ลืมอดีตมักไม่เข้าใจปัจจุบัน ใครควบคุมอดีตได้ก็มักสามารถควบคุมความเข้าใจต่อปัจจุบันและปัจจุบันได้
6. สังคมไทยน่ากลัว เขาสามารถทำให้คนจำนวนมากลืมได้ว่า 24 มิถุนา เคยเป็นวันชาตินานกว่ายี่สิบปี – นี่เขาจะทำให้ประชาชนลืมอะไรอีกบ้างก็ไม่รู้
7. ปิดหูปิดตาปิดปาก ป้อนข้อมูลด้านเดียวอย่างไม่รู้จักพอเพียงยังไม่พอ พวกเขายังอยากให้ประชาชนลืมเหตุการณ์ประวัติศาสตร์บางเรื่องอีกต่างหาก
8. ผู้คนมักจำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนเอง เรามักอ้างเหตุการณ์ในอดีตที่ให้คุณแก่เรา
9. การลืมหรือการถูกทำให้ลืม เป็นส่วนหนึ่งของการจัดระเบียบปัจจุบัน
10. ความทรงจำร่วมของสังคมหรือการลืมของสังคม ไม่ใช่แค่เรื่องการจำกับการลืมหากคือการต่อสู้ทางอำนาจแบบหนึ่ง กลุ่มไหนมีอำนาจมากในสังคมก็มักพยายามให้สังคมจำประวัติศาสตร์เวอร์ชั่นที่ พวกเขาอยากให้จดจำ – เหมือนสื่อเอียงข้างทางการเมืองที่มักเล่นข่าวที่ฝ่ายตนได้ประโยชน์เป็นข่าว ใหญ่+พยายามไม่รายงานข่าวด้านลบ
11. ความทรงจำร่วมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการทำให้ลืมจึงเป็นเรื่องของการใช้ อำนาจอย่างหลีกเลี่ยงแทบไม่ได้ ประวัติศาสตร์มันจึงมิใช่เพียงแค่เรื่องเล่าจากอดีตที่ไม่เกี่ยวข้องกับอัต ลักษณ์ของสังคมในปัจจุบัน
12. การที่ผู้คนโดยเฉพาะเสื้อแดงหันมาสนใจและให้ความสำคัญกับวันที่ 24 มิถุนายน หรือการที่คนไทยรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ไม่เคยได้ยินเพลงชาติ 24 มิถุนายน ก็ไม่ใช่เหตุบังเอิญเช่นกัน