ที่มา Thai E-News
โดย อนัตตา
1) การเรียกร้อง
ให้เปลี่ยนแปลงระบบบริหารประเทศ รศ.103 หรือพ.ศ.2428 เมื่อ127ปีก่อน ในสมัยรัชกาลที่ 5
2)
กบฎ รศ.130 หรือพ.ศ.2455 หรือ 100 ปีก่อน ในสมัยรัชกาลที่6
3) “คณะราษฎร”
ยึดอำนาจ จากกษัตริย์สำเร็จ วันที่24 มิถุนายน
2475 หรือ 80 ปีก่อน ในสมัยรัชกาลที่7 สถาปนา “ ประชารัฐ ”
“ ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า
ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง.”
สถาปนา “ อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”
4) เหตุการณ์หลังจากนั้นต่อมา จนถึงปัจจุบัน
ความพยายามทำลาย
“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น
เป็นของราษฎรทั้งหลาย”
เอกสารศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม :
สุพจน์ แจ้งเร็ว
: 2524
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์
ชัยอนันต์ สมุทรวณิช
: 2523 การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทย 2411-2475
อัจราพร กมุทพิสมัย
: 2440 กบฎรศ.130 กบฎเพื่อประชาธิปไตย แนวคิดทหารใหม่
ชาญวิทย์
เกษตรศิริ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ :2547
ปฎิวัติ 2475
เบนจามิน
เอ บัทสัน มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ แปล : อวสานสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสยาม
ปรีดี
พนมยงค์ :
2515 บางเรื่องเกี่ยวกับการคณะราษฎร
และระบอบประชาธิปไตย, บันทึกนักปฎิวัติไทย
สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ : 2550
สายธารประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย
, แผนชิงชาติไทย
สุพจน์ ด่านตระกูล
: 2544 พระปกเกล้ากับคณะราษฎร, อนุสรณ์ สุพจน์ ด่านตระกูล
บุญร่วม
เทียมจันทร์ : คดีประวัติศาสตร์
ลอบปลงพระชนม์ ร. 8
ประกาศคณะราษฎรฉบับที่1
ลงวันที่ 24 มิถุนายน พ ศ. 2475
ความนำ
เมื่อคณะราษฎรยึดอำนาจการปกครองจากกษัตริย์ได้แล้ว
ได้ประกาศใน ประกาศคณะราษฎรฉบับที่1ว่า
“ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า
ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง”
และได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองฉบับแรก
ของประชาชน ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2475 โดยกษัตริย์เป็นผู้ลงนาม ในมาตรา1 ประกาศว่า
“ อำนาจสูงสุดของประเทศ
นั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”
ชาติสยามจึงเข้าสู่ ภพใหม่ ชาติใหม่ โดยสมบูรณ์
นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
จนถึงปัจจุบันนี้
แต่ !! “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย.” ยังไม่สามารถเป็นจริงได้ แม้วันนี้
จะอยู่ใน
พ ศ.255 ยาวนานถึง 80 ปี หลังการประกาศสถาปนาไปแล้วก็ตาม
“.. การต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงอำนาจการปกครองชาติสยาม
เป็นสายธารที่ต่อเนื่อง เป็นสายธารเดียวกัน เป็นการส่งต่อภารกิจทางประวัติศาสตร์
จากสามัญชน สู่สามัญชน..”
ดังที่
นายปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวแก่
ขุนทวยหาญพิทักษ์หัวหน้าคณะผู้ก่อการ ร ศ.130 ว่า
“ผมถือว่าการปฏิวัติครั้งนี้
เป็นการกระทำต่อเนื่องกันมาจาก การกระทำเมื่อ ร ศ.130”
1
พระยาพหล
พลหยุหะเสนาหัวหน้าคณะผู้ก่อการ
พ ศ.2475
ที่กระทำการสำเร็จ ได้กล่าวแก่ขุนทวยหาญพิทักษ์หัวหน้าคณะผู้ก่อการ
ร ศ.130
ที่กระทำการไม่สำเร็จว่า “
ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม
”
การส่งต่อภารกิจทางประวัติศาสตร์
จากสามัญชน สู่สามัญชน วันนี้ได้ส่งต่อมา
ถึงมือสามัญชนในยุคโลกไร้พรมแดนแล้ว
แต่ประชาธิปไตยยังไม่เป็นจริง ปัญหาในวันนี้
เกิดจากข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้
“นักการเมือง
นักวิชาการ สื่อมวลชน อดีตผู้นำมวลชน ข้าราชการ ตุลาการ
และทหาร ซึ่ง ชาติตระกูล ก็เป็นราษฎรธรรมดา และมีสถานภาพทางสังคมจากการที่ประชาชนให้ความไว้วางใจ
หรือเป็นพลังสนับสนุนถึงกับยอมเสียสละชีวิตเข้าร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในอดีต
วันนี้ กลับหลงตนเอง เห็นแก่ตัว
ขายตัว ขายวิญญาณ และหักหลังประชาชน กลับมาเป็นผู้ทำลาย“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”เสียเอง
โดยชนชั้นสูงใช้เล่ห์กลเข้าหา ทำงานความคิด และป้อนสิ่งเสพติดให้คนกลุ่มนี้
คือ “ให้เสพติด ความเป็นอภิสิทธิ์ชน แบบชนชั้นสูง”
ซึ่งเลิกยากกว่า การเลิกเสพยาเสพติด หรือเอาผลประโยชน์มาล่อ เมื่อได้ร่วมเสพประโยชน์
จึงไปร่วมมือกับชนชั้นสูง และสะท้อนทัศนะแบบชนชั้นสูง กลับมาดูถูกเหยียดหยามประชาชน
ว่าเป็นควาย โง่ เลว และเห็นแก่เงิน โดยฝึกหัดลีลาวาทะกรรมที่หลอกลวงประชาชน เลียนแบบชนชั้นสูง
และเลยเถิดไป ถึงกับสอพลอ จินตนาการไปไกล เกินกว่าพระราชา
วันนี้ สามัญชนที่
ยังซื่อตรงต่อแนวทางประชาธิปไตย
ที่มั่นใจในอำนาจสูงสุด ของประเทศ ต้องเป็นของประชาชน จะต้อง รู้เท่าทันนักมายากลทางการเมือง
และเปิดโปงสามัญชนที่หักหลังประชาชน
โดยการทำความเข้าใจกับประวัติศาสตร์
ติดอาวุธทางความคิด และขยายความคิดให้มากที่สุด เพื่อการรับช่วงต่อ ภารกิจทางประวัติศาสตร์
มาดำเนินการให้สำเร็จลุล่วง ต่อไป ”
ต่อไปนี้ คือความรู้
เรื่อง เส้นทางประชาธิปไตยไทย 123 ปี
เส้นทางประชาธิปไตยไทย 127 ปี เพื่อ
“อำนาจสูงสุดของประเทศ
เป็นของประชาชน”
นับแต่มีการลงนามสนธิสัญญาบาวริ่งกับอังกฤษในสมัยรัชกาลที่4 เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๘ ชาติสยามก็อยู่ในสภาพบังคับ ให้ต้องทำสนธิสัญญากับมหาอำนาจตะวันตกอีกหลายประเทศ
โดยยึดสนธิสัญญาบาวริ่งเป็นต้นแบบ สนธิสัญญาเหล่านี้สมบูรณาญาสิทธิราชไทยเป็นฝ่ยเสียประโยชน์เพราะมีอำนาจต่อรองน้อยกว่า ในปีถัดมาชาติสยามได้ทำสนธิสัญญา แฮริส
กับสหรัฐอเมริกา และ สนธิสัญญา มอง ติญ ญี กับ ฝรั่งเศส
ต่อจากนั้นก็ได้ทำสัญญากับ เดนมาร์ก
โปรตุเกส ญี่ปุ่น รัสเซีย และประเทศยุโรปอีกหลายประเทศ
ผลที่เกิดขึ้น ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตชาวบ้านที่สำคัญ คือ การเพาะปลูกเพื่อการส่งออกขยายตัวมาก อย่างไม่เคยมีมาก่อน ที่ดินจึงมีความสำคัญต่อการสร้างความมั่งคั่ง
พวกเจ้าและขุนนางที่มีอำนาจ
ร่วมกับคหบดี ได้ใช้อำนาจและความได้เปรียบชาวบ้านที่ถูกทอดทิ้งไม่ให้มีการศึกษา
เข้ากว้านยึดครองที่ดิน
เป็นเจ้าที่ดินใหญ่ ทำให้ชาวบ้านกลายเป็นคนไร้ที่ทำกิน
ในภาคกลางราษฎรร้อยละ36ไม่มีที่ดินทำกิน มีหลายๆพื้นที่ชาวบ้านเกือบร้อยละ80ไม่มีที่ดินทำกิน
ชาวบ้าน นอกจากจะถูกมองไม่เห็นว่าเป็นคน เป็นเพียงทาส เป็นไพร่
เป็นขี้ข้า และ ถูกกดขี่ขูดรีดมาแต่โบราณแล้ว ยิ่งถูกแย่งชิงที่ทำกินหนักขึ้นไปอีก
จากสภาพการณ์ดังกล่าว และการเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจในยุคต่อๆมา ทำให้เกิดแรงผลักดันที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองจากภายในชาติสยามเอง คือ
1
ขุนนางเชื้อพระวงศ์เอง หลายคนรู้แล้วว่า จำเป็นต้องเปลี่ยนระบบบริหารประเทศให้ก้าวหน้า
และมีประสิทธิภาพ มากขึ้น แบบยุโรป มิฉะนั้นชาติสยามจะดำรงอยู่ได้ยาก
2
การเกิดสามัญชนขึ้นเป็นคหบดี
เป็นชนชั้นกลางยุคแรกๆ และพยายามให้ลูกหลานไต่เต้าทาง การศึกษา และเห็น
ความสำคัญของการมีอำนาจทางการเมือง
3 ชาวบ้านที่ เป็นไพร่ เป็นข้าทาส เป็นขี้ข้า ต้องเป็นผู้รับกรรม
รับความอดอยาก ยากแค้น อย่างแสนสาหัสไว้ทั้งหมด
โดยชนชั้นสูงยังสุขสบายดีอยู่ จากการผ่องถ่ายปัญหามาให้ชาวบ้าน นำมาซึ่งการดิ้นรนของ คนที่ถูกกดขี่ขูดรีด
ต้องการเปลี่ยนแปลงชาติสยามให้พันจากการ
เอารัดเอาเปรียบจากพวกชนชั้นสูง เพื่อให้อำนาจทางการเมือง
ตอบสนองชีวิตชาวบ้านให้ดีขึ้น
ให้เห็นชาวบ้านเป็นคน มิใช่สัตว์เดรัจฉาน
---------------------------------------------
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
มีดังนี้ :
เหตุการณ์ที่ 1) การเรียกร้อง
ให้เปลี่ยนแปลงระบบบริหารประเทศ รศ.103
ตรงกับพศ.2428 ในสมัยรัชกาลที่ 5
:การเรียกร้องของขุนนางเชื้อพระวงศ์ ที่เห็นปัญหา
และรู้ว่าประเทศจำเป็นต้องเปลี่ยนระบบ
ในสมัยรัชการที่5
อิทธิพลของตะวันตกส่งผลกระทบกับประเทศสยามรุนแรงขึ้น
บีบให้สยามต้องปรับระบบการบริหารประเทศที่ล้าหลังให้ทันสมัยขึ้น ซึ่งวันนั้นยังไม่มีคำว่า “ประชาชน”
ชาวบ้านจะเป็น“ ไพร่” เป็น“ข้าทาส”เป็นเพียงสมบัติของพวกเจ้าและขุนนาง มีความเป็นมนุษย์ต่ำกว่าชนชั้นสูงซึ่งมีจำนวนไม่ถึงร้อยละ1
เท่านั้น ชาวบ้านต้องทำการผลิตเลี้ยงชนชั้นสูง แต่ไม่มีสิทธิทางการเมือง เมื่อชาติสยามเกิดปัญหาเศรษฐกิจเป็นระยะๆ
ชนชั้นสูงผ่องถ่ายปัญหามาให้ชาวบ้าน
แต่ราชสำนักยังคงดำรงชีวิตสุขสบายดี
จนกระทั่งปลายรัชกาลที่ 5 ปัญหาเศรษฐกิจหนักหน่วงมาก และต่อเนื่องถึงรัชกาลที่6
และรัชกาลที่7 ตลอดยุคสมัย ทั้ง2 รัชกาล โดย
พวกไพร่ พวกข้าทาส
อดอยากยากแค้นแสนสาหัส ขุนนางที่ประจำอยู่ประเทศตะวันตกซึ่งเห็นระบบการปกครองที่มีประสิทธิภาพ
กว่า เห็นว่าชาติสยามต้องเปลี่ยนแปลงการปกครอง มิฉะนั้น จะดำรงอยู่ได้ลำบาก เป็นชนวนให้เกิดการโต้แย้งทางอุดมการณ์ขึ้น
@ การโต้แย้งทางอุดมการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์
คือ “ความเป็นเจ้าของประเทศ”
เดือน
มกราคมรศ.103 ตรงกับพศ.2428 พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ อัครราชฑูตสยามประจำยุโรป รวบรวมรายชื่อ ขุนนางที่เห็นด้วย ร่างเอกสาร ยาวถึง60หน้า เสนอต่อรัชกาลที่5
ความตอนหนึ่งว่า
“แผ่นดินสยามเป็นของชาวสยามทั้งหมด ดังนั้นทุกคนต้องช่วยบำรุงชาติ มิใช่พระเจ้าอยู่หัวจะรับผิดชอบแต่เพียงพระองค์เดียว เห็นว่าระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นทางออกทางเดียวที่จะทำให้สยามพ้นจากภัยตะวันตกได้
เพราะมีการจำกัดอำนาจกษัตริย์ ทำให้การปกครองมีระเบียบแบบแผนด้วยรัฐธรรมนูญ
มีคณะรัฐมนตรีมาช่วยบริหารบ้านเมืองเช่นกษัตริย์ทั้งหลายในยุโรป …”
ขุนนางที่ร่วมเสนอคือ
กรมหมื่นนเรศร์วรฤทธิ์
พระองค์เจ้าโสณบัณฑิต
พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ
กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดา กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฏ์ นายนกแก้ว คชเสนี
หลวงเดชนายเวร(นามเดิม สุ่น
ศาตราภัย)
นายบุศย์ เพ็ญกุล
ขุนปฏิภาณพิจิต(นามเดิม หรุ่น) หลวงวิเสศสาลี(นามเดิม นาค) นายเปลี่ยน ซับเลฟเตอร์แนนต์
2
รัชกาลที่5 ตอบไปว่าราษฎรยังไม่พร้อมโดยอธิบายว่า
“
ในการปกครองกรุงสยามนี้ถ้าจะจัดการ อาศัยพระเจ้าแผ่นดินเป็นหลัก ให้เป็นไปตามความนิยมเก่า
จะง่ายกว่าการจัดการอย่างอื่น เพราะเป็นของพื้นเพมาแล้ว”
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์และขุนนางที่ลงชื่อถูกเรียกตัวกลับ
และภายหลังต้องออกจากราชการ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ต้องไปบวชเป็นพระอยู่ศรีลังกา
จนสิ้นรัชกาลที่ 5 แล้วจึงเดินทางกลับประเทศ
@ ผลที่เกิดขึ้น
รัชกาลที่5 จึงปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน สถาปนาสมบูรณาญาสิทธิราชย์ขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทย ตั้งคณะเสนาบดีขึ้นมาช่วยบริหารราชการ
สร้างระบบราชการรูปแบบใหม่ โดยใช้เจ้านาย และเชื้อพระวงศ์ใกล้ชิด เป็นผู้ควบคุมการบริหารงานทั้งระบบ เพื่อรวมศูนย์อำนาจทั้งสยามเข้าสู่กษัตริย์
ทำให้กษัตริย์ได้อำนาจสูงสุดของประเทศโดยสมบูรณ์
การเรียกร้องครั้งแรกจึงจบลงเพียงเท่านี้
-------------------
เหตุการณ์ที่ 2)
กบฎ
รศ.130 ตรงกับ พศ.2455 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ห่างจากครั้งแรก 26 ปี
เกิดการต่อสู้ที่เข้มข้นขึ้นของ 2 แนวทางการต่อสู้ และ 2 อุดมการณ์
2
แนวทางคือ“แนวทาง
การร้องขอ”
ในร ศ.103 มาสู่“แนวทาง จะใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ
จากกษัตริย์ ” ในรศ.130
2
อุดมการณ์คือ “กษัตริย์
กับ ชาติ เป็นคนละส่วนกัน” กับ “ชาติ ศาสน์ กษัตริย์” แยกจากกันไม่ได้
โดยที่รัชกาลที่6
สร้างอุดมการณ์“ชาติ ศาสน์ กษัตริย์”ขึ้นมาสู้
เพื่อปกป้อง และรักษาสถาบันกษัตริย์
โดยการเขียนบทความ บทกวี และบทละคร เผยแพร่อย่างจริงจัง จำนวนมาก เพื่อควบคุมระบบคิดของชาวบ้านและขุนนางทั้งระบบ
มีการ เผยแพร่บทความ จัดแสดงละครและบังคับให้เป็นบทเรียนในโรงเรียน
สถาบันทหาร เพื่อ ให้ขุนนาง และราษฎรรู้สึกว่า
ประเทศขาดกษัตริย์ไม่ได้ (
เป็นผลสำเร็จจนถึงปัจจุบันนี้แม้กระทั่งในหมู่นักวิชาการสามัญชนทั้งหลาย )
@ ผู้ริเริ่มก่อการใช้แนวทาง
“ ใช้กำลังเข้ายึดอำนาจสูงสุดของประเทศ จากกษัตริย์ มาเป็นของราษฎร” เป็นนายทหารชั้นผู้น้อย 3 คน
ที่เพิ่งจบจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้แก่ ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ ร.ต.จรูญ
ษตะเมษ
และ
ร.ต.เนตร พูนวิวัฒน์
ต่อมาได้ชักชวนให้ ร.อ.ขุนทวยหารพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์)
มาเป็นหัวหน้าคณะ
เป้าหมาย ของคณะทหารหนุ่มก็คือ
การมุ่งเปลี่ยนแปลงประเทศตามอุดมการณ์ประชาธิปไตย ด้วย เห็นว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ที่ให้อำนาจแก่กษัตริย์แต่เพียงผู้เดียวนั้น จะเป็นอุปสรรคเหนี่ยวรั้งการพัฒนาประเทศ
@
การเสนอแนวคิด ร.อ.ขุนทวยหารพิทักษ์
เสนอทัศนะไว้ว่า “การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นเป็น
วิธีที่ร้ายแรงมาก เพราะการที่กษัตริย์อยู่เหนือกฏหมาย
เอื้อให้กษัตริย์ จะทำการชั่วร้ายอย่างหนึ่งอย่างใด ก็ทำได้ ”
ร.ท. จรูญ ณ
บางช้าง เสนอทัศนะว่า “พระเจ้าแผ่นดินนั้นหาง่าย
แต่บ้านเมืองหายาก” ซึ่งเป็นการแสดงแนวคิดเกี่ยวกับชาติที่แยกจากกษัตริย์อย่างชัดเจน
คณะทหารกลุ่มนี้จึงวางแผนไว้ว่า ถ้าหากรัชกาลที่6ไม่ยินยอม ก็จะจับกุมตัวเพื่อบังคับให้มอบรัฐธรรมนูญและให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญหรือ
เปลี่ยนประเทศเป็นรีพลับริก (สาธารณรัฐ) นายทหารส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมล้วนมีพื้นฐานจากสามัญชน
การชักชวนคนเข้าร่วมกระทำการหละหลวม มีคนนำความลับไปแจ้ง จนทราบถึงรัชกาลที่ 6
คณะทหารกลุ่มนี้จึงถูกจับกุมตัว
ถูกลงโทษจำคุก และโทษประหารชีวิต การต่อสู้ครั้งที่สองจึงจบลงเพียงเท่านี้
@ ผลของการก่อการ ทำให้รัชกาลที่ 6 กระชับอำนาจสมบูรณญาสิทธิราชย์มากขึ้น
โดยยังคงยืนยันว่า
ราษฏรไทยไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย มีพระราชดำริว่า
“ระบอบกษัตริย์ทรงอำนาจสูงสุด
นั้นดีแล้ว เพราะมี ราชา เป็นสง่าแห่งแคว้น เป็นมิ่งขวัญของประเทศ
ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับประเทศสยาม เพราะราษฏรไม่มีความรู้
สังคมสยามไม่คุ้นเคยกับการมีพรรคการเมืองหรือการเลือกตั้ง ”
@กรณีรัชการที่6 สร้างเมืองจำลองดุสิตธานี
นั้นเป็นเพียงการเล่นทดลองของพระองค์เพื่อสนุกกับข้าราชบริพาร มิได้ก่อให้เกิดผลกระทบใดๆ
ในทางการเมืองที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาธิปไตย ( ชัยอนันต์ สมุทรวณิช)
------------------------
เหตุการณ์ที่3) “คณะราษฎร” ยึดอำนาจ จากกษัตริย์สำเร็จ วันที่24 มิถุนายน 2475 ในสมัยรัชกาลที่ 7 ห่างจากเหตุการณ์
รศ.130 ราว 20 ปี
สามัญชนได้สถาปนา “ประชารัฐ” และ“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”
จาก“แนวทาง การร้องขอ” ใน ร ศ.103
ไม่สำเร็จ ตามมาด้วย “แนวทาง จะใช้กำลังเข้ายึดอำนาจจากกษัตริย์ "ในรศ.130
แต่ไม่สำเร็จ มาสู่ “ความสำเร็จในแนวทางใช้กำลังเข้ายึดอำนาจจากกษัตริย์”
“สายธารการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองชาติสยาม เป็นสายธารที่ต่อเนื่อง เป็นสายธารเดียวกัน เป็นการส่งต่อภารกิจทางประวัติศาสตร์จากสามัญชน
สู่สามัญชน”
นาย
ปรีดี พนมยงค์
ได้กล่าวแก่ ขุนทวยหาญพิทักษ์หัวหน้าคณะผู้ก่อการรศ.130
ดังนี้
“ผมถือว่า การปฏิวัติครั้งนี้เป็นการกระทำต่อเนื่องกันมา จากการกระทำเมื่อ ร ศ.130”
พระยาพหล พลหยุหะเสนาหัวหน้าคณะผู้ก่อการ
พ ศ.2475
ที่กระทำการสำเร็จ ได้กล่าวแก่ ขุนทวยหาญพิทักษ์ หัวหน้าคณะผู้ก่อการ ร ศ.130 ที่กระทำการไม่สำเร็จ ดังนี้ “ ถ้าไม่มีคณะคุณ ก็เห็นจะไม่มีคณะผม”
@ สภาพการของชาติสยามที่นำมาสู่การยึดอำนาจจากกษัตริย์ จากระบบการเศรษฐกิจที่ล้าหลัง
ระบบการปกครองที่ล้าหลังไร้ประสิทธิภาพ และระบบสังคมที่ล้าหลังเหยียดหยามชาวบ้านว่าเป็นไพร่
เป็นข้าทาส เป็นขี้ข้า
ไม่เห็นว่าเป็นคน
และมีการับรู้ระบบการบริหารประเทศแบบตะวันตกที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจที่กินระยะเวลายาวนาน โดยชนชั้นสูงผ่องถ่ายปัญหาทั้งหมดมาให้ราษฎร
ต้องอดอยาก ยากแค้นแสนสาหัส ทำให้เกิดกระแสความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
มีการพูดคุยกันมากจนแทบจะเป็นเรื่องผิดปรกติ ในหมู่ผู้มีการศึกษา นักหนังสือพิมพ์
แม้ในหมู่เชื้อพระวงศ์บางคน แต่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่เห็นว่าเป็นเรื่องของ เด็กที่ร้อนวิชา
ไม่เห็นว่าเป็นเรื่องจริงจังในระดับที่ต้องจัดการเด็ดขาด
หลายคนก็เป็นลูกของข้าทาสบริวาร แต่ความจริง
ข้าราชการชั้นผู้น้อย ทหารชั้นผู้น้อยคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองอย่างจริงจัง และ จะทำให้สำเร็จ
@ การคิดก่อการเริ่มที่ปารีส นายปรีดี พนมยง และนายประยูร ภมรมนตรี
ที่เริ่มคิดก่อการ ได้ชักชวน รท.แปลก ขีตตะสังคะ เข้าร่วม การประชุมครั้งแรก
มีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2468 ที่กรุงปารีส
โดยมีผู้เข้าร่วมอีก 4 คน คือ ร.ต.ทัศนัย มิตรภักดี นายตั้ว ลพานุกรม
นายแนบ พหลโยธิน
หลวงสิริราชไมตรี (จรูญ สิงหเสนีย์) ซึ่งเป็นนักเรียนนอก
รวม 7 คน
เมื่อกลับมารับราชการ ก็ขยายความคิด ชักชวนคนเข้าร่วม ซึ่งมีผู้เห็นด้วย
ทั้ง ทหารและพลเรือน เพราะพวกที่ไม่ใช่นักเรียนนอกนั้นก็คิดเช่นนี้เป็นจำนวนมาก
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอยู่บ้างแล้ว โดยมีความเห็นว่าจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการปกครอง
เพราะระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก่อปํญหาไว้มากมาย
การชักชวนกันก่อการยึดอำนาจจนได้ผู้ร่วนขบวนการ102 คน ประกอบด้วย สายทหารบก 34นาย มีพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา
เป็นหัวหน้า สายทหารเรือ18 นาย มีนาวาตรีหลวงสินธุสงครามชัย
เป็นหัวหน้า สายพลเรือน
50นาย มีนานปรีดี พนมยง เป็นหัวหน้า คณะผู้ก่อการทุกสายได้เลือก
พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งอาวุโสสูงสุด คืออายุ 45 ปี เป็นหัวหน้าคณะผู้ก่อการ
@ เช้าตรู่ วันศุกร์ ที่
24 มิถุนายน 2475 ขณะที่รัชกาลที่7 ประทับอยู่ ณ.พระราชวังไกลกังวล หัวหิน คณะผู้ก่อการได้ทำการยึดอำนาจการปกครอง
โดยใช้เวลาปฏิบัติการอย่างรวดเร็วเพียง 3 ชั่งโมง ก็ควบคุมพระนครได้ทั้งหมด โดยตัดการสื่อสารทั้งหมดขององค์กรของรัฐจนเป็นอัมพาต
ที่สำคัญคือจับกุมเจ้านายเชื้อพระวงศ์
และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นตัวประกัน บุคลที่สำคัญคือ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์พินิจ
ซึ่งมีตำแหน่งเป็นประธานอภิรัฐมนตรีสภา
เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยและผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร
มีบันทึกของชาวต่างชาติ ที่ติดตามเหตุการณ์การเมืองไทย บันทึกไว้ดังนี้
“..และการปฏิวัติก็สำเร็จเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาไม่ถึง
24 ชั่วโมง รัชกาลที่7 กำลังเล่นกอล์ฟ
กับรำไพพรรณี และนายหน้าค้าอาวุธชาวอังกฤษในเช้าวันนั้น เมื่อได้ข่าวขณะอยู่หลุมที่แปด เขาหันไปพูดกับราชินีว่า “เห็นไหมล่ะฉันว่าแล้ว”....”
เมื่อคณะผู้ก่อการเข้ายึดอำนาจได้สำเร็จ พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะ เป็นผู้อ่าน “ประกาศคณะราษฎร”
ที่หลักหมุด หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม บริเวณพระบรมรูปทรงม้า ด้วย ถ้อยคำที่ดุดัน ซึ่งมีข้อความที่เป็น
การเปลี่ยนทัศนะที่สำคัญ อันดับหนึ่ง คือ
ความเป็นเจ้าของประเทศ ความตอนหนึ่งว่า
“…ราษฎรทั้งหลายพึงรู้ไว้เถิดว่า
ประเทศของเรานี้ เป็นของราษฎร
ไม่ใช่เป็นของกษัตริย์ ตามที่เขาหลอกลวง
บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้กู้ให้ประเทศมีอิสระภาพ พ้นจากมือข้าศึก..” ตรงกับการเสนอของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์และคณะ ที่เสนอต่อรัชกาลที่5 เมื่อรศ.103 ที่ว่า “..แผ่นดินสยามเป็นของชาวสยามทั้งหมด ..”
@
การประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองฉบับแรก ของประชาชน
ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2475
3 วันหลังจากวันยึดอำนาจ ซึ่งกษัตริย์ เป็นผู้ลงนาม (แต่รัชกาลที่ 7 ต่อรองเพิ่มคำว่า ชั่วคราว ลงไป
)
มาตรา 1 “
อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”
จากวันนั้น จนถึงวันนี้
อำนาจสูงสุดของประเทศ ไม่ได้เป็นของ“กษัตริย์” อีกต่อไปแล้ว
สยามจึงเข้าสู่ ภพใหม่ ชาติใหม่ โดยสมบูรณ์
นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันนี้
โฉนดที่ดินสยามผืนนี้ ที่ราษฎรลงชื่อ
กษัตริย์เป็นเจ้าของมาช้านาน บัดนี้ราษฎรได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อ เจ้าของ
โดยลงชื่อราษฎรทุกคน ลงไปในโฉนด เรียบร้อยแล้วโดยสมบูรณ์
----------------------------------
4) เหตุการณ์หลังจากการประกาศ
“ความเป็นเจ้าของประเทศ”
และ “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย” ต่อมาจนถึงปัจจุบัน คือ การพยายามทำลาย ความเป็นเจ้าของประเทศของประชาชน และทำลาย “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น
เป็นของราษฎรทั้งหลาย”
สองประโยคนี้ เป็นประโยคที่หลอกหลอนฝ่ายอำนาจเก่า มาโดยตลอด
จึงพยายามแย่งอำนาจสูงสุดของประทศไปจากราษฎรตลอดเวลาจนถึงปัจจุบันนี้ ความพยายามโดยการ บิด
ภาษาทางกฎหมาย ให้เกิดความพร่ามัวในการกำหนดอำนาจสูงสุดของประเทศในรัฐธรรมนูญ หรือ เข้ายึดอำนาจเอาดื้อๆ โดยใช้กำลังทหารเผด็จการ
เนื่องจากเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงประเทศใหม่ ยากที่จะหาสามัญชน
ที่มีความรู้ความสามารถพอที่จะมาเป็นรัฐมนตรี หรือ
ข้าราชการระดับสูงได้ เพราะแต่โบราณมา ศักดินาจะปิดกั้นชาวบ้านไม่ให้มีการศึกษาสูง
กลัวว่าจะยากแก่การควบคุม ต้องการให้ดำรงสภาพไพร่ ข้าทาส ขี้ข้า กดข่มไว้ว่า“อย่าใฝ่สูงให้เกินศักดิ์” “ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงาหัว”
ขุนนางที่มีอิทธิพล ในการบริหารงานจึงยังเป็นเชื้อพระวงศ์
และขุนนางจากระบบเก่า ได้ใช้เล่ห์กล สร้างปัญหาให้คณะราษฎร อย่างหนัก
เพื่อหาโอกาสชิงอำนาจคืนจากราษฎร
โดยพยายาม “.ยุยงให้แตก
แยก ตอก ลิ่ม บิดเบือน
ก่อกวน ต่อรอง หลอกลวง และ กระทั่ง ใช้กำลังเข้ายึดอำนาจ
”
และหาทางฉุดรั้ง ทำลาย
การพัฒนาประชาธิปไตยดลอดเวลา
นายปรีดี
พนมยงค์
ได้เตรียมการไว้แล้ว
ที่จะก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองให้เป็นตลาดวิชา เปิดประตูให้กว้างที่สุด
เพื่อให้ “สามัญชน”ได้เข้าถึงความรู้ระดับสูง เพื่อมาใช้อำนาจการบริหารประเทศ
ซึ่งเป็นของราษฎรแล้ว สามัญชนจะบริหารประเทศด้วยตัวเองแล้ว
@ วันที่10
ธันวาคม 2475 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร
หลังการยึดอำนาจ 6 เดือน ซึ่งอำนาจเก่าใช้เล่ห์กล
ต่อรอง จนต้องเขียนรัฐธรรมนูญว่า“อำนาจอธิปไตยมาจาก
ปวงชนชาวไทย แต่กษัตริย์ เป็นผู้ใช้อำนาจ...”
โดย ไม่ระบุความเป็นเจ้าของ นี่คือการเริ่มทำลาย ความเป็นเจ้าของอำนาจสูงสุดของประชาชนเป็นครั้งแรก โดย วิธีการ
บิดภาษาทางกฎหมาย ทำให้พร่ามัว ทั้งๆที่
เขียนง่ายๆ นี่เป็นการเริ่มต้นใช้เล่ห์ ลวงตา พรางตา
เพื่อเปิดช่องให้มีโอกาสทำลาย
“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น
เป็นของราษฎรทั้งหลาย”อย่างมีเจตนา
@ กบฏบวรเดช 11 ตุลาคม 2476 ฝ่ายเจ้ายังไม่สิ้นความพยายาม
พระองค์เจ้าบวรเดช รวบรวมกำลังทหารจากนครราชสีมา สระบุรี และเพชรบุรี บุกเข้าพระนครจะยึดอำนาจคืน ขณะที่รัชกาลที่7 ได้เสด็จไปตั้งหลัก
ณ.พระราชวังไกลกังวล
หัวหิน ซึ่งภายหลัง พบบันทึกว่ารัชกาลที่7 ได้จ่ายเงินสองแสนบาทให้พระองค์เจ้าบวรเดชไปก่อนหน้านั้น
ฝ่ายคณะราษฎร ยกกำลังทหารเข้าปราบปราม ฝ่ายกบฎใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มกรุงเทพฯ
กองกำลังหลักของทั้งสองฝ่าย ปะทะกันที่ ทุ่งดอนเมืองต่อถึงทุ่งบางเขน
การสู้รบใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ กองกำลังฝ่ายคณะราษฎรจึงปราบปรามกองกำลังฝ่ายกบฎได้สำเร็จ
บวรเดชหนีไปลี้ภัยที่อินโดจีนฝรั่งเศส (เวียตนาม) พันเอก
พระยาศรีสิทธิสงคราม(ดิ่น ท่าราบ) คุณตาของสุรยุทธ จุลานนท์ รองแม่ทัพถูกยิงเสียชีวิต มีการกวาดล้างจับกุมฝ่ายเจ้าอย่างหนัก จนเกิดตำนานนักโทษบน เกาะตะรุเตา และคณะราษฎรได้สร้างอนุสาวรีย์ปราบกบฏ
ไว้ที่ ทุ่งบางเขน บริเวณใกล้วัดประชาธิปไตย (ศรีมหาธาตุ)นี่คือความพยายามของฝ่ายเจ้า ที่ใช้กำลังทหารแย่ง อำนาจสูงสุดของประเทศไปจากราษฎร แต่ล้มเหลว
@ การสละราชสมบัติของรัชกาลที่7 1 ปีหลังจาก
ล้มเหลวจากความพยายามก่อกบฏต่อรัฐบาลฝ่ายราษฎร รัชกาลที่7ได้สละราชสมบัติโดยทางจดหมาย
ในขณะที่ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ โดยมีพระราชหัตถเลขาสละราชสมบัติ ลงวันที่ 2 มีนาคม 2477 เวลา13.45น. หลังจากที่ต่อรองกับรัฐบาลอยู่หลายเดือน
โดยใช้การสละราชสมบัติมาต่อรองเรื่อง อำนาจ
สิทธิ ทรัพย์สิน ผลประโยชน์ ของกษัตริย์
และการนิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อการกบฏ (พระปกเกล้ากับคณะราษฎร) เมื่อการต่อรองไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงสละราชสมบัติ และแสดงพระราชประสงค์ว่า “..ไม่มีความประสงค์ที่จะบ่งนามผู้หนึ่งผู้ใดให้เป็นผู้รับสืบสันตติวงศ์ต่อไป..” และต่อมารัฐบาล
ด้วยการเห็นชอบ จากรัฐสภาจึงได้อัญเชิญ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า
อานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์ เป็นรัชกาลที่8
ต่อมา
@ เหตุการณ์
รัชกาลที่8 ถูกลอบปลงพระชนม์ เมื่อรัชกาลที่7
สละราชสมบัติ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 คณะรัฐบาล ด้วย ความเห็นจากรัฐสภา ได้อัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า อานันท มหิดลขึ้นครองราชย์ ขณะที่พระชนม์มายุ 9 พรรษา ขณะนั้นศึกษาอยู่ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้วก็เสด็จกลับไปศึกษาต่อ
และประทับที่สวิสเซอร์แลนด์อย่างต่อเนื่องไม่ได้อยู่ในประเทศ ระหว่าง ครองราชย์ระยะเวลา12 ปี กลับประเทศเพียง2 ครั้ง ครั้งละ2-6เดือน ในพ.ศ. 2481 และ พ.ศ. 2488 และการกลับประเทศครั้งที่สองนี้
ได้ถูกลอบปลงพระชนม์ ขณะที่ทรงบรรทม อยู่ในพระที่นั่งบรมพิมาน
ในพระบรมมหาราชวัง
@ มีเสียงปืนดังขึ้น1นัด ในเช้าตรู่วันที่
9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9.30 น.และรัชกาลที่ 8สิ้นพระชนม์
ทิ้งปริศนาไว้ให้สังคมไทย และประชาชนไทยต้องสืบค้นหาคำตอบต่อไป ซึ่งปัจจุบันความเจริญทาง
นิติวิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามาก น่าจะสามารถที่จะวิเคราะห์ประเด็นสำคัญคือ ผู้ลั่นกระสุนนัดปริศนา
ได้ไม่ยากนัก (บุญร่วม เทียมจันทร์)
@ หลังจากนั้น ประทศไทยได้สู่ ยุคสมัยของรัชกาลที่9
จนถึงปัจจุบันนี้ สถาณการณ์ การฉุดกระชาก
ลากถู เพื่อทำลาย“ประเทศของเรานี้
เป็นของราษฎร”
“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”
มีการทำรัฐประหารประมาณ
18 ครั้ง ร่างรัฐธรรมนูญมาแล้ว18ฉบับ โดยมี
“นักมายากลทางการเมือง”
อยู่เบื้องหลังขบวนการแย่ง อำนาจสูงสุดของประเทศ ไปจากประชาชนทุกเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็น การรัฐประหาร2490 เหตุการณ์ 14 ตุลา2516 เหตุการณ์อำมหิต 6 ตุลาคม 2519 พฤษภาคม 2535 และรัฐประหาร19 กันยายน 2549 แต่ที่หลอกลวงที่สุดคือ การใช้เล่ห์
ในการแย่งอำนาจสูงสุดของประชาชน
ผ่านการร่างรัฐธรรมนูญ ให้อำนาจสูงสุดไปตกอยู่แก่
อภิสิทธิ์ชน มีการกระทำอย่างเป็นขบวนการ
ปฏิบัติการอย่างเป็นระบบ
และต่อเนื่องมาตลอด 80 ปี
กลุ่มนักมายากลทางการเมืองเหล่านี้
ใช้วิธีการ กล่าวร้ายใส่ความประชาชน ว่ายังโง่
ยังไม่พร้อมที่จะมีประชาธิปไตย ซึ่งใช้เป็นเหตุผลที่อมตะ
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 อ้างกันมา
127 ปีแล้ว จนถึง พ
ศ.2555 ยังแสร้งมาตั้งคำถามว่า
“ประชาธิปไตย เหมาะกับประเทศไทยหรือไม่? ” เป็นการหาเหตุ
หาเรื่อง เจตนาทั้งสิ้น เพื่อ แย่งชิง อำนาจสูงสุดของประเทศ
ไปจากประชาชน
@ ปัญหาจากการใช้ทัศนะการมอง
แบบ “ยกตัวเองออกมา
อยู่สูงกว่าประชาชน แล้วมองประชาชนต่ำกว่า” คือ
ปัญหาของฝ่ายประชาธิปไตยของประชาชนในวันนี้
นักการเมือง นักวิชาการ
สื่อมวลชน ศิลปิน อดีตผู้นำมวลชน ข้าราชการ ตุลาการ และทหาร “
ซึ่ง ชาติตระกูล
ก็เป็นราษฎรธรรมดา” และมีสถานภาพทางสังคม
จากการที่ประชาชนให้ความไว้วางใจ หรือเป็นพลังสนับสนุนถึงกับยอมเสียสละชีวิตเข้าร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในอดีต
วันนี้ กลับหลงตนเอง เห็นแก่ตัว
ขายตัวขายวิญญาน และหักหลังประชาชน
ฝึกหัด ลีลาวาทะกรรมที่หลอกลวงประชาชน แบบชนชั้นสูง เลยเถิดไปถึงกับสอพลอ
จินตนาการ
ไปไกล เกินกว่าพระราชา เสนอคืนอำนาจให้กับระบบเก่าที่ประวัติศาสตร์ได้ก้าวข้ามไปแล้ว
คนเหล่านี้หลงผิด เคลิบเคลิ้มไปว่า
คำนำหน้านาม ศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ อาจารย์ ว่า แสดงถึงความมีความคิดก้าวหน้า พวกนี้จึงหลงในอุปาทาน ทำให้ไร้ปัญญา จนไม่รู้ว่าตนเองได้ฮุบเหยื่อที่ล่อไว้ และตนเองได้ถูกกำหนดให้เป็นเป้าหมาย
จาก“นกต่อ”
และถูกทำให้“เป็นนกต่ออีกทอดหนึ่ง”ใช้วิธีการสร้างบุญคุณและมาทวง“ข้าวแดงแกงร้อนที่ราดหัว” ทำให้เกิด“จิตสำนึกทาสไพร่”ขึ้นในตน
ทั้งๆที่คนเหล่านี้มิได้เกิดในยุคสมัยนั้น
จึงยอมกระทำอัตวินิบาตกรรมหมู่ ต่อเกียรติยศศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของตนเอง
ปัญญามืดบอดลืมแม้กระทั่งบรรทัดที่หนึ่งของระบบประชาธิปไตย ที่เป็นคำประกาศสิทธิมนุษยชนว่า“ทุกคนเกิดมามีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เท่าทียมกัน”และไม่เคยเข้าใจ
ในความหมายของ“ประกาศของคณะราษฎรฉบับที่1”ลงวันที่
24มิถุนายนพุทธศักราช2475 เลยแม้แต่น้อย
ทรยศต่ออุดมการณ์
ของคณะราษฎร
ที่เสี่ยงชีวิตทำ เพื่ออนาคตของลูกหลาน คือทุกคนในวันนี้ ซึ่งรวมถึงคนเหล่านี้ด้วย พวกนี้กลับ เนรคุณ มาลงมือทำลาย“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”เสียเอง
ชนชั้นสูงใช้เล่ห์กลเข้าหา
เสนอผลประโยชน์ด้านสถานภาพทางสังคม
ความมั่นคงในอาชีพ และรายได้มากมาย ทำงานความคิด หลอกใช้เป็นเครื่องมือ และป้อนสิ่งเสพติดให้คนกลุ่มนี้ คือ“ให้เสพติด ความเป็นอภิสิทธิ์ชน แบบชนชั้นสูง”
ซึ่งเลิกยากกว่า การเลิกเสพยาเสพติด
จึงไปร่วมมือกับชนชั้นสูง
และสะท้อนทัศนะแบบชนชั้นสูง คือ ดูถูกเหยียดหยามประชาชน “คนที่มีการศึกษาสูงอย่างฉันจะให้คนที่โง่กว่ามาเลือกรัฐบาลให้ได้อย่างไร”
คนเหล่านี้ไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน หลงตนเองว่าบรรลุซึ่งคำตอบของสังคม ทึกทักเอาเองว่า ควรเป็นผู้กำหนดความเป็นไปของประเทศ และร่วมมือกับเผด็จการโบราณ
ยึดอำนาจสูงสุดของประเทศไปจากประชาชนในการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
และเข้าร่วมผลประโยชน์ ในตำแหน่งทางการเมืองและองค์กร
ต่างๆ จากการอุ้มชูของผู้ที่ปล้นอำนาจประชาชน
โดยอิงกฎหมายที่ร่างกันขึ้นมาเอง จึงยอมร่วมมือทำลาย
“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น
เป็นของราษฎรทั้งหลาย”เสียเอง
สื่อมวลชนไทย ร่วมสร้างสถานการณ์ ชี้นำและปูทางให้ทหารทำรัฐประหารโค่นล้มระบอบประชาธิปไตย
จนสำเร็จ
ช่วยปกป้องความชอบธรรมให้คณะรัฐประหารและองค์กรที่คณะรัฐประหารสร้างขึ้น ผู้ดำเนินรายการทางโทรทัศน์ วิทยุและหนังสือพิมพ์
ส่วนใหญ่แสดงการพินอบพิเทา ประจบสอพลอต่อผู้ถืออาวุธ แต่แสดงกิริยาอาการเหยียดหยาม กดข่ม
ตัวแทนที่ประชาชนเลือกตั้ง ทั้งๆที่ตามสถานภาพสื่อมวลชน
ต้องอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการโบราณ
ผู้ดีรัตนโกสินทร์ หลงตัวจนเสียสติ เล่นลิ้นวาทะกรรม ถึงกับมาตั้งคำถาม ใน พ ศ.2551
ว่า “ประเทศไทย
เหมาะกับระบบประชาธิปไตยหรือไม่ ?”ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เสนอแยกคนไทยว่า
ต้องเลือกข้าง ราษฎรอาวุโส ที่พร่ำบรรยายแต่คุณธรรมและอ้างตัวเป็นนักสันติวิธี มาชี้นำ การลอบสังหารนายกรัฐมนตรีที่ประชาชนเลือกมาตามระบอบประชาธิปไตย
และสนับสนุนการทำรัฐประหารอำนาจรัฐของประชาชน โดยเผด็จการทหาร เพียง แต่รัฐบาลไม่ยอมอยู่ในโอวาทของตน
@ ธรรมศาสตร์เป็นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่สำคัญ
“ นายปรีดี พนมยงค์ ได้เตรียมการไว้แล้ว ที่จะก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองให้เป็นตลาดวิชา
เปิดประตูให้กว้างที่สุด เพื่อให้ “สามัญชน”ได้เข้าถึงความรู้ระดับสูง
เพื่อมาใช้อำนาจการบริหารประเทศ ซึ่งเป็นของราษฎรแล้ว ”
ธรรมศาสตร์จึงเป็นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่สำคัญ อำนาจเก่ามุ่งคืบคลานเข้ายึดครองอย่างใจเย็น
นุ่มนวล ส่งสมุนเข้าดำรงตำแหน่งในระดับสูง ซึ่งวันนี้คือ สุเมธ ตันติเวชกุล มาเป็นประธานสภาอาจารย์ ค้นหานักวิชาการที่กระสันอยากในตำแหน่งมากๆ
และพร้อมที่จะพินอบพิเทา เป็นสมุนรับใช้ที่ซื่อสัตย์ ใช้วิธีการสร้างบุญคุณ และมาทวง“ข้าวแดงแกงร้อนที่ราดหัว”ทำให้เกิด“จิตสำนึกทาสไพร่”ขึ้นในตน
ใช้วิธีการเข้าหา และผลักดันให้ได้ดิบได้ดี
ช่วยผลักดันให้มีเกียรติยศในสังคมด้วยตำแหน่งเป็นคณะกรรมการมากมาย
มีโอกาสท่องไปทั่วโลก
ได้ทั้งเกียรติยศ
และรายได้มหาศาล วันนี้ คือ สุรพล นิติไกรภพ เจ้าของวาทกรรม “จะเรียกว่าคณะทหารหรือข้าราชการประจำ หรือจะเรียกว่าพวกอมาตยาธิปไตยก็ตาม แต่บทบาทของคนเหล่านี้ที่ถูกขับออกจากเวทีการเมืองไปในช่วง 5 ปีหลังมานี้จะกลับมาอีก
…ผมคิดว่ามันจำเป็นที่จะต้องกลับมา ผมคิดว่าคนเหล่านี้คือคนที่เป็นหลักของสังคมจะมากจะน้อยก็มีคนดี เป็นคนที่ห่วงใยประเทศชาติ” และไปเป็นสมุนรับใช้ คณะรัฐประหาร19 กันยายน2549 อย่างซื่อสัตย์ กัดไม่ปล่อย เสนอหน้าช่วยอธิบายและร่วมขบวนการทำลายหลักนิติธรรมของประเทศ
การคัดเลือกผู้บริหารระดับต่างๆในธรรมศาสตร์ จึงเป็นระบบที่ล้าหลัง
เพื่อให้ผู้ที่มีทัศนะแอบอิงระบบเก่ามีอำนาจพฤติกรรมนี้เป็นการประจานถึงความล้าหลังกว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ในทัศนะประชาธิปไตยสากล
“สำนักธรรมศาสตร์”จึงนำเสนอ
และผลักดันแนวคิด ตุลาการภิวัฒน์
ซึ่งเป็นอำนาจที่อิงสมบูรณาญาสิทธิราชย์มากที่สุด ทำลายอำนาจของประชาชน
ไปเพิ่มอำนาจให้ตุลาการมากที่สุด นับแต่มีรัฐธรรมนูญ หลัง พ ศ.2475
เป็นต้นมา
“สำนักธรรมศาสตร์”
ชี้นำ
ปูทางให้เผด็จการทำรัฐประหาร อธิบายให้การรัฐประหารอำนาจรัฐของประชาชนมี ความชอบธรรม ประคับประครองให้คำปรึกษา และคอยหาจังหวะให้ท้ายกลุ่มที่ทำลายประชาธิปไตย
“สำนักธรรมศาสตร์”
ร่วมร่างรัฐธรรมนูญ
2550
ที่ทำลายประชาธิปไตย ทำลายหลักสิทธิมนุษยชน ทำลายหลักนิติรัฐ
นิติธรรม และผู้บริหารธรรมศาสตร์
คณาจารย์และศิษย์เก่าจำนวนมาก
ได้รับรางวัลตอบแทนในตำแหน่งต่างๆในองค์กรที่คณะรัฐประหารสร้างขึ้น ธรรมศาสตร์ในยุคสมัยที่ถูกเผด็จการครอบงำความคิดจึงหมดศักดิ์ศรีโดยสิ้นเชิง
@ สำนักธรรมศาสตร์
วันนี้เสนอถวายคืนพระราชอำนาจ นี่คือ การทรยศ หักหลังอย่างสูงสุด ต่อราษฎร ต่อผู้ประศาสน์การ ต่อจิตวิญญาณ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และการเมือง” วันนี้ สำนักธรรมศาสตร์
ลงมือทำลาย“อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”ด้วยมือตนเอง
ส่วนสำนักจุฬาลงกรณ์นั้น
ถูกควบคุมโดยราชสำนักจากการอ้าง
ความเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมด คณาจารย์ส่วนใหญ่ก็ร่วมมือกับเผด็จการเป็นปรกติวิสัยอยู่แต่เดิมแล้ว
ได้ดำเนินการตลอดเวลาหลายสิบปีมานี้ในการส่งเครือข่ายของตนไปควบคุมอำนาจในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ
แต่ครั้งนี้กระทำยิ่งกว่าทุก ครั้ง
คือ สร้างกระแสให้นักวิชาการทั่วประเทศเห็นดีเห็นงามไปกับการรัฐประหาร
เชิดชูอำนาจสมบูรณาญาสิทธิราช ไปทั้งประเทศ
ลงไปถึงระดับโรงเรียนทุกโรงเรียน
@ เกิดกรณีการเปิดโปงตัวเอง ครั้งสำคัญที่สุด
นับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 คือ พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่
6 เมษายน 2489 ตรงกับวันจักรี ได้เปิดโปงตัวเองว่า“แก่นแท้แล้วไม่ใช่พรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
แต่ เป็นองค์กรหนึ่งของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่แทรกตัวเป็นยาดำอยู่ในระบบประชาธิปไตยไทย”
แต่จะมีการลวงตาให้เข้าใจผิดว่า
เป็นฝ่ายประชาธิปไตยเป็นครั้งคราว โดย ต่อสู้ เพียงใช้วาท
กรรมตอบโต้กับเผด็จการทหารเท่านั้น
แ ละกระทำเฉพาะสถานการณ์ทางการเมืองเมื่อทหารบางกลุ่มออกนอกลู่นอกทาง
ยึดครองอำนาจทางทหารและอำนาจการเมืองอย่างเบ็ดเสร็จ ที่อาจจะเป็นอันตราย
ต่ออำนาจสมบูรณาญาสิทธิราชย์เท่านั้น
การเปิดโปงตัวเองของประชาธิปัตย์
ได้ปรากฏชัดก่อนเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน2549
เมื่อประชาธิปัตย์ประเมินว่าจะแพ้การเลือกตั้งแน่
จึงไม่ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยอ้างว่ากลัวจะถูกเอาเปรียบ
และเสนอให้ถวายคืนพระราชอำนาจ
โดยอ้างมาตรา 7 ขอนายกพระราชทาน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อไม่สำเร็จ จึงได้ร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตร ชี้นำ เชิญชวน ร่วมสร้างสถานการณ์ และปูทาง ให้ทหารทำการรัฐประหารโค่นล้มระบอบประชาธิปไตย
จนสำเร็จ ยังช่วยปกป้องความชอบธรรมให้คณะรัฐประหาร
และองค์กรที่คณะรัฐประหารสร้างขึ้น ร่วมและสนับสนุนในกิจกรรมต่างๆที่คณะรัฐประหาร กระทำการ เพื่อ ทำลาย พรรคการเมืองคู่แข่ง ถึงระดับ ให้ยุบพรรค ด้วยรู้ว่าไม่สามารถ
เอาชนะฝ่ายประชาชนได้
ที่สุดแม้การเลือกตั้งโดยรัฐธรรมนูญ2550 ฝ่ายคณะรัฐประหารได้กระทำการใช้อำนาจรัฐ อำนาจทางทหาร โกงการเลือกตั้งทุกวิธีการ ทั้งการใช้งบลับดำเนินการ
เรียกผู้นำชุมชนและหัวคะแนนไปข่มขู่ในค่ายทหาร ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งช่วยเหลือเ
มื่อประชาธิปัตย์ ถูกจับซื้อเสียง และช่วยโกงคะแนนเสียงทุกวิธี แต่ประชาชนได้ตอบโต้อย่างรุนแรง ไม่เกรงกลัว โดย เลือกพรรคที่ทำให้ชีวิตประชาชนดีขึ้น
ผลการเลือกตั้ง จึงพ่ายแพ้ต่อประชาชน
อย่างยับเยิน
พรรคประชาธิปัตย์โกรธแค้นประชาชน และระบายความเคียดแค้น โดยใส่ร้ายป้ายสี ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศว่าโง่ ถูกหลอก เห็นแก่เงิน ประชาชนส่วนใหญ่จึงทอดทิ้งพรรคประชาธิปัตย์โดยสิ้นเชิง
เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นการเปิดโปง ได้อย่างสมบูรณ์ ว่า “พรรคประชาธิปัตย์
เผด็จการทหาร
ตุลาการ แ ละสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็น องค์กร เ ดียวกัน ”
แต่
เมื่อประชาชนเห็นความจริงทั้งระบบ กลับไม่เกรงกลัว กลับให้บทเรียนอย่างเจ็บปวดที่สุดแก่องค์กรนี้ โดยใช้สิทธิ
1 หุ้นส่วนของประเทศไทยที่ตนเองมี มาจัดการจน สำเร็จ
.
บทสรุปทั้งหมดนำไปสู่การพิจารณา รัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และ 2550
ดังนี้
@ รัฐธรรมนูญ2540
คือรัฐธรรมนูญที่ทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็ง ทำให้พรรคการเมืองของประชาชนเข้มแข็ง ประชาชนมีความเป็นเจ้าของพรรคการเมือง
ประชาชนควบคุมนักการเมืองได้มากขึ้น ควบคุมนโยบายพรรคได้ และทำให้ประชาธิปไตยก้าวหน้า พาประชาชนมุ่งสู่ป้าหมาย “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”รวดเร็วอย่างไม่เคยมีมาก่อน
การก่อประโยชน์ต่อประชาชนของรัฐธรรมนูญ 2540
นี่เอง ทำให้ฝ่ายที่ต้องการให้ประชาชนอ่อนแอ
ต้องทำลายทิ้ง
@ รัฐธรรมนูญเผด็จการทหาร
2550 ฝ่ายประชาธิปไตยไม่ถือว่าเป็นกฎหมาย เป็นเพียงสมุดบันทึก
ที่เขียนระบาย ความโกรธแค้น
อาฆาต พยาบาท อิจฉาริษยา ต่อตัวบุคคล
ต่อรัฐธรรมนูญ2540 และต่อ
“ประชาชนนอกคอก” ที่ต้องการกินดีอยู่ดี และต้องการบงการชีวิตตัวเอง
รัฐธรรมนูญ2550 เป็น ผลงานของ นักวิชาการไพร่ ข้าทาสของพวกเจ้า ที่ใช้เป็นเครื่องมือทำลาย “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย”
ทำลายสิทธิ 1
หุ้นส่วนของประเทศไทย ของประชาชน ดังนี้
1 ทำลายหลักนิติปรัชญาประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง
เช่น ทำลายหลักกฎหมาย
ให้ “สามัญชน
can do no
wrong” เกิดสามัญชนแบบราชาและเกินกว่าราชา ให้กฎหมายย้อนหลังที่เป็นโทษได้ ฯลฯ
2 ให้ตุลาการที่เป็นส่วนหลงเหลือของสมบูรณาญาสิทธิราชย์
มีอำนาจเหนือฝ่ายการเมืองทั้งระบบ
3 สถาปนาอำนาจที่ 4
หรืออำนาจเผด็จการทหารในนาม “ฝ่ายความมั่นคง”
4 ลดความสำคัญของประชาชนผ่านการทำลายความสำคัญของพรรคการเมืองให้รู้สึกว่าไว้ใจไม่ได้
5 สถาปนาอมาตยาธิปไตยทั้งระบบ พร้อมๆกับการสถาปนาระบบ“พ่อคนรู้ดี
ของกลุ่มอภิชนาธิปไตย”
6 รองรับการทำรัฐประหารโดยทหารในอนาคต ให้ชอบธรรมตามกฎหมาย
7 เปิดโอกาสการเพิ่มงบประมาณทหารได้อย่างมากมาย
8 ยังอีกมากมายที่“กลุ่มไพร่ทาส
นักมายากลทางกฎหมาย”ซ่อนไว้เพื่อทำลายอำนาจสูงสุดของประชาชน
เผด็จการโบราณ ใชัรัฐธรรมนูญ2550เพื่อ
ยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่สมบุรณาญาสิทธิราชต้องการบรรลุ
คือการบันทึกความทรงจำทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยต้องการให้ประชาชนบันทึกลงไปในความทรงจำว่า
“พรรคการเมืองของประชาชนนั้นเลว
นักการเมืองนั้นเลว ประชาชนนั้นเลวและโง่ ประเทศนี้มีแต่
สมบูรณาญาสิทธิราช
เท่านั้น ที่ดีที่สุด
ประเทศนี้ too much democracy is not good”
“ราษฎรที่มีจิตใต้สำนึกทาสไพร่
ขี้ข้า ได้เลียนแบบทัศนะของชนชั้นสูง จับกลุ่มรวมตัวกันไปสัมพันธ์กับชนชั้นสูง
แยกตัวเองเป็นกลุ่มอภิสิทธิ์ชน ขายจิตวิญญาน หักหลังฝ่ายราษฎร ลงมือทำลาย “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น
เป็นของราษฎรทั้งหลาย ” อย่างถึงแก่นด้วยมือของตนเอง
ทั้งๆที่ ชาติตระกูล
ก็เป็นราษฎรธรรมดา”กลุ่ม
อภิชนาธิปไตยกลุ่มนี้ หลงใหลในความเป็นข้าทาส หลงไปในอภิสิทธิ์ที่ได้เสพทุกวัน
เป็นการเสพติด ทีละ น้อยๆ ทำให้หลงในอุปาทาน หลงไปว่าอุปาทาน คือสัจจะธรรม ไม่อาจเข้าถึง“สัจจะวิวัฒนาการของสังคม”
ได้อย่างแท้จริง
จึงมาอวดอุตริ จนหลงไปว่าตนเองคือผู้ทรงคุณธรรมสูงสุด
ฉลาดที่สุดกว่ามนุษย์อื่น จึงดำเนินชีวิตไปบนเส้นทางฉุดรั้งสังคม ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันของประชาชน
โดย ใช้ทัศนะที่ผิดคือ ยกตัวเองออกมา
อยู่สูงกว่าประชาชน แล้วมองประชาชนต่ำกว่า
รัฐธรรมนูญ2550 เป็นผลงานของ นักวิชาการทาสไพร่สมุนรับใช้ “นักมายากลทางการเมือง” ที่สร้างอิทธิพลควบคุมสังคม โดยสร้างเครือข่ายคือ
พรรคประชาธิปัตย์ ทหารพระราชา และ ตุลาการ และส่งลูกสมุนเข้าควบคุม
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันการศึกษาทั้งระบบ
นักวิชาการทาสไพร่ วงการสื่อสารมวลชน ข้าราชการทั้งระบบ
และให้ลูกสมุนสร้างองค์กรมวลชนมาล้อมรอบตน โดยใช้เจ้าเล่ห์หลอกลวง เพื่อทำลาย “อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น
เป็นของราษฎรทั้งหลาย” ที่มีการกระทำอย่างต่อเนื่อง
อย่างมียุทธศาสตร์ และยุทธวิธี มาตลอด 76 ปี
---------------------
หลักการสำคัญ ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน โดย พิจารณาจาก เส้นทางประชาธิปไตยไทย 123 ปี
และปัญหารากฐานที่เป็นจริงในวันนี้ของประเทศไทย
ที่ยังไปไม่ถึง
การประกาศปฏิญญา อุดมการณ์ของประเทศ
จึงนำเสนอ
หลักการสำคัญ 3 ประการ ในการร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับประชาชน ดังนี้
1) หลัก “ประเทศนี้เป็นของประชาชน” “อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของประชาชน” จะบัญญัติให้บุคคลใด
ได้อภิสิทธิ์ ในอำนาจนิติบัญญัติ
บริหาร และตุลาการ
เหนือกว่าประชาชนหรือตัวแทนประชาชนไม่ได้
2 ) หลัก “ศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน ”
3)
หลัก ปฏิเสธ
การสถาปนาอำนาจที่สี่ ในนามฝ่ายความมั่นคงของสมบูรณาญาสิทธิราช จะให้บุคคลใดหรือกลุ่มบุคคลใด มีอำนาจ เหนือ
หรือ เทียบเท่า อำนาจของ ประชาชน จะทำไม่ได้ โดยเด็ดขาด
รัฐธรรมนูญ ต้องสถาปนาหลักการ
ของคณะราษฎร ตามประกาศคณะราษฎรฉบับที่1 และบทบัญญัติใน“ธรรมนูญการปกครองฉบับแรก
ของประชาชน ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2475
”ที่ถูกขัดขวาง โดย สมบูรณาญาสิทธิราชจนถึงปัจจุบันนี้
โดยปฏิบัติการทำลายระบบคิดวิเคราะห์ของประชาชนด้วยการใช้ทุกเครื่องมือ
กระหน่ำโฆษณาชวนเชื่อระบบครอบครัว และให้ประชาชนเบื่อหน่ายระบบประชาธิปไตยจนรู้สึกว่า“พรรคการเมืองของประชาชนนั้นเลว นักการเมืองนั้นเลว ประชาชนนั้นเลวและโง่
สมบูรณาญาสิทธิราช
เท่านั้น ที่ดีที่สุด”เพราะเป็นผู้ให้โอวาท
ใช้การการสร้างพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ “ สาบแช่ง สาบาน ปฏิญานตน ฟังโอวาท” หากยังไม่เชื่อฟังก็จะตามมาด้วย “อาญาและอาวุธ” และประชาชนจำนวนหนึ่งฮุบเหยื่อ กลับมาขับไล่ประชาชนด้วยกันให้ไปอยู่ประเทศอื่น นี่เป็นความสำเร็จของวิธีการ “แบ่งแยก
แล้วปกครอง”