WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, June 5, 2012

go6: "ปิยบุตร" ย้ำ "นี่คือ การเข้าแทรกแซงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ"

ที่มา Thai E-News

ที่มา go6
5 มิถุนายน 2555



ศาลรัฐธรรมนูญเข้าแทรกแซง ก้าวก่าย ไม่ใช่เข้ามาในแดนอำนาจนิติบัญญัติ แต่เข้ามาในแดนอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญรูปแบบหนึ่ง ภาษาฝรั่งเขาเรียกว่า "Pouvoir constituant dérivé"

อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ คือ อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญรูปแบบหนึ่ง ใหญ่กว่าอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ สามอำนาจหลังนี้ เป็นเพียงอำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญ

โปรดดูภาพ ลำดับชั้น ดังต่อไปนี้

๑. อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ Pouvoir constituant

๒. อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญที่ใช้แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ Pouvoir constituant dérivé

๓. อำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญ Pouvoir constitué - ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ

ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เข้าแทรกแซงอำนาจนิติบัญญัติ แต่นี่คือ การเข้าแทรกแซงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ !!!! 




แผนภาพ 'อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ'

ที่มา : เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพ : วิญญูชน, ๒๕๕๕. หน้า ๑๔๙.
++++++++++++++++++++++++++++++++++
ข้อมูลเพิ่มเติมจากเฟซบุ๊ค "มั่นใจว่าเสื้อแดงจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับทักษิณเรื่องการปรองดอง"




"การแก้ไขรัฐธรรมนูญ" ไม่ใช่เรื่อง "หลักการแบ่งแยกอำนาจ" แต่อำนาจที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าที่มาจากรัฐสภาตามที่​รัฐธรรมนูญ 2550 กำหนด [1]

ตามคำอธิบายของคณะนิติราษฎร์ และ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [2]

โดยหลักการ รัฐสภาจะมี 2 สถานะ คือ:
(1) สถานะในการออกกฎหมาย (สถานะที่ใช้อำนาจนิติบัญญั​ติ)

(2) สถานะในการก่อตั้ง/​แก้ไขรัฐธรรมนูญ (สถานะที่ใช้อำนาจสถาปนารัฐ​ธรรมนูญแบบแก้ไขเพิ่มเติม)

อำนาจระดับในข้อ (1) ทั้งรัฐสภาและศาลต่างใช้อำน​าจที่ได้รับมอบมาจากรัฐธรรม​นูญ ซึ่งถือว่าเป็นไปตามหลักการ​แบ่งแยกตรวจสอบอำนาจ

แต่อำนาจระดับในข้อ (2) รัฐธรรมนูญได้มอบอำนาจนี้ให้กับรัฐสภา ซึ่งทำให้สภามีอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และถือว่าเป็นอำนาจสถาปนารั​ฐธรรมนูญรูปแบบหนึ่ง ที่มีลำดับชั้นทางกฎหมายสูง​กว่าอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ

ในประเด็นศาลรัฐธรรมนูญนี้ คณะนิติราษฎร์ อธิบายว่า "ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรตา​มรัฐธรรมนูญที่ใช้อำนาจตุลา​การ เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำ​นาจศาลรัฐธรรมนูญในการควบคุ​มตรวจสอบการแก้ไข เพิ่มเติมร​ัฐธรรมนูญไว้ ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่สามารถค​วบคุมตรวจสอบการแก้ไขเพิ่มเ​ติมรัฐธรรมนูญดัง เช่นการควบ​คุมตรวจสอบพระราชบัญญัติมิใ​ห้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ​ได้" [3]

สรุป ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีสิทธิ์แล​ะความชอบธรรมในการมาระงับหรือยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

--------------------------​--------------------------
อ้างอิง

[1] รูปนี้ดัดแปลงมาจากรูปในประ​ชาไท โดยผู้จัดทำมีเจตนาที่จะทำใ​ห้ประเด็นนี้สามารถเข้าใจได​้ง่ายขึ้น ดูตามลิงค์นี้ [http://www.facebook.com/​photo.php?fbid=101508793845​46699&set=a.376656526698.1​58748.108882546698&type=1&​theater]

[2] ดู แถลงการณ์ คณะนิติราษฎร์ "เรื่อง คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญกรณีรับ​คำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไว้พิจารณาและคำสั่งให้รัฐส​ภารอการดำเนินการเกี่ยวกับก​ารแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ​" [http://​www.enlightened-jurists.com​/blog/64] และ status ใน facebook ส่วนตัวของ พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล [http://www.facebook.com/​phuttipong.ponganekgul/​posts/449607045051967]

[3] แถลงการณ์ คณะนิติราษฎร์ "เรื่อง คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญกรณีรับ​คำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไว้พิจารณาและคำสั่งให้รัฐส​ภารอการดำเนินการเกี่ยวกับก​ารแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ​" [http://​www.enlightened-jurists.com​/blog/64]