ที่มา Thai E-News
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
3 มิถุนายน 2555
ไทยอีนิวส์ขอรวบรวมเหตุการณ์หลังกรณีศาลรัฐธรรมนูญรับ 5 คำร้องเกี่ยวกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้พิจารณา ทำให้ต้องชะลอการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ในวันที่ 5 มิ.ย. ออกไป
มติชนรวมความเห็นปรมาจารย์ - ล้วนเห็นสอดคล้องตรงกัน
โดยเริ่มต้นที่มติชนได้รวบรวมความเห็นของนักวิชาการที่ยึดหลักวิชาการมานำเสนอ โดยตีพิมพ์"ประมวลความเห็นนักวิชาการ หลังศาลรธน.รับคำร้องเรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้พิจารณา" - 02 มิถุนายน พ.ศ. 2555
โดยในนั้นมีความเห็นของ
1. พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตส.ว.ตาก
2. เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. ปิยบุตร แสงกนกกุล นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ และอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย นักวิชาการอิสระด้านนิติศาสตร์
5. วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ
จตุรนต์ทนไม่ได้ ออกมาแถลงข่าวชี้ให้มวลชนรับทราบ มันทำรัฐประหารเชิงตุลาการไปแล้วให้รู้ตัวด้วย
หลังจากนั้นคุณจาตุรนต์ ฉายแสง ได้ออกมาแถลงข่าว และชี้ให้มวลชนรับทราบว่า ไม่ต้องกลัวรัฐประหาร เพราะ ตุลาการฯได้ทำ ตุลาการภิวัฒน์ไปแล้ว โดยเป็นการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 2 มิ.ย. พร้อมเรียกร้องให้มีการเข้าชื่อถอดถอนตุลาการศาลรธน.
นักกิจกรรมดาวน์โหลดแบบฟอร์ม เข้าชื่อถอดถอนตุลาการศาลรธน.ที่เกี่ยวข้อง
คุณ Prain นักกิจกรรมได้โพสต์คลิปโดยระบุว่า "ประชาชนต่างรุมยื้อแย่งขอแบบฟอร์มถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกันอย่างหนา แน่น บริเวณงานครบรอบ 5 ปี "ความจริงวันนี้" ณ อิมแพค เมืองทองธานี กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2555"
ท่านสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่
1. http://www.mediafire.com/?qzxd7tv8bxi3747
2. http://prachachontai.com/up/law.pdf
ส่งเอกสารได้ที่ ตู้ ปณ.100 ปณศ.รองเมือง 10330 - (หรือร้านกาแฟชั้น 5 ห้างอิมพีเรียลลาดพร้าว)
ปธ.ศาลรธน.ออกมาโต้วันนี้ แต่เจอสมศักดิ์เจียมฯตอกกลับ "ใช้อำนาจเกินขอบเขตอย่างชัดเจน"
ในที่นี้เราจะยกการโต้แย้งมาทั้งหมด (ขอบคุณคุณ JPLSOFT ที่รวบรวม)
"วสันต์" ปัดศาลจุ้นนิติบัญญัติ ยันรับคำร้องตามรธน. หวังผู้แจงให้คำมั่นสัญญา ปชช.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ปธ.ศาลรธน.ปัดรับ 5 คำร้องวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหวังขวางกระบวนการสภา ระบุมีผู้ร้องมาตาม ม.68 ก็ต้องไต่สวน ชี้ถ้าไม่ล้มล้างการปกครองก็ยกคำร้อง หากมาชี้แจงก็เท่ากับให้คำมั่นสัญญาต่อประชาชน ยันไม่ได้จุ้นนิติบัญญัติแต่ตรวจสอบเพื่อลดความระแวงของสังคม ถ้าบริสุทธิ์ใจก็จบ ขออย่าเหมารวมปรองดอง ด้านตุลาการฯ เผยพิจารณาถี่ถ้วนแล้ว บอกแจ้งไปแล้วถ้ายังดื้อลงมติสภาต้องรับผิดชอบ ใครอยากถอดถอนก็ไม่ว่ากัน
วันนี้ (3 มิ.ย.) ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับ 5 คำร้องกรณีขอให้วินิจฉัยว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 50 อันเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศ โดยวิธีการที่มิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญไว้พิจารณา วินิจฉัย ว่า ไม่ใช่เพราะมีเจตนาที่จะขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เนื่องจากมีผู้มาร้องขอให้ศาลดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ซึ่งศาลก็ต้องไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงว่าการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการ เปลี่ยนแปลงการปกครองฯ ตามที่มีการกล่าวหาหรือไม่ หากการให้ข้อเท็จจริงทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า การดำเนินการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้อง ยังไม่มีพฤติการณ์ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ศาลก็ยกคำร้อง
“ แม้ขณะนี้ยังไม่มีการยกร่างกันเป็นรายมาตรา และถ้าจะอ้างว่าผู้ที่ยกร่างก็เป็นส.ส.ร.ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือ พรรคการเมือง แต่คนเหล่านี้คือผู้ที่จะต้องให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่ส.ส.ร.เป็นผู้ ยกร่าง จึงถือได้ว่าเป็นอำนาจสุดท้ายในการดำเนินการ อีกทั้งหากส.ส.ร.ทำผิดหลักการขึ้นมาจะทำกันอย่างไร ดังนั้นศาลจึงอยากที่จะรู้ว่า คนเหล่านี้ มีความคิดในเรื่องรูปแบบของการปกครองอย่างไร เช่น ถ้าบอกว่าจะไม่แตะสถาบัน แต่ทำไมถึงไม่ยกเว้นในหมวด 1 หมวด 2 ไว้ อย่างนี้มันต้องชัดเจน และต้องให้ความมั่นใจกับประชาชน และผู้ที่ร้องมา เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ก็อยากจะรู้เช่นกัน ซึ่งผู้ที่จะมาชี้แจงในชั้นไต่สวนก็เหมือนกับการให้สัญญาประชาคมกับสังคมและ ผู้ร้อง ว่า ถ้าหากส.ส.ร.ยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ออกมาไม่เป็นไปตามที่ชี้แจงในชั้นไต่สวน คนเหล่านี้ก็จะไม่ยกมือรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าเขาแถลงอย่างหนึ่ง แต่พอถึงเวลา กลับทำอีกอย่างหนึ่งประชาชนก็จะได้รู้ว่าใครโกหก ซึ่งก็เหมือนกับเป็นสัญญาลูกผู้ชาย สัญญาลูกผู้หญิง และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่า การแก้รัฐธรรมนูญจะไม่เลยเถิดเราต้องตรวจสอบตรงนี้ก่อน ทั้งนี้เพื่อเป็นการถ่วงดุล” ประธานศาลรธน. กล่าว
นายวสันต์ ยังกล่าวอีกว่า การรับพิจารณาคำร้องดัง กล่าวไม่ถือว่าศาลเข้าไปแทรกแซงฝ่ายบริหาร หรือไปแทรกแทรงฝ่ายนิติบัญญัติ แต่เป็นการดำเนินการตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 68 ที่ให้อำนาจเอาไว้ ถือเป็นการถ่วงดุลในการตรวจสอบ ไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจเข้าไปก้าวล่วงไปกำกับรัฐสภา จึงควรมองในทางบวก ว่า การที่ศาลรับคำร้องและมีการไต่สวน ก็เพื่อทำให้ลดความตรึงเครียด และความหวาดระแวงของสังคมที่มีต่อรัฐบาล และรัฐสภาลงได้ อีกทั้งเป็นผลดีทั้งรัฐบาลและรัฐสภาด้วยซ้ำที่จะได้ใช้โอกาสนี้ในการชี้แจง และสร้างความมั่นใจให้กับสังคมได้ ถ้าพวกเขาแสดงความบริสุทธิ์ใจออกมาว่าไม่มีพฤติการณ์ตามที่เขาสงสัยมาก็จบ ก็เพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย และเรื่องนี้ก็ไม่เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ปรองดอง ซึ่งคนละเรื่องกันอย่าเอามารวมกัน
เมื่อถามว่า ความรวดเร็วในการรับพิจารณาคำร้องดังกล่าว อีกทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังอยู่ในชั้นของการยกร่างอาจทำให้ศาลรัฐธรรมนูญ ถูกมองว่า ไปรับงานใครมาหรือไม่ นายวสันต์ กล่าวว่า หมายถึงใครถ้าหมายถึงพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี จำได้ว่า เคยพูดกันครั้งเดียว ขนาดไปงานพระราชพิธี เจอและนั่งใกล้กันยังไม่เคยหันหน้าไปพูดกันเลย เพราะไม่ได้รู้จักกันเป็นการส่วนตัว และเห็นว่าขณะนี้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ กำลังจะผ่านวาระ 3 ซึ่งในเนื้อหาค่อนข้างที่จะชัดเจนแล้วว่าอะไรเป็นอะไร รวมทั้งหากพ้นจากวาระ 3 ไปแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถไปดำเนินการใดๆ ได้แล้ว หรือแม้แต่เมื่อส.ส.ร.ยกร่างเสร็จแล้วเป็นร่างรัฐธรรมนูญ กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญไปวินิจฉัย
“ ศาลรัฐธรรมนูญจะอยู่หรือไม่ ไม่ใช่เรื่องที่เราสนใจ และก็ไม่ใช่ประเด็นที่ผู้ร้องเขาร้องมา แต่ประเด็นอยู่ที่ก่อนการดำเนินการต่อไปต้องชัดเจนก่อนว่ามีการซ่อนรูปแบบ การปกครองบางอย่างเอาไว้หรือไม่ และจะเป็นการเอามาใช้แทนรูปแบบการปกครองในปัจจุบันหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องไม่ดีหรือที่ประชาชนจะได้รับทราบพร้อมๆ กันในระหว่างที่ศาลไต่สวน ก่อนที่จะมีการแก้ไขต่อไป และอย่าลืมว่ารัฐธรรมนูญปี 50 นั้นก็ได้ผ่านการทำประชามติมา ก็ถือได้ว่ามาจากประชาชน เพราะฉะนั้นจะเป็นไรไปถ้าหากให้ประชาชนได้ทราบก่อนว่าการแก้ไขจะเป็นอย่างไร ไม่ใช่หรือ ศาลไม่ได้ห้ามไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญเสียเมื่อไหร่ ”นายวสันต์ กล่าว
ด้านนายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณที่มีนักวิชาการออกมาแสดงความเห็นว่าการทำหน้าที่ของตุลาการศาล รัฐธรรมนูญเกิดขอบเขต ใช้อำนาจก้าวก่ายฝ่ายนิติบัญญัติและการออกคำสั่งดังกล่าวนั้นเข้าลักษณะที่ อาจถูกถอดถอนได้ ว่า กรณีดังกล่าวเมื่อมีผู้ร้องมาเราก็ดำเนินการพิจารณาและก่อนที่จะลงมติก็ได้ มีการพิจารณากันอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าสมควรที่จะดำเนินการเช่นนั้น จึงมีหนังสือไปยังเลขาธิการสภา แจ้งต่อประธานสภา และสมาชิก ทราบว่าศาลได้มีคำสั่งให้ชะลอการลงมติในวาระที่ 3 ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา ซึ่งคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กร ตุลาการฯ ก็ได้มีการพิจารณากันแล้วว่า การสั่งให้ชะลอการลงมติก็ไม่มีผลอะไร ที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย ช้าหน่อย เพื่อความชัดเจนก็เห็นว่าไม่น่าจะเป็นอะไร เแต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญบอกไปแล้วไม่ฟังหากเกิดเรื่องขึ้นมาสภาก็ต้องเป็นผู้ รับผิดชอบ
“ เมื่อมีคนร้องขึ้นมาว่า การแก้รัฐธรรมนูญนั้นมันผิดหลักการ เป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญที่มีอยู่ ซึ่งเราตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องมาพิจารณาว่า จริงหรือไม่ ไม่ได้เป็นการไปขัดขวางไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการอย่างทราบความชัดเจนในการดำเนินการว่าผิดหลักการตามที่ผู้ ร้อง ร้องมาหรือไม่ หากไม่มีคนร้องศาลก็ทำไม่ได้ ดังนั้นการดำเนินการออกคำสั่งไปนั้นเป็นการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ซึ่งก็ได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญไว้ชัดเจน ส่วนใครเห็นว่าเราทำเกินอำนาจหน้าที่อยากจะถอดถอนก็ไม่ได้ว่าอะไร และรัฐธรรมนูญก็ให้สิทธิ์ไว้ก็ดำเนินการไปตามขั้นตอนไป อีกทั้งที่เห็นว่าเป็นการก้าวก่ายก็เป็นเพียงความเห็นของนักวิชาการ หรือใครก็มีความเห็นได้ไม่ได้ว่าอะไร และขอยืนยันว่าเราดำเนินการตามรัฐธรรมนูญที่ให้ไว้” นายบุญส่ง กล่าว
ขอให้สังเกตคำอธิบายของประธานศาล รธน. ที่ยกมาข้างล่างนี้ ยิ่งแสดงว่า ประธานศาล รธน. ไม่มีความเข้าใจในอำนาจหน้าที่ของตัวเองเลย
คือตัวอย่างที่ประธานศาล รธน.ยกมานี่ เป็นการเข้าไปที่ "เนื้อหา" ว่า สสร. จะร่างอะไร ซึ่งยิ่งไปกันใหญ่เลยว่า ในเมื่อยังไม่มี สสร. ยังไม่มีแม้แต่ประชุมร่าง รธน. ศาล รธน. จะไปมีสิทธิ์หรือหน้าทีอะไรที่จะต้องมาถามขอ "สัญญาลูกผู้ชาย" ล่วงหน้าอะไรแบบนั้นว่า เนื้อหาจะออกมาอย่างไร
ขอให้สังเกตประโยคนี้เป็นพิเศษ
"ถ้าบอกว่าจะไม่แตะสถาบัน แต่ทำไมถึงไม่ยกเว้นในหมวด 1 หมวด 2 ไว้ อย่างนี้มันต้องชัดเจน และต้องให้ความมั่นใจกับประชาชน"
[หมายเหตุ: แม้แต่ข้อเท็จจริงเรื่องนี้ก็ผิด เพราะ ร่างแก้ 291 ในขั้นกรรมาธิการ ระบุไว้ชัดเจนว่าจะไม่ "แตะ" หมวดกษัตริย์]
แต่เอาเข้าจริง แม่แต่เรืองหมวดกษัตริย์ ต่อให้สมมุติว่า สสร.หรือสภา บอกว่า จะมี "แตะ" (แก้ไข) ในเมื่อยังไม่มีเนื้อหาว่าจะแก้อย่าง ไร ยังไมมีการประชุมร่าง ศาล รธน. ก็ยกมาเป็นประเด็นจะเข้าไปขอ "สัญญาลูกผู้ชาย" ว่าจะร่างออกมายังไงไม่ได้ ไม่งั้น กำหนดให้ ศาล มาร่าง รธน.เสียเองเลยไม่ดีหรือ?
นีเป็นการสะท้อนความเข้าใจในลักษณะ abuse of power (ใช้อำนาจเกินขอบเขต) อย่างชัดเจนครับ
"แม้ขณะนี้ยังไม่มีการยกร่างกันเป็นรายมาตรา และถ้าจะอ้างว่าผู้ที่ยกร่างก็เป็นส.ส.ร.ไม่ใช่สมาชิกรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือ พรรคการเมือง แต่คนเหล่านี้คือผู้ที่จะต้องให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญที่ส.ส.ร.เป็นผู้ ยกร่าง จึงถือได้ว่าเป็นอำนาจสุดท้ายในการดำเนินการ อีกทั้งหากส.ส.ร.ทำผิดหลักการขึ้นมาจะทำกันอย่างไร ดังนั้นศาลจึงอยากที่จะรู้ว่า คนเหล่านี้ มีความคิดในเรื่องรูปแบบของการปกครองอย่าง ไร เช่น ถ้าบอกว่าจะไม่แตะสถาบัน แต่ทำไมถึงไม่ยกเว้นในหมวด 1 หมวด 2 ไว้ อย่างนี้มันต้องชัดเจน และต้องให้ความมั่นใจกับประชาชน และผู้ที่ร้องมา เชื่อว่าประชาชนส่วนใหญ่ก็อยากจะรู้เช่นกัน ซึ่งผู้ที่จะมาชี้แจงในชั้นไต่สวนก็เหมือนกับการให้สัญญาประชาคมกับสังคมและ ผู้ร้อง ว่า ถ้าหากส.ส.ร.ยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ออกมาไม่เป็นไปตามที่ชี้แจงในชั้นไต่สวน คนเหล่านี้ก็จะไม่ยกมือรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าเขาแถลงอย่างหนึ่ง แต่พอถึงเวลา กลับทำอีกอย่างหนึ่งประชาชนก็จะได้รู้ว่าใครโกหก ซึ่งก็เหมือนกับเป็นสัญญาลูกผู้ชาย สัญญาลูกผู้หญิง และเพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจว่า การแก้รัฐธรรมนูญจะไม่เลยเถิดเราต้องตรวจสอบตรงนี้ก่อน ทั้งนี้เพื่อเป็นการถ่วงดุล” ประธานศาลรธน. กล่าว"
คือ ที่ยกตัวอย่างหมวดกษัตริย์มาว่า ต้องขอให้สภา "ให้ความมั่นใจ" ก่อนว่าจะ "ยกเว้น" ไม่แตะน่ะ (นี่คือคำพูดตรงๆ ของ ประธาน ศาล รธน. "ถ้าบอกว่าจะไม่แตะสถาบัน แต่ทำไมถึงไม่ยกเว้นในหมวด 1 หมวด 2 ไว้ อย่างนี้มันต้องชัดเจน และต้องให้ความมั่นใจกับประชาชน") ... คือ นอกจากสะท้อน ความไม่เข้าใจเรื่องอำนาจหน้าที่ ศาล รธน. ดังที่ผมเขียนในหลายกระทู้ข้างล่างแล้วนะ ที่สำคัญ ยังผิดในแง่ ความเข้าใจตัวกฎหมายรัฐธรรมนูญเองเลยด้วย ไม่มีข้อกำหนดไหนในรัฐธรรมนูญเลยครับที่ว่าบอกว่า หมวด 1 หมวด 2 แตะไม่ได้ ไม่มีข้อกำหนดไหนในรัฐธรรมนูญบอกเลยครับว่า การแก้ รธน.ใดๆ ต้อง "ยกเว้น" 2 หมวดนี้ ไม่มีเลยครับ ดังนั้น ที่ ประธานศาล รธน. "ตั้งคำถาม" แบบนี้ )"แต่ทำไมถึงไม่ยกเว้นในหมวด 1 หมวด 2" - ซึ่งจริงๆ ก็ผิดข้อเท็จจริง เพราะเขากำหนดยกเว้นไว้แล้ว) แสดงว่า ไม่เข้าใจเรื่อง รัฐธรรมนูญ เลยครับ