WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, February 27, 2009

อะเมซซิ่งซ้ำไทย ม็อบมาท่องเที่ยวเฉา

ที่มา ไทยรัฐ

อะเมซซิ่งไทยแลนด์...วิกฤติแบบความวัว

ยังไม่ทันหาย ความควายก็เข้ามาแทรก เมื่อม็อบเสื้อแดงบุกล้อมทำเนียบรัฐบาล

ซ้ำรอยม็อบเสื้อเหลืองที่บุกยึดทำเนียบ...จนลุกลามบานปลายไปถึงขั้นปิดสนามบินสุวรรณภูมิ

ครั้งนั้น พรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) บอกว่า นับตั้งแต่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยถือกำเนิด ความเสียหายเฉพาะหน้านั้น หนักที่สุดเท่าที่เคยมีมาในรอบ 48 ปี

ที่น่าเป็นห่วง ไม่ใช่ยอดนักท่องเที่ยว แต่เป็นภาพลักษณ์ของประเทศที่เสียหาย

จะฟื้นฟูจิตใจ ความรู้สึกต้องใช้เวลาอีกนาน แบบประมาณไม่ถูก เพราะไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นมาก่อน

ไม่ว่าจะเป็น...ม็อบปิดสนามบิน...ม็อบปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล ล้วนเป็นการสื่อถึงแรงกดดันในสังคมไทย ที่มีผลทางใจสำหรับนักท่องเที่ยว ให้รู้สึกหวั่นไหว

สนามบินสุวรรณภูมิเปิดให้บริการเป็นปกติ นานเกือบสามเดือนแล้ว แต่นักท่องเที่ยวเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ก็ยังหายไปครึ่ง...ครึ่ง

บุษรา ภู่พัฒนกุล ผู้จัดการภูใจใส รีสอร์ท แอนด์ สปา จ.เชียงราย บอก

การปิดสนามบินทำให้นักท่องเที่ยวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มหลัก...เสียความรู้สึกมาก ยกเลิกการมาเที่ยวไปเยอะทั้งผ่านเอเย่นต์...อีเมล

บุษรา บอกว่า ช่วงหน้าหนาวหยุดยาว กลุ่มลูกค้าหลักจะเป็นคนไทย หลังจากนั้นจะเป็นคนต่างชาติ มาพัก สามสี่วัน ส่วนใหญ่เป็นชาวญี่ปุ่นมากันเป็นครอบครัว เที่ยวเป็นคู่ สังเกตได้ว่าค่อนข้างมีกำลังซื้อสูง มีเงินจับจ่ายใช้สอยมาก

สายตานักท่องเที่ยวที่ฟังมาจากเอเย่นต์ ปัจจัยจากความไม่สงบในบ้านเมือง ม็อบประท้วงยืดเยื้อ ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย ตั้งใจจะมาเที่ยวก็ยกเลิกไปก่อนดีกว่า

ยกเลิกเที่ยวเมืองไทยแล้ว ก็เลี่ยงไปเที่ยวประเทศใกล้ๆแทนไปก่อน

สแกนดิเนเวีย ลูกค้ากลุ่มใหม่ล่าสุด ก็หายไปเยอะ อังกฤษก็หายไปเลย ลูกค้าเหล่านี้ถ้าเข้ามาเที่ยว มาพัก เม็ดเงินต่อหัวถือว่ามากทีเดียว

ก่อนจะไปทานข้าวก็จะไปดริงก์ เวลาพักผ่อนก็เข้าสปา นั่งช้าง ถ้ามาพักสองท่าน สองวันสามคืน อย่างน้อยต้องใช้เงิน 15,000-20,000 บาท

เม็ดเงินเหล่านี้ จะผ่องถ่ายไปในพื้นที่ แรกสุดค่าแรงพนักงานเป็นคนในพื้นที่ ชาวไทยใหญ่ อาข่า ทั้งหมด 150 ชีวิต ไปจนถึงรายได้จากการขายอาหาร ก็มาจากผักปลอดสารพิษที่ปลูกขึ้นมาเองทั้งหมด ขนมปังก็ทำขึ้นเอง อบออกมาสดใหม่ หอมกรุ่น จากเตา

ผลไม้ก็เก็บได้สดจากต้น จะดื่มชาเราก็มีไร่ชา กระทั่งภาชนะใส่อาหาร ข้าว ของเครื่องใช้ก็ปั้นจากดิน เอาไปเผา นำไปใช้ภายในรีสอร์ต บ้านพัก รวมไปถึงของที่ระลึกก็แฮนด์เมดอย่างประณีตทุกชิ้น

ภาพที่นักท่องเที่ยวมองภูใจใส เห็นถึงรอยยิ้ม คนเหนือใจดี เป็นชาวเขาอยู่บนดอย มีบ้านอยู่บนภูเขาจริงๆ เสน่ห์ของภูใจใสคือการอยู่กับธรรมชาติมากที่สุด

ทุกกิจกรรมในภูใจใส อาจเรียกได้ว่า เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบพอเพียง ผลิตเหลือกินเหลือใช้ก็เก็บไว้ขาย ช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ พร้อมทั้งลดต้นทุนไปในตัว

ภูใจใสในสายตานักท่องเที่ยวอาจเป็นรีสอร์ต บ้านพัก แต่สำหรับพนักงานเปรียบเป็นเหมือนบ้านที่ต้องช่วยกันดูแล ใส่ใจทุกซอกมุม

สถานการณ์การท่องเที่ยวที่ดิ่งลงเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับปัจจัยความไม่สงบทางสังคม ถ้ายังมีม็อบประท้วงกันอยู่เรื่อยๆอย่างนี้ ท่องเที่ยวไทยก็คงจะฟื้นยาก

ว่ากันตามตรง...ธุรกิจท่องเที่ยวไทยยุคนี้ ถ้าจะหวังลูกค้าต่างชาติอย่างเดียวรับรองว่าแย่แน่นอน

สถานการณ์เช่นนี้ ธุรกิจรีสอร์ตต้องหาทางออกแก้วิกฤติ สำหรับภูใจใส วันธรรมดาถ้าไม่มีลูกค้าต่างชาติก็อาศัยกรุ๊ปสัมมนาลูกค้าในประเทศพยุงธุรกิจให้ผ่านวิกฤติไปได้

บุษรา บอกอีกว่า ลูกค้ากรุ๊ปสัมมนาที่เป็นลูกค้าคนไทย ที่เป็นทางรอดยามวิกฤติ...หลักๆจะเป็นหน่วยงานราชการ แม้ว่าไม่ได้ใช้จ่ายเหมือนนักท่องเที่ยวต่างประเทศแต่ก็ยังดีกว่าไม่มีลูกค้าเข้ามาพักใช้บริการ

ภูใจใสปลูกผัก ผลไม้ ผลิตของสดออกมาทุกวัน ถ้าไม่มีใครมาเที่ยว ไม่มีใครมากิน ผักเหล่านี้ก็ต้องเน่า เสียหาย

นโยบายไทยเที่ยวไทยที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยรณรงค์อย่างหนัก แต่ละปีที่ผ่านมาถือว่าได้ผล แต่ปีนี้คนไทยรัดเข็มขัดมากขึ้น ผนวกกับสถานการณ์ เศรษฐกิจ การเมืองที่ดูเหมือนจะไม่นิ่งนัก จึงไม่แน่ว่า...ไทยจะเที่ยวไทยมากน้อยแค่ไหน

การเดินทางไปเที่ยวเชียงรายใช้เงินพอสมควร ค่าเครื่องบินไปกลับ คนเดียวก็ต้องมีแล้ว 5,000 บาท ไปสองคนก็ต้องมี 10,000 บาท จะหันไปขึ้นรถทัวร์ นั่ง 8 ชั่วโมง ก็ตกคนละเกือบ 1,000 บาทต่อเที่ยว

ค่าห้องเฉลี่ยคืนละ 5,000 บาท พักสองคืนก็ 10,000 บาทเข้าไปแล้ว ไหนจะค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นอีก มองอนาคต...ก็คงจะหนักเหมือนกัน

วิกฤติธุรกิจท่องเที่ยวไทยเกิดขึ้นแล้ว เจ้าของธุรกิจต้องช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด ผู้ประกอบการเปิดใหม่...ผู้ประกอบการที่ไม่มีจุดขายที่น่าสนใจ ลูกค้ายิ่งน้อย ในภาวะการแข่งขันสูงขนาดนี้รับรองว่าตายแน่ บุษรา ว่า

รศ.ดร.ธาตรี จันทรโกลิกา ผู้อำนวยการศูนย์บริการทางวิชาการเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ช่องรอดวิกฤติ ผ่านผลการศึกษาความคุ้มค่าของอีลิทการ์ด บริษัทไทยแลนด์ พริวิเลจ คาร์ดฯ ให้ฟังว่า...

สมาชิกบัตรอีลิท มียอดการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวัน สูงถึง 20,000 บาท

สมาชิกอีลิทการ์ด เฉลี่ยมาเมืองไทยปีละ 4 ครั้ง ใช้จ่ายแต่ละครั้ง กว่า 470,000 บาทต่อครอบครัว

บวกลบคูณหารแต่ละปีจะใช้เงินเกือบ 2 ล้านบาท

นี่คือเม็ดเงินที่ได้จากสมาชิกต่อคนต่อปี มากกว่าค่าสมาชิกที่ตั้งไว้ 1 ล้านบาทรศ.ดร.ธาตรี ว่า ที่สำคัญเงินเหล่านี้จะหมุนเวียนอยู่ในประเทศ ผลประโยชน์ตกอยู่กับคนไทยและประเทศไทยแบบเต็มๆ

ประเด็นที่น่าสนใจ...เมื่อสมาชิกมาใช้บริการแล้ว ก็ไม่ได้มาแค่คนเดียว ยังมีพรรคพวกเพื่อนฝูง ครอบครัว ญาติพี่น้องตามมาด้วย

ที่เคยกลัวกันว่า สมาชิกจะเข้ามาใช้บริการสนามกอล์ฟกับสปาตามสิทธิ จนเป็นภาระหนักที่ต้องตามจ่าย เมื่อประเมินจากฐานข้อมูลการใช้บริการ พบว่า

สมาชิกมีการใช้บริการสปาเฉลี่ย 11.5 ครั้งต่อปี โดยสมาชิกเกือบร้อยละ 90 ใช้บริการ 3.5 ครั้งต่อปี

สนามกอล์ฟ ใช้บริการเฉลี่ย 6.8 ครั้งต่อปี โดยสมาชิกเกือบร้อยละ 95 ใช้บริการน้อยกว่าปีละ 3.2 ครั้ง

ตรงกันข้าม ที่ไหนบริการถูกใจ นักท่องเที่ยวต้องการซื้อคอร์สเพิ่ม ก็ต้องจ่ายเงินเอง มีไม่น้อยที่สปา สนามกอล์ฟ ได้ลูกค้าเพิ่มจากการบอกเล่าสรรพคุณแบบปากต่อปาก

วิเคราะห์ด้านศักยภาพ สมาชิกส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 เป็นนักธุรกิจ เจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับสูง นอกจากมาเที่ยวแล้วยังช่วยต่อยอด ส่งเสริมการลงทุนในประเทศ ทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ ในหลากหลายธุรกิจ

กว่า 5 ปี...นับตั้งแต่ก่อตั้ง บัตรไทยแลนด์ อีลิทมีสมาชิก 2,570 ราย จากหลายชาติ อาทิ อังกฤษ ออสเตรเลีย สแกนดิเนเวีย เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์

พบว่าสมาชิกเหล่านี้เข้ามาลงทุนแล้วกว่า 40,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ภูเก็ต พัทยา หัวหิน เชียงใหม่

ดร.อลัน ซีแมน สมาชิกอีลิท ชาวแคนาดา ทำธุรกิจในฮ่องกง บอกว่า มาประเทศไทยครั้งแรกเมื่อ 25 ปีแล้ว เพื่อพักผ่อน จนรู้สึกว่าประเทศไทยเป็นบ้านหลังที่สอง

ความรู้สึกแรกที่มาถึงเมืองไทย ทำไม? คนไทยถึงโชคดี ที่ได้อยู่ในประเทศที่มีที่ท่องเที่ยวที่สวยมากขนาดนี้ ภูเก็ต อากาศดี มีชายหาดสวยมาก อาหารก็อร่อย ไม่เหมือนกับประเทศอื่นที่เคยไป

ในที่สุด อลันก็ตัดสินใจทำธุรกิจที่ภูเก็ต เปิดรีสอร์ตหรูเอาไว้ต้อนรับคนที่มาเที่ยวภูเก็ต จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในแวดวงนักธุรกิจภูเก็ต ทุกวันนี้แม้ว่าจะทำธุรกิจที่ฮ่องกงเป็นหลัก แต่ก็มาเมืองไทยเดือนละครั้ง

ทว่า...โครงการอีลิทการ์ดยังมีข้อกังขาสำคัญ ด้วยงบขาดทุนสะสม มากถึง 1,142 ล้านบาท ขณะที่ปี 2550-2551 ยังไม่มีผลดำเนินงาน อาจจะต้องปิดฉากลงไป

รศ.ดร.ธาตรี ทิ้งท้ายว่า... อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ ณ วันนี้...อีลิท การ์ดอาจเป็นกุญแจดอกหนึ่งในการช่วยกระตุ้นภาพลักษณ์ท่องเที่ยวไทย และช่วยกู้วิกฤติเศรษฐกิจที่ว่าหนักหนาให้บรรเทาเบาบางลงไปได้.