ที่มา thaifreenews อภิสิทธิ์หนี้ทหาร จริงหรือ ถ้าเป็นนายกก็ขาดคุณสมบัติ 3) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยอ้างเหตุผลว่าเป็นอาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อย จปร. และได้มีการออกบันทึกข้อความลับ ด่วนมาก ที่ กห.0421/54 ลงวันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2542 เรื่อง การตรวจสอบเอกสารการบรรจุนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับราชการทหารที่โรงเรียนนายร้อย จปร. ที่ลงนามโดย พล.อ.ชาญ บุญประเสริฐ เสนาธิการทหารบก ทำการแทนผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ซึ่งปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า ได้มีการทุจริต บกพร่องต่อหน้าที่ ในการดำเนินการบรรจุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเข้ารับราชการทหารในครั้งนั้นกระทำกันอย่างเป็นทีม ซึ่งประกอบด้วยนายทหารบางนาย ซึ่งได้เกษียณอายุราชการไปแล้ว บางนายรับราชการนอก สังกัดกองทัพบก และบางนายเป็นนายทหารชั้นนายพล ซึ่งไม่สามารถ รับโทษทัณฑ์ทางวินัยได้ จึงปรากฏเอกสารทางราชการให้มีผู้ต้องได้รับโทษ ทัณฑ์จากการกระทำทุจริตครั้งนี้ได้เพียงผู้เดียวคือ พ.อ.หญิงสายไสว มาสมบูรณ์ ตำแหน่งประจำกำลังพลทหาร กองทัพบก ขณะปฏิบัติ หน้าที่เป็นหัวหน้าแผนกกองจัดการ กรมกำลังพลทหาร กอง ทัพบก และปรากฏในเวลาต่อมาว่า ได้มีการดำเนินคดีอาญาต่อพันตรี ทองคำ เดชเร ในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยสมคบกันออก เอกสารทางราชการอันเป็นเท็จเพื่อให้นายอภิสิทธิ์หลีกเลี่ยงการเข้ารับการตรวจ เลือกฯด้วยการทำหลักฐานเท็จเพื่อบรรจุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่ง เป็นบุคคลที่มีลักษณะขัดต่อหลักเกณฑ์ของกองทัพบก ที่สามารถจะบรรจุเข้ารับ ราชการได้
1) นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ เกิดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2507 เลขประจำตัวบัตรประชาชน 3- 1009-01830-69-4 ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2529 ต่อมาในปี 2530 นายอภิสิทธิ์ มีชื่ออยู่ในบัญชีที่พ้นจากฐานะการยกเว้นผ่อนผันไม่ต้องเข้ารับการตรวจเลือกเป็นทหาร แขวงคลองตัน เขตพระโขนง อยู่ในลำดับ ที่ 299 เลขที่ สด 43 ลำดับที่ 675
2) ในปี 2531 ตามหลักฐานของกรมการกำลังสำรองทหารบก กลับไม่มีชื่อนายอภิสิทธิ์ปรากฏในบัญชีเรียกประจำปีนี้ และเมื่อตรวจสอบรายละเอียดตามข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่า ในบัญชีเรียกเข้ารับการตรวจเลือก ตั้งแต่ปี 2532 จนถึงปี 2536 ปรากฏชื่อนายอภิสิทธิ์ อยู่ในบัญชีคนขาดเข้ารับการตรวจเลือก ประจำแขวงคลองตัน ในลำดับที่ 148 ลำดับที่ 417 ลำดับที่ 685และ ลำดับที่ 641 ตามลำดับ ในขณะเดียวกันกับที่ เมื่อ ปี พ.ศ.2530 นายอภิสิทธิ์ ได้รับหมายเรียก หลังจากที่ได้แสดง ตนขอลงบัญชีทหารกองเกิน (เกินกำหนด) ณ สำนักงานเขตพระโขนง เมื่อวัน ที่ 4 กรกฎาคม 2529 แต่ได้มีการขอใบแทนใบสำคัญฉบับนี้เมื่อวัน ที่ 8 เมษายน 2531 โดยนายอภิสิทธิ์ไม่ยอมเข้ารับการตรวจเลือก เกณฑ์ทหาร
เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ ได้ผ่านการตรวจเลือกและไม่ มีหลักฐานทางทหารนำมาส่งมอบ ประกอบเอกสารการบรรจุเข้ารับราชการทหารเพราะ เป็นคนขาดการตรวจเลือกฯเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2530 ถ้าหากจะดำเนินการบรรจุ เข้ารับราชการต้องกระทำภายหลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถูกส่งตัวดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ.2497 มาตรา 27 และ มาตรา 45 พร้อมกับส่งตัวเข้ากองประจำการจนครบกำหนดเสียก่อน
4) แต่ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่กำลังพลของโรงเรียนนายร้อย จปร. กลับเพิกเฉย ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของกองทัพบกที่ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น เป็นผู้อนุมัติระเบียบดังกล่าวนี้ จากเอกสารของทางราชการกองทัพบก ปรากฏว่ากรมสารบรรณ กองทัพบก ได้ทำการทักท้วงแล้ว แต่ผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้ ขณะนั้นของโรงเรียนนายร้อย จปร. กลับไม่นำพา จึงเป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่กำลังพลประกอบด้วย พ.อ.สมศักดิ์ พุ่มนิคม รอง ลก.บก.ทหารสูงสุด ขณะเป็นหก.กกพ.รร.จปร. ส่วน พล.อ.เผด็จ วัฒนะภูติ ขณะเป็นรองผบ.รร.จปร. ซึ่งรับผิดชอบงานด้าน กำลังพล และพล.อ.นิยม ศันสนาคม ขณะเป็น ผบ.รร.จปร.ทั้งสองนายพลนี้ ปัจจุบันเกษียณอายุราชการไปแล้ว จึงไม่สามารถตามไปเอาผิดทางวินัยได้ในปัจจุบัน
5) จากพฤติการณ์ตามข้อ1-4 ข้างต้นนี้ แสดงให้ เห็นว่า การขอบรรจุ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับราชการ ในตำแหน่งรักษาราชการ อาจารย์ส่วนการศึกษาโรงเรียนนายร้อย จปร. มี วัตถุประสงค์จงใจหลีกเลี่ยงความผิดที่จะเกิดขึ้นตามกฏหมายพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.2497 มาตรา 45 ซึ่งมีบทบัญญัติพอสรุปได้ว่า บุคคลใด หลีกเลี่ยง หรือขัดขืน ไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือกฯ ทำการตรวจ เลือกเข้ารับราชการทหารตามหมายเรียกของอำเภอ หรือมาแต่ไม่เข้ารับการตรวจ เลือกหรือไม่อยู่ จนกว่าการตรวจเลือกแล้วเสร็จ หรือหลีก เลี่ยง หรือขัดขืนด้วยประการใดก็ดี เพื่อจะไม่ให้เข้ารับราชการ ทหาร ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ ต้องระวางโทษไม่เกิน 3 ปี
6) ดังนั้นการที่ ว่าที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ เมื่อได้รับคำสั่ง บรรจุเป็นนายทหารสัญญาบัตรในตำแหน่ง รรก.อจ.สกศ.รร.จปร. แล้วเพียง 35 วัน ก็ได้ แจ้งความจำนงว่า จะขอลาออกจากราชการ ดังนั้นโดยสามัญสำนึก จึงแปลเจตนารมณ์ไปได้ว่า ว่าที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ ไม่มีเจตนาที่ จะปฏิบัติหน้าที่ในขณะรับราชการ ดังปรากฏหลักฐานทางราชการ ว่า ว่าที่ ร.ต.อภิสิทธิ์ ได้ขอลากิจไปเยี่ยมญาติที่ประเทศ อังกฤษ 2 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2531 ถึง 30 กันยายน 2531 รวม 40 วัน และได้ขอลากิจอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ วันที่ 4 ตุลาคม 2531 ถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2531 รวม 67 วัน พฤติการณ์เยี่ยงนี้ แสดงให้เห็นว่า นายอภิสิทธิ์ไม่มีเจตนาที่จะ เข้ารับราชการทหารอย่างแท้จริง การสมัครเข้ารับราชการทหาร จึงเป็นเพียงการหาเหตุผลที่จะแก้ปัญหาความผิดทางอาญาจากกรณีการขาดตรวจเลือกเข้าเป็น ทหารกองประจำการเท่านั้น
7) การณีการบรรจุให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นอาจารย์ประจำส่วนการศึกษาโรงเรียนนายร้อย จปร. จึงเป็นการ บรรจุที่ขัดระเบียบของกองทัพบก ซึ่งอนุมัติโดยผู้บัญชาการทหารบก(พล.อ. อาทิตย์ กำลังเอก) ตามท้ายหนังสือที่ กห.0401/1916 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2528 ประกอบกับหนังสือกรมกำลังพลทหารบกที่กพ. ทบ. 015/10006 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม 2522 ทำให้เห็นได้อย่างชัดเจน ว่า การบรรจุนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้ารับราชการ ทหาร เป็นการบรรจุผู้ไม่มีคุณสมบัติตามระเบียบกองทัพบกกำหนด