WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, May 27, 2012

‘ครก. 112' เตรียมยื่น 3 หมื่นชื่อต่อรัฐสภาอังคารนี้

ที่มา Thai E-News

 
"‘ครก. 112’ แถลงรณรงค์ครบ 112 วัน เตรียมยื่น 3 หมื่นชื่อต่อรัฐสภาอังคารนี้"
คำเกิ่ง แห่งทุ่งหมาหลง



คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 แถลงผลหลังจัดเวทีรณรงค์ทั่วประเทศยาวกว่า 5 เดือน เผยรวมได้กว่า 3 หมื่นรายชื่อ นัดรวมพลหมุดคณะราษฎรก่อนนำรายชื่อไปยื่นต่อส.ส.ที่รัฐสภาอังคารนี้ 

 27 พ.ค. 55 - ราว 13.00 น. ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ได้จัดงาน “บันทึก 112 วัน แก้ไข ม. 112” เพื่อแถลงเกี่ยวกับการสิ้นสุดการรณรงค์เพื่อแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรม เดชานุภาพ ของครก. 112 ที่เริ่มดำเนินมาตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา เป็นเวลากว่า 5 เดือน  โดยกล่าวว่า สามารถรวบรวมผู้เข้าลงชื่อแก้ไข. ม. 112 ได้กว่า 3 หมื่นคน และเตรียมนำรายชื่อทั้งหมดเข้ายื่นต่อรัฐสภาในวันอังคารที่จะถึงนี้ (29 พ.ค.)
โดยวาด รวี จากคณะนักเขียนแสงสำนึก และยุกติ มุกดาวิจิตร จากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม. ธรรมศาสตร์ จากครก. 112 ได้ร่วมแถลงผลการรณรงค์ ดังนี้

 ครก.๑๑๒ แถลงสรุปการรณรงค์ ๑๑๒ วัน

 วันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๕
เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ระหว่างวิกฤตการเมืองที่ผ่านมา นับแต่การรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙  ได้มีผู้ถูกดำเนินคดีด้วยกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ เป็นจำนวนมากจากการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ด้วยการตีความกฎหมายบนอุดมการณ์ที่ผิดหลักการประชาธิปไตย และตีความการกระทำผิดอย่างกว้าง จนแม้แต่การแปลหนังสือก็กลายเป็นการกระทำผิด ในการดำเนินคดีของเจ้าหน้าที่รัฐในระดับต่าง ๆ ได้ปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาและนักโทษคดีการเมือง ๑๑๒ ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพอย่างต่อเนื่อง เช่น ไม่ได้รับการสืบพยานอย่างเพียงพอ ไม่ได้รับสิทธิ์ในการปล่อยตัวชั่วคราว ไต่สวนคดีโดยปิดลับ เป็นต้น
การกระทำต่อผู้ถูกกล่าวหาและนักโทษการเมืองคดี ๑๑๒ สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้รักความเป็นธรรม และผู้ที่เรียกร้องต้องการประชาธิปไตยจำนวนมาก มีผู้เรียกร้องให้มีการยุติการละเมิดสิทธิ เสรีภาพของประชาชนด้วยกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ มาอย่างต่อเนื่องนับแต่ปี ๒๕๕๓ เช่น การเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ โดยกลุ่ม ๒๔ มิถุนายน และกลุ่มแดงสยาม กระทั่งต้นปี ๒๕๕๔ คณะนิติราษฎร์ได้เสนอร่างแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ขึ้นมา และเกิดกระแสเรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายโดยกลุ่มปัญญาชน นักวิชาการ และนักเขียน
หลังจากได้รัฐบาลจากการเลือกตั้ง ซึ่งทำให้ประชาชนต่างคาดหวังว่าเหตุการณ์ทางการเมืองจะคลี่คลายไปในทางที่ดี ขึ้น แต่เหตุการณ์ก็กลับไม่เป็นไปดังหวัง กรณีตัดสินนายอำพล หรืออากงอย่างไม่เป็นธรรมสร้างความรู้สึกสิ้นหวังให้กับประชาชนจำนวนมาก ฝ่ายเรียกร้องประชาธิปไตยกลุ่มต่าง ๆ จึงรวมตัวกับนักวิชาการและนักเขียน นักกิจกรรม ขึ้นเป็น คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา ๑๑๒ เพื่อผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ตามร่างกฎหมายของคณะนิติราษฎร์ ด้วยการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ยื่นกฎหมายเข้าสู่สภา แต่หลังจากครบการรณรงค์ ๑๑๒ วันไปเพียงสามวัน ก็เกิดเรื่องเศร้าขึ้น นายอำพลเสียชีวิตในเรือนจำด้วยอาการป่วย 
บัดนี้ได้เวลาที่ ครก.๑๑๒ จะแถลงจำนวนผู้ลงชื่อสนับสนุนการแก้ไขกฎหมาย และกำหนดวันเพื่อยื่นร่างกฎหมายเข้าสู่สภาแล้ว
นับแต่วันที่ ๑๕ มกราคมเป็นต้นมา ครก.๑๑๒ ได้รณรงค์อภิปรายปัญหาของกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่น ๆ  ในทุกภูมิภาค ทั้งเหนือ กลาง ใต้ ตะวันออก อิสาน  ครก.๑๑๒ ได้รับการสนับสนุนจากผู้คนจำนวนมาก ประชาชนและนักกิจกรรมทางการเมืองเสื้อแดงทุกภาคส่วน  ซึ่งขออภัยที่ไม่อาจกล่าวชื่อออกมาได้หมดในที่นี้ จนกระทั่งบัดนี้ มีผู้ลงชื่อแก้กฎหมายทั้งสิ้นจำนวน ๓๘,๒๘๑ คน  โดยมีผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลางจำนวน ๒,๖๓๒ คน  ตะวันออก ๒๐๘ คน  เหนือ ๒,๖๐๕ คน  อิสาน ๒๒,๓๕๗ คน  ใต้ ๑๑๘ คน  ในจำนวนนี้มีแบบฟอร์มที่เสียจำนวน ๑๐,๓๖๐ คน  และมีรายชื่อที่พร้อมส่งสภาเป็นจำนวน ๒๗,๒๙๑ คน
การรณรงค์ของครก. ๑๑๒ ไม่ได้เป็นเพียงการรณรงค์รวบรวมรายชื่อและการลงนามขอแก้ไขกฎหมายเท่านั้น แต่คณะรณรงค์เอง กลับได้ความรู้ความเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยอย่างขนานใหญ่ ปรากฏการณ์ที่เราอาจเรียกได้ว่า “ปรากฏการณ์ ๑๑๒ ริกเตอร์” นั้นสั่นสะเทือนสังคมไทยหลายประการด้วยกัน ดังจะขอตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นดังนี้
ประการแรก กล่าวได้ว่า นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่การเคลื่อนไหวทางอุดมการณ์เพื่อสิทธิ เสรีภาพของประชาชนได้แผ่ซ่าน ลงลึกไปถึงผู้คนรากหญ้า คนรากหญ้าเข้าใจถึงปัญหาของม. ๑๑๒ เนื่องจากพวกเขาเล็งเห็นถึงปัญหาที่ใหญ่กว่าตัวบทกฏหมาย นั่นคือปัญหาของการดึงเอาสถาบันกษัตริย์ลงมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง ปัญหาของการแทรกแซงการเมืองระบอบประชาธิปไตยโดยอำนาจนอกระบบ และปัญหาของวงจรอุบาทว์ทางการเมืองของการรัฐประหาร ปรากฏการณ์ ๑๑๒ ริกเตอร์จึงสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นจากดินถึงฟ้า
ประการที่สอง เหตุที่การรณรงค์แก้ไขมาตรา ๑๑๒ ได้รับการตอบรับอย่างดี เป็นเพราะประชาชนรากหญ้าเข้าใจว่าการคุกคามและลิดรอนสิทธิเสรีภาพในร่างกาย และการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ส่งผลเลวร้ายต่อชีวิตความเป็นอยู่อันปกติสุขของพวกเขาเองและประชาชนทั่วไป การที่ผู้ต้องหาที่ไม่มีสถานะทางสังคมจำนวนมากไม่ได้รับการประกันตน กรณีการบิดเบือนหลักการของการให้ความยุติธรรมในกระบวนการกฎหมาย กรณีผังล้มเจ้าที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อประหัตประหารประชาชนเมื่อ เดือนเมษายนและพฤษภาคม ๒๕๕๓ เป็นตัวอย่างที่ดีของปัญหาการคุกคามสิทธิเสรีภาพในชีวิตประจำวันของผู้คน ยังไม่นับว่ามีผู้อาศัยมาตรา ๑๑๒ เพื่อกลั่นแกล้งผู้บริสุทธิ์ จนถึงการที่มาตรา ๑๑๒ ปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ ทำให้ประชาชนคนรากหญ้าไม่สามารถพูดถึงปัญหาที่ใหญ่คับฟ้าเมืองไทยได้
ประการต่อมา การต่อต้านปรากฏการณ์ ๑๑๒ ริกเตอร์จึงเป็นการขัดขืนความเป็นจริงทางสังคมที่ว่า ประชาชนไม่สามารถยอมรับสถานะไพร่ฟ้าผงธุลีได้อีกต่อไป การต่อต้านปรากฏการณ์ ๑๑๒ ริกเตอร์จึงแสดงออกอย่างไร้เหตุผล เช่น การแสดงความรักแบบไร้เหตุผล การปิดกั้นการใช้เหตุผลด้วยการไม่นำเสนอข่าวสารอย่างครบถ้วนของสื่อมวลชน และการปิดพื้นที่ของเหตุผล ดังที่เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แห่งนี้ และในหลายๆพื้นที่ที่ครก.๑๑๒ สัญจรไป นอกจากนั้น รัฐบาลและพรรคการเมืองยังปิดพื้นที่ของการใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหาของ ประเทศชาติ ด้วยการปฏิเสธ ตั้งธงไว้แต่แรกว่า จะไม่แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ทั้งๆที่ยังไม่ได้มีการถกเถียงกันในสภา ทั้งๆที่สังคมยังไม่ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ความไร้เหตุผลเหล่านี้เป็นสิ่งเดียวกันกับการใช้กำลังทำร้ายอาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แต่ความไร้เหตุผลเหล่านี้ ก็ไม่สามารถหยุดยั้งความเปลี่ยนแปลงที่ได้เกิดขึ้นแล้วในสังคมไทย
ประการสุดท้าย แม้ว่าจะมีการต่อต้านจากชนชั้นนำ และปราศจากการสนับสนุนจากพรรคเพื่อไทย ประชาชนคนรากหญ้าจำนวนมากก็ยังยืนยันที่จะเดินหน้าร่วมกับครก. ๑๑๒ เพื่อรวบรวมชื่อเสนอให้รัฐสภาแก้ไขกฎหมาย นี่แสดงให้เห็นเป็นอย่างดีว่า ประชาชนเป็นตัวของตัวเอง ไม่จำเป็นต้องอยู่ใต้การชี้นำของพรรคการเมือง แม้ว่าจะเป็นพรรคการเมืองที่พวกเขาสนับสนุนก็ตาม ปรากฏการณ์ ๑๑๒ ริกเตอร์จึงแสดงให้เห็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทย ที่อุดมการณ์สิทธิเสรีภาพได้หยั่งรากลึกลงยิ่งขึ้น ดังนั้นนักการเมืองจึงควรเข้าใจด้วยว่า ประชาชนไม่ได้เพียงต้องการนโยบายประชานิยม แต่ยังต้องการสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานอีกด้วย
เราจะยื่นร่างกฎหมายให้กับรัฐสภาถัดจากนี้อีกสองวัน คือในวันอังคารที่ ๒๙  ขอเชิญชวนผู้ที่ต้องการเห็นรัฐสภาซึ่งเป็นสถานที่ทำงานของผู้แทนปวงชนชาว ไทยได้พิจารณาร่างกฎหมายนี้มารวมตัวกันที่หมุดคณะราษฎร์เวลาเก้าโมงเช้า  เราจะตั้งขบวนเดินนำรายชื่อทั้งหมดใส่กล่องสีดำไปยังรัฐสภาเพื่อมอบเอกสาร ให้กับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์
ครก.๑๑๒ จะยังไม่สลายตัว แต่จะติดตามและต่อสู้จนกว่าปัญหาอันเนื่องจากกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ และกรณีที่เกี่ยวข้องจะได้รับการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงไปจนไม่ละเมิดสิทธิ เสรีภาพประชาชนอีกต่อไป