ที่มา uddred
โลกวันนี้ 31 พฤษภาคม 2555 >>>
ประชุมสภาพิจารณาเลื่อน พ.ร.บ.ปรองดอง 4
ฉบับขึ้นมาพิจารณาเต็มไปด้วยความวุ่นวาย มีการประท้วง
ตะโกนโห่ด่าทอกันไปมาอยู่ตลอดเวลา เมื่อ ส.ส.เพื่อไทยพยายามให้สภาลงมติ
ขณะที่ ส.ส.ประชาธิปัตย์ตั้งป้อมคัดค้านให้ไปตีความก่อนว่าเข้าข่ายเป็น
พ.ร.บ.การเงินหรือไม่ ด้านประธานสภาให้ลงมติก่อนจึงตีความภายหลัง ทำให้
ส.ส.ประชาธิปัตย์ไม่พอใจรุกฮือขึ้นไปล้อมกรอบเพื่อกระชากตัวลงจากบัลลังก์
ไม่ให้ทำหน้าที่ต่อจนต้องพักการประชุม
ขณะที่ด้านนอกสภาวุ่นวายไม่แพ้กันเมื่อ “สนธิ-จำลอง” นำกลุ่มพันธมิตรฯ
ชุมนุมคัดค้านอภิปรายโจมตี โดยมี
ส.ส.ประชาธิปัตย์หลายคนออกไปแสดงตัวให้กำลังใจเป็นระยะ
บางคนก็ไปเข้าร่วมกับกลุ่มผู้ชุมนุมด้วย
การประชุมสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อวันที่ 30 พ.ค. ที่ผ่านมา วุ่นวายขึ้นทันทีตั้งแต่เริ่มเปิดประชุม โดย
ส.ส.เพื่อไทยเสนอให้เลื่อนการพิจารณาร่าง
พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ที่มีผู้เสนอเอาไว้ 4 ฉบับขึ้นมาพิจารณา
แต่ ส.ส.ประชาธิปัตย์ที่ไม่เห็นด้วยทำการคัดค้านอย่างหนัก
ขณะที่ด้านหน้าสภามีกลุ่มผู้ชุมนุมหลายกลุ่มมารวมตัวกันเพื่อคัดค้าน
ฝ่ายค้านให้ตีความก่อน
เมื่อ
มีการอภิปรายกันไปมาระยะหนึ่ง ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เสนอให้นายสมศักดิ์
เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
วินิจฉัยว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องด้วยหรือไม่ เป็น
พ.ร.บ.เกี่ยวกับการเงินหรือไม่ เพราะถ้าเป็น
พ.ร.บ.เกี่ยวกับการเงินต้องให้นายกรัฐมนตรีลงชื่อรับรองก่อน
เนื่องจากต้องมีการคืนเงิน 46,000 ล้านบาทให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
อดีตนายกรัฐมนตรี
แต่นายสมศักดิ์พยายามดำเนินการตามข้อบังคับการประชุมตามที่มีผู้เสนอญัตติ
ให้เลื่อนวาระนำร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 4 ฉบับขึ้นมาพิจารณาก่อน แต่
ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์พยายามคัดค้านและส่งเสียงโห่ฮา ตะโกนท้าทายกันตลอดเวลา
นาย
สมศักดิ์กล่าวว่า การพิจารณาว่าเป็น
พ.ร.บ.การเงินหรือไม่ผ่านขั้นตอนนั้นมาแล้ว
เพราะได้บรรจุเข้าวาระการประชุมแล้ว
หากใครสงสัยให้ยื่นตีตามช่องทางที่มีอยู่
ตีรวนโห่ฮาตลอด
จากนั้นพยายามให้ลงมติแต่ ส.ส.ประชาธิปัตย์ยังตีรวนด้วยการโห่ฮาตลอดเวลา
นาย
เชน เทือกสุบรรณ ส.ส.ประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า
ร่างกฎหมายนี้เกี่ยวข้องกับการเงินเพราะผูกพันต่อเงินของรัฐ
ซึ่งนายกรัฐมนตรีต้องรับรอง
และให้ประธานกรรมาธิการสามัญของสภาทุกคณะร่วมกันวินิจฉัย
นายสม
ศักดิ์ยืนยันว่า หากใครสงสัยให้ส่งตีความ
เมื่อข้อบังคับให้ประธานมีอำนาจวินิจฉัยก็ต้องใช้อำนาจ ด้าน
ส.ส.เพื่อไทยหลายคนอภิปรายสนับสนุนการวินิจฉัยและพยายามให้ลงมติ
ยันประธานไม่มีอำนาจ
นาย
สุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.ประชาธิปัตย์ อภิปรายยืนยันว่า
ประธานสภาไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่าร่าง พ.ร.บ. นี้เป็น
พ.ร.บ.เกี่ยวกับการเงินหรือไม่
เพราะกฎหมายให้อำนาจประธานสภาและประธานคณะกรรมาธิการสามัญทุกคณะร่วมกัน
วินิจฉัย กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจประธานสภาคนเดียว
จากนั้นนายสมศักดิ์
ได้สั่งพักการประชุม 15 นาทีเพื่อไปหารือนอกรอบ
เมื่อกลับมาประชุมอีกครั้งก็ยังมีการถกเถียงและโห่ฮากันอยู่
โดยพรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่าจะต้องมีการวินิจฉัยว่าร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 4
ฉบับเป็นกฎหมายการเงินหรือไม่
ลุกฮือไล่ประธานพ้นบัลลังก์
การ
อภิปรายยังวุ่นวายด้วยการประท้วงกันไปมา จนกระทั่งเวลาประมาณ 18.10 น.
ประธานสภาให้ลงมติว่าจะเลื่อนร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 4 ฉบับขึ้นมาพิจารณาหรือไม่
ทำให้
ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ส่วนหนึ่งไม่พอใจรุกฮือขึ้นไปบนบัลลังก์ของประธานสภา
ล้อมกรอบนายสมศักดิ์และพยายามดึงตัวออกจากที่นั่งประธานสภาทำให้เกิดความ
วุ่นวายขึ้นจนเจ้าหน้าที่ต้องมากัน ส.ส. ออกไป
เป็นเหตุให้ต้องสั่งพักการประชุมชั่วคราวก่อนกลับมาพิจารณาใหม่
อย่างไรก็ตาม แม้จะพักการประชุมแล้ว
ส.ส.ประชาธิปัตย์ก็ยังพยายามดึงเก้าอี้ประธานสภาออกจากบังลังก์เพื่อไม่ให้
ทำหน้าที่ต่อได้อีก จึงมีการยื้อแย่งกับ ส.ส.พรรคเพื่อไทย
แต่สุดท้ายเหตุการณ์ก็กลับสู่ภาวะปรกติ
เสื้อหลากสี-พธม. ชุมนุมค้าน
ด้าน
กลุ่มเสื้อหลากสีของ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ มี
ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมด้วย เช่น นายเทพไท เสนพงศ์ และนายณัฏฐ์
บรรทัดฐาน
และมีผู้ดำเนินรายการจากทีวี.ดาวเทียมช่องบลูสกายขึ้นเวทีปราศรัยด้วย
ขณะที่ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์อีกบางส่วน นำโดยนายอรรถพร พลบุตร
ยืนถือป้ายต่อต้าน พ.ร.บ.ปรองดองในเขตรั้วรัฐสภาเพื่อต้อนรับผู้ชุมนุม
ขณะ
ที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้รวมตัวกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า
ก่อนที่จะเคลื่อนการชุมนุมมาที่หน้ารัฐสภา
เมื่อมาถึงได้รื้อรั้วแผงเหล็กที่ตำรวจนำมากั้นไม่ให้ผู้ชุมนุมประชิดรั้ว
รัฐสภาออกทันที
ทำให้ตำรวจที่มารักษาความสงบเรียบร้อยต้องถอยร่นไปอยู่ในรั้วรัฐสภา
จากนั้นแกนนำได้เข้าไปยื่นหนังสือให้ถอนร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 4
ฉบับออกจากการพิจารณาของสภา
“สนธิ” ชุมนุมจนกว่าจะชนะ
นาย
สนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ กล่าวว่า
การออกกฎหมายเพื่อยกเลิกคำพิพากษาของศาลเท่ากับเป็นการละเมิดพระราชอำนาจของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ส่วนการชุมนุมคัดค้านจะมีกี่วันนั้นขึ้นอยู่กับว่าได้ชัยชนะเมื่อไร