ที่มา Thai E-News
โดย ทีมข่าว ไทยอีนิวส์
ภาพ สมเจตน์ รักลุงนวมทอง
อ้อมกอดและกำปั้น 112 วันของการรณรงค์ มธ
ถ่ายทอดสดโดยทีมงานม้าเร็ว http://speedhorsetv.blogspot.com
ถ่ายทอดสดโดยทีมงานม้าเร็ว http://speedhorsetv.blogspot.com
ครอบครัวเหยื่อ 112 มธ 27 5 2012
เสียงสะท้อน ญาติผู้ต้องขัง-คนทำงานรณรงค์ในพื้นที่
ที่มา ประชาไท
ครอบครัวผู้ต้องขังม. 112
มองนักโทษ-ผู้ต้องหาได้รับการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม
ทั้งในกระบวนการยุติธรรมและการรักษาพยาบาล
ในขณะที่นักวิชาการร่วมรณรงค์ระบุ ได้เสียงตอบรับการรณรงค์แก้ไขม. 112
ในภูมิภาคเป็นอย่างดี
27 พ.ค.55 ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในเวที บันทึก 112 วันแก้ไข ม.112 จัดโดยคณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) ในช่วงเสวนา “เสียงจากเหยื่อ” มีการอภิปรายประสบการณ์ต่อกระบวนการยุติธรรมจากครอบครัวของผู้ต้องขัง-ม. 112 โดยชี้ว่าได้รับการปฏิบัติต่ำกว่ามาตรฐานทางมนุษยธรรมทั้งตั้งแต่กระบวนการ จับกุม คุมขัง ไปจนถึงสิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาล
ในวงเสวนา “อ้อมกอดและกำปั้น 112 วัน ของการรณรงค์” เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬา หนึ่งในครก.112 เป็นพิธีกรดำเนินรายการ โดยกล่าวว่า การณรงค์เรื่องนี้ไปในหลายจังหวัด ไม่ว่า ราชบุรี ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี อุดรธานี เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พิษณุโลก ระยอง พัทลุง เป็นต้น โดยมีนักวิชาการ นักเขียน นักคิดไปร่วมเวทีย่อยในจังหวัดต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งเวทีดังกล่าวจัดโดยเครือข่ายท้องถิ่นเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้า ชื่อแก้ไขกฎหมายนี้
ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยาของสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ นักโทษในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กล่าวว่า กระบวนการจับกุมตัวของผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นฯ ส่วนใหญ่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนตามกฎหมาย โดยในกรณีของนายสุรชัย ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 54 ในขณะเดินทางกลับบ้านหลังจากเสร็จสิ้นจากกิจกรรมปราศรัยที่สนามหลวง ราวเวลาตีหนึ่ง มีตำรวจในเครื่องแบบและนอกเครื่องแบบราว 10 คน พร้อมอาวุธครบมือ ได้ดักจับบริเวณที่พักของคนรู้จัก แต่หลังจากที่ขัดขืนไม่ยอมให้ควบคุมตัว ภายหลังจึงถูกตำรวจนำตัวไปส่่งยังสน. โชคชัย ต่อมาถูกตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 5 คดี จากสน.ในอุดรธานี ราชบุรี เชียงใหม่ ที่ชนะสงครามและโชคชัยในกรุงเทพฯ โดยล่าสุดถูกตัดสินลงโทษ 20 ปี หลังจากรับสารภาพจึงลดลงเหลือ 10 ปี
ปราณีเล่าว่า หลังจากที่สามีของเธอถูกคุมขังตัวในเรือนจำ
ก็ทราบว่าสภาพความเป็นอยู่ในเรือนจำค่อนข้างแย่มาก โดยห้องขังมีสภาพแออัด
เนื่องจากผู้ต้องขังจำนวนมากไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว
รวมถึงผู้ที่ป่วยเป็นโรคติดต่อต่างๆ ทำให้ผู้ที่ป่วยอยู่แล้วเช่นอากง
ซึ่งเป็นโรคมะเร็งตับระยะสุดท้าย
มีอาการเจ็บป่วยแย่ลงจนสุดท้ายต้องเสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้
ห้องน้ำของนักโทษก็มีเพียงสองห้อง ซึ่งถ้าเทียบกับจำนวนนักโทษราว 50
กว่าคนต่อหนึ่งแดน ซึ่งนับว่าไม่เพียงพอ
ในแง่ของการรักษาพยาบาล เธอเล่าว่า โรงพยาบาลประจำที่เรือนจำ มีแพทย์ประจำเพียงสองคน โดยแต่ละคนมีเวรการรักษาเพียงรอบละสองชั่วโมงต่อสัปดาห์เท่านั้น ประกอบกับคุณภาพอาหารของนักโทษในเรือนจำที่มีคุณภาพต่ำ ทำให้นักโทษไม่ได้รับคุณค่าโภชนาการอย่างเพียงพอ ซึ่งเธอมองว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักโทษเจ็บป่วยมากขึ้น
รสมาลิน ภรรยาของนายอำพล (สงวนนามสกุล) หรือ “อากง” กล่าวว่า ก่อนที่อากงจะถูกจับ ทางอากงและครอบครัวไม่ทราบมาก่อนเลย เธอกล่าวว่า อยู่ดีๆ ก็มีตำรวจพร้อมสื่อมวลชนจำนวนมากเข้ามาบุกจับ
“ดิฉันไม่รู้เลยว่าการโบกมือวันที่ 3 พ.ค. 55 จะเป็นการโบกมือครั้งสุดท้ายของเขา จากนั้นเราก็จากกันและเราก็ไม่ได้เจอกันอีก อยากจะบอกกับสังคมว่า อยากจะให้สังคมมองนักโทษไม่ว่าเขาจะโดนคดีไหน เขาก็เป็นมนุษย์เหมือนกับพวกเรา อยากให้เห็นอกเห็นใจและโปรดให้เขาได้เข้าถึงสิทธิต่างๆ ที่เขาพึงมื
“สามีอยู่ในเรือนจำ ภรรยามีนรกอยู่ในใจ” ภรรยาอากงกล่าว
ด้านสุกัญญา พฤกษาเกษมสุข ภรรยานายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องหาคดีม. 112 กล่าวว่า ก่อนหน้าที่สมยศจะถูกจับกุม ก็พอทราบมาแล้วว่าเขากำลังถูกจับตามองจากทางการ เนื่องจากก่อนหน้านี้สมยศเคยถูกจับกุมแล้วด้วยพ.ร.ก. ฉุกเฉิน มาแล้ว โดยหลังจากที่เขาถูกจับกุมตัวบริเวณด่านอรัญประเทศ ในขณะที่เดินทางออกไปยังประเทศกัมพูชา ก็ถูกจับกุมคุมขังในเรือนจำ โดยยังไม่ได้รับการประกันตัวแม้แต่ครั้งเดียว
เธอมองว่า การจับกุมตัวสมยศ เป็นกรณีที่ถูกทางการปฏิบัติอย่างไร้หลักมนุษยธรรม เพราะนอกจากจะถูกปฏิเสธสิทธิในการประกันตัวแล้ว เขายังถูกกล่าวหาว่าพยายามหลบหนีด้วย ทั้งๆ ที่ยังไม่มีหลักฐานใดๆ มาพิสูจน์
นอกจากภรรยาของผู้ต้องขังและผู้ต้องหาม. 112 ได้มาร่วมกล่าวในวงอภิปราย “เสียงจากเหยื่อ 112” แล้ว ยังมีบิดาของนายสุริยัน (สงวนนามสกุล) หรือ “หมี” ได้มาเล่าประสบการณ์ของตนเองด้วย โดยสุริยันเป็นช่างซ่อมรองเท้าที่ถูกตัดสินจำคุก ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 6 ปี 1 เดือน แต่ในภายหลังลดเหลือ 3 ปี 15 วันเนื่องจากรับสารภาพว่าส่งข้อความหมิ่นเบื้องสูง โดยบิดาของสุริยันกล่าวว่า ช่วงแรกๆที่นายสุริยันถูกคุมขังในเรือนจำนั้น เขามีอาการกลัวถูกทำร้าย และมีอาการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ด้วย แต่ยังคงให้กำลังใจลูกชาย พร้อมทั้งกล่าวว่า ตนมุ่งหมายจะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต่อไป
ทั้งนี้ ยังมีผู้ที่ถูกจับกุมในข้อหาม. 112 และพ.ร.บ. คอมพ์ เป็นเวลา 3 ปี ระหว่างปี 2552-2555 เนื่องจากเผยแพร่ลิงก์ที่มีเนื้อหาหมิ่นเบื้องสูง และในขณะนี้ถูกปล่อยตัวแล้ว มาร่วมบอกกล่าวประสบการณ์ด้วย
นักวิชาการครก. 112 ปันประสบการณ์ “อ้อมกอด” และ “กำปั้น”
สุดา รังกุพันธ์ เล่าว่า วันที่ตัดสินใจร่วมกับ ครก.112 ตัดสินใจยาก เพราะปวารณาตัวช่วยเหลือพี่น้องเสื้อแดงในฐานะนักวิชาการเสื้อแดง ในขณะที่ท่าทีของผู้รักประชาธิปไตยเองก็มีความคิดหลากหลาย โดยเฉพาะองค์กรหลักอย่าง นปช. ก็มีท่าทีชัดเจนว่าไม่ร่วมในการเข้าชื่อแก้ไข มาตรา 112 จตุพร พรหมพันธ์ ก็บอกให้รอเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญก่อน แต่เราก็รอไม่ได้ เราไม่อยากให้มีผู้เสียชีวิตในเรือนจำด้วยมาตรานี้เพิ่มอีก
สุดา ตั้งข้อสังเกตอีกว่า หลังจากมี ครก.สัญจรไปต่างจังหวัดทำให้พบความประหลาดใจมาก เพราะมีแต่สนับสนุนการแก้มาตรานี้ มีแต่ขอเวทีเพิ่มตลอดเวลา เชื่อมั่นว่าถ้ามีการทำประชามติ มาตรานี้ก็ต้องได้รับการแก้ไขอย่างแน่นอน
วาด รวี เล่าว่า
การตระเวนหลายจังหวัดทำให้ปรากฏการณ์ที่คนธรรมดาทั่วไปตื่นตัวสิทธิทางการ
เมืองอย่างสูง รู้สึกว่าสิทธิเขาถูกละเมิด เป็นปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างใหม่
ทำให้ชนชั้นนำ คนมีอำนาจ
เริ่มต้องตีความอุดมการณ์ทางการเมืองของประชาชนใหม่
ไม่น่าจะมองแบบที่ผ่านมา
การจะมองข้ามหัวประชาชนแล้วคุยกันเองคงเป็นไปได้ยากขึ้นทุกที
ถ้านักการเมือง
ผู้มีอำนาจทางการเมืองไม่ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสำนึกประชาชนนี้
ว่าเขารู้สึกจริงๆ แล้วว่าเขาเป็นเจ้าของประเทศ พรรคการเมืองที่เป็นพรรคที่ประชาชนเลือกมา และเขาปกป้อง
แต่เขาเริ่มรู้สึกเรื่อยๆ ว่าไม่ใช่พรรคของเขามากขึ้นทุกทีๆ
มันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอย่างสำคัญ
วาด รวี กล่าวอีกว่า เคยนำเสนอเรื่องนี้ในวงเอ็นจีโอเสื้อเหลือง อธิบายกันจนเข้าใจและเห็นร่วมกันว่าเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพ แต่สุดท้ายก็สรุปว่า “ยังไม่ถึงเวลา” ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกับที่พรรคเพื่อไทยก็ใช้ว่า “ยังไม่ถึงเวลา” ตลอดเวลาที่รณรงค์ หากมองย้อนกลับไปที่ 15 ม.ค.ที่เริ่มการรณรงค์ ย้อนไปตอนที่นิติราษฎร์เสนอร่างแก้ไขมาตรา 112 ย้อนไปถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ถูกดำเนินคดี เราจะเห็นความพร้อมมากขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้น เวลากำลังมาถึงเรื่อยๆ พร้อมๆ กับความเข้าใจของประชาชน แต่พอถึงเวลาจริงๆ คนที่จะไม่รู้ตัวคือคนที่มีอำนาจ
ปิยบุตร แสงกนกกุล ในการออกต่างจังหวัดเพื่อทำความเข้าใจเรื่องมาตรานี้กับประชาชน ตอนแรกกังวลใจเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะอาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แต่สุดท้ายก็ไม่เกิดอะไรขึ้น อย่างไรก็ตาม ตอนตั้ง ครก.คิดว่าน่าจะได้ถึงแสนชื่อ เพราะดูปฏิกิริยาของประชาชนตลอดสองสามปีที่พูดว่า “ตาสว่าง” นั้นมีจำนวนเยอะมาก จนกระทั่งนักการเมืองหลายคนออกมาเบรคว่า ต่อให้ร่างนี้เข้ามาในสภาก็ไม่มีใครยอมรับ ผ่านไปหนึ่งเดือนจึงพบว่าได้เพียงพันรายชื่อเศษๆ เท่านั้น และทีมรณรงค์ในพื้นที่ก็สะท้อนว่ามีความไม่เข้าใจเรื่องกฎหมายด้วย เพราะกลัวโดนคดีฯ เราจึงลงไปในพื้นที่ด้วย และได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยนกับประชาชนในพื้นที่ เช่น หลายคนยังกังวลว่าเรื่องนี้อาจทำให้รัฐบาลที่ประชาชนเลือกมาถูกทำรัฐประหาร อีก แต่ตนมองต่างไปเพราะดูจากสภาพการณ์แล้ว ไม่น่าจะมีการรัฐประหารเกิดขึ้นในระยะอันใกล้ เพราะชนชั้นนำทั้งสองข้างไม่พร้อมจะมีรัฐประหารอีกแล้ว ต้นทุนสูงเกินไป เป็นต้น
ส่วนเรื่องกำปั้น กรณีของผมต่อเนื่องจากการพูดที่จุฬาฯ กรณีพระราชดำรัส แล้วยังมาเรื่องครก.อีก ซึ่งก็ได้รับจดหมายในการต่อต้าน ติเตียน กระทั่งดูหมิ่นหยาบคาย หรือมีลักษณะข่มขู่ เช่น ตัดรูปของตนเฉพาะส่วนหัวใส่ซองจดหมายมายังคณะ พร้อมอ่านตัวอย่างจากจดหมายบางฉบับ เรียกเสียงโห่ฮาจากผู้ฟังจนลั่นห้องประชุม
ปิยบุตร สรุปว่า เพราะ ส.ส.ไม่ทำเรื่องเสียเอง จึงตกเป็นภาระของประชาชนต้องมารวบรวมชื่อส่งสภา และเราไม่จำเป็นต้องทำเลยเรื่องนี้ ถ้าไม่มีการใช้มาตรานี้อย่างหนักและพิสดารตั้งแต่หลังรัฐประหาร 19 กันยา 2549 อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถพูดได้เลยว่านี่คือว่าสำเร็จ จนกว่ามาตรานี้จะถูกแก้ไข วันนี้เป็นเพียงการแถลงข่าวว่ารวบรวมรายชื่อได้เท่าไร นอกจากนี้หลายคนยังถามว่าแก้มาตรานี้ได้จะแก้ปัญหาประเทศได้ทั้งหมดหรือ คำตอบคือ ไม่ใช่ มันเป็นตัวอย่างปัญหาหนึ่งของการเมืองไทยเท่านั้น เพียงแต่เป็นรูปธรรมที่สุด เพราะตายจริง เจ็บจริง ติดคุกจริง ประเด็นสำคัญอยู่ที่ตำแหน่งแห่งที่ บทบาทของสถาบันกษัตริย์ และกองทัพ มาตรานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหา ครก.เองก็ยังมีอะไรที่ต้องทำต่ออีกมาก หลังจากเสนอรายชื่อทั้งหมดให้รัฐสภา
27 พ.ค.55 ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในเวที บันทึก 112 วันแก้ไข ม.112 จัดโดยคณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) ในช่วงเสวนา “เสียงจากเหยื่อ” มีการอภิปรายประสบการณ์ต่อกระบวนการยุติธรรมจากครอบครัวของผู้ต้องขัง-ม. 112 โดยชี้ว่าได้รับการปฏิบัติต่ำกว่ามาตรฐานทางมนุษยธรรมทั้งตั้งแต่กระบวนการ จับกุม คุมขัง ไปจนถึงสิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาล
ในวงเสวนา “อ้อมกอดและกำปั้น 112 วัน ของการรณรงค์” เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬา หนึ่งในครก.112 เป็นพิธีกรดำเนินรายการ โดยกล่าวว่า การณรงค์เรื่องนี้ไปในหลายจังหวัด ไม่ว่า ราชบุรี ขอนแก่น มหาสารคาม อุบลราชธานี อุดรธานี เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พิษณุโลก ระยอง พัทลุง เป็นต้น โดยมีนักวิชาการ นักเขียน นักคิดไปร่วมเวทีย่อยในจังหวัดต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งเวทีดังกล่าวจัดโดยเครือข่ายท้องถิ่นเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเข้า ชื่อแก้ไขกฎหมายนี้
ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยาของสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ นักโทษในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กล่าวว่า กระบวนการจับกุมตัวของผู้ถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นฯ ส่วนใหญ่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนตามกฎหมาย โดยในกรณีของนายสุรชัย ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 54 ในขณะเดินทางกลับบ้านหลังจากเสร็จสิ้นจากกิจกรรมปราศรัยที่สนามหลวง ราวเวลาตีหนึ่ง มีตำรวจในเครื่องแบบและนอกเครื่องแบบราว 10 คน พร้อมอาวุธครบมือ ได้ดักจับบริเวณที่พักของคนรู้จัก แต่หลังจากที่ขัดขืนไม่ยอมให้ควบคุมตัว ภายหลังจึงถูกตำรวจนำตัวไปส่่งยังสน. โชคชัย ต่อมาถูกตั้งข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 5 คดี จากสน.ในอุดรธานี ราชบุรี เชียงใหม่ ที่ชนะสงครามและโชคชัยในกรุงเทพฯ โดยล่าสุดถูกตัดสินลงโทษ 20 ปี หลังจากรับสารภาพจึงลดลงเหลือ 10 ปี
ในแง่ของการรักษาพยาบาล เธอเล่าว่า โรงพยาบาลประจำที่เรือนจำ มีแพทย์ประจำเพียงสองคน โดยแต่ละคนมีเวรการรักษาเพียงรอบละสองชั่วโมงต่อสัปดาห์เท่านั้น ประกอบกับคุณภาพอาหารของนักโทษในเรือนจำที่มีคุณภาพต่ำ ทำให้นักโทษไม่ได้รับคุณค่าโภชนาการอย่างเพียงพอ ซึ่งเธอมองว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักโทษเจ็บป่วยมากขึ้น
รสมาลิน ภรรยาของนายอำพล (สงวนนามสกุล) หรือ “อากง” กล่าวว่า ก่อนที่อากงจะถูกจับ ทางอากงและครอบครัวไม่ทราบมาก่อนเลย เธอกล่าวว่า อยู่ดีๆ ก็มีตำรวจพร้อมสื่อมวลชนจำนวนมากเข้ามาบุกจับ
“ดิฉันไม่รู้เลยว่าการโบกมือวันที่ 3 พ.ค. 55 จะเป็นการโบกมือครั้งสุดท้ายของเขา จากนั้นเราก็จากกันและเราก็ไม่ได้เจอกันอีก อยากจะบอกกับสังคมว่า อยากจะให้สังคมมองนักโทษไม่ว่าเขาจะโดนคดีไหน เขาก็เป็นมนุษย์เหมือนกับพวกเรา อยากให้เห็นอกเห็นใจและโปรดให้เขาได้เข้าถึงสิทธิต่างๆ ที่เขาพึงมื
“สามีอยู่ในเรือนจำ ภรรยามีนรกอยู่ในใจ” ภรรยาอากงกล่าว
ด้านสุกัญญา พฤกษาเกษมสุข ภรรยานายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องหาคดีม. 112 กล่าวว่า ก่อนหน้าที่สมยศจะถูกจับกุม ก็พอทราบมาแล้วว่าเขากำลังถูกจับตามองจากทางการ เนื่องจากก่อนหน้านี้สมยศเคยถูกจับกุมแล้วด้วยพ.ร.ก. ฉุกเฉิน มาแล้ว โดยหลังจากที่เขาถูกจับกุมตัวบริเวณด่านอรัญประเทศ ในขณะที่เดินทางออกไปยังประเทศกัมพูชา ก็ถูกจับกุมคุมขังในเรือนจำ โดยยังไม่ได้รับการประกันตัวแม้แต่ครั้งเดียว
เธอมองว่า การจับกุมตัวสมยศ เป็นกรณีที่ถูกทางการปฏิบัติอย่างไร้หลักมนุษยธรรม เพราะนอกจากจะถูกปฏิเสธสิทธิในการประกันตัวแล้ว เขายังถูกกล่าวหาว่าพยายามหลบหนีด้วย ทั้งๆ ที่ยังไม่มีหลักฐานใดๆ มาพิสูจน์
นอกจากภรรยาของผู้ต้องขังและผู้ต้องหาม. 112 ได้มาร่วมกล่าวในวงอภิปราย “เสียงจากเหยื่อ 112” แล้ว ยังมีบิดาของนายสุริยัน (สงวนนามสกุล) หรือ “หมี” ได้มาเล่าประสบการณ์ของตนเองด้วย โดยสุริยันเป็นช่างซ่อมรองเท้าที่ถูกตัดสินจำคุก ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 6 ปี 1 เดือน แต่ในภายหลังลดเหลือ 3 ปี 15 วันเนื่องจากรับสารภาพว่าส่งข้อความหมิ่นเบื้องสูง โดยบิดาของสุริยันกล่าวว่า ช่วงแรกๆที่นายสุริยันถูกคุมขังในเรือนจำนั้น เขามีอาการกลัวถูกทำร้าย และมีอาการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ด้วย แต่ยังคงให้กำลังใจลูกชาย พร้อมทั้งกล่าวว่า ตนมุ่งหมายจะต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต่อไป
ทั้งนี้ ยังมีผู้ที่ถูกจับกุมในข้อหาม. 112 และพ.ร.บ. คอมพ์ เป็นเวลา 3 ปี ระหว่างปี 2552-2555 เนื่องจากเผยแพร่ลิงก์ที่มีเนื้อหาหมิ่นเบื้องสูง และในขณะนี้ถูกปล่อยตัวแล้ว มาร่วมบอกกล่าวประสบการณ์ด้วย
นักวิชาการครก. 112 ปันประสบการณ์ “อ้อมกอด” และ “กำปั้น”
สุดา รังกุพันธ์ เล่าว่า วันที่ตัดสินใจร่วมกับ ครก.112 ตัดสินใจยาก เพราะปวารณาตัวช่วยเหลือพี่น้องเสื้อแดงในฐานะนักวิชาการเสื้อแดง ในขณะที่ท่าทีของผู้รักประชาธิปไตยเองก็มีความคิดหลากหลาย โดยเฉพาะองค์กรหลักอย่าง นปช. ก็มีท่าทีชัดเจนว่าไม่ร่วมในการเข้าชื่อแก้ไข มาตรา 112 จตุพร พรหมพันธ์ ก็บอกให้รอเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญก่อน แต่เราก็รอไม่ได้ เราไม่อยากให้มีผู้เสียชีวิตในเรือนจำด้วยมาตรานี้เพิ่มอีก
สุดา ตั้งข้อสังเกตอีกว่า หลังจากมี ครก.สัญจรไปต่างจังหวัดทำให้พบความประหลาดใจมาก เพราะมีแต่สนับสนุนการแก้มาตรานี้ มีแต่ขอเวทีเพิ่มตลอดเวลา เชื่อมั่นว่าถ้ามีการทำประชามติ มาตรานี้ก็ต้องได้รับการแก้ไขอย่างแน่นอน
วาด รวี กล่าวอีกว่า เคยนำเสนอเรื่องนี้ในวงเอ็นจีโอเสื้อเหลือง อธิบายกันจนเข้าใจและเห็นร่วมกันว่าเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพ แต่สุดท้ายก็สรุปว่า “ยังไม่ถึงเวลา” ซึ่งเป็นเหตุผลเดียวกับที่พรรคเพื่อไทยก็ใช้ว่า “ยังไม่ถึงเวลา” ตลอดเวลาที่รณรงค์ หากมองย้อนกลับไปที่ 15 ม.ค.ที่เริ่มการรณรงค์ ย้อนไปตอนที่นิติราษฎร์เสนอร่างแก้ไขมาตรา 112 ย้อนไปถึงสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ถูกดำเนินคดี เราจะเห็นความพร้อมมากขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้น เวลากำลังมาถึงเรื่อยๆ พร้อมๆ กับความเข้าใจของประชาชน แต่พอถึงเวลาจริงๆ คนที่จะไม่รู้ตัวคือคนที่มีอำนาจ
ปิยบุตร แสงกนกกุล ในการออกต่างจังหวัดเพื่อทำความเข้าใจเรื่องมาตรานี้กับประชาชน ตอนแรกกังวลใจเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะอาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ แต่สุดท้ายก็ไม่เกิดอะไรขึ้น อย่างไรก็ตาม ตอนตั้ง ครก.คิดว่าน่าจะได้ถึงแสนชื่อ เพราะดูปฏิกิริยาของประชาชนตลอดสองสามปีที่พูดว่า “ตาสว่าง” นั้นมีจำนวนเยอะมาก จนกระทั่งนักการเมืองหลายคนออกมาเบรคว่า ต่อให้ร่างนี้เข้ามาในสภาก็ไม่มีใครยอมรับ ผ่านไปหนึ่งเดือนจึงพบว่าได้เพียงพันรายชื่อเศษๆ เท่านั้น และทีมรณรงค์ในพื้นที่ก็สะท้อนว่ามีความไม่เข้าใจเรื่องกฎหมายด้วย เพราะกลัวโดนคดีฯ เราจึงลงไปในพื้นที่ด้วย และได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยนกับประชาชนในพื้นที่ เช่น หลายคนยังกังวลว่าเรื่องนี้อาจทำให้รัฐบาลที่ประชาชนเลือกมาถูกทำรัฐประหาร อีก แต่ตนมองต่างไปเพราะดูจากสภาพการณ์แล้ว ไม่น่าจะมีการรัฐประหารเกิดขึ้นในระยะอันใกล้ เพราะชนชั้นนำทั้งสองข้างไม่พร้อมจะมีรัฐประหารอีกแล้ว ต้นทุนสูงเกินไป เป็นต้น
ส่วนเรื่องกำปั้น กรณีของผมต่อเนื่องจากการพูดที่จุฬาฯ กรณีพระราชดำรัส แล้วยังมาเรื่องครก.อีก ซึ่งก็ได้รับจดหมายในการต่อต้าน ติเตียน กระทั่งดูหมิ่นหยาบคาย หรือมีลักษณะข่มขู่ เช่น ตัดรูปของตนเฉพาะส่วนหัวใส่ซองจดหมายมายังคณะ พร้อมอ่านตัวอย่างจากจดหมายบางฉบับ เรียกเสียงโห่ฮาจากผู้ฟังจนลั่นห้องประชุม
ปิยบุตร สรุปว่า เพราะ ส.ส.ไม่ทำเรื่องเสียเอง จึงตกเป็นภาระของประชาชนต้องมารวบรวมชื่อส่งสภา และเราไม่จำเป็นต้องทำเลยเรื่องนี้ ถ้าไม่มีการใช้มาตรานี้อย่างหนักและพิสดารตั้งแต่หลังรัฐประหาร 19 กันยา 2549 อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถพูดได้เลยว่านี่คือว่าสำเร็จ จนกว่ามาตรานี้จะถูกแก้ไข วันนี้เป็นเพียงการแถลงข่าวว่ารวบรวมรายชื่อได้เท่าไร นอกจากนี้หลายคนยังถามว่าแก้มาตรานี้ได้จะแก้ปัญหาประเทศได้ทั้งหมดหรือ คำตอบคือ ไม่ใช่ มันเป็นตัวอย่างปัญหาหนึ่งของการเมืองไทยเท่านั้น เพียงแต่เป็นรูปธรรมที่สุด เพราะตายจริง เจ็บจริง ติดคุกจริง ประเด็นสำคัญอยู่ที่ตำแหน่งแห่งที่ บทบาทของสถาบันกษัตริย์ และกองทัพ มาตรานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหา ครก.เองก็ยังมีอะไรที่ต้องทำต่ออีกมาก หลังจากเสนอรายชื่อทั้งหมดให้รัฐสภา