ที่มา uddred
มติชนออนไลน์ 30 พฤษภาคม 2555 >>>
(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 29 พฤษภาคม 2555)
การ
พ้นจากสมาชิกภาพการเป็น ส.ส.ของนายจตุพร พรหมพันธุ์
เป็นที่สนใจและรับรู้กันอย่างกว้างขวาง
แต่การวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยนี้ดูจะมีไม่มากนัก
ประเด็นที่ได้รับความสนใจต่อเนื่องดูเหมือนจะเน้นไปที่จตุพรจะเป็นอะไรต่อไป
จะได้เป็นรัฐมนตรีหรือไม่
ผมกลับสนใจที่จะศึกษาและวิพากษ์วิจารณ์คำวินิจฉัยนี้เสียมากกว่า
ผม
เห็นว่าคำวินิจฉัยนี้มีปัญหา
และเมื่อเป็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีผลผูกพันให้องค์กรต่างๆ
ของรัฐต้องถือเป็นแนวปฏิบัติต่อไป คำวินิจฉัยนี้ก็ย่อมจะสร้างปัญหาต่อไป
ปกติ
ที่คนคุ้นเคย คำวินิจฉัยต่างๆ
มักเริ่มด้วยการอธิบายความเป็นมาว่าใครร้องใครว่าอย่างไร
อีกฝ่ายแก้ต่างโต้แย้งว่าอย่างไร แล้วก็จะมีการวิเคราะห์เป็นเรื่องๆ
ไปจนในที่สุดก็สรุปเป็นคำตัดสินหรือคำวินิจฉัย
แต่ในบทความนี้แทนที่จะเรียงลำดับอย่างเดียวกับคำวินิจฉัยต่างๆ ดังกล่าว ผมจะขอเริ่มจากความเห็นโดยสรุปของผมเสียก่อนเลย
คือ
ผมเห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้สมาชิกภาพการเป็น ส.ส.ของ นายจตุพร
พรหมพันธุ์ สิ้นสุดลงนี้เป็นคำวินิจฉัยที่ไม่เป็นเหตุเป็นผล
ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเอง ขัดต่อหลักการประชาธิปไตยและไม่เป็นธรรม
คำ
วินิจฉัยนี้คือการแสดงบทบาทของสิ่งที่เรียกว่า "ตุลาการภิวัฒน์"
ในการเข้ามาจัดการกับการเมืองอีกครั้งหนึ่งและยิ่งกว่านั้นคำวินิจฉัยนี้ยัง
ได้เปิดช่องให้เกิดการกลั่นแกล้งกันทางการเมืองได้มากขึ้นและมีผลเป็นการ
เพิ่มอำนาจบทบาทของฝ่ายตุลาการในการเข้ามาแทรกแซงก้าวก่ายฝ่ายนิติบัญญัติ
และฝ่ายบริหารได้มากขึ้น
ถึงขั้นที่ทำให้ในบางกรณีฝ่ายตุลาการมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจตัดสินหรือ
กำหนดได้ว่า จะไม่ให้ใครเป็น ส.ส.หรือแม้แต่ไม่ให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้
รวมทั้งอาจใช้อำนาจเดียวกันนี้ถอดถอน ส.ส.หรือนายกรัฐมนตรีเสียก็ได้
ด้วยคำวินิจฉัยนี้จะยิ่งทำให้เป็นเงื่อนไขของความขัดแย้งและวิกฤตในสังคมไทยมากยิ่งขึ้น
ผมจะอธิบายเหตุผลประกอบความเห็นข้างต้นโดยจะพยายามลงในรายละเอียดให้น้อยที่สุด คือเท่าที่จำเป็นเท่านั้น
ผม
ขอยกเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ-ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย
ที่.../2555 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 ให้สมาชิกภาพการเป็น
ส.ส.ของนายจตุพร พรหมพันธุ์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา
106 (4) ประกอบมาตรา 101 (3)
โดยเห็นว่าในวันเลือกตั้ง (3 ก.ค.54)
นายจตุพร พรหมพันธุ์
เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งเนื่องจากถูกคุมขังอยู่โดยหมายของ
ศาล จึงทำให้สมาชิกภาพของการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยของนายจตุพร พรหมพันธุ์
สิ้นสุดลงตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองมาตรา 20 (3)
ประกอบมาตรา 19 และมาตรา 8
เมื่อสมาชิกภาพของการเป็นสมาชิกพรรคสิ้น
สุดลง จึงทำให้สมาชิกภาพของการเป็น ส.ส.ของนายจตุพร พรหมพันธุ์
ต้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 (4) ประกอบมาตรา 101 (3) ด้วย
โดยมีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำวินิจฉัย
ทำไมจึงว่าคำวินิจฉัยนี้ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
เริ่ม
จากคำถามง่ายๆ ว่า ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
คนถูกคุมขังสมัครรับเลือกตั้งได้หรือไม่ และการถูกคุมขังเป็นเหตุให้
ส.ส.พ้นจากการเป็น ส.ส.หรือไม่
จะตอบคำถามนี้ต้องดูรัฐธรรมนูญมาตราที่เกี่ยวข้องเพียง 3 มาตราเท่านั้น ดังนี้
มาตรา 100 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้ง เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
(1) เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
(2) อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
(3) ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(4) วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
มาตรา 102 บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
.......
(3) เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 100 (1) (2) หรือ (4)
(4) ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังโดยหมายของศาล
(5) เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงห้าปีในวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา 106 สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง เมื่อ
.......
(5) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 102
(7)
ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเองเป็นสมาชิก
หรือพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกมีมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของ
ที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารของพรรคการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น
ให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนเองเป็นสมาชิก ในกรณีเช่นนี้
ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่ลาออกหรือพรรคการเมืองมีมติ
เว้น
แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นได้อุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่พรรคการเมืองมีมติคัดค้านว่ามติดังกล่าวมีลักษณะตามมาตรา 65
วรรคสาม ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติดังกล่าวมิได้มีลักษณะตามมาตรา 65
วรรคสาม ให้ถือว่าสมาชิกภาพสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
แต่
ถ้าศาลรัฐธรรมนูญว่ามติดังกล่าวมีลักษณะตามมาตรา 65 วรรคสาม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นอาจเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่นได้ภายในสาม
สิบวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
(8)
ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรค
การเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิก
และไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่นได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาล
รัฐธรรมนูญมีคำสั่ง
ในกรณีเช่นนี้ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดหกสิบ
วันนั้น
(11) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอลงโทษ
เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ
หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท
จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญมี
เจตนาว่าผู้ถูกคุมขังยังมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ดูได้จากมาตรา 102
ว่าด้วยลักษณะของบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งเป็น ส.ส.ใน (3)
ที่ว่า "เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งเป็น
ส.ส.ตามมาตรา 100 (1), (2) หรือ (4)" จะเห็นว่าได้ตั้งใจเว้น (3)
ต้องคุมขังอยู่โดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
นอกจาก
นั้นในมาตรา 102 (4), (5)
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการต้องคำพิพากษากับเคยถูกคำพิพากษา
ซึ่งก็แสดงว่าไม่ต้องการให้ครอบคลุมถึงการถูกคุมขังโดยหมายของศาลหรือโดยคำ
สั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย (ในระหว่างการพิจารณาคดี)
ความหมายก็คือรัฐธรรมนูญตั้งใจบอกไว้ว่า ถูกคุมขังอยู่ก็ยังสามารถไปเป็น
ส.ส.ได้ถ้าประชาชนเขาเลือก
สำหรับเรื่องการพ้นสมาชิกภาพของการเป็น
ส.ส.รัฐธรรมนูญก็แสดงเจตนาไว้อย่างชัดเจนว่าการถูกคุมขังโดยหมายของศาล
หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย (ในระหว่างการพิจารณาคดี)
ไม่เป็นเหตุให้ผู้ที่เป็น ส.ส.อยู่พ้นจากการเป็น ส.ส.ไปได้
ประเด็น
นี้ดูได้จากมาตรา 106 ที่ระบุเหตุที่ทำให้สมาชิกภาพของ ส.ส.สิ้นสุดลงอยู่
11 ข้อ
ก็ไม่มีเรื่องของการถูกคุมขังโดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(ในระหว่างการพิจารณาคดี) อยู่ด้วย จะมีที่เกี่ยวข้องก็คือในมาตรา 106 (11)
ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะมีการรอลงโทษ
เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทความผิดลหุโทษหรือ
ความผิดฐานหมิ่นประมาท
สอดคล้องกับหลักการสำคัญตามรัฐธรรมนูญมาตรา
39 ที่ว่า "...ในคดีอาญา
ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด
ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด" แสดงว่าบุคคลใดได้กระทำผิด
จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำผิดมิได้
ส่วนที่เกี่ยวกับ
การขาดจากสมาชิกภาพของ ส.ส.ที่เกิดจากการขาดจากการเป็นสมาชิกพรรคนั้น
รัฐธรรมนูญก็มีบัญญัติไว้ในมาตรา 106 (7), (8) เป็น 2 กรณีเท่านั้น
ไม่มีกรณีที่เกิดจากการมีลักษณะต้องห้ามใช้สิทธิเลือกตั้งในวันเลือกตั้ง
ความหมายก็คือการถูกคุมขังโดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(ในระหว่างการพิจารณาคดี) ไม่เป็นเหตุให้ผู้ที่เป็น ส.ส.อยู่พ้นจากการเป็น
ส.ส.ไปได้
สรุปได้ว่าตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ผู้ที่ถูกคุมขังโดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
(ในระหว่างการพิจารณาคดี) ไม่ถูกตัดสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งและหากเป็น
ส.ส.อยู่ ก็ไม่เป็นเหตุให้พ้นจากการเป็น ส.ส.ไปได้
การวินิจฉัยของ
ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและขัดต่อหลัก
นิติธรรม แล้วศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายจตุพรพ้นจากการเป็น
ส.ส.ไปได้อย่างไร ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายจตุพรพ้นจากการเป็น
ส.ส.นั้นเรียงลำดับเหตุและผลเสียใหม่จะเป็นดังนี้
นายจตุพรพ้นจากการ
เป็น ส.ส.เนื่องจากนายจตุพรพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยในวันเลือกตั้ง
ที่พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยเพราะในวันเลือกตั้งนายจตุพรเป็นบุคคล
ต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
และที่นายจตุพรกลายเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งไปก็เพราะถูกคุม
ขังอยู่โดยหมายของศาลในระหว่างการพิจารณาคดี
ที่ศาลรัฐธรรมนูญ
วินิจฉัยอย่างนี้ไม่ได้อาศัยรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการวินิจฉัย แต่ได้ใช้
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองซึ่งบัญญัติไว้ว่า
สมาชิกภาพของสมาชิกพรรคสิ้นสุดลงเมื่อมีลักษณะต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิเลือก
ตั้งตามรัฐธรรมนูญ เมื่อสมาชิกภาพสมาชิกพรรคสิ้นสุดลง สมาชิกภาพการเป็น
ส.ส.ก็สิ้นสุดลงไปด้วย
การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีนี้เป็นการ
นำเอา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีลำดับขั้นต่ำกว่ารัฐธรรมนูญมาใช้บังคับให้ขัดหรือแย้ง
ต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยข้อห้ามในการสมัครรับเลือกตั้งและเหตุ
ที่ทำให้ ส.ส.พ้นจากการเป็น
ส.ส.กลายเป็นว่าการถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาลระหว่างไม่ได้รับการปล่อยตัว
ชั่วคราว สามารถเป็นเหตุให้ ส.ส.พ้นจากความเป็น ส.ส.ไปได้
การใช้
บังคับกฎหมายเช่นนี้จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 6
ที่ว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย
กฎหรือข้อบังคับขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับ
มิได้
นอกจากนี้แม้แต่การให้เหตุผลในการใช้
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองที่จะวินิจฉัยว่านายจตุพรพ้นจาก
การเป็นสมาชิกพรรคก็เป็นการให้เหตุผลที่สับสน เช่น ที่ได้อธิบายในบางตอนว่า
"....การ
บัญญัติลักษณะต้องห้ามไม่ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่รวมถึงต้องถูกคุมขังโดย
หมายของศาล
ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อควบคุมให้บุคคลที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองปฏิบัติตน
อยู่ในกรอบของกฎหมายและระเบียบวินัยของพรรคการเมือง
การถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาของศาล
โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวย่อมแสดงให้เห็นว่าการกระทำผิดมีความ
รุนแรงและมีเหตุที่ศาลจะไม่ปล่อยตัวชั่วคราวนั้นเป็นวัตถุประสงค์ของการ
กำหนดลักษณะต้องห้ามดังกล่าว
นอกจากนี้ผู้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองและเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้
สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติหน้าที่สมาชิก
พรรคการเมืองในการมีส่วนร่วมการเมือง โดยเฉพาะการใช้สิทธิเลือกตั้ง
ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญกว่าบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
ดัง
นั้น
เมื่อผู้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ได้ปฏิบัติตนอยู่ภายในกรอบกฎหมายจนถูก
ดำเนินคดีและต้องถูกคุมขังโดยหมายของศาลหรือ โดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยไม่นับการปล่อยตัวชั่วคราวในวันเลือกตั้ง
ทำให้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 100 (3)
ย่อมถือเป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลผู้จะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเห็นว่าการ
เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามมาตรา 100 (3)
เป็นลักษณะต้องห้ามของบุคคลซึ่งจะเป็นสมาชิกพรรคการเมือง..."
การให้
เหตุผลของศาลรัฐธรรมนูญนี้มีคำถามได้มากมายและจะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคตด้วย
เช่น
การไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวแสดงว่าการกระทำผิดมีความรุนแรงจริง
หรือ ในเมื่อยังไม่มีการพิสูจน์ว่าทำความผิดจริงอาจถูกใส่ร้าย ปรักปรำก็ได้
การไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว อาจเกิดได้จากสาเหตุต่างๆ กัน เช่น
ไม่มีเงินค่าประกันก็ได้ ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้
การถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาของศาลโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่ว
คราว
ก็ไม่ได้แสดงว่าบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัยของพรรคเสมอไปแต่
อย่างใด
การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในประเด็นนี้
นอกจากไม่เป็นเหตุเป็นผลแล้ว ยังไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 39
ดังกล่าวมาแล้วเนื่องจากเป็นการสันนิษฐานไปก่อนว่าจำเลยมีความผิด
มี
คำถามต่อไปอีกว่าถ้าการถูกคุมขังโดยหมายของศาลหรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วย
กฎหมายเป็นเหตุให้บุคคลพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคได้
เหตุใดจึงมีผลเฉพาะในวันเลือกตั้งเท่านั้น วันอื่นๆ
ทำไมไม่มีผลให้พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคก็จะเกิดความลักลั่นอย่างมาก
ที่คนคนหนึ่งอาจถูกคุมขังอยู่โดยไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นเดือนๆ
โดยไม่พ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมือง แต่หากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น
แล้วยังคงถูกคุมขังอยู่ในวันเลือกตั้ง
คนคนนั้นก็จะพ้นจากการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองทันที
ยังจะมีปัญหาการ
ทำให้เกิดการกลั่นแกล้งทางการเมืองกันได้ด้วย เช่น
ผู้สมัครรับเลือกตั้งอาจถูกกลั่นแกล้งด้วยการร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดี
และถูกคุมขังโดยหมายของศาลโดยไม่ได้รับการประกันตัวหรือถูกถอนประกันในวัน
เลือกตั้ง
ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนนั้นก็สิ้นสุดการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองและหมดสิทธิ
ที่จะเป็น ส.ส.ในการเลือกตั้งครั้งนั้นไปเลย
การกลั่นแกล้งยังอาจ
เกิดกับผู้เป็น ส.ส.อยู่โดยถูกต้องตามกฎหมายในทำนองเดียวกันด้วยก็ได้ เช่น
ในกรณีมีการเลือกตั้งซ่อมเกิดขึ้น แล้ว
ส.ส.คนหนึ่งถูกดำเนินคดีและถูกคุมขังโดยหมายของศาลโดยไม่ได้รับอนุญาตให้
ปล่อยตัวชั่วคราว ส.ส.คนนั้นก็จะขาดจากการเป็นสมาชิกพรรคและพ้นจากการเป็น
ส.ส.ในทันที ถ้า ส.ส.คนนั้นเผอิญเป็นนายกฯอยู่ด้วย
เขาก็จะพ้นจากการเป็นนายกฯไปด้วย
คำวินิจฉัยนี้มีผลเท่ากับการเพิ่ม
เติมอำนาจของศาลในการที่จะตัดสินในการเป็น
ส.ส.ของผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาคนหนึ่งคนใดก็ได้ด้วยการไม่อนุญาตปล่อย
ตัวชั่วคราวในวันเลือกตั้ง
ถ้าผู้ที่ถูกคุมขังอยู่นั้นกำลังเตรียมแข่งขันเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย
เขาก็เท่ากับถูกตัดสิทธิในการที่จะไปเป็นนายกรัฐมนตรีไปด้วย
เท่ากับเพิ่มอำนาจศาลในการสกัดกั้นไม่ให้ใครเป็นนายกฯได้ด้วย
และคำวินิจฉัยนี้ยังเท่ากับเป็นการเพิ่มอำนาจศาลในการถอดถอน
ส.ส.หรือแม้แต่นายกฯ ในกรณีทำนองเดียวกันด้วย
โดยคำวินิจฉัยนี้เอง
ย่อมเป็นการแสดงบทบาทของตุลาการภิวัฒน์อีกครั้งหนึ่ง
แต่ยิ่งกว่านั้นคำวินิจฉัยนี้ยังได้เพิ่มช่องทางในการกลั่นแกล้งเอาเปรียบ
กันทางการเมืองและก็เป็นการเพิ่มบทบาทของตุลาการภิวัฒน์ในการที่จะแทรกแซง
จัดการกับปัญหาทางการเมืองต่อไป ซึ่งขัดต่อหลักการประชาธิปไตย
และจะยิ่งทำให้ความขัดแย้งในสังคมไทยทวีความรุนแรงขึ้นได้อีกด้วย
แม้
คำวินิจฉัยนี้ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
และอาจจะสร้างปัญหาต่างๆ
ตามมาได้อีกมากก็ตามแต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไปแล้วย่อมเป็นที่สุด
ต้องใช้เป็นบรรทัดฐานต่อไป
คำวินิจฉัยนี้ยังมีผลเท่ากับเป็นการแก้ไข
เพิ่มรัฐธรรมนูญในส่วนที่ว่าด้วยการพ้นจากการเป็น ส.ส.ไปเรียบร้อยแล้วด้วย
ดังนั้น
หากต้องการที่จะป้องกันหรือแก้ปัญหาที่คำวินิจฉัยนี้สร้างขึ้นหรือทิ้งไว้ก็
เหลืออยู่เพียงวิธีเดียวคือการแก้รัฐธรรมนูญนี้เสียใหม่
ให้เป็นประชาธิปไตยและสอดคล้องกับหลักนิติธรรม