WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, April 7, 2010

จุดยืนต่อสถานการณ์ของไทยอีนิวส์:กลับสู่โต๊ะเจรจาหาทางออก

ที่มา Thai E-News


จุดยืนต่อสถานการณ์ของไทยอีนิวส์:กลับสู่โต๊ะเจรจาหาทางออกจากวิกฤต


สถานการณ์ชุมนุมในเวลานี้ยังไม่อาจชี้ขาดแพ้-ชนะได้ โดยฝ่ายสนับสนุนทั้งสองฝ่าย มีแนวโน้มจะก่อความรุนแรงได้ และประเทศชาติเสี่ยงจะเสียหายหนักจากปัจจัยแทรกซ้อนต่างๆ

1.ผู้สนับสนุนรัฐบาล โดยเฉพาะสื่อกระแสหลัก และสื่อที่มีจุดยืนต่อต้านทักษิณ ได้ออกมาชี้นำตลอดให้ใช้กำลังจัดการปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างเด็ดขาด และแสดงท่าทีแข็งกร้าวว่าหากรัฐบาลไม่ยอมจัดการปราบปรามสลายการชุมนุม กลุ่มหัวรุนแรงเหล่านี้ก็อาจลงมือจัดการต่อผู้ชุมนุมเอง ในลักษณะม็อบชนม็อบ หรือลอบก่อการร้าย

2.ผู้สนับสนุนทักษิณและสนับสนุนการชุมนุม ก็เชื่อมั่นอย่างสุดจิตสุดใจเกินไปว่าการยกระดับการชุมนุม และออกนอกแนวทางสันติในบางครั้ง เช่น กรณีบุกเข้าไปในที่ทำการรัฐสภา จะสามารถกดดันให้รัฐบาลตัดสินใจยุบสภา หรืออยู่ในสภาพที่ไม่สามารถปกครองบริหารประเทศได้ ซึ่งก็สุ่มเสี่ยงที่จะนำไปสู่ปัญหาอื่นๆที่ยุ่งยากกว่า เช่น เปิดช่องให้เกิดการทำรัฐประหาร หรือการปราบปราม ม็อบชนม็อบ หรือวิถีที่ห่างไกลจากข้อเรียกร้องออกไป

ในเมื่อข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นเป็นเพียงขอให้รัฐบาลยุบสภา ไม่ใช่การโค่นล้มขับไล่รัฐบาล ซึ่งผู้ชุมนุมก็ย่อมทราบดีว่าเป็นเพียงข้อต่อสู้เรียกร้องในระดับที่ต่ำที่สุด และเป็นไปได้ที่สุดที่จะพลิกสถานการณ์มาเป็นฝ่ายชนะได้ด้วยการชี้ขาดของประชาชาติไทยในการเลือกตั้งครั้งใหม่ ดังนั้นการดำเนินการชุมนุมใดๆต่อไป และด้วยยุทธวิธีที่เรียกกันว่า"ยกระดับชุมนุม"ก็รังแต่จะทำให้สุ่มเสี่ยงจะเพลี่ยงพล้ำทั้งขบวนได้

หนทางการกลับคืนสู่โต๊ะเจรจาจึงเป็นทางเลือกที่ทั้งกลุ่มผู้ชุมนุม และรัฐบาลควรเดินหน้าต่อไปมากที่สุดในสถานการณ์นี้โดยไม่ชักช้า และโดยไม่ต้องกลัวเสียหน้า โดยในเมื่อฝ่ายผู้ชุมนุมเสนอไป 15 วัน ฝ่ายรัฐบาลปฏิเสธและเสนอกลับมา 9 เดือน ก็สมควรจะต้องเจรจากันในยกที่สามต่อไป ซึ่งฝ่ายผู้ชุมนุมก็ชอบที่จะผ่อนปรนข้อเสนอตามสมควร เช่น อาจพิจารณาตามข้อเสนอของกลุ่มนักวิชาการเครือข่ายสันติประชาธรรมที่กำหนดให้ยุบสภาใน 3 เดือน ให้ทุกฝ่ายยอมรับในกติกา ให้เคารพผลการเลือกตั้ง และไม่ต้องจัดทำประชามติ เป็นต้น

ทั้งนี้หากฝ่ายรัฐบาลยังคงยืนกรานที่ 9 เดือน โดยไม่ขยับลดกรอบเวลายุบสภาลงมา ความชอบธรรมในการจัดการชุมนุมแบบเอาแพ้เอาชนะก็จะมีความชอบธรรม หรือได้รับแรงสนับสนุนจากสาธารณชนมากขึ้น ขณะที่หากฝ่ายรัฐบาลยืนกรานที่ 9 เดือนก็จะเสียการสนับสนุนจากสาธารณชน เช่นกัน

ยกเว้นแต่กลุ่มผู้ชุมนุม และฝ่ายรัฐบาล รวมทั้งกองเชียร์ทั้งสองฝ่ายไม่ต้องการทางออกที่สันติ นั่นก็เป็นเคราะห์กรรมของประเทศ และประชาชาติไทยมีราคาที่ต้องจ่ายแสนแพง

กองบรรณาธิการไทยอีนิวส์