WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, August 1, 2010

อ่านที่นี่ "สมุดปกขาว" ของโรเบิร์ต อัมเสตอร์ดัม ฉบับสมบูรณ์ ตอน 1

ที่มา thaifreenews


โดย ลูกชาวนาไทย

(ตอน 1)

"สำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff"
แปลโดย ประชาไท

การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ :
ข้อเรียกร้องต่อการแสดงความรับผิดชอบภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ
ที่ประเทศไทยมีภาระหน้าที่ในการนำตัวฆาตกรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff

000

บทคัดย่อ

เป็นเวลากว่า 4 ปีที่ประชาชนชาวไทยตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ สิทธิดังกล่าวคือสิทธิในการกำหนดทางเลือกของตนผ่านการเลือกตั้งอย่างแท้จริง ที่ดำรงอยู่บนฐานของเจตจำนงของประชาชน การโจมตีระบอบประชาธิปไตยเริ่มขึ้นด้วยการวางแผนและได้รับการลงมือโดยการทำ รัฐประหารโดยทหารเมื่อปี 2549 เป็นความร่วมมือของสมาชิกของคณะองคมนตรี ผู้บัญชาการทหารของไทยในการล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบ ประชาธิปไตยของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งชนะการเลือกตั้งมาถึง 3 สมัยติดต่อกัน ทั้งในปี 2544, 2548 และ 2549 การรัฐประหารในปี 2549 ถือเป็นการเริ่มต้นในการพยายามที่จะฟื้นฟูอำนาจในการชี้นำของกลุ่มทุน เก่า นายทหารระดับสูง ข้าราชการระดับสูง และกลุ่มองคมนตรี (กลุ่มอำนาจเก่า”) โดยทำลายล้างพลังจากการเลือกตั้งซึ่งได้กลายเป็นสิ่งท้าทายอำนาจของพวกเขา อย่างสำคัญและเป็นประวัติการณ์ ระบอบที่การรัฐประหารตั้งขึ้นได้เข้าควบคุมหน่วยงานต่างๆของรัฐบาล ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิทางการเมืองของแกนนำพรรคเป็นเวลา 5 ปี

เมื่อพรรคที่สืบทอดจากพรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งในปลายปี พ.ศ. 2550 ก็กลับถูกศาลเฉพาะกิจ (ad hoc court) อันประกอบไปด้วยผู้พิพากษาที่แต่งตั้งโดยผู้ทำการรัฐประหารตัดสินให้ยุบพรรค นั้นอีก และเปิดทางให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้น รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ถูกกดดันให้ต้องใช้มาตรการกดขี่เพื่อรักษาฐานอำนาจอันไม่ ชอบธรรมและปราบการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยที่ก่อตัวขึ้นเพื่อตอบโต้การ รัฐประหารโดยทหารเมื่อปี 2549 และการรัฐประหารโดยศาลในปี 2551 หนึ่งในวิธีการกดขี่ก็คือการที่รัฐบาลได้บล็อกเวปไซท์ประมาณ 50,000 เวป ปิดสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล และกักขังคนจำนวนหนึ่งภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมราชานุภาพอันเลื่องชื่อของไทย และภายใต้พ.ร.บ.การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ที่โหดร้ายพอๆ กัน เมื่อเผชิญกับการชุมนุมประท้วงโดยมวลชนที่ท้าทายอำนาจของรัฐบาล รัฐบาลก็ได้เชื้อเชิญให้กองทัพเข้ามาจัดการ และได้ระงับเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยการนำพ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร พร้อมทั้งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งเข้มงวดยิ่งกว่า มาใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2553 เป็นต้นมา รัฐบาลทหารชุดใหม่ของประเทศในนามของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้เข้ามาปกครองประเทศโดยไม่มีมาตรการตรวจสอบความรับผิดใดๆ ภายใต้การประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินที่ถูกประกาศอย่างไม่เหมาะสม ถูกนำมาบังคับใช้อย่างไม่สอดคล้องกับความรุนแรงของสถานการณ์ และใช้อย่างต่อเนื่องไม่มีกำหนดเพื่อปิดปากการคัดค้านใดๆ ที่มีต่อรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง นี่เป็นอีกครั้งที่กลุ่มอำนาจ เก่าไม่อาจปฏิเสธข้อเรียกร้องเพื่อการปกครองตนเองของประชาชนชาวไทยได้โดยไม่ ต้องหันไปหาระบอบเผด็จการทหาร

ในเดือนมีนาคม 2553 เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ โดยกลุ่มคนเสื้อแดง หรือที่เรียกว่า แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) การชุมนุมของคนเสื้อแดงดำเนินมาจนถึงวันที่ 66 ในวันที่ 19 พฤษภาคม เมื่อรถหุ้มเกราะบดขยี้แนวกั้นที่ทำขึ้นชั่วคราวรอบสี่แยกราชประสงค์ใน กรุงเทพฯ และทะลวงค่ายประท้วงของคนเสื้อแดง หลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 10 เมษายน กองกำลังทหารพยายามสลายการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าแต่ล้มเหลว ยังผลให้มีผู้เสียชีวิต 27 ราย และในการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ระหว่างวันที่ 13 -19 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 55 ราย นับถึงเวลาที่บริเวณที่ชุมนุมได้ถูกเคลียร์เรียบร้อย อาคารพาณิชย์สำคัญๆ สองสามแห่งยังคงมีควันกรุ่น มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 80 คน และผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแกนนำการชุมนุมมากกว่า 50 คนอาจเผชิญกับโทษประหารชีวิตจากข้อหา ก่อการร้ายผู้ชุมนุมหลายร้อยคนยังคงถูกควบคุมตัวข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักรและพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรัฐไทยนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้การชุมนุมทางการเมืองที่ชอบธรรม เป็นเรื่องผิดกฎหมาย

ประเทศไทยมีพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ และพันธกรณีตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ในการสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงทั้งหลายที่เกิดขึ้นระหว่างการ ชุมนุมของคนเสื้อแดง รวมถึงต้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทหารและพลเรือนซึ่ง อยู่ภายใต้สายการบังคับบัญชาสำหรับอาชญากรรมอย่างการสังหารพลเรือนกว่า 80 รายโดยพลการและตามอำเภอใจในกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ด้วย ข้อเท็จจริงต่างๆ ปรากฏอย่างชัดเจนว่ามีการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศด้วยการใช้กองกำลังทหาร อย่างเกินความจำเป็น มีการกักขังโดยพลการต่อเนื่องเป็นเวลานาน และการทำให้หายสาบสูญ และยังมีระบบการประหัตประหารทางการเมืองที่ปฏิเสธเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทาง การเมืองและในการแสดงออกของพลเมือง รวมถึงกลุ่มคนเสื้อแดง มีหลักฐานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงเพียงพอที่จะดำเนินการสืบ สวนข้อเท็จจริงอย่างเป็นอิสระและเป็นกลาง เพื่อที่ผู้ที่กระทำความผิดกฎหมายอาญาระหว่างประเทศจะถูกนำตัวเข้าสู่กระบวน การยุติธรรม

นอกจากนี้ การใช้กองกำลังทหารในการปราบปรามกลุ่มคนเสื้อแดงในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 ยังจัดเป็นการประทุษร้ายประชาชนพลเรือนอย่างเป็นระบบและเป็นวงกว้าง ซึ่งอาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญา ระหว่างประเทศซึ่งกำหนดให้จัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศในกรุงเฮกอีกด้วย แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้ให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมฯ แต่การโจมตีเช่นนี้ก็อาจจะเป็นเหตุเพียงพอให้ได้รับการพิจารณาให้เข้าสู่การ พิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศได้หากเป็นการดำเนินการโดยรู้ถึงการกระทำ นั้นภายใต้นโยบายที่ยอมให้เกิดหรือสนับสนุนให้เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตโดย ไม่จำเป็น หรือเป็นนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อโจมตีกลุ่มทางการเมืองที่เฉพาะเจาะจงกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง มีหลักฐานมากมายที่ชี้ว่าแผนต่อต้านคนเสื้อแดงที่ดำเนินมาเป็น ระยะเวลา 4 ปีนั้นกำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันภายใต้นโยบายที่รับรองโดยรัฐบาล อภิสิทธิ์ และการสังหารหมู่คนเสื้อแดงที่เพิ่งผ่านมาก็เป็นเพียงการปฏิบัติตามนโยบาย นโยบายดังกล่าวครั้งล่าสุดเท่านั้น

ท้ายที่สุด การสืบสวนเหตุการณ์สังหารหมู่คนเสื้อแดงในเดือนเมษายน- พฤษภาคมที่รัฐบาลตั้งใจจะทำนั้นปรากฏแล้วว่าทั้งไม่เป็นอิสระและไม่เป็นกลาง ตามที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ ในขณะที่ประเทศไทยอาจมีความผิดเพิ่มเติมกรณีการละเมิดกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิการเมือง (ICCPR) และกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ จากที่ไม่ดูแลให้มีการสืบสวนการสังหารหมู่อย่างเป็นธรรมและสมบูรณ์ การกดดันจากนานาชาติจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายระหว่าง ประเทศ และเพื่อป้องกันความพยายามในการฟอกตัวเองจากเหตุการณ์ดังกล่าวที่กำลัง ดำเนินอยู่ของรัฐบาล

ความจริงที่ไม่มีใครโต้แย้งได้ก็คือประเทศไทยควรจะก้าวให้พ้นความรุนแรง และจะต้องดำเนินการเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ แต่ทว่าความสมานฉันท์นั้นจำเป็นต้องเริ่มด้วยการคืนสิทธิขั้นพื้นฐานของ ประชาชนในการปกครองตนเอง ยิ่งไปกว่านั้นการที่จะทำให้มีการสมานฉันท์ จะต้องมีการดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้ผู้ที่สั่งการให้มีการละเมิดสิทธิ มนุษยชนขั้นร้ายแรงที่กระทำไปเพื่อยับยั้งสิทธิในการปกครองตนเองนั้นต้องรับ ผิด กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ว่าไม่อาจยอมรับสิ่งที่น้อยไปกว่านี้ได้

000

สารบัญ

· 1. บทนำ

· 2. เส้นทางไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทย

· 3. การขึ้นสู่อำนาจของพรรคไทยรักไทย

· 4. ถนนสู่การปฏิวัติ 2549

· 5. การฟื้นฟูระบอบอำมาตยาธิปไตยอย่างผิดกฎหมาย

o 5.1 การยึดอำนาจโดยทหาร

o 5.2 ระเบียบรัฐธรรมนูญใหม่

o 5.3 การยุบพรรคไทยรักไทย

o 5.4 การรัฐประหารทางศาลและเหตุการณ์ความวุ่นวายที่ถูกจัดตั้งขึ้น

· 6. ฤดูร้อนสีดำของประเทศไทย: การสังหารหมู่คนเสื้อแดง

o 6.1 คนเสื้อแดงต้องการอะไร

o 6.2 มาตรการอันผิดกฎหมายของการรณรงค์ประหัตประหารและความรุนแรง

o 6.3 บดขยี้คนเสื้อแดง

o 6.4 มาตรฐานสากลว่าด้วยการใช้กำลัง

· 7. ฤดูกาลใหม่ของการปกครองโดยทหาร

o 7.1 พระราชบัญญัติความมั่นคงภายใน

o 7.2 การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

o 7.3 การควบคุมข้อมูลข่าวสาร

o 7.4 เสื้อแดงนะหรือคือผู้ก่อการร้าย

· 8. ข้อเรียกร้องหาความยุติธรรม

o 8.1 หน้าที่ในการสืบสวนและหาผู้กระทำความผิดของประเทศไทย

o 8.2 การสังหารโดยพลการและตามอำเภอใจ: การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ร้ายแรงอื่นๆ

o 8.3 การประหัตประหารทางการเมือง

o 8.4 อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

o 8.5 หลักฐานเรื่องการพยายามปกปิด

o 8.6 ความเป็นธรรมสำหรับผู้ถูกกล่าวหา

· 9. บทสรุป : หนทางเดียวสู่ความปรองดอง

000

บทนำ

ในปีพ.ศ. 2541 ผมก่อตั้งพรรคไทยรักไทยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยที่เป็น ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง รัฐธรรมนูญฉบับที่เรียกกันว่ารัฐธรรมนูญฉบับประชาชนนี้มอบการเป็นตัวแทน อย่างแท้จริงในกระบวนการเลือกตั้งแก่พี่น้องชาวไทยเป็นครั้งแรก ในฐานะนายกรัฐมนตรี ผมพยายามดำเนินนโยบายสาธารณะต่างๆ ที่ได้เสนอไว้ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง และผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับข้อเท็จจริงที่ว่า เสียงของพวกเขาได้รับการสดับรับฟัง นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้พรรคไทยรักไทยได้รับความนิยมและแข็งแกร่ง

ในปี 2549 การรัฐประหารได้ช่วงชิงสิทธิในการเลือกตั้งของพี่น้องประชาชนไป ซึ่งทำให้คนไทยส่วนใหญ่ของประเทศไม่พอใจ และทำให้พี่น้องประชาชนจำนวนมากลุกขึ้นมาต่อต้าน แต่แทนที่จะยอมรับฟังข้อเรียกร้องของพวกเขา กลุ่มอำนาจเก่าที่นิยมระบอบเผด็จการกลับพยายามที่จะกำจัดพี่น้องประชาชนคน ไทย ความทะยานอยากของคนกลุ่มนี้เป็นอันตรายยิ่ง อีกทั้งยังรุกล้ำจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์

ผมได้ขอให้สำนักกฎหมาย อัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟ เข้ามาทำการศึกษากรณีของการประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม 2553 ว่าเป็นการชุมนุมทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยตามมาตรฐานกฎหมาย ระหว่างประเทศหรือไม่ ผมยังได้ขอให้สำนักกฎหมายดังกล่าวศึกษากระบวนการทำลายระบอบประชาธิปไตยที่ มุ่งเป้ามาที่กลุ่มคนเสื้อแดง และศึกษานัยยะของเหตุการณ์เหล่านั้นภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ โลกควรจะได้เข้าใจว่าในประเทศไทยประชาธิปไตยที่แท้จริงกำลังถูกทำร้าย

ผมเชื่อว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในไม่ช้า อย่างไรก็ตามหากการเลือกตั้ง หมายถึงการก้าวไปสู่ความสมานฉันท์ การเลือกตั้งเช่นนั้นจะต้องตอบข้อกังวลพื้นฐานที่เกี่ยวกับการเสริมสร้าง อำนาจประชาชนและการฟื้นฟูประเทศไทยให้เป็นรัฐประชาธิปไตยแบบที่ไม่กีดกันคน กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งและในขณะเดียวกัน เราต้องปฏิเสธการใช้ความรุนแรงเพื่อเป็นเป็นเครื่องมือเพื่อบรรลุเป้าหมาย ทางการเมือง สันติสุขที่แท้จริงจะมีได้ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายสามารถมีส่วนร่วมในทางการเมือง ได้อย่างแท้จริง

ดร. ทักษิณ ชินวัตร


การสังหารหมู่ที่กรุงเทพฯ :
ข้อเรียกร้องต่อการแสดงความรับผิดชอบภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ
ที่ประเทศไทยมีภาระหน้าที่ในการนำตัวฆาตกรเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

สมุดปกขาวโดยสำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff


1. บทนำ

เป็นเวลากว่า 4 ปีที่ประชาชนชาวไทยตกเป็นเหยื่อของการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบ สิทธิดังกล่าวคือสิทธิในการกำหนดทางเลือกของตนโดยผ่านการเลือกตั้งอย่างแท้ จริงที่ดำรงอยู่บนฐานของเจตจำนงของประชาชน การโจมตีระบอบประชาธิปไตยเริ่มขึ้นด้วยการวางแผนและลงมือกระทำการรัฐประหาร โดยทหารเมื่อปี 2549 ด้วยความร่วมมือกับสมาชิกองคมนตรี ผู้บัญชาการทหาร ของไทยล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยของนายก รัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งชนะการเลือกตั้งมาถึง 3 สมัยติดต่อกัน ทั้งในปี 2544, 2548 และ 2549 ระบอบที่การรัฐประหารตั้งขึ้นได้เข้าควบคุมหน่วยงานต่างๆของรัฐบาล ยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิทางการเมืองของแกนนำพรรคเป็นเวลา 5 ปี การที่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เป็นนายกรัฐมนตรีก็ด้วยเหตุผลเดียวนั่นก็คือเพราะพรรคการเมืองต่างๆ ที่ชนะการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยตลอดการเลือกตั้งสี่ครั้งที่ผ่านมา ถูกยุบไป

การรัฐประหารในปี 2549 ถือเป็นการเริ่มต้นในการพยายามที่จะฟื้นฟูอำนาจนำของกลุ่มทุนเก่านายทหาร ระดับสูง ข้าราชการระดับสูง และกลุ่มองคมนตรี ซึ่งจะขอรวมเรียกว่าเป็น กลุ่มอำนาจเก่าซึ่งการฟื้นฟูระบอบที่กลุ่มอำนาจเก่าต้องการนั้นจะสำเร็จได้ก็ต้องทำลาย พรรคไทยรักไทยเป็นอันดับแรก เพราะพรรคไทยรักไทยเป็นพลังทางการเลือกตั้งที่ได้กลายเป็นสิ่งท้าทายอำนาจ ของกลุ่มอำนาจเก่าอย่างสำคัญและเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ และหลังจากนั้นกลุ่มอำนาจเก่าก็ไม่อาจหยุดยั้งการกวาดล้างขบวนการเรียกร้อง ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นตามมา

พรรคไทยรักไทยเป็นพรรคการเมืองแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่ได้รับความนิยม สูงสุดให้มาปกครองประเทศ อันเป็นการไปขัดขวางธรรมเนียมปฏิบัติอันยาวนานที่รัฐบาลผสมที่อ่อนแอจะได้ เข้ามารับใช้ตามอำเภอใจของกลุ่มอำนาจเก่า ด้วยการเสริมอำนาจของฐานเสียงที่ ถูกเบียดขับไปอยู่ชายขอบของชีวิตทางการเมืองของประเทศมายาวนาน พรรคไทยรักไทยได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้พรรคฯ รู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องสยบยอมมอบอำนาจใดๆ ที่รัฐธรรมนูญได้มีให้รัฐบาลจากการเลือกตั้งแก่พวกกลุ่มอำนาจเก่า การบริหารจัดการของพรรคฯ จึงเป็นไปเพื่อยืนยันการควบคุมกระบวนการกำหนดนโยบาย การให้ทหารอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือน และการทำลายเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ที่สมาชิกอันทรงอำนาจของคณะองคมนตรีได้ใช้ อิทธิพลของตนเหนือข้าราชการ ระบบตุลาการ และกองกำลังทหารทั้งสองด้านของนโยบายเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน (dual track) ที่รัฐบาลไทยรักไทยได้ดำเนินการอย่างรวดเร็วเนื่องจากมีเสียงข้างมากในสภา นั้น ยิ่งทำให้บรรดานักธุรกิจชั้นนำในกรุงเทพฯ ถอนการสนับสนุนทักษิณ ในขณะที่นโยบายเปิดตลาดเสรีของพรรคไทยรักไทยได้ทำให้ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่อิงกลุ่มอำนาจเก่าต้องมีการแข่งขันมากขึ้น ความนิยมที่มีต่อโครงการต่างๆ ที่ตอบสนองต่อความจำเป็นของเกษตรกรในต่างจังหวัดและคนจนเมืองก็ทำให้รัฐบาล ยืนหยัดต่อแรงกดดันที่มาจากกลุ่มตัวละครหลักๆ ของกลุ่มอำนาจเก่าไว้ได้

เมื่อไม่สามารถจะขจัดหรือบั่นทอนรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้ด้วยวิธี ใดๆ ทหารจึงใช้ยุทธวิธีในการยกขบวนรถถังและกองกำลังพิเศษเข้ามาทวงประเทศคืน จากตัวแทนของประชาชน

หลังจากการรัฐประหารเป็นต้นมา พวกกลุ่มอำนาจเก่าก็ได้พยายามที่จะรวบรวมอำนาจทางการเมืองของตน ในขณะเดียวกันก็ถอยไปซ่อนตัวอยู่หลังฉากที่สร้างภาพว่าเป็นประชาธิปไตยแบบมี รัฐธรรมนูญ กลุ่มอำนาจเก่าได้ใช้การรณรงค์อย่างไม่หยุดหย่อนเพื่อกำจัดพรรคไทยรัก ไทยออกจากพื้นที่ทางการเมืองไทย เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะกลับไปสู่การมีรัฐบาลอ่อนแอที่ยอมรับใช้ผลประโยชน์ ของกลุ่มอำนาจเก่า เมื่อแผนนี้ไม่สำเร็จ กลุ่มอำนาจเก่าจึงต้องหันไปพึ่งฝ่ายตุลาการที่ถูกทำให้เข้ามามีส่วนพัวพัน ทางการเมืองอย่างมาก และได้รับอำนาจตามรัฐธรรมนูญฉบับปีพ.ศ. 2550 ให้สามารถล้มผลการเลือกตั้งที่ดำเนินอย่างเสรีได้ เพียงเพื่อทำให้การกำจัดรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นดูเป็นสิ่งที่ถูก ต้องตามกฎหมาย

ด้วยการครอบงำศาล และด้วยความสำเร็จบางส่วนในการทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐบาลผสมของทักษิณ อ่อนแอลง และด้วยความวุ่นวายที่ก่อโดยกลุ่มการเมืองนอกรัฐสภาอย่างพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กลุ่มอำนาจเก่าก็สามารถทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีได้ ทว่าหลังจากนั้นรัฐบาลอภิสิทธิ์ก็ถูกกดดันให้ต้อง ใช้มาตรการกดขี่เพื่อรักษาฐานอำนาจอันไม่ชอบธรรมและปราบปรามการเคลื่อนไหว เพื่อประชาธิปไตยที่ก่อตัวขึ้นเพื่อตอบโต้การรัฐประหารโดยทหารเมื่อปี 2549 และการรัฐประหารโดยศาลในปี 2551 หนึ่งในวิธีการกดขี่ก็คือการที่รัฐบาลได้บล็อกเวปไซท์ประมาณ 50,000 เวป ปิดสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล และกักขังคนจำนวนหนึ่งภายใต้กฎหมายหมิ่นพระบรมราชานุภาพอันเลื่องชื่อของไทย และภายใต้พ.ร.บ.การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ที่โหดร้ายพอๆ กันเมื่อเผชิญกับการชุมนุมประท้วงโดยมวลชนที่ท้าทายอำนาจของรัฐบาล รัฐบาลก็ได้เชื้อเชิญให้กองทัพเข้ามาจัดการ และได้ระงับเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญโดยการนำพ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร พร้อมทั้งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งเข้มงวดยิ่งกว่า มาใช้ ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2553 เป็นต้นมา รัฐบาลทหารชุดใหม่ของประเทศในนามของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้เข้ามาปกครองประเทศโดยไม่มีมาตรการตรวจสอบความรับผิดใดๆ ภายใต้การประกาศ สถานการณ์ฉุกเฉินที่ถูกประกาศอย่างไม่เหมาะสม ถูกนำมาบังคับใช้อย่างไม่สอดคล้องกับความรุนแรงของสถานการณ์ และใช้อย่างต่อเนื่องอย่างไม่มีกำหนดเพื่อที่จะปิดปากการคัดค้านใดๆ ที่มีต่อรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งนี่เป็นอีกครั้งที่กลุ่มอำนาจ เก่าไม่อาจปฏิเสธข้อเรียกร้องเพื่อการปกครองตนเองของประชาชนชาวไทยได้โดยไม่ ต้องหันไปหาระบอบเผด็จการทหาร

ในเดือนมีนาคม 2553 เกิดการประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ โดยกลุ่มคนเสื้อแดง หรือที่เรียกว่า แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) การชุมนุมของคนเสื้อแดงดำเนินมาจนถึงวันที่ 66 ในวันที่ 19 พฤษภาคม เมื่อรถหุ้มเกราะบดขยี้แนวกั้นที่ทำขึ้นชั่วคราวรอบสี่แยกราชประสงค์ใน กรุงเทพฯ และทะลวงค่ายประท้วงของคนเสื้อแดง หลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 10 เมษายน กองกำลังทหารพยายามสลายการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงที่สะพานผ่านฟ้าแต่ล้มเหลว ยังผลให้มีผู้เสียชีวิต 27 ราย และในการสลายการชุมนุมที่แยกราชประสงค์ระหว่างวันที่ 13 -19 พฤษภาคม มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 55 ราย เมื่อต้องเผชิญกับความพ่ายแพ้ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แกนนำนปช. ได้ประกาศยุติการชุมนุมและยอมมอบตัวกับตำรวจ

พยานนับร้อยๆ คน และวิดีโอคลิปพันๆ คลิป ได้บันทึกการใช้กระสุนจริงอย่างเป็นระบบโดยกองกำลังฝ่ายความมั่นคงของไทยต่อ พลเรือนที่ไร้อาวุธ รวมถึงนักข่าวและเจ้าหน้าที่หน่วยแพทย์ฉุกเฉินในเดือนเมษายนและพฤษภาคม นับ ถึงเวลาที่บริเวณที่ชุมนุมได้ถูกเคลียร์เรียบร้อย อาคารพาณิชย์สำคัญๆ สองสามแห่งยังคงมีควันกรุ่น มีผู้เสียชีวิตไปมากกว่า 80 คน และผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแกนนำการชุมนุมมากกว่า 50 คนอาจเผชิญกับโทษประหารชีวิตจากข้อหาก่อการร้ายผู้ชุมนุมหลายร้อยคนยังคงถูกควบคุมตัวข้อหาฝ่าฝืนพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักรและพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งรัฐบาลไทยนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำให้การชุมนุมทางการเมืองที่ชอบ ธรรมกลับกลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีการออกหมายจับจำนวนสูงถึง แปดร้อยหมาย และทางการยังได้สั่งแช่แข็งบัญชีธนาคารของผู้ที่ถูกกล่าวหาว่า ร่วมขบวนการและอาจเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินแก่นปช.อีกอย่างน้อย 83 ราย ที่น่าสลดใจก็คือ แกนนำคนเสื้อแดงในท้องถิ่นต่างๆ ได้ถูกลอบสังหารในชลบุรี นครราชสีมา และปทุมธานี

ท่ามกลางเหตุการณ์ที่น่าสลดอันเป็นจุดสูงสุดของโครงการสี่ปีในการโค่น เจตนารมย์ของประชาชนเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มอำนาจเก่า สมุดปกขาวเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้

วัตถุประสงค์ข้อแรก คือ เพื่อเน้นถึงพันธกรณีของประไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ และพันธกรณีตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights - ICCPR) ในการสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงทั้งหลายที่เกิดขึ้นระหว่างการ ชุมนุมของคนเสื้อแดง รวมถึงต้องดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ทหารและพลเรือนซึ่ง อยู่ภายใต้สายการบังคับบัญชาสำหรับอาชญากรรมอย่างการสังหารพลเรือนกว่า 80 รายโดยพลการและตามอำเภอใจในกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมด้วย ข้อเท็จจริงต่างๆ ปรากฏอย่างชัดเจนว่ามีการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศด้วยการใช้กองกำลังทหาร อย่างเกินความจำเป็น การกักขังโดยพลการต่อเนื่องเป็นเวลานาน และการทำให้ประชาชนบางส่วนหายสาบสูญ และยังมีระบบการประหัตประหารทางการเมืองที่ปฏิเสธเสรีภาพในการมีส่วนร่วมทาง การเมืองและในการแสดงออกของพลเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง มีหลักฐานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงเพียงพอที่จะดำเนินการสืบ สวนข้อเท็จจริงอย่างเป็นอิสระและเป็นกลาง เพื่อที่ผู้ที่กระทำความผิดกฎหมายอาญาระหว่างประเทศจะถูกนำตัวเข้าสู่กระบวน การยุติธรรม จากประวัติศาสตร์ความเป็นปรปักษ์ต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มคน เสื้อแดง ทำให้เป็นการสมเหตุสมผลที่จะยืนยันให้มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างเหมาะสม ด้วยหน่วยงานที่เป็นกลางและเป็นอิสระ เพื่อให้ผู้ที่รับผิดชอบต้องการละเมิดกฎหมายและสิทธิมนุษยชนดังกล่าวจะต้อง รับผิดตามที่กำหนดโดยกฎหมายระหว่างประเทศ

เป้าหมายประการที่สอง เกี่ยวข้องกับพันธกรณีของประเทศไทยในการสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจ เกิดขึ้นในด้านสิทธิทางการเมือง หลังจากการรัฐประหารในปี 2549 และในระหว่างที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำรงแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลที่มีทหารหนุนหลังพยายามที่จะรวบรวมอำนาจของตนโดยการกดขี่ปราบปรามการ คัดค้านทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดง มาตรการประการหนึ่งก็คือ การปราบปรามขบวนการเคลื่อนไหวนั้นโดยมีการประทุษร้ายประชาชนพลเรือนที่ไร้ อาวุธอย่างเป็นระบบและอย่างเป็นวงกว้าง ซึ่งอาจเข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญา ระหว่างประเทศซึ่งกำหนดให้จัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศในกรุงเฮกอีกด้วย แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้ให้สัตยาบันต่อธรรมนูญกรุงโรมฯ แต่การกระทำผิดต่อกลุ่มคนเสื้อแดงอย่างร้ายแรงนี้ก็อาจจะเป็นเหตุเพียงพอให้ ได้รับการพิจารณาให้เข้าสู่การพิจารณาของศาลอาญาระหว่างประเทศได้หากเป็นการ ดำเนินการโดยรู้ถึงการกระทำนั้นภายใต้นโยบายที่ยอมให้เกิดหรือสนับสนุนให้ เกิดความสูญเสียแก่ชีวิตโดยไม่จำเป็น หรือเป็นนโยบายที่มีเป้าหมายเพื่อโจมตีกลุ่มทางการเมืองกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะเจาะจง มีหลักฐานมากมายที่ชี้ว่าแผนต่อต้านคนเสื้อแดงที่ดำเนินมา เป็นระยะเวลา 4 ปีและที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันภายใต้นโยบายที่รับรองโดยรัฐบาล อภิสิทธิ์ และการสังหารหมู่คนเสื้อแดงที่เพิ่งผ่านมาก็เป็นเพียงการปฏิบัติตามนโยบาย ดังกล่าวครั้งล่าสุดเท่านั้น

สมุดปกขาวเล่มนี้ศึกษาการเกิดขึ้นของความรุนแรงในประเทศไทย รวมถึงการปฏิบัติการทางทหารในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม 2553 รวมทั้งการปราบปรามในเดือนเมษายนปี 2552 ที่มีประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 2 คน จากแง่มุมของหลักประกันตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมือง หลักฐานต่างๆ นั้นเพียงพอต่อการสืบสวนโดยหน่วยงานที่เป็นอิสระและเป็นกลางถึงนัยยะทางอาญา ของการประหัตประหารทางการเมืองเช่นนี้ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ

วัตถุประสงค์ประการที่สามของสมุดปกขาวเล่มนี้คือเพื่อยืนยันถึงสิทธิตาม กฎหมายระหว่างประเทศของสมาชิกนปช.หลายร้อยคนที่กำลังเผชิญข้อกล่าวหาทางอาญา จากการเข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองรับรองสิทธิใน การต่อสู้ดคีอย่างยุติธรรม รวมถึงสิทธิที่จะเลือกทนายของตนเอง เพื่อเตรียมการต่อสู้คดีโดยมีเวลาและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอ และสิทธิในการสามารถเข้าถึงหลักฐานได้อย่างเท่าเทียม [1] ผู้ ถูกกล่าวหามีสิทธิในการตรวจสอบหลักฐานอย่างอิสระผ่านทางผู้เชี่ยวชาญหรือ ทนายของตนเอง ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันกับรัฐบาล และมีสิทธิในการเรียกพยานหลักฐานฝ่ายตนเพื่อแก้ต่างให้ตนเองได้ [2]

เพื่อเป็นการตอบสนองต่อข้อประท้วงของนานาชาติเกี่ยวกับความรุนแรงในเดือน เมษายนและพฤษภาคม นายอภิสิทธิ์ได้ประกาศโร้ดแมปเพื่อการปรองดองและได้ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อ เท็จจริงขึ้นมาอย่างเป็นทางการ สิ่งที่หายไปจากโร้ดแมปของอภิสิทธิ์ก็คือ ความเป็นอิสระและความเป็นกลางอย่างแท้จริงในกระบวนการตรวจสอบตัวเอง นายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด ที่ได้รบแต่งตั้งให้นำคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ได้บอกกับสื่อมวลชนในเกือบจะในทันทีทันใดว่าเขาสนใจในการ ส่งเสริมการให้อภัย มากกว่าการเรียนรู้ข้อเท็จจริง [3] การละเลยเช่นนี้อาจจะสอดคล้องกับแนวความคิดเรื่องการปรองดองแบบเดิมๆ ของไทย ที่ให้นิรโทษกรรมแก่ผู้ที่สังหารผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2516, 2519 และ 2535 หลายร้อยคน แต่ไม่ทำอะไรกับการสืบหาข้อเท็จจริงหรือส่งเสริมการสมานฉันท์ที่แท้จริงเลย

ปัจจัยหลายอย่างได้ชี้ให้เห็นว่าจำเป็นที่จะต้องมีการเข้ามาเกี่ยวข้อง จากประชาคมโลก เพื่อรักษาการสืบสวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นทุกกรณีอย่างเป็นอิสระ และเป็นกลาง ประการแรก รัฐบาลไม่มีทีท่าจะยอมอ่อนข้อในการยึดอำนาจทางการเมือง โดยการให้ผู้นำทหารและพลเรือนถูกดำเนินคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ ประการที่ สอง การกักขังที่ยาวนานและการไม่สนใจที่จะดำเนินคดีอย่างเป็นธรรมต่อคนเสื้อแดง หลายร้อยคนที่ถูกรัฐบาลตัดสินไปล่วงหน้าแล้วว่าเป็น ผู้ก่อการร้าย นั้นทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงความเป็นธรรมของการสอบข้อเท็จจริงในกรณี นี้ ประการที่สาม คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงของอภิสิทธิ์ทำงานรับใช้ความต้องการของนายก รัฐมนตรี และไม่มีหน้าที่ที่ชัดเจนในการสืบสวนหรือดำเนินคดีกับรัฐบาล ส่วนความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริงของคณะกรรมการก็ถูกขัดขวางโดยกฎระเบียบ ต่างๆ ที่ออกภายใต้การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ถูกเหมือนจะยังคงมีผลในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของการดำเนินการของคณะ กรรมการ ประการสุดท้าย การวิเคราะห์หลักฐานของรัฐบาลไทยนั้นมีแนวโน้มจะโอนเอียงและเชื่อถือไม่ได้ เช่นที่มักจะเป็นในทุกครั้งที่รัฐบาลต้องทำการตรวจสอบการกระทำผิดของตัว เอง การที่รัฐบาลยึดมั่นกับผู้สืบสวนที่เลือกมาจากฐานของการถือข้างมากกว่า จากฐานของความเชี่ยวชาญทำให้กระบวนการไต่สวนทั้งหมดมีมลทินการสืบสวนข้อ เท็จจริงที่มีอคติ ไม่เป็นกลาง และตอบสนองผลประโยชน์ของรัฐบาลทหารนั้นก็เท่ากับไม่มีการสืบสวนเลย

ทุกคนย่อมยอมรับความจริงที่ว่าประเทศไทยควรจะก้าวให้พ้นความรุนแรง และดำเนินการให้เกิดความปรองดอง ทว่าความปรองดองนั้นจำเป็นต้องเริ่มด้วยการฟื้นคืนสิทธิขั้นพื้นฐานของ ประชาชนในการปกครองตนเอง ยิ่งไปกว่านั้นความปรองดองนี้ยังต้องการความรับผิดอย่างเต็มที่ต่อการละเมิด สิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงที่กระทำไปเพื่อยับยั้งสิทธิในการปกครองตนเองนั้นกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดไว้ว่าไม่อาจยอมรับสิ่งที่น้อยไปกว่านี้ได้

000

2. เส้นทางไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทย

ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบ ประชาธิปไตย มาตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อปีพ.ศ. 2475 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในความจริง นอกจากช่วงเวลาที่เป็นเผด็จการทหารอย่างรุนแรงในระหว่างปี พ.ศ. 2501- 2512 แล้ว ประเทศไทยมีการเลือกตั้งฝ่ายนิติบัญญัติเป็นประจำมาตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการ ปกครอง ทว่า อำนาจมักจะถูกเปลี่ยนมือด้วยการรัฐประหารโดยทหารมากกว่าด้วยกระบวนการตามรัฐ ธรรมนูญที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และจะมีการนำรัฐธรรมนูญฉบับที่สนับสนุนโดยทหารและรัฐบาลที่แต่งตั้งโดยทหาร เข้ามาบังคับใช้แทนที่รัฐธรรมนูญและรัฐบาลของช่วงเวลานั้น รัฐธรรมนูญในช่วง หลังมักจะถูกร่างขึ้นเพื่อรักษาการควบคุมของกลุ่มที่ก่อการรัฐประหาร ไม่ว่าผู้ก่อการจะตั้งใจใช้อำนาจโดยตรงหรือโดยอ้อมผ่านทางการให้ตัวแทนหรือ การเข้าควบคุมจัดการรัฐบาลพลเรือนที่อ่อนแอ การจัดการเช่นนี้จะยังคงมีผล บังคับใช้ไปจนกว่าจะมีกลุ่มทหารกลุ่มอื่นทำรัฐประหารครั้งใหม่ และนำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้สมดุลย์อำนาจใหม่ได้รับการ รับรองในกฎหมายขึ้นมาใช้ [4]วิธีปฏิบัติเช่นนี้ดำเนินเรื่อยมา ผ่านทางการรัฐประหารโดยทหารที่สำเร็จ 11 ครั้ง รัฐธรรมนูญ 14 ฉบับ และแผนการและปฏิบัติการล้มล้างรัฐบาลที่ไม่สำเร็จอีกหลายครั้ง ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2475 มาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2535

ตลอดช่วงเวลาเหล่านี้ ประเทศไทยมีช่วง ประชาธิปไตยสั้นๆ เพียงสามครั้งที่หยั่งรากอยู่ในเสรีภาพในการแสดงความเห็นและการแข่งขันในการ เลือกตั้งอย่างแท้จริง โดยครั้งแรกคือหลังจากการใช้รัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. 2507 และครั้งที่สองคือหลังจากการประท้วงใหญ่ในปี 2516ครั้งที่สามคือหลังการเลือกตั้งที่ได้พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2531 ในทั้งสามครั้งนี้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งถูกล้มล้างด้วยกระบอกปืนของกอง กำลังทหาร และถูกแทนที่ด้วยระบอบที่เหมาะสมกับการคุ้มครองอำนาจของกลุ่มอำนาจเก่าและผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของพวกเขามากกว่า

นอกจากช่วงเวลาสั้นๆ เหล่านั้นแล้ว ประเทศไทยตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาถูกปกครองโดยระบอบที่มีส่วนผสมของประชาธิปไตยและเผด็จการแตกต่าง กันไป สิ่งที่ทุกระบอบมีเหมือนกันก็คือ เครือข่ายของเจ้าหน้าที่รัฐในราชการพลเรือนและทหาร หรือที่เรียกว่ากลุ่มอำมาตย์ ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของอำนาจทางการเมืองที่แท้จริง ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนขึ้นมา ผู้แทนของประชาชนมีอิสรภาพ ระดับหนึ่ง และมีมากขึ้นในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา แต่ภายใต้ระบบอำมาตยาธิปไตย (คำที่ใช้เรียกระบบรัฐบาลที่ถูกควบคุมโดยกลุ่มอำมาตย์ มักจะใช้ในทางตรงข้ามกับ ประชาธิปไตย”) รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่เคยได้รับสิทธิในการกำหนดให้ทหารอยู่ภายใต้ การควบคุมของพลเรือน และเข้าควบคุมกระบวนการกำหนดนโยบายทางทหารได้ ที่จริงแล้ว แนวคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบไทยๆได้ถูกจัดขึ้นโดยรัฐไทยตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 2500 เป็นต้นมา โดยหมายถึงรูปแบบรัฐบาลที่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น แต่มีการกำหนดข้อจำกัดเข้มงวดเรื่องเสรีภาพของพลเมือง และเรื่องขอบเขตอำนาจที่เจ้าหน้าที่ที่มาจากการเลือกตั้งสามารถใช้ได้ ระบบ รัฐบาลแบบนี้ที่อยู่บนฐานของการยินยอมอย่างไม่ใยดีของประชากรไทยส่วนใหญ่ ได้รักษาอำนาจของทหาร ข้าราชการ นายทุนขนาดใหญ่ และกลุ่มองคมนตรี (หรือเรียกรวมๆว่า กลุ่มอำนาจเก่า”) ในการกำหนดนโยบายระดับชาติส่วนใหญ่เอาไว้

เหตุการณ์ต่างๆ หลังจากการยึดอำนาจจากนายกรัฐมนตรีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยกองทัพที่นำโดยพลเอกสุจินดา คราประยูร เมื่อปีพ.ศ. 2533 ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในเรื่องอำนาจนำของกลุ่มอำนาจเก่าที่ไม่ได้มาจากการ เลือกตั้งเหนือระบบการเมืองไทย การประท้วงโดยประชาชนจำนวนมากที่ต่อต้านการ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา หลังจากที่มีการเลือกตั้งที่มีเปลือกนอกว่าเป็น ประชาธิปไตยในเดือนมีนาคม 2535 ได้นำไปสู่การปะทะรุนแรงเป็นประวัติการณ์ระหว่างพลเรือนกับทหารในช่วงวันที่ 17-20 พฤษภาคม ผู้ประท้วงหลายสิบคนที่เรียกร้องให้พลเอกสุจินดาลาออกและนำประเทศ กลับสู่ระบอบประชาธิปไตยถูกสังหารโดยโหดร้ายโดยทหารในช่วงระหว่างเหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬปี 2535 ในท้ายที่สุด พลเอกสุจินดา ได้ลาออกหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ปรากฏพระองค์ต่อสาธารณะ และนำไปสู่การเลือกตั้งครั้งใหม่ในเดือนกันยายน 2535

โศกนาฏกรรมพฤษภาทมิฬทำให้ประเทศเดินเข้าสู่หนทางการเป็น ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่างแท้จริง และมีกระบวนการปฏิรูปเป็นเวลานานห้าปี อันสิ้นสุดลงด้วยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2540 ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างสูงในกระบวนการที่นำไปสู่การออกรัฐธรรมนูญ รวมถึงการที่มีเนื้อหาเป็นประชาธิปไตยอย่างไม่กำกวม รัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. 2540 นี้จึงเป็นที่รู้จักกันในนาม รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

รัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. 2540 นำมาซึ่งยุคใหม่แห่งการเมืองที่ไม่มีการกีดกันในไทย เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่ผู้แทนของประชาชนเป็นผู้ร่างและรับรอง รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เป็นการกำหนดมาจากกลุ่มอำนาจเก่าอย่างแต่เดิม นำไปสู่ยุคแห่งประชาธิปไตยที่แท้จริง ความโปร่งใส และการรับผิดตรวจสอบได้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้รับรองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพของพลเมือง ซึ่งฉบับก่อนหน้านี้ไม่ได้รองรับ และยังกำหนดกลไกอีกบางประการ รวมถึงเรื่องการเลือกตั้งสภาทั้งสอง ระบบการเลือกตั้งแบบปาร์ตี้ลิสต์เพื่อมาใช้พร้อมกับระบบแบ่งเขตแบบเดิม และตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ออกแบบมาเพื่อรับประกันว่าจะมีรัฐบาลตัว แทนอย่างเต็มที่ และเพื่อสร้างสนามเลือกตั้งที่เท่าเทียมกันสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้ง ในขณะที่ยังรักษาความเป็นธรรมและความซื่อสัตย์เอาไว้ให้ได้ [5] ที่สำคัญก็คือ รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 นี้ยังห้ามการใช้สิทธิหรือเสรีภาพในการล้มล้างการปกครองแบบประชาธิปไตย และยังห้ามความพยายามใดๆ ในการให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้[6] และยังห้ามทำการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญยกเว้นแต่เป็นไปตามหลักการและวิธีการที่บัญญัติไว้ [7]

รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 ยังได้สร้างเสถียรภาพทางการเมืองอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ได้รับการรับรองในช่วงที่มีวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและทางการเงินอย่าง หนักในประเทศ การส่งออกลดลงและความกังวลเรื่องสถานการณ์ของภาคการเงินทำให้เกิดการไหลออก ของทุนขนาดใหญ่อย่างทันที จนเกิดวิกฤตอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงปลายปีพ.ศ. 2540[8] ในสถานการณ์ที่ประชาชนต่างไม่พอใจรัฐบาลที่ไม่สามารกู้วิกฤติเศรษฐกิจของปะ เทศได้ จึงเป็นที่คาดกันว่าอาจจะเกิดการรัฐประหารครั้งที่ 12 อย่างแน่นอน แต่ถึงกระนั้นวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ก็ไม่ได้นำไปสู่วิกฤตทางการเมือง ข้อผูกพันมุ่งมั่นของประเทศที่จะเป็นประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้ จริงดูเหมือนจะยังคงถูกรักษาไว้ได้ในที่สุด [9]

รัฐธรรมนูญ 2540 ยังกำหนดยุทธศาสตร์ทางการเมืองแบบใหม่ ก่อนหน้านี้พรรคการเมืองที่อ่อนแอและแตกแยกต้องขึ้นอยู่กับผู้มีอิทธิพลใน ท้องถิ่นและเครือข่ายเส้นสายของระบบอุปถัมภ์ ในการระดมพลังสนับสนุนในพื้นที่การเลือกตั้งส่วนใหญ่ของประเทศ เนื่องจากพรรคเหล่านั้นมีเนื้อหาเชิงโครงการน้อยมาก และมีภาพลักษณ์ของพรรคไม่ชัดเจน ด้วยระบบตรวจสอบและถ่วงดุลย์ การป้องกันการคอร์รัปชั่น และด้วยบทบัญญัติใหม่ๆ ที่เสริมอำนาจของฝ่ายบริหารโดยการทำให้นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งมี ความเปราะบางต่อการแปรพรรคน้อยลง รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 ได้เปิดช่องทางให้เกิดการเติบโตของผู้นำทางการเมืองใหม่ๆ ที่พยายามจะสร้างพรรคการเมืองระดับชาติที่เข้มแข็งที่อยู่บนฐานของวาระ นโยบายเชิงโครงการที่ชัดเจน ที่อาจจะเป็นที่สนใจของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ นี่เป็นบริบทที่ทำให้ ทักษิณ ชินวัตร ตั้งพรรคไทยรักไทยและนำพรรคไปสู่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งในปี 2544 และ 2548 อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำให้จินตนารของคนนับล้านๆเป็นจริง และได้มอบปากเสียงให้แก่พลังทางการเมืองที่ปัจจุบันนี้คัดค้านการบริหาร ปกครองของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อย่างมั่นคง

000

3. การขึ้นสู่อำนาจของพรรคไทยรักไทย

ทักษิณ ชินวัตร เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2492 เป็นคนจังหวัดเชียงใหม่ จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจในปีพ.ศ. 2516 และรับราชการเป็นเวลา 14 ปี จนมียศพันตำรวจโท ซึ่งในระหว่างนั้นเขาได้ลาไปศึกษาต่อขั้นปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขาอาชญา วิทยาที่มหาวิทยาลัยEastern Kentucky และมหาวิทยาลัยSam Houston ในเท็กซัส

ในปีพ.ศ. 2526 ขณะรับราชการตำรวจอยู่นั้น ทักษิณก่อตั้งบริษัทชินวัตร คอมพิวเตอร์แอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์กรุ๊ป กับภรรยาและพี่ชายภรรยา หลังจากออกจากราชการตำรวจในปี 2530 และทุ่มเทความสนใจทั้งหมดให้กับธุรกิจ บริษัทของเขาก็เติบโตเป็นบริษัทชิน คอร์ป ในช่วงทศวรรษ 1990s (2533-2542) บริษัทนี้เป็นผู้บุกเบิกธุรกิจโทรคมนาคมโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่กำลังเริ่มต้น ในประเทศไทย ในปี 2537 อันเป็นปีที่เขาเข้าสู่วงการการเมือง นิตยสาร Forbesประเมินว่าเขามีทรัพย์สินประมาณ 1.6 พันล้านเหรียญ

ทักษิณเข้าสู่การเมืองโดยเข้าร่วมในรัฐบาลชวน หลีกภัย ในปี 2537 เมื่อเขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะสมาชิกพรรคพลังธรรมของพลตรีจำลองศรีเมือง จากนั้นเขาก็เป็นรองนายกรัฐมนตรีในช่วงเวลาสั้นๆ ในรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา (2538-2539) และรัฐบาลชวลิต ยงใจยุทธ (2540) ในวันที่ 14 กรกฏคม 2541 เขาก่อตั้งพรรคไทยรักไทยอย่างเป็นทางการร่วมกับสมาชิกพรรครุ่นก่อตั้ง 22 คน ภายใต้การนำของทักษิณ ไม่นานพรรคก็ประสบความสำเร็จอย่างที่ไม่เคยมีพรรคการเมืองใดทำได้มาก่อนเลย ในประเทศไทย

ในความพยายามที่จะแก้ปัญหาวิกฤตการเงินในปี 2540 รัฐบาลไทยได้ขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เงินกู้จำนวน 1.7 หมื่นล้านเหรียญนั้นต้องแลกมาด้วยกับการยอมรับเงื่อนไขของ IMF ที่จะต้องมีการปฏิรูประบบการเงิน การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และมาตรการอื่นๆ เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ (foreign direct investment) [10] ในช่วงแรก การปฏิรูปเหล่านี้ก่อให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ค่าจ้างตกต่ำลง อัตราว่างงานเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรและแรงงาน [11]บรรดานักธุรกิจชั้นนำในกรุงเทพฯ ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงได้เข้าร่วมขบวนการชาตินิยมที่กำลังขยายตัวต่อ ต้าน IMF และพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นรัฐบาลขณะนั้น นายกฯ ชวน หลีกภัยถูกโจมตีจากหลายด้าน ทั้งภาคธุรกิจขนาดใหญ่ นักวิชาการ องค์กรประชาสังคมก่นประนามเขาว่าทำลายเศรษฐกิจ รับนโยบายจากต่างประเทศ ปล่อยให้ต่างชาติเข้ามาฮุบทรัพย์สินของไทยในราคาถูก[12]

ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งในเดือนมกราคม 2544 พรรคไทยรักไทยของทักษิณปราศรัยถึงประเด็นเหล่านี้อย่างดุเดือด พรรคมีนโยบาย ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ สาธารณสุข การศึกษา และพลังงาน ในขณะเดียวกันนโยบายสวัสดิการสังคมของไทยรักไทยและการพัฒนาชนบทก็ได้รับความ นิยมอย่างมากจากชนชั้นแรงงานในเมืองและเกษตรกรในต่างจังหวัดที่ได้รับผล กระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจมากที่สุด

ด้วยมาตรฐานของประเทศที่คุ้นชินกับการมีรัฐบาลผสมที่เคยประกอบด้วยพรรค การเมืองมากถึง 16 พรรค พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2544 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2540 อย่างถล่มทลาย ได้ที่นั่งในสภาถึง 248 ที่นั่งจากทั้งหมด 500 และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่พรรคการเมืองหนึ่งเกือบจะได้เสียงข้างมากในสภา และผลจากการเลือกตั้ง ทักษิณ ชินวัตรก็ได้รับเลือกให้เป็นนายกฯ คนที่ 23 ของไทย

ชัยชนะของพรรคไทยรักไทยที่หีบเลือกตั้งและการเพิ่มจำนวนสส.จากการรวมกับ พรรคอื่นในภายหลังนำไปสู่สภาพการณ์ชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนกลุ่มอำนาจ เก่าของไทย ซึ่งก็คือ องคมนตรี ผู้นำกองทัพ ข้าราชการระดับสูง ศาลระดับสูง ผู้นำทางธุรกิจ ที่ได้สะสมความมั่งคั่งในระบบการเมืองก่อนที่จะมีทักษิณ ก็สนับสนุนการการขึ้นมาของทักษิณอย่างกระตือลือล้นในช่วงแรก แต่เมื่อความชอบธรรมจากการกุมเสียงส่วนใหญ่ในสภาทำให้นายกฯ อยู่ในฐานะที่สามารถผลักดันนโยบายของพรรคไทยรักไทยได้โดยไม่จำเป็นต้องต่อ รองหรือขอความเห็นชอบจากกลุ่มอำนาจเก่า ความเข้มแข็งที่ได้มาด้วยความนิยมชม ชอบของประชาชนในการเลือกตั้ง คุกคามอำนาจในการกำหนดนโยบายประเทศที่พวกอมาตย์ยึดกุมมาตลอดตั้งแต่ประเทศ ไทยดูคล้ายจะเป็นประชาธิปไตยมา

ก่อนหน้านี้กลุ่มอำนาจเก่ากุมอำนาจเหนือระบบการเมืองของประเทศและนักการ เมืองที่มาจากการเลือกตั้ง โดยอาศัยยุทธวิธีแบ่งแยกและปกครอง ภาวะเบี้ยหัวแตกของระบบพรรคการเมืองของไทยได้ป้องกันการรวมตัวเป็นกลุ่ม ก้อนที่มีฐานจากการเลือกตั้งที่จะสามารถท้าทายอำนาจนอกรัฐธรรมนูญของกลุ่ม อำนาจเก่า การเลือกตั้งปี 2544 ทำให้ทักษิณมีฐานมวลชนสนับสนุนอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ซึ่งเขาใช้ฐานสนับสนุนนั้นในการทำสิ่งที่เขาได้สัญญาไว้ ในช่วง 1 ปีแรก เขาดำเนินนโยบายตามที่ได้เสนอไว้ในการหาเสียง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย [13] ทักษิณยังกลายเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่ทำงานครบวาระ พรรคไทยรักไทยหาเสียงในการเลือกตั้งปี 2548 ด้วยนโยบายต่อเนื่องภายใต้สโลแกน สี่ปีซ่อม สี่ปีสร้าง [14]และผลการเลือกตั้งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ก็เป็นชัยชนะที่ถล่มทลายยิ่งกว่าเดิม หลังจากการเลือกตั้งปี 2548 พรรคไทยรักไทยกุมเสียงข้างมากถึง 75 เปอร์เซ็นต์ของที่นั่งในสภา พรรคฝ่ายค้านที่ใหญ่ที่สุดคือประชาธิปัตย์สูญเสียที่นั่งกว่าหนึ่งในสี่ เหลือไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของที่นั่งในสภา และถือเป็นครั้งแรกอีกเช่นเดียวกันที่ทักษิณได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกฯ อีกครั้ง

ในขณะที่หลายคนในกลุ่มอำนาจเก่าของไทยเคยมองทักษิณว่าเป็นคนที่อาจสามารถ ช่วยกอบกู้ให้พ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย ที่ทำลายความมั่งคั่งของพวกเขาไปไม่น้อย พอเริ่มต้นวาระที่สอง ทักษิณก็ได้กลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและอำนาจทาง การเมืองของกลุ่มอำนาจเก่า มาถึงปี 2548 นี้ ทักษิณไม่เพียงแต่ยึดกุมสนามการเลือกตั้งในประเทศไทยได้เท่านั้น การที่เขาได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนยังทำให้เขามี โอกาสขับเคลื่อนในทิศทางที่ดึงอำนาจตามรัฐธรรมออกมาจากกลุ่มอำนาจเก่า ชนิดที่ไม่มีนายกฯ พลเรือนคนไหนเคยทำได้มาก่อน ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงแล้วรัฐธรรมนูญของประเทศ ไทยส่วนใหญ่ก็มอบอำนาจดังกล่าวไว้แก่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอยู่แล้ว

รัฐบาลทักษิณมีลักษณะเป็นภัยคุกคามหลายประการต่อกลุ่มหลักๆ 4 กลุ่มที่ประกอบเป็นกลุ่มอำนาจเก่าของไทยอันได้แก่ 1) กลุ่มธุรกิจการเงินในกรุงเทพฯ 2) ผู้นำทางทหาร 3) ข้าราชการพลเรือนชั้นสูง 4) กลุ่มองคมนตรี

พวกนักธุรกิจชั้นนำในกรุงเทพฯ ที่ทักษิณเคยทอดสะพานให้ครั้งเขาลงชิงตำแหน่งนายกฯ ครั้งแรก กลับหันมาต่อต้านรัฐบาลพรรคไทยรักไทยเพราะดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่ง เน้นไปที่เกษตรกรและคนจนในเมือง ตลอดจนการเปิดเสรีทางการค้า โดยผู้ต่อต้านนั้นพูดอย่างชัดเจนว่า เป้าประสงค์นั้นคือการต่อต้านนโยบายแบบทักษิโนมิคส์[15]

น่าขำที่ทักษิณมักถูกโจมตีเรื่อง ประชานิยม” (เมื่อเร็วๆนี้ พวกเสื้อแดงก็ถูกเรียกว่าเป็นพวกมาร์กซิสต์”) การสนับสนุนการค้าเสรีของเขานั่นเองที่สร้างความระคายเคืองแก่คนรวยมากที่ สุด นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ Suehiro Akira อธิบายเศรษฐกิจประเทศไทยยุคหลังสงครามว่าถูกครอบงำโดยครอบครัวที่เป็น“client capitalist” ไม่กี่สิบครอบครัว ที่ยึดกุมและรักษาการผูกขาดเกือบโดยสิ้นเชิงเหนือภาคส่วนทางเศรษฐกิจขนาด ใหญ่จำนวนมาก ซึ่งเป็นผลจากเส้นสายความสัมพันธ์ที่พวกเขามีกับเจ้าหน้าที่ รัฐที่ทรงอิทธิพล ในการแลกเปลี่ยนเพื่อความมั่งคั่งส่วนตัว เจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจในฝ่ายพลเรือนหรือนายทหารระดับสูงจะคอยดูแลให้ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ภายในประเทศต้องได้รับผลประโยชน์จากนโยบายต่างๆ ความอ่อนแอของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และการป้องกันการแข่งกันจากภายในและภายนอกประเทศของรัฐ [16]

วิกฤติการเงินเอเชียทำให้หลายครอบครัวในกลุ่มนี้ต้องมีหนี้สิน ทำให้พวกเขาต้องยอมขายกิจการให้กับต่างชาติ รัฐบาลไทยได้เข้ามาช่วยเหลือธุรกิจขนาดใหญ่เมื่อต้นปี 2544 โดยการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ เพื่อซื้อหนี้เงินกู้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (non-performing loans)มูลค่า1.2 พันล้านเหรียญทั้งที่เกิดจากภาครัฐและเอกชน [17] ซึ่งหนี้เงินกู้เหล่านี้หลายตัวก็ยังคงไม่ก่อรายได้ (underperforming)อยู่จนถึงปี 2548 และบริษัทที่กู้เงินก็ยังมีหนี้ค้างชำระกับธนาคารจำนวนมาก [18] ภายใต้การบริหารงานของทักษิณ บรรดานักธุรกิจชั้นนำของกรุงเทพ ผู้ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาเคยอาศัยอิทธิพลทางการเมืองในการปกป้องผลประโยชน์ทาง ธุรกิจของตน เริ่มที่จะเสี่ยงต่อการสูญเสียอิทธิพลที่มีต่อรัฐบาลและสถาบันอื่นๆ ของรัฐ ทำให้พวกเขาตกอยู่ในฐานะที่อ่อนแอในการต่อรองกับธนาคารเกี่ยวกับหนี้ที่ยัง ค้างชำระ นอกจากนี้ การที่นโยบายเศรษฐกิจของไทยรักไทยมุ่งเน้นสนับสนุนการค้าเสรีก็คุกคามกลุ่ม ธุรกิจภายในประเทศให้ต้องเผชิญกับการแข่งขันจริงๆ อีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาไม่คุ้นที่จะต้องเผชิญ[19] ครอบครัวที่ควบคุมอาณาจักรเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่าง ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ไทยเบเวอเรจ เจริญโภคภัณฑ์กรุ๊ป และทีพีไอ โพลีน กลายมาเป็นปฏิปักษ์ตัวฉกาจของทักษิณ

นอกจาก client capitalists เหล่านี้แล้ว นโยบายของทักษิณได้คุกคามเครือข่ายราชการ (หรืออำมาตยา) ที่ได้คอยดูแลให้ครอบครัวเหล่านี้มีอำนาจครอบงำเศรษฐกิจไทยมาโดยตลอด ในด้านหนึ่ง การที่ทักษิณพยายามลดทอนอำนาจของทหาร ข้าราชการ และองคมนตรีในการกำหนดนโยบายประเทศนั้นยังได้ไปบ่อนเซาะเกราะคุ้มกันจากการ แข่งขันที่พวกนักธุรกิจชั้นนำเคยได้รับเสมอมาจากระบบอมาตยาอีกด้วย และในอีกทางหนึ่ง ความมุ่งมั่นของทักษิณที่จะลดบทบาทของสถาบันที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งให้ เหลือเพียงบทบาทที่ไม่เกี่ยวกับการเมืองตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น ก็เป็นภัยคุกคามต่ออิทธิพลและรายได้ของของกลุ่มอมาตย์

ข้าราชการอาชีพอาจเป็นกลุ่มหันมาต่อต้านรัฐบาลทักษิณเร็วที่สุด ตั้งแต่ แรกทีเดียว ทักษิณได้กำหนดตนเองเป็นตัวเปรียบเทียบกับคนที่อยู่ในระบบราชการและนักการ เมืองอาชีพ ทันทีที่เข้ามาเป็นรัฐบาล การดำเนินนโยบายของไทยรักไทยทำให้รัฐบาลต้องเข้ามาดูแลกระบวนการกำหนดนโยบาย โดยตรง ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาอยู่ในมือของข้าราชการที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งในการ พยายามที่จะทำให้รัฐบาลมีอำนาจควบคุมการออกแบบและดำเนินการนโยบายใหม่ๆ ทักษิณได้ทำให้ข้าราชการระดับสูงมีบทบาทลดน้อยถอยลง ทั้งโดยการให้อำนาจแก่ฝ่ายการเมืองและการปฏิรูประบบราชการที่ทำให้เกิด กระทรวงใหม่ขึ้นมาหกกระทรวงเพื่อให้ระบบราชการทำงานได้คล่องแคล่วขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพและการสนองตอบต่อรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง [20]

ทักษิณพยายามอย่างหนักที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทัพ [21] ในช่วงเวลาที่ทักษิณเข้ารับตำแหน่ง กองทัพยังคงมีภาพพจน์ที่ไม่ดีที่ผู้นำกองทัพกระทำไว้จากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในปี 2535 อย่างไรก็ตาม ด้วยประวัติศาสตร์ของไทย บรรดานายพลก็ยังคงเป็นกลุ่มอำนาจที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งไม่สามารถจะมอง ข้ามได้ งบประมาณของกองทัพที่ถูกหั่นลงอย่างมากหลังวิกฤติทางการเงินเอเชีย ค่อยๆ เพิ่มขึ้นในช่วงสมัยแรกของทักษิณ จาก 71.3 พันล้านบาทในปี 2543 เพิ่มขึ้นเป็น 86.7 ในปี 2549 [22] ทว่า ในเวลาเดียวกัน ทักษิณก็พยายามที่จะทำให้กองทัพอยู่ภายใต้การควบคุมของพลเรือนมากขึ้น ในทางหนึ่งเขาปฏิเสธที่จะเพิ่มค่าใช้จ่ายของกองทัพตามที่ขอมา (ที่กองทัพต้องการนั้นดูได้จากงบประมาณทหารที่เพิ่มขึ้นมา 35 เปอร์เซ็นต์ตามที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติอนุมัติหลังการรัฐประหาร) [23] ในอีกทางหนึ่ง ทักษิณใช้การโยกย้ายตำแหน่งเพื่อสร้างความพอใจให้กับผู้ที่ภักดีต่อรัฐบาล และตัวเขาเอง ซึ่งทำให้นายทหารชั้นสูงหลายคนไม่พอใจที่ถูกข้ามหัวหรือเห็นอนาคตตีบตัน [24]

การต่อต้านของเครือข่ายที่ปรึกษาของราชสำนักที่นำโดยประธานองคมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการถูกถอดจากตำแหน่งของทักษิณ สำหรับพลเอกเปรมและพันธมิตรแล้ว ประเด็นขัดแย้งคือการบ่อนเซาะอำนาจทางการเมืองที่เป็นผลมาจากความพยายาม อย่างเป็นระบบของทักษิณที่จะขจัดระบบอุปถัมภ์อันเป็นช่องทางที่บรรดาผู้แวด ล้อมราชสำนักใช้อำนาจอิทธิพลในการบริหารราชการแผ่นดินแทบทุกแง่มุม [25] การที่ทักษิณพยายามทำให้กองทัพและราชการพลเรือนอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาล ตลอดจนลดอิทธิพลของพล.อ.เปรมที่มีต่อศาลและองค์กรอิสระ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการต่อต้านจากองคมนตรี ในปี 2549 หลังจากประสบความสำเร็จในการผลักดันให้พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำกองทัพ พลเอกเปรมก็เริ่มวางแผนการรัฐประหารอยู่หลังฉากและทำการรณรงค์ต่อต้านรัฐบาล อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยมุ่งหมายบ่อนทำลายความภักดีของกองทัพที่มีต่อรัฐบาลจากการเลือกตั้งเป็น การเฉพาะ [26]

กฎสำคัญข้อหนึ่งที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรของการเมืองไทยหลังสงครามโลก ครั้งที่สองเป็นต้นมาก็คือ รัฐบาลพลเรือนจะเป็นที่อดรนทนได้ตราบใดที่เป็นรัฐบาลที่อ่อนแอ แตกแยกภายใน ต้องคล้อยตามระบบอมาตยาในกองทัพ ราชการ และองคมนตรี และรับใช้ผลประโยชน์ของนักธุรกิจชั้นนำในกรุงเทพฯ รัฐบาลใดที่พยายามจะทำในสิ่งที่แตกต่าง ก็จะถูกบ่อนทำลายอย่างเป็นระบบ และหากบ่อนทำลายไม่สำเร็จ ก็จะถูกขจัดออกไปโดยกองทัพ ทักษิณไม่เพียงแต่ละเมิดกฎอันไม่เป็นทางการข้อ นี้ด้วยการทุ่มเทบริหารประเทศอย่างไม่บันยะบันยัง การอยู่ในตำแหน่งนายกฯ จนครบวาระและชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งสองครั้งซ้อนอันเนื่องมาจาก การสนับสนุนอย่างล้นหลามจากมวลชนที่พึงพอใจในนโยบาย เป็นการคุกคามที่จะเปลี่ยนทิวทัศน์ทางการเมืองของไทยโดยขจัดอำนาจนอกรัฐ ธรรมนูญที่มีมาอย่างยาวนานของกลุ่มอำนาจเก่าที่ไม่ได้มาจากการเลือก ตั้ง ด้วยสังขารที่ร่วงโรยของผู้นำที่มีบารมีสูงสุดบางคนของอมาตย์ กลุ่มอำนาจเดิมก็ตัดสินใจว่าจำเป็นต้องลงมืออย่างรวดเร็วและเด็ดขาดเพื่อ ทำลายล้างพรรคไทยรักไทยและการท้าทายอำนาจอย่างใหญ่หลวงที่สุดที่พวกเขาเคย ประสบในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา

000

4. ถนนสู่การปฏิวัติ 2549

เพื่อเป็นการตอบโต้การยืนยันการคุมอำนาจของพรรคไทยรักไทยเหนือระบบการ เมืองของประเทศ กลุ่มก้อนต่างๆ ในกลุ่มอำนาจเก่าของไทยได้ออกมาตรการหลากหลายเพื่อกู้บทบาทของตนคืนมาก่อน ที่มันจะสายเกินไป พวกเขาให้การสนับสนุนการชุมนุมประท้วงที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างบรรยากาศสับ สนอลหม่านที่จะสร้างความชอบธรรมในการนำการปกครองโดยทหารกลับมาในประเทศอีก ครั้ง พวกเขายังบ่มสร้างข้อกล่าวหาเรื่องการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาใช้ เมื่อยุทธศาสตร์เหล่านี้ล้มเหลวพวกเขาก็อาศัยวิธีการเดิมๆ อย่างการรัฐประหาร

แผนการที่จะขับไล่ทักษิณและพรรคไทยรักไทยเริ่มต้นมาตั้งแต่หลังการเลือก ตั้งทั่วไปในปี2548 หนึ่งในแกนนำคนสำคัญที่ต่อต้านทักษิณคือสนธิ ลิ้มทองกุล เจ้าพ่อธุรกิจสื่อผู้ล้มเหลวซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญของ ทักษิณ สนธิกล่าวหาว่ารัฐบาลทักษิณนั้นเป็นเผด็จการและมีการใช้อำนาจในทางที่ผิด อย่างเป็นระบบ สนธิให้เหตุผลสนับสนุนข้อเรียกร้องให้ทักษิณลาออกว่าเพราะ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการคุ้มครองพระมหากษัตริย์จากแผนการลับของทักษิณที่ ต้องการให้ประเทศปกครองด้วยระบบประธานาธิบดี

ในกฎหมายและสังคมไทย พระมหากษัตริย์เป็นดั่งสมมติเทพ และได้รับความเคารพนับถืออย่างสูงสุดจากประชาชน รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดบัญญัติไว้ว่า องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะการไม่แสดงความเคารพนับถือพระมหากษัตริย์โดยทางอ้อมนั้นอาจจะถูกดำเนินคดี ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีโทษจำคุกระหว่าง 3-15 ปีสำหรับแต่ละกรรมได้

ที่ร้ายไปกว่านั้น ข้อกล่าวหาที่ว่านายรัฐมนตรีนั้นเป็นภัยใกล้ตัวต่อเกียรติยศของสถาบัน กษัตริย์ หรือตัวองค์พระมหากษัตริย์เอง นั้นดูคล้ายจะเป็นข้ออ้างที่นำไปสู่การกำจัดและเนรเทศอดีตนายกรัฐมนตรีที่มี ชื่อเสียงหลายคนมาแล้ว ข้อกล่าวหาผิดๆ ว่าลอบปลงพระชนม์และเหยียดหยามพระมหากษัตริย์นั้นเป็นฐานของการทำลายชื่อ เสียงและการที่ต้องลี้ภัยอยู่ต่างประเทศอย่างถาวะของนายปรีดี พนมยงค์ หนึ่งในแกนนำของการปฏิวัติในปี 2475 และเป็นวีรบุรุษของขบวนการใต้ดินเสรีไทยที่ต่อต้านญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลก ครั้งที่สอง พลตำรวจเอกเผ่า สียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ และจอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็ถูกโค่นจากอำนาจและเนรเทศออกจากประเทศโดยหนึ่งในสมาชิกสามทรราชย์ในยุค เผด็จการจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ด้วยข้อหาที่ว่าพวกเขาเป็นอันตรายต่อการอยู่รอดของสถาบันฯ ในปี 2534 ก็มีข้อกล่าวหาคล้ายๆ กันต่อพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่ว่าพลเอกชาติชายได้พยายามที่จะสร้างเผด็จการรัฐสภาอย่างถาวร อันเป็นสิ่งอันตรายยิ่งที่ทำให้นายพลต่างๆ ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ต้องก่อการรัฐประหาร ในประเทศไทยข้อกล่าวหาว่าไม่จงรักภักดีต่อระบอบ กษัตริย์เป็นเรื่องที่มักจะถูกนำมาใช้ในการพยายามทำลายชื่อเสียง กักขัง เนรเทศ และสังหาร ผู้ที่มีแนวคิดทางการเมืองที่เป็นภัยคุกคามต่ออำนาจที่ถือมั่นอยู่

ครั้งแล้วครั้งเล่า อย่างน้อยตั้งแต่การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์เมื่อปี 2500 ข้อกล่าวหาว่าด้วยการเป็นภัยต่อสถาบันกษัตริย์นั้นมักถูกใช้เป็นข้ออ้างให้ ความชอบธรรมแก่การทำการรัฐประหารโดยทหาร และการปกครองประเทศโดยทหารเป็นเวลานาน นี่เป็นฐานของการปฏิวัติปี 2501 ของจอมพลสฤษดิ์ การรัฐประหารตนเองของจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อปีพ.ศ. 2514 เหตุการณ์การสังหารอยู่ของเผด็จการในปี 2516 และการขับไล่พลเอกชาติชายให้ออกจากตำแห่งเมื่อปี 2534 ตั้งแต่การเข้ามามีอำนาจในปีพ.ศ. 2500 หรือ 25 ปีหลังจากที่ระบบการปกครองโดยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สิ้นสุดลง จอมพลสฤษดิ์เป็นเผด็จการทหารคนแรกที่อ้างเหตุผลส่วนตนบนฐานของความชอบธรรม ทางการเมืองในความจำเป็นที่จะต้องปกป้องสถาบันกษัตริย์ และบนการอุทิศตนให้แก่การฟื้นเกียรติ การไม่อาจละเมิดได้ และความเคารพศรัทธาของสาธารณะต่อสถาบันฯ อีกด้วย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กลุ่มอำมาตย์ได้เปลี่ยนรูปความจำเป็นที่จะต้องปกป้องสถาบันกษัตริย์ทั้งจาก ภัยคุกคามที่เป็นจริงและที่เป็นจินตนาการไปสู่ข้อโต้แย้งที่ไม่สามารถเถียง ได้ ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ความชอบธรรมแก่การใช้อำนาจที่ไม่เคยมีรัฐธรรมนูญ ใดให้ไว้ เพื่อเป้าหมายที่แทบไม่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสถาบันจริงๆ เลยหลังจากนั้นเป็นต้นมา ใครก็ตามที่ปฏิเสธอำนาจนอกรัฐธรรมนูญของกลุ่มอำมาตย์ก็ถูกตีตราเป็นสัตว์ ร้ายและป้ายสีว่าเป็นศัตรูของสถาบันกษัตริย์

ในเดือนเมษายน 2548 หลังจากได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง ทักษิณเป็นประธานในพิธีทำบุญที่จัดขึ้นในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งปกติแล้วจะเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นองค์ประธาน (แต่ไม่ได้จำกัดไว้ว่าต้องเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น) เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความกราดเกรี้ยวในประเทศไทย ถึงแม้ทักษิณจะไม่ได้ถูกกล่าวหาอย่างเป็นทางการ แต่เรื่องนี้ก็ช่วยให้พวกกลุ่มอำนาจเก่าได้เสนอว่าตนเป็นผู้ทักษ์พระมหา กษัตริย์ขึ้นอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม หตุการณ์ที่กระตุ้นการต่อต้านทักษิณและพรรคไทยรักไทยมากที่สุดคือการขายหุ้น บริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น ในวันที่ 3 มกราคม 2549 ก่อนหน้านั้นทักษิณได้โอนหุ้นในบริษัทชินคอร์ปของเขาไปแล้วก่อนจะเข้า มาเล่นการเมืองตามที่กำหนดไว้โดยกฎหมาย โดยการโอนการถือหุ้นของตนไปให้ลูกคนโตสองคน เพื่อเป็นการตอบกับข้อกล่าวหา เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ครอบครัวของทักษิณตัดสินใจขายหุ้น 49.6 เปอร์เซ็นต์ในบริษัทให้แก่กองทุนเทมาเส็ก โฮลดิ้ง ของสิงคโปร์ หลังจากการขายหุ้น ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ทักษิณร้องเรียนว่าทักษิณได้ขายสมบัติสำคัญของชาติให้ แก่ต่างชาติ และยังมีข้อกล่าวหาด้วยว่าลูกๆ ของเขานั้นใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของกฎหมายภาษีของไทยโดยการขายหุ้นผ่านทาง บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศเพื่อจะได้ไม่ต้องเสีย ภาษี ข้อกล่าวหาว่า ขายชาติ และหลบเลี่ยงภาษีกลายมาเป็นเหตุแห่งสงครามที่ฝ่ายตรงข้ามหยิบยกมาใช้

ช่วงเวลาที่ขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปนั้นบังเอิญตรงกับช่วงที่สอดรับกับเป้า หมายของฝายตรงข้าม นั่นคือเกิดขึ้นก่อนการเดินขบวนต่อต้านทักษิณที่มีการกำหนดไว้ในวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2549 ณ ท้องสนามหลวง ประเด็นนี้ทำให้กลุ่มผู้จัดการประท้วงได้พลังสนับสนุน เป้าหมาย และพลังงานสำหรับการประท้วง ที่สำคัญกว่านั้นคือ มันทำให้ฝ่ายที่ต่อต้านทักษิณทั้งปัญญาชน นักพัฒนาองค์กรเอกชน นักธุรกิจชั้นนำ ชนชั้นกลางระดับสูง ข้าราชการ ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ นักเคลื่อนไหวพรรคประชาธิปัตย์ และผู้สนับสนุนนักระดมมวลชนอย่างสนธิ ลิ้มทองกุล และพลตรีจำลอง ศรีเมือง อดีตที่ปรึกษาของทักษิณ เริ่มก่อตัวชัดขึ้นในนามพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งจัดตั้งขึ้นไม่ กี่วันหลังจากนั้น ผู้ประท้วงกว่าห้าหมื่นคนนำโดยสนธิและจำลองเรียกร้องให้ ทักษิณลาออกในวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ 2549 สนธิ ลิ้มทองกุล ได้ถวายฎีกาผ่านทางองคมนตรีพลเอกเปรม ติณสูนานนท์ ให้พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจผ่านทางมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญปี 2540 ในการถอดถอนทักษิณและแต่งตั้งนากยกรัฐมนตรีขึ้นมาใหม่ [27] วิธีการของสนธิซึ่งตั้งอยู่บนการอ่านรัฐธรรมนูญที่ค่อนข้างจะน่าสงสัยนั้น ได้เลี่ยงวิธีการตามรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยที่ให้มีการเลือกตั้งรัฐสภาเพื่อ ให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่

ทักษิณตอบโต้การประท้วงที่ขยายตัวขึ้นด้วยการประกาศยุบสภาไม่นานหลังการ เดินขบวนประท้วงที่สนามหลวง และกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เมษายน 2549พรรคการเมืองฝ่ายค้านหลักๆ ทั้งหมดคว่ำบาตรการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้งอย่างง่ายดายตามอย่างที่คาดการณ์ และได้ที่นั่งในสภามากกว่าร้อยละ 90 ฝ่ายค้านออกมาบอกว่าการเลือกตั้งที่ผ่านไปมีความผิดปกติในทันที ในหลายเขตของกรุงเทพฯ และในภาคใต้ของประเทศ ผู้สมัครพรรคไทยรักไทยได้รับเลือกมาด้วยคะแนนเสียงที่น้อยกว่าเสียงไม่ลงคะแนนในบางพื้นที่ภาคใต้ ผู้สมัครพรรคไทยรักไทยที่ลงสมัครโดยไม่มีคู่แข่งสอบตกการเลือกตั้งเนื่องจาก ได้รับคะแนนเสียงไม่ถึงร้อยละ 20 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามที่กำหนดไว้ ทำให้ผลกรเลือกตั้งในพื้นที่นั้นเป็นโมฆะ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยื่นฟ้องต่อศาลปกครองเรียกร้องให้การ เลือกตั้งเป็นโมฆะทั้งหมด พธม. กล่าวโทษคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ลงคะแนนเสียง และกล่าวหาว่าพรรคไทยรักไทยทุจริตการเลือกตั้ง [28] สองวันหลังจากการเลือกตั้ง ทักษิณประกาศลาออกและดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี

ในวันที่ 26 เมษายน 2549 พระบาทสมเด็จพระอยู่หัวฯ มีพระราชดำรัสต่อสาธารณะเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยได้ตรัสต่อศาลปกครองโดยตรงว่า

ให้การเลือกตั้งนี้เป็นโมฆะหรือเป็นอะไร ซึ่งท่านจะมีสิทธิที่จะบอกว่า อะไรที่ควร ที่ไม่ควร ไม่ได้บอกว่ารัฐบาลไม่ดี แต่ว่าเท่าที่ฟังดูมันเป็นไปไม่ได้ คือการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย เลือกตั้งพรรคเดียว คนเดียว ไม่ใช่ทั่วไป แต่ในแห่งหนึ่งมีคนที่สมัครเลือกตั้งคนเดียว มันเป็นไปไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องของประชาธิปไตย เมื่อไม่เป็นประชาธิปไตย ท่านก็พูดกันเองว่า ท่านต้องดูเกี่ยวข้องกับเรื่องของการปกครองให้ดี อย่างดีที่สุดถ้าเกิดท่านจะทำได้ ท่านลาออก ท่านเอง ไม่ใช่รัฐบาลลาออก ท่านเองต้องลาออก ถ้าทำไม่ได้ รับหน้าที่ไม่ได้ ตะกี้ที่ปฏิญาณไป ดูดีๆ จะเป็นการไม่ได้ทำตามที่ปฏิญาณ [29]

ไม่นานหลังจากนั้น ศาลปกครองยกเลิกการเลือกตั้งใหม่ที่กำหนดเป็นการเลือกตั้งซ่อมในเขตที่มีผล การเลือกตังค์แบบตัดสินไม่ได้ ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2549 ศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาว่าการเลือกตั้งในเดือนเมษายนเป็นโมฆะทั้งหมดและ ประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในเดือนตุลาคม ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญได้เรียกร้องต่อสาธารณะให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง ลาออก เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งปฏิเสธที่จะลาออก ศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุกพวกเขา 4 ปี ในข้อหาผิดวินัยร้ายแรง ทำให้พวกเขาไม่มีสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้งและต้องออกจากตำแหน่ง [30]

หลังจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เกี่ยวกับการเลือกตั้งในเดือนเมษายน ศูนย์กลางของผู้ที่ต่อต้านทักษิณได้ย้ายจากกลุ่มพธม. ไปสู่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีผู้ทรงอำนาจ พลเอกเปรมเกิดเมื่อปีพ.ศ. 2463 เขาเป็นบุคคลที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไทย จุดเริ่มต้นของการก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งที่มีอิทธิพลทางการเมืองอย่างไม่อาจ เปรียบได้ของเขาสามารถย้อนกลับไปได้ถึงปี 2484 ในขณะที่ยังเป็นทหารสังกัดเหล่าทหารม้า เปรมได้ร่วมรบต่อต้านสัมพันธมิตรเคียงข้างกองทัพญี่ปุ่นภายใต้อนาคตจอมเผด็จ การสฤษดิ์ ธนะรัชต์

[31]

การ ขึ้นมามีอำนาจของเปรมในเวลาต่อมานั้นเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับสฤษดิ์ ซึ่งเป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางว่าเขาเป็นคนที่โหดร้ายและเป็นนายทหารที่ ทุจริตที่สุดคนหนึ่งในประเทศไทย จอมพลสฤษดิ์เลื่อนยศให้เปรมให้ขึ้นเป็นพันเอก และแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ควบคุมโดยทหารในปี 2502 เปรมยังมีความเกี่ยวพันใกล้ชิดจอมพลถนอม กิตติขจรและจอมพลประภาส จารุเสถียร ผู้นำทหารที่ชื่อเสียงชั่วร้ายผู้เลื่อนยศให้เขาเป็นพลตรีในปี 2514และเขายังเป็นเพื่อนสนิทกับพลตรีสุดสาย หัสดิน ผู้นำกองกำลังกระทิงแดงที่เป็นผู้รับผิดชอบสำหรับการสังหารหมู่ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปี 2519 อีกด้วย

ในเดือนกันยายน ปี 2521 เปรมได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (2520-2522) และเป็นผู้บัญชาการกองทัพบก ไม่นานหลังจากนั้นในเดือนมีนาคม 2522 สภาผู้แทนราษฎรได้แต่งตั้งให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรี แม้ว่าเปรมจะไม่เคยลงสมัครรับเลือกตั้งเลย แต่ก็ได้เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยในช่วงระหว่างปี 2522-2531 ซึ่งในช่วงเวลานั้นเขารอดพ้นจากความพยายามที่จะก่อการรัฐประหารโดยทหารถึง สองครั้ง (คือในปี 2524 และ 2528) และได้รับการรับรองในสภาฯ ถึงสองครั้งหลังการเลือกตั้งในปี 2526 และ 2528 บางทีจุดสูงสุดของอำนาจของเปรมคือหลังจากที่เขาลาออกจากการเป็นนายก รัฐมนตรีเมื่อเขาได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี และเป็นประธานองคมนตรีตั้งแต่ปี 2541 กว่า 70 ปีในหน้าที่การงาน เปรมสร้างเครือข่ายอิทธิพลและอำนาจแผ่ขยายลึกสู่ทหาร ข้าราชการ และตุลาการ รวมถึงกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศไทย นอกจากนั้นพลเอกเปรมยังเป็นประธานกรรมการของธนาคารกรุงเทพ และดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของกลุ่มบริษัทซีพีซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับ สนุนหลักของพรรคประชาธิปัตย์จนกระทั่งไม่นานมานี้

หลังจากที่ศาลมีคำตัดสินว่าผลของการเลือกตั้งเมื่อเดือนเมษายนเป็นโมฆะ พลเอกเปรมได้กล่าวบรรยายเป็นการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของทักษิณหลายครั้ง[32] ด้วยสถานะและอำนาจของพลเอกเปรม การรณรงค์ต่อสาธารณะของเขาส่อให้เห็นถึงการขจัดทักษิณออกจากอำนาจ มีการแข่ง ขันกันควบคุมกองทัพและรัฐ และมีรายงานสาธารณะถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการรัฐประหารปรากฏขึ้น เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ในการกล่าวกับข้าราชการกลุ่มหนึ่ง ทักษิณได้อ้างอิงถึงพลเอกเปรม และกล่าว่าตนปฏิเสธความพยายามที่กำลังดำเนินอยู่โดย ผู้มีบารมีเหนือรัฐธรรมนูญ และการไม่ เคารพหลักนิติธรรม เพื่อบั่นทอนรัฐบาล นักวิจารณ์สังคมที่มีชื่อเสียงต่างๆ กล่าวหาทักษิณโดยทันทีว่าล่วงละเมิดพระมหากษัตริย์ [33] พลเอกเปรมพร้อมด้วยองคมนตรีและพลเอกสุรยุทธ์ จุลนานนท์ อดีตผู้บัญชาการกองทัพบก ได้ปรึกษากับนายทหารผู้ใหญ่หลายคนและเดินทางเข้าเยี่ยมหน่วยทหารต่างๆ ในวัน ที่ 14 กรกฎาคม เขาได้กล่าวเตือนบรรดาเจ้าหน้าที่ทั้งหลายว่าความจงรักภักดีนั้นไม่ควรมีให้ กับรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ต้องมีต่อพระมหากษัตริย์ [34]

โพลสำรวจความคิดเห็นหลายโพลที่ทำในช่วงก่อนจะมีการเลือกตั้งในเดือน ตุลาคมชี้ว่าทักษิณจะชนะการเลือกตั้งอีกครั้งโดยเสียงส่วนมาก เหตุการณ์ตึง เครียดสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2549 เมื่อมีรถยนต์บรรจุระเบิดหนัก 70 กิโลกรัมถูกพบไม่ไกลไปจากที่พักของทักษิณ เจ้าหน้าที่ทหาร 5 นายถูกจับแต่ก็ได้รับการปล่อยตัวออกมาในไม่ช้าเพราะขาดพยานหลักฐาน ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทักษิณรีบออกมาให้ข่าวว่าคาร์บอมบ์นี้เป็นฝีมือ ของรัฐบาลเองที่มีเป้าหมายเพื่อทำลายชื่อเสียงของฝ่ายตรงข้ามและเพื่อระดม การสนับสนุนรัฐบาล

000

5. การฟื้นฟูระบอบอำมาตยาธิปไตยอย่างผิดกฎหมาย

การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (เมื่อปี 2549 อภิสิทธิ์เป็นผู้นำพรรคระดับภูมิภาคขนาดใหญ่ซึ่งมีนั่งน้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนที่นั่งในสภาทั้งหมด) มีช่องทางเดียวคือการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และการล้มล้างรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยซึ่งประกาศใช้เมื่อ พ.ศ. 2540 หลังจากรัฐประหาร รัฐบาลทหารดำเนินการอย่างเป็นระบบเพื่อทำลายล้าง ระบอบ ทักษิณ กระบวนการทำลายล้างนั้นรวมความถึงการยุบพรรคไทยรักไทยผ่านการบังคับใช้ กฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ย้อนหลัง การตัดสิทธิเลือกตั้งของนักการเมืองที่โดดเด่น การกำหนดโทษในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และการฟ้องร้องทักษิณ ชินวัตรเป็นคดีอาญาจำนวนมาก แต่แม้จะใช้มาตรการเหล่านี้แล้ว ก็ยังไม่สามารถขัดขวางประชาชนจากการลงคะแนนให้กับพรรคที่สืบทอดจากพรรคไทย รักไทยในการเลือกตั้งปลายปี 2547 ที่สำคัญไปกว่านั้น ขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยของคนรากหญ้ายังได้ถือกำเนิดขึ้น เนื่องจากการทำลายเจตจำนงของประชาชนซ้ำๆ ทำลายสถาบันตัวแทนของประเทศไทย รวมถึงการปราบปรามทางการเมืองที่เปิดฉากโดยการรัฐประหารปี 2549 ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยนี้ค่อยๆ เข้มข้นขึ้นเป็นผลมาจากการที่ฝ่ายอำมาตย์คว่ำผลการเลือกตั้งในปี 2550 ส่งผลให้อภิสิทธิ์ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปลายปี 2551

5.1 การยึดอำนาจโดยทหาร

หลังทศวรรษแห่งการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีการเลือกตั้งที่เป็น อิสระและเปิดเผย 3 ครั้งภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ประเทศไทยก็ถูกยึดครองโดยการใช้กำลังทหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 ขณะที่ทักษิณเข้าร่วมการประชุมทั่วไปขององค์การสหประชาชาติในกรุงนิวยอร์ก ทหารเข้ายึดครองเมืองหลวง การรัฐประหารนำโดยพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก โดยได้รับความร่วมมือของผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการกองทัพเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ คณะรัฐบาลทหารมีชื่อว่า คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเหลือเพียง คณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย” (คปค.) เพื่อป้องกันการ เข้าใจผิด เกี่ยวกับ บทบาทของสถาบันกษัตริย์ [35]

เหตุผลที่ใช้กล่าวอ้างในการทำรัฐประหารนั้น คปค. ประกาศว่า (1) รัฐบาลทักษิณนำไปสู่ปัญหาความแตกแยกและบ่อนเซาะความสามัคคีในหมู่คนไทย (2) คนไทยส่วนใหญ่มีข้อกังขาต่อรัฐบาลทักษิณว่ามี สัญญาณของการคอร์รัปชั่นและทุจริตอย่างรุนแรง และ (3) องค์กรอิสระถูก แทรกแซง ซึ่งนำไปสู่ ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการกับพฤติกรรมทางการเมือง[36] คปค.ระบุว่า แม้จะมีความพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะ ประนีประนอม คลี่คลายสถานการณ์มาโดยต่อเนื่องแล้ว แต่ยังไม่สามารถที่จะทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งยุติลงได้ดังนั้นพลเอกสนธิจึง มีความจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน[37]

แม้ว่าพลเอกสนธิ จะให้คำมั่นต่อสาธารณะในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 ว่า กองทัพจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมืองเพราะ การรัฐประหารโดยทหารนั้นเป็นเรื่องในอดีต[38]แต่ พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตรได้ยอมรับในเวลาต่อมาว่าการรัฐประหารนั้นถูกเตรียมการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ [39] พลเอกสนธิซึ่งทำหน้าที่อย่างเต็มประสิทธิภาพในฐานะหัวหน้า คปค.[40] ควบคุมรัฐบาลแบบเบ็ดเสร็จและรวดเร็ว และวางรากฐานสำหรับการฟื้นฟูบทบาททางการเมืองของกองทัพในระยะยาวและและหาทางสืบทอดอำนาจในอนาคต

พลเอกสนธิประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศไทย [41] โดยหวังควบคุมการเคลื่อนไหวของกองทัพและตำรวจอย่างเต็มที่ [42] เขายกเลิกรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 ยกเลิกวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ เขาทำหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในนามของหัวหน้า คปค. (ทั้งโดยผ่านตัวเขาเอง) หรือผ่านผู้ที่เขาแต่งตั้ง [43] พร้อมทั้งทำหน้าที่ในส่วนที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาทั้งในระดับสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา [44] ยิ่งไปกว่านั้น เขาประกาศว่า ศาลทั้งหลาย นอกจากศาลรัฐธรรมนูญคงมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอัตถคดี ตามบทกฎหมายและตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข[45] ที่น่าสังเกตคือ พลเอกสนธิประกาศว่าองคมนตรี คงดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป[46]

คปค.กำหนดมาตรการเพื่อควบคุมกระบวนการทางการเมืองทั้งหมดของประเทศทันที พลเอกสนธิประกาศว่าการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 26 ตุลาคม 2549 จะถูกเลื่อนไปอีก 1 ปี[47] แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการเลือกตั้งใดๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตนั้นเป็นไปตามที่ คปค.กำหนดเท่านั้น

คณะกรรมการการเลือกซึ่งตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 เพื่อจัดการปัญหาการซื้อเสียงที่มีมาอย่างยาวนานนั้นมีหน้าที่จัดการและวาง ระเบียบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิก รวมถึงมีหน้าที่ในการไต่สวนการทุจริตเลือกตั้ง ความเป็นอิสระของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีหลักประกันอยู่ที่การกำหนดวาระการ ดำรงตำแหน่งของกรรมการการเลือกตั้งวาระละ 7 ปี และห้ามดำรงตำแหน่งซ้ำหลังจากหมดวาระ [48] หลังการรัฐประหาร พลเอกสนธิแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งเพิ่งได้รับคัดเลือกจากวุฒิสภา และเพื่อให้แน่ใจว่าการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นเป็นไปโดย กระบวนการและการจัดการที่เป็นธรรมและเป็นกลาง[49] พลเอกสนธิให้อำนาจคณะกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่สามารถเพิกถอนสิทธิเลือก ตั้งของผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งหากเชื่อได้ว่าบุคคลผู้นั้นได้กระทำการ ทุจริตหรือละเมิดกฎหมายในการเลือกตั้ง [50]

คปค. ยังประกาศห้ามการชุมนุมทางการเมืองเกินกว่า 5 คน โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และ/หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท [51] ทั้งห้ามพรรคการเมืองจัดการประชุมหรือดำเนินกิจกรรมอื่นใดทางการเมือง และระงับการจัดตั้งหรือจดทะเบียนพรรคการเมือง [52] ที่สำคัญที่สุดอาจได้แก่การที่ คปค.เขียนกฎหมายตัดสิทธิคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบพรรคในการมี ส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี แม้ว่าการกระทำที่ถูกกล่าวหานั้นจะได้กระทำลงก่อนการรัฐประหารก็ตาม [53]

5.2 ระเบียบรัฐธรรมนูญใหม่

ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของคณะรัฐบาลทหาร เริ่มใช้ธรรมนูญชั่วคราว [54] และแต่งตั้งสุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุดและองคมนตรี ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี การประกาศใช้ธรรมนูญชั่วคราวนั้นได้ฟื้นฟูรูปแบบของการแก้รัฐธรรมนูญที่ยอม รับผู้นำการรัฐประหารโดยทำให้การยึดอำนาจโดยทหารเป็นสิ่งที่โดยชอบด้วย กฎหมาย ตัวอย่างเช่น ธรรมนูญชั่วคราวถือว่าประกาศหรือคำสั่งของ คมช.ที่ประกาศใช้หลังการรัฐประหารมี ความชอบธรรมและสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ[55] ธรรมนูญชั่วคราวยังกำหนดให้ผู้นำ คมช. และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ไม่ต้องถูกลงโทษจากความรับผิดและการลงโทษใดๆ แม้จะพบในภายหลังว่าในการยึดอำนาจนั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายก็ตาม [56]

ธรรมนูญชั่วคราวกำหนดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งสมาชิกมาจากการแต่ง ตั้งโดย คมช. เพื่อทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเดิม โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการออกกฎหมายทั้งหมด [57]

ธรรมนูญชั่วคราวยังกำหนดให้มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นใหม่ เริ่มจากการตั้งสมัชชาแห่งชาติขึ้นโดยมีสมาชิกสมัชชาจำนวน 2,000 คนซึ่งได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ หัวหน้าคมช. เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งสมาชิกสมัชชาฯ โดยหัวหน้าคมช. นั้นเองเป็นผู้จัดเตรียมรายชื่อและควบคุมการเสนอชื่อบุคคลเข้าดำรงตำแหน่ง สมาชิกสมัชชาฯ [58]จาก นั้นสมัชชาแห่งชาติให้ความเห็นชอบรายชื่อที่ถูกคัดเหลือ 200 คนเป็นผู้ชิงตำแหน่งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อทำการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ [59] รายชื่อนั้นถูกนำเสนอต่อ คมช. ซึ่งจะทำการตัดลงให้เหลือ 100 คนเพื่อทูลเกล้าฯ และรับสนองพระบรมราชโองการโดยคมช. [60] คมช. คัดสมาชิกจากจำนวน 100 คนเหลือ 25 คน จากนั้นแต่งตั้ง ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอีก 10 คน ที่สุดแล้วจะได้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 35 คน โดยกระบวนการเช่นนี้ คมช. สามารถใช้อำนาจควบคุมการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้โดยตรง [61]

ขณะที่ร่างรัฐธรรมนูญกำลังจะเสร็จสมบูรณ์ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) เริ่มโหมประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าร่างรัฐธรรมนูญ นั้นจะผ่านการลงประชามติ สสร.ใช้งบประมาณราว 30 ล้านบาทเพื่อการรณรงค์ซึ่งรวมถึงการรณรงค์ผ่านสถานีโทรทัศน์ เคเบิลทีวี วิทยุ เว็บไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ หน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษาและแม้แต่ป้ายโฆษณา [62] และแม้ว่าจะมีการจัดอภิปรายเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญแต่ก็กลับถูกถ่ายทอดผ่าน ทางช่องเคเบิลทีวีเท่านั้น ไม่สามารถที่จะถ่ายทอดการผ่านสถานีฟรีทีวีที่รัฐบาลเป็นเจ้าของคลื่น รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างเป็นทางการให้มีการรณรงค์แบบเคาะประตูบ้านเพื่อผลัก ดันให้ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ สสร.จัดตั้งให้มีการรณรงค์ทั่วประเทศในช่วงใกล้การลงประชามติ และผู้ที่จะไปลงประชามติได้เดินทางฟรี ซึ่งเป็นพฤติการณ์ที่มีความผิดทางอาญาฐานละเมิดกฎหมายเลือกตั้ง

เครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพประการหนึ่งที่รัฐบาลทหารใช้เพื่อสร้างความ มั่นคงให้กับการลงคะแนนเสียงเห็นชอบรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ก็คือการนำเสนอว่ากระบวนการลงประชามตินั้นเป็นสิ่งจำเป็นจะนำไปสู่การเลือก ตั้ง การประชาสัมพันธ์ของรัฐบาลทหารก็คือสร้างความเชื่อมั่นว่าการยอมรับร่างรัฐ ธรรมนูญจะเป็นขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการจัดการเลือกตั้ง ผู้ลงประชามติจำนวนมากเลือก รับด้วยความมุ่งหวังที่จะกลับไปสู่ระบอบรัฐสภา ไม่ใช่เพราะพวกเขาเข้าใจความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญปี 2550 กับรัฐธรรมนูญปี 2540 [63] ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลทหารถือสิทธิ์ที่จะนำเอารัฐธรรมนูญเก่าฉบับอื่นๆ ซึ่งบางฉบับมีลักษณะเสรีนิยมมาก มาใช้แทน (และปรับแก้ตามสมควร) หากว่าประชาชนลงประชามติไม่ผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

สมัชชาแห่งชาติผ่านพระราชบัญญัติประชามติโดยกำหนดบทลงโทษที่รุนแรงสำหรับ การแสดงความเห็นในทางสาธารณะที่มีลักษณะต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญ พรรคการเมืองถูกปิดกั้นไม่ให้โน้มน้าวผู้ลงประชามติให้เห็นชอบหรือไม่เห็น ชอบร่างรัฐธรรมนูญโดยกำหนดโทษจำคุก 10 ปี ผู้ใด ขัดขวาง การลงประชามติจะถูกดำเนินคดีอาญา และหากผู้นั้นเป็นผู้บริหารพรรคการเมืองก็จะถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี [64] กฎอัยการศึกยังคงมีผลบังคับ ผู้ที่ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญถูกข่มขู่และเอกสารที่ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญ นั้นถูกยึดจากบ้านและที่ทำการไปรษณีย์ ผู้ประท้วงต่อต้านการรัฐประหาร 2549 ถูกจับกุมด้วยความผิดอาญา [65]คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียประณามว่าพระราชบัญญัติประชามตินั้นเป็น ความพยายามที่ชัดเจนว่ามุ่ง ข่มขู่และปิดปากบุคคลที่ไม่เห็นด้วยกับทางการ[66] ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับกระบวนการรับร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540

วันที่ 19 สิงหาคม 2550 รัฐธรรมนูญพ.ศ. 2550 ผ่านการลงประชามติด้วยจำนวนผู้ลงคะแนนที่ต่ำเป็นประวัติการณ์ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ถูกประกาศใช้ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 [67]รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 นั้นมีความแตกต่างอย่างสำคัญจากหลักที่รัฐธรรมนูญ 2540 ให้ความคุ้มครองไว้ ตัวอย่างคือ รัฐธรรมนูญ 2550 นั้นกลับไปสู่ระบบก่อนรัฐธรรมนูญ 2540 นั่นคือการเลือกตั้งแบบหลายเขต ซึ่งเป็นให้โอกาสแก่พรรคการเมืองขนาดเล็กมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดรัฐบาลผสมที่ไม่มีเสถียรภาพ ขณะที่ยังคงระบบบัญชีรายชื่อไว้ แต่ก็ลดสัดส่วนปาร์ตี้ลิสต์จาก100 คน เหลือ 80 คน ยิ่งไปกว่านั้น ฐานคะแนนของระบบปาร์ตี้ลิสต์จากเดิมที่กำหนดให้ทั่วประเทศเป็นหนึ่งเขตเลือก ตั้ง ก็ถูกเปลี่ยนเป็นฐานคะแนนตามภูมิภาค การแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างไม่ยุติธรรมและค่อนข้างเทอะทะนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อลดแรงสนับสนุนของผู้ที่จงรักภักดีต่อทักษิณ [68] ระบบเลือกตั้งวุฒิสมาชิกตามรัฐธรรมนูญ 2540 ถูกเปลี่ยนเป็นกำหนดให้มีวุฒิสมาชิกจำนวน 150 คน โดย 76 คนมาจากการเลือกตั้ง และอีก 75 คนมาจากการแต่งตั้งโดยผ่านคณะกรรมการคัดเลือกซึ่งมีที่มาจากผู้พิพากษาและ ข้าราชการระดับสูง [69] การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถูกดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันอำนาจจากการเลือกตั้งที่โดดเด่นแบบที่เคยเกิดกับพรรคไทยรักไทย [70]

5.3 การยุบพรรคไทยรักไทย

คมช. ซึ่งเข้าสู่อำนาจด้วยการใช้กำลังบังคับ ทำลายพรรคไทยรักไทยและทำลายความนิยมของพรรค ในเดือนมกราคม 2550 รัฐบาลทหารจัดสรรงบประมาณลับจำนวน 12 ล้านบาท สำหรับการรณรงค์เพื่อทำลายความน่าเชื่อถือและนโยบายของรัฐบาลทักษิณ [71] ตามรายงานกล่าวว่ารัฐบาลทหารอนุมัติให้มีการโฆษณารณรงค์โดยใช้เงินภาษีจาก ประชาชน-ดำเนินการโดยบริษัทโฆษณาซึ่งมีญาติของรองเลขาธิการ คมช.- พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นเจ้าของกิจการ - ทั้งยังก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์คนสำคัญ รวมถึงกรณ์ จาติกวณิช และกอบศักดิ์ สภาวสุ [72]

ดังที่กล่าวไปแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกไปทันทีเมื่อมีการรัฐประหาร ธรรมนูญชั่วคราวแต่งตั้งองค์คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจำนวน 9 คน โดยองค์คณะทั้งหมดเป็นผู้พิพากษาที่ได้รับการแต่งตั้งโดย คมช. [73] ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 องค์คณะตุลาการที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นทำการวินิจฉัยยุบพรรคไทยรักไทย [74]ชัดเจนว่าการตัดสินคดีนั้นวางอยู่บนการวินิจฉัยว่าพรรคไทยรักไทยติดสินบน พรรคการเมืองฝ่ายค้านพรรคเล็กๆ ให้เข้าร่วมการเลือกตั้งในเดือนเมษายน 2549 พรรคประชาธิปัตย์ (คู่ต่อสู้สำคัญของไทยรักไทยในสภา) ถูกกล่าวหาด้วยข้อกล่าวหาอย่างเดียวกัน แต่ศาลตัดสินให้พ้นผิด นอกจากการตัดสินยุบพรรคที่เคยเป็นพรรครัฐบาลแล้ว ศาลยังตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยจำนวน 111 คนเป็นเวลา 5 ปีโดยอาศัยความตามประกาศ คมช.ฉบับที่ 27 ที่กำหนดให้บทลงโทษมีผลย้อนหลัง นี่เป็นการทำให้แน่ใจว่าเมื่อพรรคการเมืองถูกยุบ แกนนำพรรคจะไม่อาจลงเลือกตั้งได้อีกในนามของพรรคการเมืองอื่น ทั้งที่ความเป็นจริงนั้นการกระทำผิดตามข้อกล่าวหานั้น เกิดขึ้นหลายเดือนก่อนการประกาศใช้ประกาศ คมช. ฉบับที่ 27 แกนนำพรรคไทยรักไทยส่วนใหญ่ไม่ได้รับโอกาสในการแก้ต่างในศาล [75]

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียกล่าวถึงการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญว่า

ด้วยเหตุนี้ เราได้เห็นปรากฏการณ์พิเศษที่คณะผู้พิพากษาซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาล ทหารที่ไม่ผ่านการเลือกตั้งและต่อต้านประชาธิปไตยดำเนินการตัดสินการกระทำ ของพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งซึ่งถูกกล่าวหาว่าบ่อนทำลายกระบวนการ ประชาธิปไตย [76]

ในระบอบใหม่นี้ การเลือกตั้งเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพรรคไทยรักไทยถูกยุบ แกนนำพรรคถูกตัดสิทธิเลือกตั้ง ภาพลักษณ์ของพวกเขาเสื่อมเสีย และพรรคที่ครั้งหนึ่งไม่มีใครเอาชนะได้แตกสลายเป็นเสี่ยงๆ

5.4 การรัฐประหารทางศาลและเหตุการณ์ความวุ่นวายที่ถูกจัดตั้งขึ้น

ในเดือนสิงหาคม 2550 อดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยรวมตัวกันอีกครั้งอย่างไม่สะทกสะท้านต่อผลการยุบ พรรคไทยรักไทย โดยใช้ชื่อพรรค พลังประชาชนผู้นำพรรคคือนายสมัคร สุนทรเวช นักการเมืองชาวกรุงเทพฯ ผู้แก่พรรษา เพียงไม่นานหลังจากที่พรรคพลังประชาชนก่อตั้งขึ้น คมช.ก็มีคำสั่งห้ามกิจกรรมทางการเมืองของพรรค ทำให้พรรคร้องทุกข์กล่าวโทษ คมช. ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการการเลือกตั้งเพิกเฉยต่อคำร้องทุกข์ดังกล่าวซึ่งกล่าวหาว่า คมช. มีความผิดจากการสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองโดยการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ ใหม่แทนรัฐธรรมนูญ พ.ศ. [77]

วันที่ 23 ธันวาคม 2550 ประเทศไทยมีการเลือกตั้งครั้งแรกนับจากมีรัฐประหาร แม้ คมช.จะต่อต้านและใช้กลยุทธ์ในการปราบปรามอย่างหนัก แต่พรรคพลังประชาชนก็ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนจำนวนมาก โดยชนะการเลือกตั้ง 233 ที่นั่งจากทั้งหมด 480 ที่นั่ง แม้ว่าคณะกรมการการเลือกตั้งตัดสิทธินักการเมืองคนสำคัญที่ลงเลือกตั้งในนาม พรรคพลังประชาชนไปจำนวนมากแล้วก็ตาม [78] พรรคจัดตั้งรัฐบาลผสมได้ โดยนายสมัคร สุนทรเวชขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 29 มกราคม 2551 ถือเป็นอีกครั้งที่การเลือกตั้งแสดงให้เห็นถึงระดับความมุ่งมั่นของคนไทยใน การกำหนดใจตนเองผ่านการเลือกตั้งขณะที่เผชิญกับการประหัตประหารกันทางการ เมือง เมื่อต้องเผชิญกับการเลือกตั้งที่ส่งผลให้ได้รัฐบาลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผล ประโยชน์ของตนเอง อำมาตย์ก็ใช้แนวทางใหม่ แทนที่จะยึดอำนาจโดยการใช้กองกำลังอีกครั้ง อำมาตย์เลือกทำลายรัฐบาลโดยอาศัยการประท้วงที่ใช้ความรุนแรงบนท้องถนนและการ ขัดขวางบริการสาธารณะที่สำคัญ

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยกลับมาปรากฏตัวบนท้องถนนของกรุงเทพฯ อีกครั้งในเดือนพฤษภาคม 2551 ซึ่งเป็นเวลาเพียง 5 เดือนหลังรู้ผลการเลือกตั้ง และเมื่อการประท้วงที่ยืดเยื้อกว่าสามเดือนบนถนนราชดำเนินไม่ประสบความ สำเร็จในการสร้างแรงเสียดทานใดๆ ในปลายเดือนสิงหาคมผู้ชุมนุมของพันธมิตรฯ ที่ติดอาวุธก็บุกเข้าไปในสถานีโทรทัศน์ในกรุงเทพฯ บุกกระทรวงหลายกระทรวงและยึดทำเนียบรัฐบาลไว้เพื่อกีดกันไม่ให้รัฐบาลสามารถ ทำงานได้ ในช่วงเวลาเดียวกัน ก็ยึดสนามบินในจังหวัดภูเก็ต กระบี่และหาดใหญ่ ปิดกั้นถนนสายหลักและทางด่วน สหภาพรัฐวิสาหกิจขัดขวางการเดินรถไฟทั่วประเทศและขู่ว่าจะตัดน้ำตัดไฟ สนธิ ลิ้มทองกุล ผู้นำของพันธมิตรฯ มีโอกาสถอนเงินจำนวนมหาศาลจากบัญชีธนาคารซึ่งได้มาจากผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ ที่ร่ำรวย [79]

พันธมิตรฯ เรียกร้องให้ รัฐบาลหุ่นเชิดของนายสมัคร ลงจากตำแหน่ง แต่น่าสังเกตว่าไม่ได้เรียกร้องให้มีการเลือกตั้งใหม่เพื่อหารัฐบาลมาทำ หน้าที่แทน [80]แต่กลับเรียกหาการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง ดังที่นิตยสาร ดิ อิโคโนมิสต์ ระบุว่า พันธมิตรฯ อ้างว่า ไม่ว่าอย่างไรรัฐบาล (สมัคร) ก็ไม่ชอบธรรม เพราะเชื่อว่าคนจนไม่สมควรจะมีสิทธิลงคะแนนเสียงเนื่องจากพวกเขาโง่เกินไป[81]

เมื่อครั้งที่พันธมิตรฯ พยายามขับไล่รัฐบาลทักษิณในปี 2549 นั้น กลุ่มพันธมิตรฯ อภิปรายว่าประเทศไทยกำลังก้าวสู่ระบอบเผด็จการภายใต้การนำของทักษิณ และพันธมิตรฯ ร้องหาการแทรกแซงจากพระมหากษัตริย์โดยอ้างว่าเป็นความจำเป็นของประเทศเพื่อ เป็นหนทางไปสู่การเป็น ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แนวทางในการรณรงค์ที่เล่นโวหารเรื่องประชาธิปไตยของพันธมิตรฯ อาจเป็นเหตุผลว่าทำไมพันธมิตรฯ จึงสามารถเรียกร้องความเห็นอกเห็นใจจากคนทั่วไปจำนวนมากในกรุงเทพฯ และที่อื่นๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่นิยมและให้การสนับสนุนพันธมิตรฯ ส่วนใหญ่ค่อยๆ ลดลง ขณะที่พันธมิตรฯยังคงกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในปี 2551 จากการต้องเผชิญกับการชุมนุมที่มีผู้เข้าร่วมจำนวนน้อยและความล้มเหลวของการ รัฐประหาร กติกาใหม่จึงถูกกำหนดตามมา การล่าแม่มดเกิดขึ้นอีกครั้งเพื่อต่อ ต้านเศษซากที่เหลืออยู่ของพรรคไทยรักไทยเพื่อให้รัฐบาลเอื้อประโยชน์ต่อ อำมาตย์มากขึ้น ยุทธศาสตร์ของพันธมิตรฯ นั้นรุนแรงขึ้นและมีลักษณะสุดโต่ง ประการแรก พันธมิตรฯ เพิ่มแนวทางที่รุนแรงมากขึ้น ประการที่ 2 แกนนำอภิปราย ต่อต้าน ประชาธิปไตยในประเทศไทย โดยตำหนิว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในต่างจังหวัดและชนชั้นล่างจำนวนมากยังคงถูก หลอกได้ง่าย ไม่มีการศึกษา และถูกครอบงำจากความต้องการทำให้ไม่อาจลงคะแนนอย่างมีเหตุผล [82] สิ่งที่พันธมิตรฯ เสนอให้นำมาใช้แทนก็คือการลดจำนวนนักการเมืองในสภาลงให้เหลือ 30 เปอร์เซ็นต์จากที่นั่งในสภาทั้งหมด และปล้นอำนาจในการกำหนดนโยบายของประเทศจากนักการเมืองเหล่านั้น

แม้ว่าประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของไทยจะมีลักษณะผกผัน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องปกติที่จะได้ยินกลุ่มจัดตั้งประกาศต่อสาธารณะว่าต่อต้าน ประชาธิปไตยด้วยท่าทีที่ถืออภิสิทธิ์และแข็งกร้าว แต่กระนั้น สิ่งที่โลกได้เห็นจากพันธมิตรฯ ก็คืออุดมการณ์อย่างเป็นทางการของประเทศซึ่งฝังลึก นั่นคือการแยกแยะความแตกต่างอย่างเด่นชัดทางจารีตระหว่างชนชั้นปกครองจำนวน น้อยกับผู้อยู่ใต้การปกครอง ในความเป็นจริง ดูเหมือนว่าสิ่งที่ทำให้พันธมิตรฯ หวาดกลัวไม่ใช่การคาดการณ์ว่าทักษิณ คอร์รัปชั่นหรือ เป็น เผด็จการ การที่พันธมิตรฯ ต้องการให้กองทัพซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นองค์กรที่มีการคอร์รัปชั่นมากที่สุดของ ประเทศเข้าแทรกแซงทางการเมืองโดยไม่เอ่ยถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเลวร้าย ขององค์กรนี้เลยนั้น เป็นตัวอย่างอันดีที่แสดงให้เห็นว่าพันธมิตรฯ ไม่ใส่ใจต่อประชาธิปไตยและนิติรัฐ สิ่งที่เป็นปัญหาที่สุดของพันธมิตรฯ ก็คือความนิยมที่ทักษิณได้รับอันเนื่องมาจากนโยบายและการที่ทักษิณปลูกฝัง และให้อำนาจแก่กลุ่มคนที่ครั้งหนึ่งเคยมีบทบาทในการเมืองไทยในฐานะผู้ ถูกกระทำ ดังที่นักวิชาการผู้หนึ่งกล่าวว่า อาชญากรรมที่แท้จริงของทักษิณก็คือเขา ไม่จำเป็นต้องชนะการเลือกด้วยการซื้อเสียงอีกต่อไป[83]

กลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งโดยแก่นแท้แล้วเป็นองค์กร รากหญ้าเทียม นั้นมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนรวยในกรุงเทพฯ ได้รับเงินทุนจากกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ และเป็นหนี้ต่อเหล่าอิทธิพลที่หนุนหลังผู้มีอำนาจในกองทัพ สภาองคมนตรี และพรรคประชาธิปัตย์ เช่นเคย พันธมิตรฯและผู้หนุนหลังรู้สึกว่าการคุกคามจาก พรรคไทยรักไทยและพรรคที่สืบทอดนั้นทบทวี

ในด้านหนึ่ง ทักษิณได้ให้สิทธิพิเศษกับกลุ่มอำนาจในกรุงเทพฯ ซึ่งเคยได้ประโยชน์จากงบประมาณของรัฐ ในเรื่องนี้ คาร์ล ดี. แจคสัน นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮ็อสกินส์อภิปรายว่า ปัญหาพื้นฐานของระบบการเมืองไทยก็คือเงินกระจุกอยู่ในกรุงเทพฯจำนวนมาก ขณะที่ผู้มีสิทธิคะแนนเสียงส่วนใหญ่นั้นอยู่นอกกรุงเทพฯ[84] สิ่งที่ศ.แจ็คสันละเลยไม่ได้กล่าวถึงก็คือ แม้ว่าจุดศูนย์รวมความมั่งคั่งของประเทศอยู่ในเมืองหลวงที่มีลักษณะพิเศษ อย่างยิ่ง แต่ว่าบรรดาผู้มีฐานะในกรุงเทพฯ กลับยังไม่ยอมรับแนวคิดว่าประเทศควรจะปกครองด้วยตัวแทนที่ได้รับการคัดเลือก จากเสียงส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในต่างจังหวัด

ในอีกด้านหนึ่ง ข้อเท็จจริงอันบริสุทธิ์ก็คือกลุ่มพลเมืองที่ตื่นตัวและรวมกลุ่มกันลงคะแนน ให้กับพรรคการเมืองเดียวนั้นเป็นการคุกคามและลดทอนความสำคัญของสถาบันที่ไม่ ผ่านการเลือกตั้งและนักการเมืองในพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมองเห็นแล้วว่าความ แข็งแกร่งในการเลือกตั้งลดลงอย่างต่อเนื่อง นักการเมืองคนสำคัญของพรรคอย่างสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และสำราญ รอดเพ็ชร ยังมีสถานะเป็นแกนนำพันธมิตรฯ อีกด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคนปัจจุบัน,กษิต ภิรมย์ ก็ปรากฏตัวในการชุมนุมของพันธมิตรฯ บ่อยครั้งในช่วงที่พันธมิตรฯ ยึดสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิอย่างผิดกฎหมาย รัฐมนตรีกว่าการกระทรวงการคลังคนปัจจุบัน กรณ์ จาติกวณิช กล่าวอย่างภาคภูมิใจว่าเขาสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ แม้ในที่สุดแล้วจะมีการก่อความรุนแรงอย่างน่ารังเกียจ และมีลักษณะของการต่อต้านประชาธิปไตยอย่างรุนแรง แต่กรณ์ได้เขียนอธิบายผ่านบทความในบางกอกโพสต์ ซึ่งใช้สัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตรฯ กับพรรคประชาธิปัตย์ว่า :

เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันดีว่าแกนนำคนหนึ่งของ พันธมิตรเป็น ส.ส. ของพรรคประชาธิปัตย์ แม้ว่าเขาจะเข้าร่วมกับพันธมิตรในนามส่วนตัวก็ตาม

ผู้ปราศรัยจำนวนมากก็เป็นผู้ลงสมัครรับเลือก ตั้งในสมัยที่ผ่านมา มากกว่าหมื่นคนที่เข้าร่วมการชุมนุมเป็นผู้ที่ลงคะแนนให้กับพรรคประชาธิปัต ย์ ที่สำคัญที่สุด พันธมิตรฯ และผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ มีข้อคิดเห็นเช่นเดียวกันกับเราว่ารัฐบาลนั้นไม่มีความชอบธรรมทั้งในทาง กฎหมายและในทางจริยธรรม

เขาเสริมว่า:

ผมเชื่อด้วยว่า ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ก็ตาม พรรคประชาธิปัตย์โดยตัวเองแล้วไม่สามารถจะต้านทานพรรคพลังประชาชนหรือรัฐบาล จากการใช้อำนาจในทางที่ผิดในช่วงเวลา 7 เดือนที่ปกครองประเทศ ผมคิดว่าหากปราศจากความพยายามของเราที่เคียงข้างกันมา ก็เหมือนว่ารัฐธรรมนูญนั้นได้รับการแก้ไขและให้ความคุ้มครองเฉพาะทักษิณและ พรรคพลังประชาชนเท่านั้น [85]

ด้วยการกระทำอย่างเดียวกันนั้น ผู้ที่สนับสนุนคนเสื้อแดงถูกฟ้องร้องในข้อหากบฏและแกนนำเสื้อแดงถูกกล่าวหา ในความผิดฐานก่อการร้ายซึ่งอาจมีโทษประหารชีวิต แต่คนอย่างกรณ์และกษิต ได้รับรางวัลเป็นตำแหน่งรัฐมนตรี

วันที่ 9 กันยายน 2550 ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้นายกรัฐมนตรีสมัครพ้นจากตำแหน่งตามคำฟ้องของนักการ เมืองฝ่ายค้านและคณะกรรมการการเลือกตั้ง ด้วยความผิดจากการดำเนินรายการสอนทำอาหารผ่านรายการโทรทัศน์ ซึ่งถือเป็นการกระทำต้องห้าม ที่ห้ามรัฐมนตรีรับค่าตอบแทนจากนายจ้างอื่น [86] นายสมัครโต้แย้งว่าเขาไม่ได้ถูกว่าจ้างโดยสถานีโทรทัศน์และแม้ว่ารายการจะ ออกอากาศในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง แต่การบันทึกเทปนั้นทำก่อนที่จะเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ข้อโต้แย้งเหล่านั้นศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่าฟังไม่ขึ้นและลงมติเป็นเอกฉันท์ ให้เขาพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เรื่องที่น่าตลกก็คือว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรายหนึ่งคือ นายจรัญ ภักดีธนากุลเองก็รับเชิญไปออกรายการวิทยุและได้รับค่าตอบแทนจากการสอนกฎหมาย ในมหาวิทยาลัยเอกชนเป็นประจำขณะที่กำลังดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ด้วย วันที่ 18 กันยายน 2550 สมชาย วงษ์สวัสดิ์ น้องเขยของทักษิณขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนนายสมัคร กลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งยึดทำเนียบรัฐบาลอยู่ปฏิเสธที่จะสลายการชุมนุม

บางที จุดเปลี่ยนอาจจะอยู่ที่วันที่ 7 สิงหาคม เมื่อเกิดความรุนแรงระหว่างที่เจ้าหน้าที่ตำรวจและพันธมิตรฯ ราวๆ สองถึงสามพันคนที่หน้าสภาผู้แทนราษฎร โดยฝ่ายพันธมิตรฯ พยายามปิดกั้นทางเข้ารัฐสภา มีประชาชนบาดเจ็บหลายร้อยคนจากเหตุชุลมุน การ์ดพันธมิตรยิงปืนและขว้างระเบิดปิงปองเข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตอบโต้ด้วยแก๊สน้ำตาและไม้กระบอง สมาชิกของกลุ่ม พันธมิตรฯ เสียชีวิตไป 2 คน รายหนึ่งเป็นหญิงสาวซึ่งเสียชีวิตเพราะถูกแก๊สน้ำตาที่ผลิตจากประเทศจีนยิง เข้าใส่โดยตรง อีกรายหนึ่งเป็นการ์ดซึ่งไม่ได้เสียชีวิตจากการปะทะ แต่เสียชีวิตขณะที่รถของเขาระเบิดหน้าที่ทำการพรรคชาติไทย พระราชินีเสด็จไปในการพระราชทานเพลิงศพ น.ส. อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ หญิงสาวที่เสียชีวิตหน้าสภาผู้แทนราษฎร ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมาก็ได้แสดงการสนับสนุนพันธมิตรฯ ด้วยการไปร่วมงานศพของนายเมธี ชาติมนตรี ซึ่งเป็นไปได้ว่าเสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายด้วยระเบิดของเขาเอง

ในเวลานั้น อภิสิทธิ์ได้แสดงความเห็นอย่างต่อเนื่องซึ่งขัดแย้งอย่างรุนแรงกับสิ่งที่ เขาทำในการสังหารประชาชนภายใต้การกำกับดูแลของเขาเอง [87] ยิ่งไปกว่านั้นเขายังแถลงข่าวอย่างเกรี้ยวกราดประกาศท่าทีของพรรคต่อกรณีการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับพันธมิตรฯ ว่า:

ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเรื่องที่นายกฯ ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ว่าเป็นผู้ที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือมิเช่นนั้นก็จงใจให้เหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้น แต่ว่าที่เลวร้ายกว่าการโยนความผิดหรือความพยายามปัดความรับผิดชอบไปให้เจ้า หน้าที่ก็คือว่า วันนี้พัฒนาไปสู่กระบวนการใส่ร้ายประชาชน ผมไม่นึกไม่ฝันว่าเรามีรัฐที่ได้ทำร้ายประชาชนถึงขั้นเสียชีวิต บาดเจ็บสาหัสแล้ว เรายังมีรัฐที่พยายามยัดเยียดความผิดกลับไปให้ประชาชนอีก เป็นพฤติกรรมที่รับไม่ได้ครับ ผมเคยได้ยินคนในฝ่ายรัฐบาลชอบถามคนนั้นคนนี้ว่า เป็นคนไทยหรือเปล่า แต่พฤติกรรมที่ท่านแสดงอยู่นั้น ไม่ใช่เป็นคนไทยหรือเปล่า แต่เป็นคนหรือเปล่า

วันนี้ในทางการเมืองความชอบธรรม(ของรัฐบาลสมชาย) มันหมดไปแล้วครับ เราเรียกร้องความรับผิดชอบจากท่าน (นายกรัฐมนตรี) ท่านจะลาออก หรือถ้าท่านกลัวว่าถ้าท่านลาออกแล้วจะเป็นเรื่องที่ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์จะ ไปมีอำนาจท่านก็ยุบสภาเถิดครับ แต่ท่านเพิกเฉยไม่ได้ เพราะถ้าท่านเพิกเฉยแล้ว ท่านทำร้ายบ้านเมืองและท่านกำลังทำร้ายระบบการเมือง

ไม่มีที่ไหนในโลกที่ประชาชน ถูกทำร้ายจากภาครัฐแล้ว รัฐบาลที่มาจากประชาชนไม่แสดงความรับผิดชอบ [88]