ที่มา thaifreenews บันทึกเหตุการณ์ถัดจากนี้ แสดงให้เห็นว่าอภิสิทธิ์ในฐานะหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านได้ฝ่าฟันการเปลี่ยนแปลง ครั้งสำคัญบนเส้นทางที่นำพาเขาสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี วันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ม็อบพันธมิตรฯ บุกยึดสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาค ทำให้มีนักท่องเที่ยวตกค้างเป็นจำนวนหลายแสนคน พร้อมกันนั้น พันธมิตรฯ ยังทำการยึดสนามบินนานาชาติดอนเมืองเพื่อขัดขวางความพยายามของรัฐบาลที่จะ จัดเส้นทางการบินเข้าออกใหม่ ผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ หลายพันคนใช้โล่มนุษย์ป้องกันการเข้าสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีรายงานข่าวด้วยว่าพันธมิตรฯ หลอกใช้เด็กโดยการจ้างพ่อแม่ของเด็กเพื่ออนุญาตให้เด็กเข้าร่วมการชุมนุม [89] ขณะเดียวกันการ์ดพันธมิตรฯ ซึ่งสามารถเอาชนะตำรวจได้ทำการตั้งด่านปิดกั้นทางเข้าสนามบินสุวรรณ [90]รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเรียกให้ทหารเข้ามาทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย แต่อย่างไรก็ตาม กองทัพปฏิเสธที่จะทำตาม ในทางตรงกันข้าม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา กลับเรียกร้องผ่านทางสาธารณะให้รัฐบาลลาออก ความพยายามของรัฐบาลในการขับไล่ผู้ชุมนุมไม่ประสบความสำเร็จ เศรษฐกิจเสียหายจากการยึดสนามบินราวหนึ่งหมื่นสองพันล้านเหรียญสหรัฐ [91] ในวันที่ 2 ธันวาคม เป็นอีกครั้งหนึ่งที่กระบวนการยุติธรรมที่ถูกการเมืองครอบงำเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ แสดงความจำนนให้เห็น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชนและพรรค ร่วมรัฐบาลได้แก่ พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้ง 3 พรรคเป็นเวลา 5 ปี ในบรรดานักการเมืองที่ถูกตัดสิทธินั้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยทันที [92] ภายในไม่กี่ชั่วโมงต่อมา สนธิ ลิ้มทองกุลจัดแถลงข่าวและประกาศว่าพันธมิตรฯ จะยุติการยึดสนามบิน เขาไม่ลืมที่จะประกาศด้วยว่าพันธมิตรฯ จะกลับมาต่อสู้อีกหากหุ่นเชิดของทักษิณกลับมามีอำนาจ [93]ตรงกันข้ามกับแกนนำ นปช. ซึ่งถูกทหารควบคุมตัวเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม ไม่มีแกนนำคนไหนของพันธมิตรฯ ที่ต้องนอนค้างคืนในคุกด้วยความผิดฐานฝ่าฝืนกฎอัยการศึก ยึดสนามบิน ทำลายสิ่งก่อสร้างในทำเนียบรัฐบาล หรือยิงประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นที่น่าสังเกตว่าข้อกำหนดเรื่องการยุบพรรคซึ่งศาลรัฐธรรมนูญใช้เป็น ฐานในการตัดสินคดีนั้นอยู่ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ตามที่คณะรัฐบาลทหารเรียกร้อง มองเผินๆ แล้วก็เหมือนมีเป้าหมายที่จะเพิ่มความเข้มแข็งให้กับฝ่ายตุลาการต่อสู้กับ การคอร์รัปชั่น รัฐธรรมนูญกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะทหารใช้อำนาจ อย่างกว้างขวางในการล้มล้างอำนาจผู้ที่ประชาชนเลือกมา ด้วยลักษณะที่คล้ายกันมากกับธรรมนูญชั่วคราวซึ่งถูกนำมาใช้ภายหลังการรัฐ ประหาร รัฐธรรมนูญ 2550 ให้ทางเลือกแก่ศาลในการยุบพรรคการเมืองใดๆ ก็ตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งพบว่าคณะกรรมการบริหารพรรคหรือผู้สมัครของ พรรคแม้เพียงรายเดียวทุจริตการเลือกตั้ง เมื่อมีการตัดสินยุบพรรคการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญอาจตัดสิทธิเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดเป็นเวลา 5 ปี คดีตัวอย่างเช่น ศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิคณะกรรมการบริหารพรรคโดยอาศัยฐาน การกระทำความผิดของยงยุทธ ติยะไพรัช อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานทุจริตการเลือกตั้งครั้งล่าสุด แม้ว่าจะมีการฟ้องร้องพรรคประชาธิปัตย์ในกรณีเดียวกัน แต่กลับพบว่าศาลเลี่ยงที่จะสั่งให้มีการยุบพรรค มันเป็นเพียงควันหลงจากการปะทะที่ชอกช้ำระหว่างรัฐบาลกับพันธมิตรฯ สนามบินถูกยึด ผลคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญทำให้พรรคประชาธิปัตย์สามารถจัดตั้งรัฐบาลผสมและ ส่งผลให้อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 18 ธันวาคม 2551 รัฐบาลผสมนั้นเป็นหนี้บุญคุณมุ้งการเมืองที่สำคัญในพรรคไทยรักไทยซึ่งหัว หน้ามุ้งก็คือนายเนวิน ชิดชอบผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมือง และอดีตพรรคร่วมรัฐบาลพลังประชาชนอย่างเช่นพรรคชาติไทยพัฒนาซึ่งตั้งขึ้น โดยอดีตนายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา ผู้เคยเป็นพันธมิตรกับทักษิณมาก่อน ข้อตกลงบรรลุในวันที่ 6 ธันวาคมที่บ้านของผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา มีรายงานข่าวว่าในการประชุมครั้งนั้น พล.อ.อนุพงษ์กล่าวเตือนผู้ร่วมการประชุมว่า เขาพูดแทน “ชายเจ้าของถ้อยคำที่ไม่อาจปฏิเสธได้” [94] แม้ว่าในการเลือกตั้งในปี 2544, 2548, 2549 และ 2550 ซึ่งประชาชนไทยได้แสดงความนิยมต่อพรรคที่เชื่อมโยงกับทักษิณด้วยเสียงข้าง มาก ซึ่งครองเสียงข้างมากทั้งโดยพรรคเดียวและหลายพรรครวมกันในการเลือกตั้งแต่ละ ครั้ง อำมาตยาธิปไตยฟื้นฟูได้ด้วยรัฐประหารโดยทหาร 15 เดือนแห่งการปราบปราม ฟ้องร้อง ทำลายความน่าเชื่อถือของนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน การยึดทำเนียบรัฐบาลและสนามบินหลักของชาติอย่างผิดกฎหมาย และคำพิพากษาตามอำเภอใจที่มีออกมาเป็นลำดับเพื่อยุบพรรคการเมืองใหญ่ 4 พรรค ยุบรัฐบาล 3 รัฐบาล และปรับเปลี่ยนระบบกฎหมายของประเทศให้เป็นไปตามความพอใจและผลประโยชน์ของ อำมาตย์ กระนั้นก็ตาม การที่ ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมการชุมนุมของพันธมิตรฯ บทบาทพันธมิตรฯ ในฐานะเครื่องมือที่ผลักดันอภิสิทธิ์สู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และการที่พรรคประชาธิปัตย์ให้คำมั่นต่อพันธมิตรฯ ว่าจะไม่ถูกลงโทษภายใต้รัฐบาลประชาธิปัตย์ ทำให้ความสัมพันธ์ของกลุ่มการเมืองทั้งสองอยู่ในสภาวะน่าวิตก แกนนำพันธมิตรฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สนธิ ลิ้มทองกุลตำหนิการเมืองแบบเก่าของพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีการต่อรองทางการเมืองซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ถูกบังคับให้ต้องเกี่ยวดองกับ นักการเมืองที่ฉาวโฉ่เรื่องการทุจริตเนื่องจากความพยายามตั้งรัฐบาลผสมและ ประคับประคองไปด้วยกัน [95] ยิ่งกว่านั้น พันธมิตรฯ หวนกลับมาวิพากษ์วิจารณ์จุดอ่อนอันเป็นที่รับรู้รวมถึงความไม่แน่วแน่ของของ รัฐบาลอภิสิทธิ์ ซึ่งนั่นก็เป็นเหตุผลที่พันธมิตรฯ ตั้งพรรคการเมืองของตัวเอง“พรรคการเมืองใหม่” [96] ตั้งแต่เดือนแรกๆ ที่อภิสิทธิ์ขึ้นดำรงตำแหน่ง โดยมีนโยบายปกป้องสถาบันกษัตริย์และทำความสะอาดการเมืองไทย อันเป็นภารกิจที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่สามารถตอบสนองความต้องการให้พวกเขาได้ดี พอ สนธิ ลิ้มทองกุลวิพากษ์ว่าอภิสิทธิ์ไม่มีศักยภาพที่จะนำพาประเทศไปข้างหน้า และเรียกร้องให้ “คืนอำนาจรัฐสภาให้พระมหากษัตริย์” [97] และเสนอแนะว่ากองทัพควรจะทำการรัฐประหารหากอภิสิทธิ์ไม่สามารถที่จะสร้าง“ธรรมาธิปไตย” ที่ห่างไกลจากระบบรัฐสภาซึ่งเขาเรียกว่าเป็น “ที่อยู่ของเหล่าอสูร” [98] ตามความเป็นจริง ความสัมพันธ์อันกลมกลืมระหว่างพันธมิตรฯ และประชาธิปัตย์และการดำรงอยู่ร่วมกันที่น่าอึดอัดนั้น อาจอธิบายได้ว่าทั้งพรรคประชาธิปัตย์และพันธมิตรฯ เป็นเสมือนปีกสองข้างของโครงสร้างหลวมๆ ของกลุ่มอำนาจเก่าในประเทศไทย พันธมิตรฯ เป็นปีกนอกกลไกรัฐสภาซึ่งทำให้มีการปฏิบัติการบนท้องถนนได้เมื่อต้องการ ขณะที่ประชาธิปัตย์เป็นปีกภายใต้กลไกรัฐสภาซึ่งมีหน้าที่แสดงบทบาทรัฐบาลที่ ถูกครอบงำโดยกองทัพ ที่ปรึกษาของกษัตริย์และผู้นำทางธุรกิจ สำหรับทั้งสององค์กร สิ่งที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของฝ่ายอำมาตย์ถือเป็นประเด็นสำคัญทั้งในแง่ อุดมการณ์และความจำเป็น อย่างน้อยที่สุดทั้งสองกลุ่มนี้ไม่อาจที่จะบรรลุถึง อำนาจที่ตนถือครองอยู่ในปัจจุบันหากไม่ได้รับการหนุนหลังจากกองทัพ การอุปถัมภ์จากคนในราชสำนักที่ทรงอิทธิพล และการเกื้อหนุนจากครอบครัวที่มั่งคั่งในกรุงเทพฯ การที่กลุ่มอำนาจเก่าสนับสนุนพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์ส่งผลต่อความวุ่นวายที่ไปไกลกว่าความขัดแย้งภายใน ประเทศ พันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ก่อให้เกิดข้อถกเถียงในประเด็นปราสาทเขาพระวิหาร นำพาประเทศไปสู่ความเสี่ยงที่จะก่อสงครามกับประเทศกัมพูชาในพื้นที่พิพาท ซึ่งถูกศาลระหว่างประเทศตัดสินไปแล้วตั้งแต่ปี 2505 (โดยสร้างความพึงพอใจแก่คู่กรณีทั้งสองประเทศ) แต่ในปี 2551 นายสมัครและพรรคพลังประชาชนซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาลลงนามยินยอมให้รัฐบาลกัมพูชา นำเขาพระวิหารขอขึ้นทะเบียนต่อคณะกรรมการมรดกโลกขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) พันธมิตรฯ และบรรดาผู้สนับสนุนปั้นแต่งว่านี่เป็นหลักฐานว่า “นอมินีของทักษิณ” มีเจตนาที่จะยกเขตแดนไทยให้กัมพูชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายนพดล ปัทมะ ซึ่งเป็นผู้ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชาถูกกดดันให้ลาออก ในเดือนกรกฎาคม 2551 กลุ่มชาตินิยมพยายามปักธงชาติไทยในพื้นที่ทับซ้อนบริเวณใกล้เขาพระวิหาร ซึ่งเป็นการกระทำที่ส่งผลให้เกิดการปะทะกันระหว่างกองกำลังทหารไทยกับทหาร กัมพูชา [99] ช่วงเวลาที่เวทีพันธมิตรฯ เรียกร้องทุกคืนให้ “คืนเขาพระวิหารให้กับประเทศไทย” [100] และกษิต ภิรมย์ ซึ่งต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประกาศบนเวทีพันธมิตรฯ ขณะที่ยึดสนามบินสุวรรณภูมิอยู่ว่าจะเอาเลือดสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชามาล้างเท้า นับแต่นั้นมากำลังทหารของทั้งฝ่ายไทยและกัมพูชายิงตอบโต้กันในพื้นที่ใกล้ ปราสาทเขาพระวิหารหลายครั้ง ความผันผวนของภูมิภาคที่ถูกจุดขึ้นโดยการกระทำของพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์สร้างความตื่นตระหนกให้กับคู่ค้ารายใหญ่ของไทย ประเทศไทยค่อยๆไหลลื่นไปสู่การปกครองแบบเผด็จการทหาร และทำลายศักยภาพของภูมิภาคอาเซียนด้วยระบบที่โหดร้ายในระดับเดียวกับรัฐบาล ทหารพม่า ความมืดบอดด้วยความเกลียดชังที่พวกเขามีต่อทักษิณ อำมาตย์และหมู่มิตรในพันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์จึงไม่เคยยับยั้งการกระทำของตัวเองแม้ว่าจะเกิดผลกระทบ ระหว่างประเทศร้ายแรงตามมา 000 6. ฤดูร้อนสีดำของประเทศไทย : การสังหารหมู่คนเสื้อแดง ด้วยความโกรธและคับข้องใจที่ถูกทำลายเจตจำนงของตนซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตลอดจนการปราบปรามการแสดงความเห็นทางการเมืองอย่างเป็นระบบต่อ สมาชิกและผู้ที่เห็นอกเห็นใจกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือที่รู้จักกันในนาม “คนเสื้อแดง” หลายแสนคนจากทุกจังหวัดทั่วประเทศจึงเริ่มเคลื่อนสู่กรุงเทพฯ ในวันที่ 12 มีนาคม 2553 โดยประกาศว่าจะไม่เลิกชุมนุมจนกว่านายอภิสิทธิ์จะยุบสภาและมีการเลือกตั้ง ใหม่ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กลุ่มคนเสื้อแดงออกมาเรียกร้องบนท้องถนนของเมืองหลวง กรณีที่รับรู้กันดี คือการชุมนุมครั้งใหญ่ที่เมื่อเดือนเมษายน 2552 อย่างไรก็ตาม การชุมนุมครั้งใหม่นี้ถูกอธิบายว่าเป็น“สงครามต้านเผด็จการครั้งสุดท้าย” สองเดือนให้หลัง กลุ่มคนเสื้อแดงยังคงปักหลักอยู่หลังแนวป้องกัน ซึ่งสร้างขึ้นรอบจุดยุทธศาสตร์และจุดที่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์ สำหรับ นปช. แล้ว การแสดงพลังครั้งนี้คือผลจากการทำงานด้วยความอุตสาหะตลอดหลายปี เป็นก่อตัวขึ้นหลังการรัฐประหารโดยกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่ถูกโค่นอำนาจ กลุ่มคนเสื้อแดงกลายมาเป็นพลังกดดันเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่ประชาธิปไตยใน ช่วงเวลาหลายปีที่ถูกแทรกแซง ขอบคุณความพยายามอย่างไม่รู้เหนื่อยที่สร้างความตระหนักรู้ ระดมกำลังสนับสนุน และสร้างองค์กรที่ซับซ้อนขยายไปทั่วพื้นที่ของประเทศ ถือเป็นขบวนการทางสังคมที่กว้างขวางที่สุดเท่าที่เคยปรากฎขึ้นในประวัติ ศาสตร์ไทย จนอาจบอกได้ว่า ในขณะนี้ นปช. ก่อให้เกิดขบวนการประชาธิปไตยที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย เนื่องจากกลุ่มคนเสื้อแดงได้รับแรงสนับสนุนจำนวนมากจากภาคเหนือของไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ยากแค้น ชนชั้นล่างในเมือง กลุ่มคนที่สนับสนุนและนักวิจารณ์จึงมักอธิบายไปในทางเดียวกันว่าการต่อสู้ ของพวกเขาเป็น “การต่อสู้ทางชนชั้น” แม้ว่าชนชั้นจะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญอย่างยิ่งต่อวิกฤตทางการเมืองของไทย แต่กลุ่มคนเสื้อแดงไม่ได้ต่อสู้ใน “สงครามชนชั้น” ระหว่างคนจนกับคนรวย นปช.ไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะขจัดความแตกต่างทางชนชั้นหรือแก้ไขโครง สร้างพื้นฐานทางสังคมของประเทศ อันที่จริง แม้ว่าการเรียกร้องมาตรการความยุติธรรมทางสังคมและโอกาสทางเศรษฐกิจจะเป็น องค์ประกอบหลัก แต่กลุ่มคนเสื้อแดงให้ความสำคัญกับแนวคิดเรื่อง“โอกาสที่เท่าเทียม” และ “ความเสมอภาค” แบบเดียวกับการเคลื่อนไหวกระแสหลักที่ต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมืองและสิทธิทาง การเมืองมากกว่าความคิดเรื่องความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ ตามแบบฉบับของลัทธิมาร์กซ โดยแท้จริงแล้ว การเคลื่อนไหวของเสื้อแดงเป็นเรื่องของเศรษฐกิจน้อยกว่าเรื่องของการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อสู้เพื่อการถูกนับรวมและสิทธิในการออกเสียงทางการเมืองอย่างสมบูรณ์ นปช.ได้สรุปประเด็นทางการเมืองของพวกเขาไว้ในหลัก 6 ประการ เพื่อเน้นให้เห็นถึงมิติการต่อสู้ทางการเมืองของพวกเขา ที่มากกว่าความไม่พอใจทางเศรษฐกิจ: 1) เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายทางการเมืองการปกครองคือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์เป็นประมุข ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนไทยอย่างแท้จริง เราปฎิเสธความพยายามใดๆ ทั้งในอดีตและอนาคต ในการใช้สถาบันกษัตริย์เป็นเครื่องมือเพื่อปิดปากความเห็นต่างหรือเพื่อขับ เคลื่อนประเด็นโดยจำเพาะเจาะจง 2) ยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 นำรัฐธรรมนูญ 2540 กลับมาใช้ และปรับปรุงแก้ไขด้วยขั้นตอนที่โปร่งใส ผ่านการปรึกษาหารือและเป็นประชาธิปไตย 3) ผสานคนไทยเข้าด้วยกันเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจสังคม โดยใช้พลังของประชาชนเอง 4) ทำให้เกิดนิติรัฐ กระบวนการยุติธรรม และระบบความยุติธรรมที่เท่าเทียม ปราศจากการขัดขวางหรือสองมาตรฐาน 5) รวบรวมคนไทยผู้รักประชาธิปไตย ความเท่าเทียม และความยุติธรรมโดยเสมอหน้าทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อรื้อถอนและก้าวให้พ้นระบอบอำมาตยาธิปไตย 6) ใช้สันติวิธีเพื่อบรรลุเป้าหมายข้างต้น เช่นเดียวกับขบวนการทางสังคมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยน แปลงทางสังคม คนเสื้อแดงได้ใช้เป้าหมายอย่างกว้างๆ เพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีความหลากหลายซึ่งอาจไม่จำ เป็นต้องมีอุดมการณ์ใดร่วมกันโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตาม โดยแก่นแล้ว ขบวนการคนเสื้อแดงก็สู้เพื่อประเทศไทยที่เป็นประชาธิปไตย กลุ่มคนเสื้อแดงต้องการที่จะเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ประเทศที่ให้ความ สำคัญกับการเลือกตั้ง รัฐบาลจากการเลือกตั้งมีอำนาจปกครองอย่างแท้จริง และพลเมืองทุกคนได้รับการประกันสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองขั้นพื้นฐาน ที่สำคัญที่สุด ผู้สนับสนุน นปช. ก็คือผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งซึ่งมีสิทธิ์เป็นผู้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่และ เท่าเทียม แต่ไม่เคยเป็นที่ยอมรับ เนื่องมาจากระดับรายได้ของพวกเขา รวมถึงสถานะทางสังคม การศึกษา ถิ่นฐานบ้านเกิด และภูมิหลังชาติพันธุ์ สำหรับพวกเขาแล้ว การต่อสู้ของคนเสื้อแดงในประเด็นเรื่องชนชั้นนั้น สำคัญน้อยการต่อสู้เพื่อการยืนยันว่า พวกเขามีความเสมอภาคเทียบเท่ากลุ่มอำนาจเก่าในกรุงเทพฯ จำนวนน้อย ซึ่งผูกขาดอำนาจทางการเมืองมาอย่างยาวนานโดยอ้างว่าเสียงข้างมากโง่เขลา ไร้การศึกษา และซื้อได้ง่าย เกินกว่าจะวางใจให้เลือกผู้ปกครองประเทศ แน่นอนว่า ทักษิณ ชินวัตร ได้จุดประกายการเคลื่อนไหวนี้ด้วยการเพาะความรู้สึกมีอำนาจทางการเมืองให้ กับผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่ไม่ถูกให้ความสำคัญมาเนิ่นนาน ด้วยการสนับสนุนให้ตระหนักถึงสิทธิของพวกตนเอง และด้วยการกระตุ้นให้เกิดความมั่นใจอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในพลังของตนที่ จะก่อร่างอนาคตของประเทศ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมหลายทศวรรษคือรากฐานที่ทำให้ประชาชนไทย ตื่นตัว ระบบการปกครองที่วางอยู่บนการยอมรับเสียงส่วนใหญ่ปราศจากความมั่นคงในระยะ ยาวจากหลายสาเหตุ ซึ่งกระบวนการทำให้ประเทศก้าวสู้ความเป็นสมัยใหม่เป็น สาเหตุที่สำคัญที่สุด เมื่อคำนึงว่าผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจำนวนมากในประเทศกำลังเปลี่ยนเป็น พลังที่ซับซ้อน ทะเยอะทะยาน และทันสมัย ประเด็นก็มีอยู่ว่าใครจะเป็นผู้ลงมือช่วงชิงกรสนับสนุนจากคน กลุ่มนี้ผ่านกระบวนการที่ทำให้มวลชนมีบทบาทที่ได้สัดส่วนกับพลัง ปริมาณ และความปรารถนาที่พวกเขามีอย่างมหาศาล ทักษิณเข้าใจปรากฎการณ์นี้และใช้ประโยชน์จากมัน แต่เขาไม่ได้สร้างมันขึ้นมา และแม้คนเสื้อแดงจำนวนมากอยากเห็นทักษิณกลับสู่ตำแหน่งที่เคยได้รับเลือกอีก ครั้ง แต่ขบวนการคนเสื้อแดงก็ก้าวข้ามทักษิณไปแล้ว ในการปราศรัยกับผู้ชุมนุมเมื่อปี 2551 แกนนำ นปช. และอดีตโฆษกรัฐบาล นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ผู้ปราศรัยที่มีวาทศิลป์ที่สุดคนหนึ่งในขบวนการคนเสื้อแดงบอกเล่าถึงการ ต่อสู้ของพวกเขาเพื่ออนาคตที่พวกเขาจะมีส่วนร่วมและมีความเป็นประชาธิปไตย มากขึ้น : เราเกิดบนผืนแผ่นดิน เราโตบนผืนแผ่นดิน เราก้าวเดินบนผืนแผ่นดิน เมื่อเรายืนอยู่บน ดิน เราจึงห่างไกลเหลือเกินกับท้องฟ้า พี่น้องครับ เมื่อเรายืนอยู่บนดิน ต้องแหงนคอตั้งบ่า แล้วเราก็รู้ว่า ฟ้าอยู่ไกล เมื่อเราอยู่บนดิน แล้วก้มหน้าลงมา เราจึงรู้ว่า เรามีค่า เพียงดิน แต่ผมแน่ใจว่า ด้วยพลังของคนเสื้อแดง ที่มันจะมากขึ้น ทุกวัน ทุกวัน ขยายตัวเพิ่มขึ้น ทุกนาที ทุกนาที แม้เรายืนอยู่บนผืนดิน แม้เราพูดอยู่บนผืนดิน แต่จะได้ยินถึงท้องฟ้า แน่นอน เสียงไชโยโห่ร้องของเราในยามนี้ จากคนที่มีค่าเพียงดิน จากคนที่เกิดและเติบโตบนผืนแผ่นดิน จะได้ยินถึงท้องฟ้า แน่นอน คนเสื้อแดง จะบอกดิน บอกฟ้าว่า คนอย่างข้าก็มีหัวใจ คนเสื้อแดง จะบอกดิน บอกฟ้าว่า ข้าก็คือคนไทย คนเสื้อแดง จะถามดิน ถามฟ้าว่า ถ้าไม่มีที่ยืนที่สมคุณค่า จะถามดิน ถามฟ้าว่า จะให้ข้าหาที่ยืนเองหรืออย่างไร [101] คนเสื้อแดงไม่ได้สู้เพื่อทักษิณ แต่พวกเขาสู้เพื่อตัวพวกเขาเอง 6.2 มาตรการอันผิดกฎหมายของการรณรงค์ประหัตประหารและความรุนแรง ก่อนที่ นปช.จะเริ่มประท้วงต่อต้านการช่วงชิงเจตจำนงของประชาชนครั้งล่าสุด รัฐบาลอภิสิทธิ์พยายามปิดปากผู้ที่เห็นต่างด้วยการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพและพ.ร.บ.การกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เฉพาะในปี 2552 มีรายงานว่าศาลรับฟ้องคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ (การกระทำความผิดต่อมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาของไทย) จำนวน 164 คดี มากกว่าสถิติของปี 2550 ซึ่งเป็นช่วงหลังรัฐประหารที่มีอยู่ 126 คดี และมากกว่าสองเท่าของคดีในปี 2551 ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของพรรคพลังประชาชน (77 คดี) ควรจะต้องตั้งข้อสังเกตด้วยว่าจำนวนคดีสูงสุดก่อนการรัฐประหารที่บันทึกไว้ ในปี 2548 มีการรับฟ้อง 33 คดีและผลจากความเข้มงวดของกฎหมายและความไม่เต็มใจของสื่อกระแสหลักในการ เปิดพื้นที่เพื่อถกเถียงในเรื่องซึ่งอาจทำลายภาพลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ ทำให้คดีจำนวนมากหายไปจากการนำเสนอของสื่อในระดับชาติและนานาชาติ [102] นอกจากนี้ ปี 2552 ยังเป็นปีแห่งการฟ้องร้องอย่างต่อเนื่องอีกด้วย บางคดีมีการตัดสินและลงโทษอย่างรุนแรงต่อนักกิจกรรมเสื้อแดงซึ่งถูกกล่าวหา ด้วยความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หนึ่งปีก่อนหน้า เมื่อครั้งที่ นปช.ตั้งเวทีขนาดเล็กต่อต้านการชุมนุมที่ยืดเยื้อของพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย สิ่งที่รบกวนจิตใจที่สุดคือคดีของดารณี ชาญเชิงศิลปกุล (ดา ตอร์ปิโด) ซึ่งพิพากษาคดีไปเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ให้จำคุก 18 ปี สำหรับความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 3 กระทง (หนึ่งกระทงต่อหนึ่งการกระทำผิด) จากการปราศรัยของเธอ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2551 การพิจารณาคดีของเธอเป็นไปอย่างปิดลับด้วยเหตุผลเรื่อง “ความมั่นคงของชาติ” ดา ตอร์ปิโดต่างจากผู้ต้องหาส่วนใหญ่ที่ถูกตั้งข้อหาคล้ายคลึงกันและถูกปฏิเสธ หลักการตามกระบวนการยุติธรรม เธอปฏิเสธที่จะยอมรับข้อกล่าวหา สิ่งที่เธอได้รับกลับมาไม่ใช่เพียงโทษร้ายแรงเป็นพิเศษเท่านั้น ทันทีที่มีการพิพากษา เธอก็ถูกขังเดี่ยวและให้เปลี่ยนป้ายชื่อซึ่งระบุถึงฐานความผิดของเธอ ซึ่งทำให้เธอเป็นเป้าในการถูกคุกคาม การ ใช้ พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในทางที่ผิดมีส่วนทำให้การฟ้อง ร้องด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสมบูรณ์ขึ้น พันตำรวจเอกสุชาติวงศ์อนันต์ชัย ผู้ตรวจราชการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ออกมายอมรับเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ได้ปิดกั้นเว็บไซต์ที่กระทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ไปแล้วกว่า 50,000 เว็บไซต์ [104] การดำเนินคดีในข้อหาการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่สาธารณะให้ความสนใจมากที่สุด 2 คดี ได้แก่ คดีของสุวิชา ท่าค้อ และจีรนุช เปรมชัยพร สุวิชา ท่าค้อ ถูกจับกุมเมื่อเดือนมกราคม 2552 เนื่องจากโพสต์ภาพซึ่งอาจเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เขาถูกพิพากษาในเวลาต่อมาด้วยโทษจำคุก 20 ปีจากความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย แต่เนื่องจากให้การรับสารภาพจึงได้รับการลดโทษเหลือ 10 ปี และเมื่อถูกจำคุกอยู่ 1 ปี 6 เดือน ในที่สุด สุวิชาก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2553 จีรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บไซต์ข่าวอิสระประชาไท ถูกจับกุมในเดือนมีนาคม 2552 และถูกตั้งข้อกล่าวหา 10 กระทงจากการละเมิด พรบ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ เธอถูกตั้งข้อหาเนื่องจากไม่สามารถลบความเห็นในเว็บบอร์ดประชาไทที่ทางการ มองว่าเป็นการให้ร้ายระบอบกษัตริย์ได้ทันท่วงที ต่อมา กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ขอให้ลบความเห็นเหล่านี้ออก ในการไต่สวนคดีซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เธออาจถูกตัดสินจำคุก 50 ปี ในขณะเดียวกันเว็บไซต์ประชาไทก็ถูกทางการปิดกั้นอยู่เรื่อยๆ ตั้งแต่มีการชุมนุมครั้งล่าสุดของคนเสื้อแดง จากกรณีดังกล่าวทำให้มีการตัดสินใจปิดเว็บบอร์ดในปลายเดือนกรกฎาคม 2553 การจับกุมด้วยข้อหาละเมิด พรบ. คอมพิวเตอร์ฯ รายอื่นๆ รวมถึง ณัฐ สัตยาภรณ์พิสุทธิ์ (จากการเผยแพร่ซ้ำวิดีโอที่ต่อต้านสถาบันกษัตริย์) ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล (จากการโพสท์ข้อความต่อต้านสถาบันกษัตริย์) วิภาส รักสกุลไทย (จากการโพสท์ข้อความหมิ่นในเฟซบุ๊ค) และอีก 4 รายที่ถูกกล่าวหาว่า เผยแพร่ "ข่าวลือ" เกี่ยวกับพระอาการประชวร ในจำนวนนี้มีอย่างน้อย 2 รายที่เพียงแค่แปลข่าวในประเด็นนี้จากสำนักข่าวบลูมเบิร์กเท่านั้น [105] การใช้อำนาจอย่างเป็นระบบในการจัดการกับผู้กระทำผิดทางการเมืองทำให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ถูกประณามจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้สื่อข่าว [106] และองค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน [107]จากการที่รัฐบาลมีการฟ้องร้องดำเนินคดีและคุกคามคู่แข่งทางการเมือง ในเดือนมกราคม 2553 ฮิวแมนไรท์วอทช์ องค์กรเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชน แสดงความเสียใจกับ "การถดถอยอย่างร้ายแรง" ของสิทธิมนุษยชนในไทย จากการสังเกตการณ์นับตั้งแต่อภิสิทธิ์ขึ้นเป็นรัฐบาล[108] ตามรายงาน การไล่ล่าคู่แข่งทางการเมืองจะยังดำเนินต่อไปตราบเท่าที่รัฐบาลชุดนี้ยัง อยู่ในอำนาจ จุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคนใหม่ ให้คำมั่นว่าจะมีการปราบปรามต่อไปด้วยเหตุผลว่า "รัฐบาลให้เสรีภาพแก่ประชาชนมากเกินไป"[109] โดย สอดคล้องกัน ในเดือนมิถุนายน คณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งหน่วยงานใหม่คือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อกำจัดเนื้อหาในอินเทอร์เน็ตที่วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ [110] ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีก็จัดตั้งโครงการ "ลูกเสือไซเบอร์" เพื่อแนะนำให้ประชาชนใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างอินเทอร์เน็ตอย่าง "ถูกต้อง"[111] ซึ่งในวันถัดมานั่นเอง มีผู้ต้องหาคดีข่มขืนเด็กได้รับการประกันตัวและอนุญาตให้ออกนอกประเทศ [112] กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ประกาศว่าพวกเขาได้จัดตั้งเจ้าหน้าที่ 300 นาย เพื่อตรวจสอบผู้ที่มีความเห็นหรือพฤติกรรม "เป็นภัยหรือไม่ประสงค์ดี" ต่อสถาบันกษัตริย์ [113] รักษาการผู้อำนวยการกรมสอบสวนคดีพิเศษ พล.ต.เสกสรรค์ ศรีตุลาการ รายงานต่อสภาว่ามีผู้ต้องสงสัยคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพราว 2,000 รายที่กำลังอยู่ภายใต้การสืบสวน เขากล่าวอีกว่าการกดดันจากภายนอกอย่างต่อเนื่องทำให้ดีเอสไอเริ่มกลายเป็น "เครื่องมือทางการเมือง" [114] ทั้งหมดทั้งมวลแล้วรัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ดำเนินนโยบายที่มีความรุนแรงอย่าง ฉกรรจ์ต่อกลุ่มคนเสื้อแดง ก่อนหน้าการสังหารหมู่ครั้งล่าสุด กรณีใกล้เคียงกันที่เป็นที่รับรู้คือ การใช้กองกำลังทหารปราบปรามการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่ปะทุขึ้นในช่วงเทศกาล สงกรานต์ในเดือนเมษายน 2552 ซึ่งเกิดขึ้นในระดับที่เล็กกว่า ในวันที่ 11 เมษายน 2552 ผู้ชุมนุมเสื้อแดงหลายร้อยคนใช้ความรุนแรงทำให้การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่พัทยาต้องยกเลิก โดยการบุกเข้าไปในโรงแรมที่มีการประชุมอยู่ ภายหลังปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จอย่างไม่ได้คาดหมาย จุดสนใจของการชุมนุมเริ่มเคลื่อนไปที่กรุงเทพฯ โดยกลุ่มคนเสื้อแดงได้ปิดถนนและเกิดการชุมนุมที่ไร้การนำขึ้นรอบเมือง สำหรับรัฐบาล ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้กลุ่ม "เสื้อน้ำเงิน" ของเนวิน ชิดชอบโจมตีเสื้อแดงที่พัทยา หันมาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพฯ และ 5 จังหวัดโดยรอบ เพื่อเตรียมการปราบปรามอย่างเด็ดขาด เช้ามืดของวันที่ 13 เมษายน กองทัพส่งกำลังเข้ามาสลายการชุมนุมเสื้อแดง ซึ่งทำให้เสื้อแดงแตกระจายกันไปตามจุดต่างๆ ทั่วกทม. การปราบปรามทำให้แกนนำนปช. ยอมจำนนและยุติการปิดล้อมทำเนียบรัฐบาลเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะนองเลือด อีกเช่นเคยที่รัฐบาลอ้างว่ากองทัพปฏิบัติตามมาตรฐานสากล โดยการยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อเตือน และใช้กระสุนยางเพื่อป้องกันตัว ซึ่งข้ออ้างนี้ถูกปัดตกไปด้วยภาพถ่ายและวิดีโอของพยานผู้เห็นเหตุการณ์ ต่อมาคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีสลายการชุมนุมม็อบเสื้อแดงสรุปว่าไม่ มีคนเสื้อแดงเสียชีวิตจากการปะทะดังกล่าว [115] มีผู้บาดเจ็ด 123 ราย ขณะที่ฝ่ายผู้ชุมนุมระบุว่าคนเสื้อแดงอย่างน้อย 6 ราย ซึ่งบาดเจ็บจากการถูกยิง ถูกลำเลียงขึ้นรถบรรทุกทหารไปอย่างรวดเร็วและไม่พบเห็นอีกเลย หลายวันหลังจากการปราบปรามผู้ชุมนุมมีการพบศพของการ์ดนปช. 2 รายในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีร่องรอยของการซ้อมทรมาน [116] ในรายงานประจำปี 2553 ขององค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ระบุถึงมาตรการที่รัฐบาลใช้กับผู้ชุมนุมในช่วงต้น ปี 2552 ซึ่งแสดงให้เห็นการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมระหว่างกลุ่มคนเสื้อแดงที่ต่อ ต้านกลุ่มอำนาจเก่ากับกลุ่มเสื้อเหลืองที่สนับสนุนกลุ่มอำนาจเก่า ในข้อกล่าวหาเดียวกัน - การใช้สองมาตรฐานในการบังคับใช้กฏหมายของรัฐบาลทำให้ความตึงเครียดทางการ เมืองยิ่งทวีขึ้น และการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายหยั่งลึกมากขึ้น แกนนำและสมาชิก นปช. ถูกจับกุม กักขัง และตั้งข้อกล่าวหาทางอาญาหลังการชุมนุมยุติ แต่รัฐบาลกลับเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องของสาธารณะที่เรียกร้องให้มีการสืบสวน เหตุการณ์อย่างไม่แบ่งแยกฝ่าย ซึ่งรวมถึงกรณีความรุนแรงซึ่งมีแรงจูงใจทางการเมืองและการละเมิดสิทธิมนุษย ชนของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือกลุ่มคนเสื้อเหลือง ในช่วงที่มีการชุมนุมยึดทำเนียบรัฐบาลและสนามบินสุวรรณภูมิเมื่อปี 2551 ซึ่งเปิดโอกาสให้อภิสิทธิ์ได้ขึ้นสู่อำนาจ การยืดเวลาดำเนินคดีกับกลุ่มพันธมิตรฯ ยิ่งทำให้สาธารณชนเข้าใจว่า พันธมิตรฯ ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบทางกฏหมาย[117] รัฐบาลทหารของไทยอุปโลกน์ให้คนเสื้อแดงจำนวนมากมีแนวโน้มว่าเป็น "ผู้ก่อการร้าย" ขณะเดียวกันยังมีความพยายามอย่างเป็นระบบในการทำลายความน่าเชื่อถือของขบวน การคนเสื้อแดง ด้วยการสั่งดำเนินคดี การคุกคาม และการใช้อำนาจศาลพิเศษ ซึ่งรัฐบาลอภิสิทธิ์นำมาใช้กับกลุ่ม นปช. และศัตรูทางการเมืองของตนอย่างไม่หยุดหย่อน นับตั้งแต่ขึ้นสู่อำนาจในเดือนธันวาคม 2551โดยกลไกของกองทัพ องคมนตรี ศาล และกลุ่มพันธมิตรฯ 6.3 บดขยี้เสื้อแดง ในวันที่ 8 มีนาคม 2553 ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ประกาศว่าเสื้อแดงจะชุมนุมใหญ่ที่ กทม. เริ่มจากวันที่ 14 มีนาคม เขากล่าวย้ำว่าการชุมนุมจะเป็นไปอย่างสงบสันติ โดยระบุว่าเสื้อแดงจะดำเนินการตามแนวทางประชาธิปไตย และพวกเขาไม่ต้องการให้เกิดความวุ่นวายในชาติ วันถัดมาอภิสิทธิ์ก็ประกาศใช้ พรบ. ความมั่นคงฯ เมื่อเสื้อแดงเข้ามาที่กรุงเทพฯ พวกเขาเริ่มปักหลักชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าฯ บนถนนราชดำเนิน การเลือกพื้นที่ชุมนุมมีนัยเชิงสัญลักษณ์อย่างยิ่งเพราะทำให้เห็นได้ว่าการ เคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นการสืบทอดมรดกจากผู้ที่ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้อง ประชาธิปไตยในปี 2516 และ 2535 ซึ่งใช้พื้นที่เดียวกัน แม้จำนวนผู้ชุมนุมต่ำกว่าที่เคยลั่นวาจาไว้ว่าคนเสื้อแดงเข้ามาชุมนุม กรุงเทพจำนวนล้านคน แต่การชุมนุมที่ถูกจัดตั้งมาอย่างดีครั้งนี้อาจจะเป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่ สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย และแน่นอนว่าใหญ่ที่สุดในรอบ 35 ปีที่ผ่านมา ข้อเรียกร้องของพวกเขาก็ง่ายๆ เพียงแค่ให้อภิสิทธิ์ลาออก "คืนอำนาจให้ประชาชน" และจัดการเลือกตั้งใหม่ การตอบรับที่คนเสื้อแดงได้รับในกรุงเทพฯ มีหลากหลาย มีรายงานว่าจริง ๆ แล้วผู้ชุมนุมเสื้อแดงส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ นปช. ได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษจากประชาชนหลายล้านคนจากภาคเหนือและภาคอีสานที่ ย้ายเข้ามากรุงเทพฯ ทั้งแบบถาวรและการย้ายถิ่นฐานตามฤดูกาล มีประชาชนจำนวนมากพอๆ กับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานความมั่นคงที่คอยให้กำลังใจพวกเขา เวลาที่พวกเขาเคลื่อนขบวนไปทั่วเมืองตลอดหลายสัปดาห์ในช่วงต้นของการชุมนุม เป็นไปได้ว่าชาวกรุงเทพฯยังไม่ได้ตัดสินใจใดๆ บางส่วนรู้สึกว่าการดำเนินชีวิตไม่ได้รับความสะดวกอันเนื่องมาจากการชุมนุม ซ้ำแล้วซ้ำเล่าของกลุ่ม "เสื้อสี" ขณะที่หลายคนอาจไม่แน่ใจว่าการชุมนุมจะก่อให้เกิดผลอะไร อย่างไรก็ตาม ภาพของโครงสร้างสังคมไทย คนเสื้อแดงถูกเกลียดชังและดูถูกโดยสื่อในกรุงเทพฯ และชนชั้นกลางระดับบนจำนวนมากที่สนับสนุนเสื้อเหลือง โดยมากแล้ว สื่อที่ถูกรัฐบาลควบคุมต่างเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องและความคับแค้นของพวกเขา แต่กลับนำเสนอซ้ำ ๆ อย่างเป็นระบบว่าผู้ชุมนุมเป็นกลุ่มคนที่ทักษิณว่าจ้างมา ถูกซื้อ หรือถูกล้างสมองเพื่อเข้าร่วมชุมนุมโดยมีเป้าหมายเพียงต้องการคืนคน ๆ หนึ่งสู่อำนาจ นำความมั่งคั่งของเขากลับมา และนิรโทษกรรมให้เขา ในวันที่ 13 มีนาคม เมื่อคนมารวมตัวกันที่เมืองหลวง หน้าแรกของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสท์ก็พาดหัวว่า “นปช. บ้านนอกแห่เข้ากรุง” การเรียกร้องให้มีการปราบปรามยิ่งทำให้การชุมนุมต่อต้านและด่าทอรัฐบาลมาก ขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญมากที่สุดคือ การที่เสื้อแดงเข้ายึดพื้นที่ชุมนุมที่แยกราชประสงค์ ใจกลางย่านการค้าระดับสูงในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความร่ำรวยและสิทธิพิเศษ ทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญด้านการค้า เดาได้ไม่ยากว่ากลุ่มพันธมิตรฯ จะออกมาโจมตีอย่างแข็งกร้าวและเรียกร้องให้รัฐบาลปราบปรามผู้ชุมนุมอย่าง เด็ดขาด แม้ว่าในช่วง 4 สัปดาห์แรกของการชุมนุมจะเป็นไปอย่างสงบสันติ จนแทบจะกลายเป็นงานรื่นเริง แต่เมื่อมาถึงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนเมษายน รัฐบาลก็ตัดสินใจขับไล่ผู้ชุมนุมออกไปจากถนนกรุงเทพฯ ในปฏิบัติการสลายการชุมนุมในวันที่ 10 เมษายน รัฐบาลออกประกาศสั่งห้ามชุมนุมในพื้นที่ ในวันที่ 7 เมษายน อภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและตั้งศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) นำโดยรองนายกรัฐมนตรีสุเทพ เทือกสุบรรณ [118] ในวันที่ 8 เมษายน ทหารบล็อกสัญญาณดาวเทียมสถานีโทรทัศน์พีเพิลแชนแนล แต่เมื่อผู้ชุมนุมพากันไปชุมนุมที่สถานีโทรทัศน์ไทยคม จังหวัดปทุมธานี ก็สามารถทำให้พีทีวีกลับมาออกอากาศได้ระยะหนึ่ง รัฐบาลก็ตัดสัญญาณพีทีวีอีก คนจำนวนมากถูกสังหารในช่วงที่เกิดเหตุรุนแรงวันที่ 10 เมษายน ขณะที่เสื้อแดงใช้ก้อนหิน ประทัด ระเบิดขวด และอาวุธที่ประกอบขึ้นเองอย่างง่ายๆ ตอบโต้กับกองกำลังทหารที่ติดอาวุธหนัก เมื่อรัฐบาลยอมหยุดยิง มีผู้เสียชีวิต 27 คน ประกอบด้วยสมาชิก นปช. 21 ราย และเจ้าหน้าที่ทหารอีกจำนวนหนึ่งซึ่งถูกสังหารโดยกลุ่มคนลึกลับที่เรียกว่า "ชายชุดดำ" ซึ่งยังไม่ชัดเจนเรื่องแรงจูงใจและไม่ทราบว่าอยู่ฝ่ายใด ปฏิบัติการสลายการชุมนุมที่ล้มเหลวทำให้การเผชิญหน้าตึงเครียดขึ้น ฝ่ายรัฐบาลรวมตัวกันอีกครั้งเพื่อหาวิธีการอื่นๆ แก้วิกฤติ ด้านกลุ่มเสื้อแดงหันมาปักหลักชุมนุมต่อที่ราชประสงค์ 3 พฤษภาคม นายกรัฐมนตรีประกาศแผนการปรองดอง ซึ่งในนั้นมีข้อเสนอจะจัดการเลือกตั้งอย่างเร็วที่สุดในเดือนพฤศจิกายนนี้ ด้วย โดยแลกกับการให้เสื้อแดงยอมยุติการชุมนุม ไม่มีหลักประกันใดว่าอภิสิทธิ์จะยุบสภาตามที่เสนอ รัฐบาลไม่ได้ทำอะไรที่เป็นการส่งสัญญาณว่า จะผ่อนปรนมาตรการปิดกั้นสื่อที่ดำเนินมาอย่างเข้มข้นในช่วงที่มีการชุมนุมลง ก่อนการเลือกตั้ง รวมถึงไม่มีการให้คำมั่นว่าจะดำเนินสอบสวนที่เป็นอิสระในกรณีเหตุรุนแรงที่ เกิดขึ้นในวันที่ 10 เมษายน เสื้อแดงยอมรับข้อเสนอปรองดองของรัฐบาลแต่ก็ปฏิเสธข้อเสนอที่ปราศจากหลัก ประกันเหล่านั้น และหากมองย้อนกลับมาที่ปัจจุบัน การที่คนเสื้อแดงเคลือบแคลงในคำสัญญาของอภิสิทธิ์นั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง แล้ว 13 พฤษภาคม หนึ่งวันหลังจากที่รัฐบาลถอนข้อเสนอให้มีการเลือกตั้ง พล.อ. ขัตติยะ สวัสดิผล ทหารนอกแถวที่รู้จักกันในนาม เสธ.แดง ผู้ที่ถูกมองว่าเป็นแกนนำสายฮาร์ดคอร์ ถูกยิงเข้าที่ศีรษะด้วยสไนเปอร์ขณะยืนอยู่หน้าไมโครโฟนและกล้องและต่อหน้า ต่อตาผู้สื่อข่าวตะวันตก ที่มุมหนึ่งของสวนลุมพินี [119] กระสุนที่ปลิดชีวิตของเสธ.แดง (เขาเสียชีวิตไม่กี่วันหลังจากนั้น) เป็นเพียงกระสุนนำทางก่อนให้กับกระสุนอีกหลายพันนัดซึ่งทหารยิงใส่ผู้ชุมนุม ที่ไม่มีอาวุธ ผู้บริสุทธิ์ที่สัญจรไปมา เจ้าหน้าที่อาสาสมัครและผู้สื่อข่าวในสัปดาห์ถัดมา ขณะที่ทางเสื้อแดงพยายามติดต่อเรียกร้องความช่วยเหลือจากต่างชาติเพื่อเปิด ทางสู่การเจรจาซึ่งจะนำไปสู่การแก้ปัญหาด้วยวิธีทางการเมือง แต่รัฐบาลก็ยังเลือกบดขยี้พวกเขาด้วยกำลังทหาร มีการลำเลียงกองกำลังทหารหลายพันนายด้วยรถหุ้มเกราะสู่ท้องถนนของกรุงเทพฯ หลายวันหลังการลอบสังหารเสธ.แดง รัฐบาลปฏิเสธว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ต่อเหตุการณ์ดังกล่าว แม้ว่าก่อนหน้านี้พวกเขายืนยันว่าจะยิง "ผู้ก่อการร้าย" [120]และก่อนหน้านี้ก็เคยระบุว่าเสธ.แดงเป็น “ผู้ก่อการร้าย” [121] การสังหารหมู่เกิดขึ้นทางทิศเหนือและทิศใต้ของพื้นที่การชุมนุมที่ราชประสงค์ รวมถึงพื้นที่แถวดินแดงและลุมพินี ทหารประกาศให้พื้นที่บางแห่งเช่น ซอยรางน้ำซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของพื้นที่ชุมนุมและถนนพระราม 4 ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ เป็น "เขตใช้กระสุนจริง" ที่นั่นทหารได้รับอนุญาตให้ยิงผู้ชุมนุมทุกคนที่พบซึ่งแทบทั้งหมดไม่มีอาวุธ ผู้เห็นเหตุการณ์ที่ได้บันทึกในส่วนนี้ไว้อย่างละเอียด คือ ผู้สื่อข่าวที่ชื่อ นิค นอสติตซ์ [122] ไม่ว่าจะโดยอุบัติเหตุหรือด้วยยี่ห้อของทหารไทยที่ไม่เคยไยดีชีวิตคนก็ตาม มีผู้สัญจรไปมาจำนวนหนึ่งได้รับบาดเจ็บและถูกทหารยิงเสียชีวิต หนึ่งในคนเหล่านั้นมีเด็กอายุ 10 ปีถูกยิงที่ท้องใกล้กับสถานีแอร์พอร์ทลิงค์มักกะสัน [123] ในเวลาต่อมาโรงพยาบาลก็แถลงว่าเขาเสียชีวิต มีสิ่งที่ส่อให้เห็นว่าผู้สื่อข่าวตกเป็นเป้าหมายด้วยเช่นกัน พยานผู้เห็นเหตุการณ์คนหนึ่งในแนวหลังทหารที่ถนนพระราม 4 ได้ยินทหารถามผู้บังคับบัญชาว่า "ยิงชาวต่างชาติกับนักข่าวได้ไหม?" [124] ที่น่าอับอายที่สุดคือการที่ทหารปิด "พื้นที่สีแดง" ไม่ให้อาสาสมัครหน่วยแพทย์พยาบาลฉุกเฉินเข้าไปในพื้นที่ [125] รวมถึงระดมยิงใส่เจ้าหน้าที่อาสาฯ ขณะที่พวกเขากำลังช่วยเหลือผู้ชุมนุมที่ได้รับบาดเจ็บ [126] และกำลังทำหน้าที่กู้ชีวิตผู้ประท้วงที่มีบาดแผลอีกเป็นจำนวนมาก การปะทะที่ดุเดือดและอันตรายถึงชีวิตผ่านไปหลายวันทำให้การป้องกันของ เสื้อแดงอ่อนลงอย่างมาก ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาป้องกันตนเองด้วยการเผายางอันเป็นความพยายามที่ไร้ ประโยชน์ในการจะสกัดกั้นการรุกคืบของกองทัพสมัยใหม่ แม้กระทั่งความพยายามเจรจาต่อรองในครั้งสุดท้ายซึ่งยังคงค้างคาอยู่ในวันที่ 18 พฤษภาคม ก็ถูกรัฐบาลอภิสิทธิ์ปัดทิ้ง [127] จนกระทั่งในวันที่ 19 พฤษภาคม ทหารก็ทะลวงผ่านแนวกั้นของเสื้อแดงได้ หลังจากนั้นไม่นานนัก แกนนำเสื้อแดงที่ราชประสงค์ประกาศยุติการชุมนุมและยอมมอบตัวกับตำรวจเพื่อ ป้องกันไม่ให้เกิดการนองเลือดมากกว่านี้ ขณะที่วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 กลายเป็นวันที่มืดมนที่สุดวันหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย เพราะมีการสังหารหมู่ผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยครั้งเลวร้ายที่สุดของ ประเทศ จำนวนผู้เสียชีวิตอาจจะเพิ่มอีกมากกว่านี้หากแกนนำนปช.ไม่ประกาศยุติการ ชุมนุมภายในเวลาที่เกือบจะสายเกินไป อย่างไรก็ตาม การยอมแพ้ของแกนนำเสื้อแดงก็ยังไม่ทำให้การเข่นฆ่าจบลง หลายชั่วโมงหลังจากที่เสื้อแดงถูกสลายการชุมนุม ประชาชนอีก 6 รายเสียชีวิตจากการโจมตีที่วัดปทุมวนาราม ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นเขตอภัยทานของผู้ชุมนุมเสื้อแดงที่ต้องการหลบซ่อนจากการ ใช้ความรุนแรง ผู้สื่อข่าวต่างชาติที่ได้รับบาดเจ็บในพื้นที่อธิบายว่ามีสไนเปอร์ยิงจากมา จากบนรางรถไฟฟ้าเข้าใส่กลุ่มคนที่ไม่มีอาวุธในเขตอภัยทานของวัด ป็นส่วนหนึ่งของพลเรือนที่ถูกยิงเสียชีวิตมีพยาบาลอาสานอกเครื่องแบบอยู่ หนึ่งราย [128] จากตัวเลขอย่างเป็นทางการ มีประชาชนเสียชีวิต 55 รายในช่วงที่มีการปราบปรามนานนับสัปดาห์จนทำให้เสื้อแดงสลายการชุมนุมไปใน วันที่ 19 พฤษภาคม แม้จะมีการกล่าวหาเรื่อง "การก่อการร้าย" ซ้ำ ๆ แต่ก็ไม่รายงานเจ้าหน้าที่เสียชีวิตเลยในช่วงที่มีปฏิบัติการ ขณะที่ผู้ที่ถูกเจ้าหน้าที่ยิงไม่มีใครเลยที่ได้รับการพิสูจน์ว่ามีอาวุธ ฝ่ายรัฐบาลก็ยังคงปฏิเสธความรับผิดชอบต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้น พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ซึ่งกำลังจะปลดเกษียณปฏิเสธเมื่อไม่นานมานี้ว่าทหารไม่ได้ยิงใส่ผู้ชุมนุม ที่ไม่มีอาวุธ เขาบอกว่าทหาร "ไม่เคยตั้งใจทำร้ายประชาชน" การดำเนินการสลายการชุมนุมนั้นกระทำตามหลัก "มาตรฐานสากล"[129] 6.4 มาตรการสากลว่าด้วยการใช้กำลัง ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิ ทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติซึ่งมีหน้าที่ดูแลและเป็นผู้ ตีความ โดยคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ 18 คนตั้งขึ้นโดยข้อบัญญัติของ ICCPR เพื่อดูแลการบังคับใช้ICCPR ในความเห็นทั่วไปเรื่องสิทธิในการมีชีวิตอยู่ซึ่งได้รับการประกันไว้ในมาตรา 6 ของ ICCPR นั้น คณะกรรมการระบุว่า: รัฐภาคีควรมีมาตรการ...ในการป้องกันไม่ให้เกิด การใช้อำนาจสั่งการสังหารประชาชนของตนเอง การที่ผู้มีอำนาจในรัฐปล่อยให้เกิดการสูญเสียชีวิตเป็นเรื่องที่สร้างแรงกด ดันอย่างมาก เพราะฉะนั้นกฏหมายควรจะควบคุมอย่างเข้มงวดและจำกัดสถานการณ์ที่จะนำไปสู่การ สูญเสียในชีวิตจากการใช้อำนาจรัฐ [130] อย่างน้อยที่สุด หากจะให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ระบุไว้ใน ICCPR แล้ว รัฐต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานของสหประชาติ ในเรื่องการใช้กำลังและอาวุธของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฏหมาย (ตาม "หลักการพื้นฐานของสหประชาชาติ") หลักการนี้มีไว้เพื่อช่วยให้ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติเช่นไทยรับรองและ สนับสนุนให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นระบบขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้ กฏหมาย หลักการเหล่านี้จะต้องได้รับการพิจารณาและต้องคำนึงถึงในกฏหมายส่วนท้องถิ่น รวมถึงระเบียบปฏิบัติของประเทศสมาชิกอื่นๆ [131] หลักการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและการสังหารหมู่เสื้อแดงอย่างยิ่ง โดยควรได้รับการคำนึงถึงขอบเขตที่เหมาะสมในการใช้กำลังในสถานการณ์ที่มีการ ชุมนุม รวมถึงกรณีเกิดการชุมนุมที่ไม่ถูกกฎหมายหรือเสี่ยงที่จะเกิดความรุนแรงด้วย หลักการพื้นฐานของสหประชาชาติเป็นหลักการที่ตั้งขึ้นโดยมีลดการใช้อาวุธ ร้ายแรงต่อพลเรือนให้น้อยที่สุด ดังนั้นหลักการของสหประชาชาติจึงจำเป็นสำหรับผู้บังคับใช้กฎหมายทั้งหมด : หลักการข้อที่ 3 การพัฒนาหรือการวางกำลังอาวุธยับยั้งที่ไม่อยู่ในขั้นร้ายแรง ควรกระทำอย่างระมัดระวังเพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการทำอันตรายต่อผู้ที่ไม่ เกี่ยวข้องและการใช้อาวุธนั้นควรมีการควบคุมอย่างดี หลักการข้อที่ 4 การบังคับใช้กฎหมายโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่หากเป็นไปได้ควรใช้วิธี การปลอดความรุนแรงให้ถึงที่สุด ก่อนพิจารณาการใช้กำลังหรืออาวุธ พวกเขาใช้กำลังอาวุธเพียงแค่ในกรณีที่วิธีการอื่น ๆ ไม่สามารถใช้ได้แล้ว หรือไม่มีสิ่งใดที่บ่งบอกว่าจะทำให้เกิดผลตรงตามเป้าหมายแล้วเท่านั้น หลักการข้อที่ 5 เมื่อใดก็ตามที่จำเป็นต้องใช้กำลังและอาวุธอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายควร a) ปฏิบัติอย่างอดกลั้นในการใช้กำลังและปฏิบัติตามสัดส่วนความร้ายแรงของสถานการณ์ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ทางกฎหมาย b) ทำให้เกิดความเสียหาย การบาดเจ็บให้น้อยที่สุด รวมถึงควรเคารพและรักษาชีวิตมนุษย์ c) ทำให้แน่ใจว่าการช่วยเหลือและการรักษาพยาบาลสามารถเข้าถึงผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือคนที่ได้รับผลกระทบ โดยด่วนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ [132] หลักการพื้นฐานของสหประชาชาติในเรื่องการสลายการชุมนุมมีดังนี้ : หลักการข้อ 12 เมื่อทุกคนได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมในการชุมนุมที่สงบและถูกกฎหมาย ตามหลักการของประกาศสิทธิมนุษยชนและสนธิสัญญานานาชาติด้านสิทธิพลเมืองและ สิทธิทางการเมือง รัฐบาลและหน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมายและเจ้าหน้าที่ควรรับรู้ว่ากำลังและ อาวุธจะใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีการปฏิบัติตามหลักการข้อ 13 และ 14 หลักการข้อ 13 ในการสลายการชุมนุมที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย แต่ไม่ได้มีความรุนแรง เจ้าหน้าที่บังคับกฎหมายควรหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง หรือหากไม่สามารถกระทำได้ ก็ควรใช้กำลังให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น หลักการข้อ 14 ในการสลายการชุมนุมที่มีความรุนแรง เจ้าหน้าที่บังคับกฎหมายอาจใช้อาวุธได้ก็ต่อเมื่อวิธีการอื่นๆ ที่อันตรายน้อยกว่าไม่สามารถใช้ได้ และควรใช้กำลังให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เจ้าหน้าที่บังคับกฎหมายไม่ควรใช้อาวุธสงครามในกรณีนี้ เว้นแต่สภาพการเป็นไปตามเงื่อนไขของหลักการข้อ 9 [133] หลักการข้อที่ 9 ระบุว่า: หลักการข้อที่ 9 เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายไม่สามารถใช้อาวุธปืนกับบุคคลได้ ยกเว้นเพื่อป้องกันตนเอง หรือปกป้องบุคคลอื่นจากอันตรายถึงชีวิตหรือการบาดเจ็บขั้นร้ายแรงเฉพาะหน้า เพื่อป้องกันการก่ออาชญากรรมร้ายแรงที่อันตรายถึงชีวิต เพื่อจับกุมบุคคลซึ่งกำลังกระทำอันตรายและตอบโต้เจ้าหน้าที่ หรือเพื่อไม่ให้บุคคลดังกล่าวหลบหนีการจับกุม และในกรณีที่ไม่มีวิธีการใดที่มีประสิทธิภาพที่จะให้ได้มาซึ่งวัตถุประสงค์ ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การใช้อาวุธสังหารโดยตั้งใจสามารถกระทำได้ ต่อเมื่อเผชิญสถานการณ์คับขันและหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อปกป้องชีวิตเท่านั้น ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 รัฐบาลอภิสิทธิ์ และกองทัพไทยดูเหมือน จะไม่สนใจการควบคุมฝูงชนด้วยหลักการดังที่กล่าวมา แต่รัฐบาลกลับใช้วิธีการสลายการชุมนุมที่ขัดกับ“มาตรฐานนานาชาติ” ด้วยการใช้ “อาวุธที่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต” เพียงจำนวนน้อย ไม่ได้แสดงความห่วงใยในการ “ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องให้น้อยที่สุด” และเพื่อ “รักษาชีวิตคนไว้” นโยบายยิงเพื่อสังหารที่พวกเขานำมาใช้กับผู้ชุมนุมที่เผา ยางและจุดประทัด ก็ไม่ได้อยู่ในหลักการของการโต้ตอบ “ในสัดส่วนเดียวกับความร้ายแรงของการจู่โจม”การโจมตีใส่หน่วยแพทย์อาสา เป็นคำสั่งที่ไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อการรับรองว่า “การช่วยเหลือและการรักษาพยาบาลควรทำให้สามารถเข้าถึงผู้ได้รับบาดเจ็บและ ผู้ได้รับผลกระทบอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้” แม้ว่าการชุมนุมของเสื้อแดงอาจถูกตราว่าเป็นการชุมนุมที่ “รุนแรง”และ “ผิดกฎหมาย” แม้หากว่า พรก.ฉุกเฉินฯ จะทำให้พวกเขาผิดกฎหมาย แต่พยานที่อยู่ในเหตุการณ์การใช้อาวุธกระสุนจริงของรัฐบาลก็กล่าวยืนยันหนัก แน่นว่า การใช้กำลังนั้นไม่จำกัดอยู่แค่ “การใช้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น” (ในหลักการข้อ 13) นอกจากนี้แล้ว ผู้ที่เสียชีวิตไม่มีใครเลยที่พบเห็นว่ามีอาวุธร้ายแรง ทำให้การ “จงใจใช้อาวุธร้ายแรง” ของรัฐบาลนั้น ไม่สอดคล้องตามกรณี “ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผ่อนปรนได้ ในการจำเป็นต้องใช้เพื่อรักษาชีวิต” (ในหลักการข้อ 9) แทนที่จะปฎิบัติตามหลักสากลในสลายการชุมนุม รัฐบาลกลับใช้กองกำลังที่ได้รับการฝึกฝนอาวุธสงครามเพื่อสู้รบกับกองทัพของ ต่างชาติเข้าไปสลายการชุมนุมเสื้อแดง กล่าวอย่างเรียบๆ คือ มันเป็นสิ่งที่กองทัพไทยทำมาตลอดเมื่อเจอกับการชุมนุมใหญ่ที่เรียกร้อง ท้าทายอำนาจการควบคุมระบอบการเมืองของไทย พวกเขาละเลยมาตรฐานสากลและใช้กำลังทหารกับผู้ชุมนุม 000 7. ฤดูกาลใหม่ของการปกครองโดยทหาร ประชาชน 90 รายถูกสังหาร และอีกประมาณ 1,800 รายได้รับบาดเจ็บในช่วง 6 สัปดาห์ก่อนถึงการบุกสลายชุมนุมในวันที่ 19 พฤษภาคม ชีวิตที่สูญเสียเพิ่มมากขึ้นในเหตุการณ์ความขัดแย้งแสดงให้เห็นถึงความเส แสร้งของ “กฎเกณฑ์ประชาธิปไตย” และ “ความเคารพในหลักนิติธรรม” ซึ่งรัฐบาลอภิสิทธิ์พยายามปกป้องมาตลอดการดำรงตำแหน่ง เมื่อความชอบธรรมของรัฐบาลถูกท้าทายจากกลุ่มคนจำนวนมากที่มีการจัดตั้งมา อย่างดีและส่วนใหญ่ก็มาโดยสันติแล้ว อภิสิทธิ์แสดงให้เห็นถึงการไร้ความสามารถในการปกครอง และไม่สามารถปกป้องแม้แต่สิ่งที่รัฐธรรมนูญฉบับปี 2007 หลังรัฐประหารได้ให้การคุ้มครองแก่ประชาชนไทย แม้กระทั่งก่อนการชุมนุมจะเริ่มต้น รัฐบาลได้ระงับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญโดยการประกาศใช้ พรบ.ความมั่นคง เพื่อพยายามจำกัดกิจกรรมของเสื้อแดง ก่อนหน้าการปราบปรามการชุมนุมครั้งแรกไม่กี่วัน รัฐบาลก็ยังได้ใช้อำนาจเผด็จการ ประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน อีก 3 เดือนถัดมา พรก.ฉุกเฉินก็ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปอย่างไม่มีกำหนด กองทัพกลับมาควบคุมประเทศนี้อีกครั้ง โดยต่างจากช่วงหลังรัฐประหารในปี 2006 การปกครองครั้งใหม่นี้ดำเนินการโดยใช้หลักกฎหมายมาบดบัง กล่าวอย่างเจาะจงคือ มาจากการใช้อำนาจโดยมิชอบผ่านร่างกฎหมายที่กดทับสิทธิ ทำให้เผด็จการทหารใหม่สามารถเข้าสู่อำนาจได้โดยอยู่เหนือการตรวจสอบใดๆ ทั้งปวง และลิดรอนสิทธิเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรอง รวมถึงการคัดเลือกกฎหมายมาบังคับใช้ให้ตรงกับความต้องการและผลประโยชน์ของตน เท่านั้น การที่รัฐบาลปัจจุบันนำ พรก.ฉุกเฉิน มาใช้โดยมิชอบ ถือเป็นการลดทอนหลักนิติธรรมแทบทั้งหมด ขาดก็แต่การประกาศรัฐประหารอย่างเป็นทางการเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การเสแสร้งว่ามีความชอบธรรมทางกฎหมายของรัฐบาลนี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรประเมิน ผิดพลาด การบังคับใช้ พรก.ฉุกเฉิน และการขยายเวลาบังคับใช้ออกไปอย่างไม่มีกำหนดถือเป็นการรัฐประหารเงียบ (ทั้งยังถือว่ารุนแรงอย่างไม่อาจยอมรับได้) ในส่วนของคณะรัฐบาลอภิสิทธิ์และทหารที่หนุนหลัง ในตอนนี้มันชัดเจนแล้วว่า พรก.ฉุกเฉินซึ่งยังคงถูกบังคับใช้ต่อไป ไม่ใช่เพื่อเผชิญหน้ากับสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่เพื่อให้อำนาจเผด็จการแก่รัฐบาลตามที่ต้องการ และเพื่อกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและเพื่อดำรงอำนาจทางการเมืองที่ได้มาโดย ไม่ถูกต้องต่อไป พรก. ฉุกเฉิน จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ละเมิด ICCPR ในมาตราที่ 4 ที่ระบุว่าการระงับสิทธิ์บางประการของ ICCPR เป็นการชั่วคราว เช่น ระงับสิทธิในการชุมนุมนั้น จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อ“เป็นการใช้โดยขยายขอบเขตอย่างเคร่งครัดตามความฉุกเฉินของสถานการณ์” 7.1 พระราชบัญญัติความมั่นคงภายใน พรบ. ความมั่นคงฯ ออกมาในปี 2008 โดยมีการให้นิยาม “การรักษาความมั่นคงภายใน” อย่างกว้างครอบคลุมทุกทิศ โดยรวมถึง “ปฏิบัติการเพื่อป้องกัน,ควบคุม, แก้ไข และฟื้นฟู เหตุใด ๆ ก็ตามที่อาจก่อให้เกิดอันตรายโดยมาจากบุคคลหรือกลุ่มคนที่สร้างความวุ่นวาย สร้างความเสียหายต่อชีวิตหรือทรัพย์สิน หรือทำให้เกิดการเสียเลือดเนื้อของประชาชน รวมถึงความสูญเสียต่อชาติ [134] อย่างไรก็ตาม พรบ. นี้อนุญาตให้ใช้มาตรการพิเศษ ข้อบังคับพิเศษ เพียงเพื่อ“ให้เกิดการฟื้นฟูสถานการณ์สู่สภาพปกติ ในนามของความสงบเป็นระเบียบเรียบร้อยของประชาชน หรือต่อความมั่นคงในชาติ [135] กฏหมายฉบับนี้ดำรงอยู่ภายใต้อำนาจการดำเนินงานของสำนักนายกรัฐมนตรี ภายใต้กฏหมายฉบับนี้ระบุว่า “ในเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายใน แต่ยังไม่จำเป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน รัฐมนตรี คณะรัฐบาลจะลงมติให้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) รับผิดชอบด้านการป้องกัน,ปราบปราม และขจัดหรือบรรเทาเหตุการณ์ซึ่งกระทบต่อความมั่นคงภายใน ภายในพื้นที่และเวลาที่กำหนด” กอ.รมน. เป็นหน่วยงานสาขาหนึ่งของกองทัพ ซึ่งมีหน้าที่ปกป้องความมั่นคงในชาติจากภัยภายในประเทศ [136] โดยดำเนินงานภายใต้คำสั่งโดยตรงจากนายกรัฐมนตรี ผู้ที่ตามพรบ. ระบุว่าเป็น “ผู้อำนวยการความมั่นคงภายใน”[137] เมื่อมีการลงมติดังกล่าวแล้ว รัฐบาลของประเทศจะไม่ใช่รัฐสภา, คณะรัฐมนตรี, ศาลอีกต่อไป แต่จะมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการ, มีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นรักษาการผู้อำนวยการ และเสนาธิการเหล่าทัพเป็นเลขาธิการ [138] สิ่งที่พอจะทำหน้าที่แทรกแซงระหว่างสองขั้วอำนาจได้คือคณะรัฐบาล แต่อิทธิพลนั้นต่ำมาก เนื่องจากถูกจำกัดโดยการรับรองการพิจารณาผ่านนายกรัฐมนตรีผู้มีอำนาจในการ “อนุมัติมติดังต่อไปนี้” 1. ให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้เกี่ยวข้องกระทำการ หรืองดเว้นกระทำการใด ๆ 2. ห้ามการเข้า-ออก อาคาร สถานที่ หรือพื้นที่ที่กำหนดในช่วงที่มีการปฏิบัติการ เว้นแต่จะมีการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ผู้มีคุณสมบัติ หรือเป็นผู้ที่ได้รับการงดเว้น 3. ห้ามการออกจากอาคารที่พักอาศัยภายในเวลาที่กำหนดไว้ 4. ห้ามการพกพาอาวุธภายนอกเขตอาคารที่พักอาศัย 5. ห้ามการใช้เส้นทางหรือยานพาหนะ หรือกำหนดสภาพการใช้เส้นทางหรือยานภาหนะ 6. เพื่อสั่งการให้บุคคลกระทำหรือยับยั้งการกระทำ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายต่อชีวิต, เลือดเนื้อ หรือทรัพย์สินของประชาชน [139] ข้อที่ 2 - 6 มีไว้เพียงเพื่อเพิ่มความชัดเจน เพราะขอบเขตอำนาจของนายกรัฐมนตรีถูกระบุไว้หมดแล้วในข้อที่ 1 คืออำนาจในการ “ให้เจ้าหน้าที่รัฐผู้เกี่ยวข้องกระทำการ หรืองดเว้นกระทำการใด ๆ” นี่คือการใช้อำนาจจากการอนุมัติ “มติ” ของนายกรัฐมนตรี โดยไม่ต้องผ่านสภา ไม่ผ่านการตรวจสอบโดยวิถีทางประชาธิปไตย ไม่มีการพิจารณาของรัฐสภา มีเพียงนายกรัฐมนตรี, คณะรัฐบาล และกองทัพเท่านั้นที่มีอำนาจปกครอง นี่คือสถานภาพความเป็นนิติรัฐของประเทศไทย ตั้งแต่ 11 มีนาคม 2010 เป็นต้นมา แม้ว่าจะมีการประกาศใช้ พรบ. ความมั่นคงและความพยายามกำจัดการเคลื่อนไหวของพวกเขา แต่ก็ไม่สามารถขัดขวางกลุ่มเสื้อแดงได้ กลุ่มเสื้อแดงหลายพันคนจากทุกชนชั้นของสังคมพากันเข้ามาในกรุงเทพฯ เพื่อประท้วงรัฐบาลปัจจุบันและเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง เพื่อเป็นการตอบโต้ผู้ที่แห่แหนมาต่อต้านรัฐบาล นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และครอบครัวพากันหนีออกจากที่พักในกรุงเทพฯ ไปยังค่ายทหาร ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงการที่อภิสิทธิ์ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากเหล่านายพล ในวันที่ 7 เมษายน หลังจากไตร่ตรองมาหลายสัปดาห์แล้ว รัฐบาลได้เพิ่มอำนาจของ พรบ.ความมั่นคงขึ้นอีกโดยการประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ในกรุงเทพฯ และในเขต 5 จังหวัดใกล้เคียง ตามมาตราที่ 9 ของพระราชกำหนดการบริหารงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) รัฐบาลมีการสั่งห้ามไม่ให้มี “การชุมนุมหรือรวมตัวร่วมกันกระทำการตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป”รวมถึง “การกระทำใด ๆ ที่ยั่วยุให้เกิดความไม่สงบ” ภายใต้ความหมายดังนี้ การกีดขวางทางจราจรในลักษณะที่ทำให้การคมนาคมตามปกติมิอาจกระทำได้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ผู้มีคุณสมบัติเกี่ยวข้องกับการ ชุมนุม ผู้มีเป้าหมายเพื่อรักษาความสงบและป้องกันไม่ให้เกิดความวุ่นวายต่อชีวิต ประจำวันของประชาชน การลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนประกอบด้วย “การจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท [140]นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังสั่งห้าม “การเผยแพร่ข่าวสาร การผลิตซ้ำ หรือแพร่กระจาย ข่าวสาร สิ่งพิมพ์ หรือการสื่อสารด้วยช่องทางใด ๆ ที่มีเนื้อหาสร้างความหวาดกลัวต่อประชาชน หรือมีการจงใจบิดเบือนข้อมูลข่าวสารที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ ฉุกเฉิน จนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความสงบเรียบร้อย หรือจริยธรรมอันดีของประชาชนในราชอาณาจักร”[141] ตามมาตรา 11 ของ พรก.ฉุกเฉิน รัฐบาลได้มีมติจากการประชุมฝ่ายบริหารโดยให้มีการขยายอำนาจพิเศษอย่างไร้ข้อ จำกัด นอกจากนี้แล้ว รัฐบาลยังได้มีอำนาจในการ “จับกุมและกักขังบุคคลที่ต้องสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการยุยงปลุกปั่น สถานการณ์ฉุกเฉิน หรือบุคคลที่โฆษณา หรือสนับสนุนการกระทำดังกล่าว” “เรียกตัวปัจเจกบุคคลเพื่อรายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ ให้ข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน” และ “สั่งห้ามหรือสั่งให้กระทำการใด ๆ ที่จำเป็นต่อความมั่นคงของชาติหรือความปลอดภัยของประชาชน” [142] พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินให้อำนาจรัฐบาลในการสถาปนาอำนาจ ทางกฎหมายจอมปลอม ซึ่งเป็นผลให้เกิดการสลายการชุมนุมที่ผิดพลาด อย่างเช่นกรณีสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อ 10 เม.ย. ในวันที่ 13 พ.ค. วันที่ เสธ.แดง ถูกลอบสังหาร มีการขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินไปยัง 15 จังหวัดในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่มีการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 19 พ.ค. มีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินกินพื้นที่กว่า 24 จังหวัด จาก 76 จังหวัดของประเทศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังคงมีผลบังคับใช้ แม้รัฐบาลจะยกเลิกประกาศห้ามออกนอกเคหะสถาน (เคอร์ฟิวส์) ล่าสุด พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังคงมีผลบังคับใช้ใน 19 จังหวัดจนถึงต้นเดือนตุลาคมโดยไม่มีที่ท่าว่าจะยกเลิก (หมายเหตุจากผู้แปลเอง มติ ครม. 21 ก.ค. มีการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 3 จังหวัด ส่วนอีก 16 จังหวัดที่ยังคง พ.ร.ก.ฉุกเฉินประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร จ.นนทบุรี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ปทุมธานี จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.อุบลราชธานี จ.มหาสารคาม จ.หนองบัวลำภู จ.มุกดาหาร จ.อุดรธานี จ.นครราชสีมา จ.ชัยภูมิ, จ.ขอนแก่น จ.ชลบุรี และ จ.สมุทรปราการ) นี่เป็นเพียงการแทนที่หลักนิติรัฐด้วยความคิดเพ้อฝันของพวกเขาเอง ด้วยวิธีนี้ ทำให้เสรีภาพของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของชาวไทยซึ่งมีหลักประกันคือรัฐ ธรรมนูญปี 2550 ถูกระงับชั่วคราว รัฐธรรมนูญฉบับนี้เองที่นายกรัฐมนตรีและกองทัพผู้หนุนหลังหวังว่าจะนำมาใช้ หยุดยั้งการท้าทายต่ออำนาจการปกครองอันไม่ชอบธรรมของพวกเขา บรรดาผู้ท้าทายเหล่านี้ยังคงต่อต้านโดยมีราคาที่ต้องจ่ายคือชีวิต อวัยวะ หรือเสรีภาพของพวกเขา ควรบันทึกด้วยว่า วิธีการที่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินบังคับใช้หลังการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงนั้น พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้สร้างวิธีปฏิบัติของรัฐบาลเป็นสองมาตรฐาน นอกจากที่แกนนำหลักของ นปช. ยังคงถูกควบคุมตัวและมีความเป็นไปได้ที่จะถูกตัดสินประหารชีวิตจากข้อหาก่อ การร้ายแล้วนั้น และเมื่อ 10 มิ.ย. มีรายงานว่ารัฐบาลได้จับผู้ที่เกี่ยวข้องกับคนเสื้อแดงแล้ว 417 คน ส่วนใหญ่ถูกตั้งข้อกล่าวหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ในจำนวนนี้มีหลายรายที่ถูกสอบสวนและตัดสินโทษภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังจาก ถูกจับ และเมื่อ 26 มิ.ย. นายสมบัติ บุญงามอนงค์ นักกิจกรรมถูกควบคุมตัวและตั้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ขณะที่เขาผูกริบบิ้นสีแดงที่สี่แยกราชประสงค์เพื่อรำลึกถึงผู้ที่ถูกสังหาร โดยรัฐซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนก่อนหน้า การที่รัฐบาลควบคุมบังคับคนเสื้อแดงอย่างสุดขั้วนั้น ขัดแย้งอย่างยิ่งกับการผ่อนปรนให้กับการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่มีรูปแบบใกล้เคียงกันของผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตย/กลุ่มคนเสื้อหลากสี และองค์กรของพวกเขาที่กระทำในช่วงเวลาเดียวกัน ไม่มีใครถูกจับระหว่างที่นักกิจกรรมฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลนับพันชุมนุมที่ ลานพระบรมรูปทรงม้าและ ถ.สีลม ในการฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ห้ามการรวมกลุ่มทางการเมืองใดๆ ในขณะที่คนเสื้อแดงชุมนุมที่ราชประสงค์นั้น เมื่อ 22 เม.ย. กลุ่ม “เสื้อหลากสี” ถูกตำรวจไล่ตามหลังจากผู้ชุมนุมเหล่านี้โจมตีที่ชุมนุมของคนเสื้อแดงซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า แต่คนเสื้อหลากสีนี้ก็ได้รับการอารักขาอยู่หลังแนวทหาร บันทึกวิดีโอได้แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ทหารเล็งปืนมายังศีรษะของเจ้า หน้าที่ตำรวจซึ่งอยู่ระหว่างไล่จับกองกำลังของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล ในช่วงเวลาของการดำรงตำแหน่ง รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้พยายามควบคุมการแพร่กระจายข้อเท็จจริงและความคิดเห็นที่ มีต่อเหตุการณ์ที่เป็นไปในทางตรงกันข้ามกับรัฐบาลด้วยการใช้ พ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อย่างเข้มข้น โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ [143] ที่แต่งตั้งโดยทหารผ่านกฎหมายนี้ออกมา เมื่อ 10 มิ.ย. 2550 โดยสิ่งที่แทรกอยู่ในเนื้อหาของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือ บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการระบุความผิดเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อความใน คอมพิวเตอร์ “ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร … หรือ [] มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน[144]ซึ่งบทบัญญัติที่คลุมเครือนี้ ต้องตีความโดยอัตวิสัยอย่างยิ่ง และด้วยความดกดื่นของการสื่อสารด้วยอินเทอร์เน็ตซึ่งมีเครื่องมือทลายการปิด กั้นอย่างทรงพลัง ทำให้รัฐบาลพบว่ามีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายที่มีเนื้อหากีดกันเสรีภาพนี้ใน ทางตรงข้ามกับสิ่งที่กฎหมายบัญญัติ ในช่วงที่มีการชุมนุมรอบล่าสุด เว็บไซต์ส่วนใหญ่ที่ตกเป็นเป้าหมายของรัฐบาลจึงถูกสั่งปิดกั้น (บล็อก) โดยไม่มีการยื่นเรื่องร้องขอต่อศาล เมื่อไม่นานมานี้ ศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ซึ่งตั้งตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ซึ่งตั้งหลังจากประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ได้เพิ่มมาตรการยับยั้งการเผยแพร่ข้อเท็จจริงที่รัฐบาลไม่ต้องการให้เปิดเผย และข้อมูลที่รัฐบาลไม่พอใจ ผ่านการบังคับใช้กฎหมายโดยอ้างตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยทั้ง ศอ.รส. และ ศอฉ. ได้ปิดกั้นเว็บไซต์โดยอ้างตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในขณะที่เว็บไซต์ที่ถูกปิดนี้มักเกี่ยวข้องกับการชุมนุมต่อต้านรัฐบาล เว็บข่าวอิสระ และเว็บไซต์ที่เปิดให้แสดงความคิดเห็นรวมอยู่ด้วย [145] ทั้งนี้ ตามที่โฆษกรัฐบาลแถลงชี้แจง เว็บไซต์ที่ถูกปิดเนื่องจากเผยแพร่ข้อมูลที่ “เป็นเท็จ” อย่างเช่น “อภิสิทธิ์อนุญาตให้ใช้กำลังจัดการผู้ชุมนุม [146] ในเวลาเดียวกัน รัฐบาลได้ปิดสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม PTV นิตยสาร 5 ฉบับ สถานีวิทยุชุมชนซึ่งดำเนินการโดยผู้ชุมนุมเสื้อแดง ทั้งนี้โดยอ้างตามประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และการปิดกั้นถือเป็นเรื่องจำเป็นอีกครั้งหนึ่ง โดยนายอภิสิทธิ์ระบุว่า “เพื่อฟื้นฟูสันติภาพและความสงบเรียบร้อยและเพื่อหยุดการเผยแพร่ข้อมูลที่ ผิดไปยังสาธารณชนชาวไทย” [147] 7.4 เสื้อแดงนะหรือคือผู้ก่อการร้าย พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อ้างถึงสถานการณ์ที่รัฐบาลอาจจะระงับสิทธิตามรัฐธรรมนูญของประชาชนได้หลาย ทาง ซึ่งก่อให้เกิดคำถามต่อความเหมาะสมของการประกาศใช้และการยืดอายุ พ.ร.ก.ออกไปอย่างไม่มีกำหนดโดยอ้างตาม พ.ร.ก. ในมาตรา 11 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งให้อำนาจรัฐบาลอย่างกว้างขวางที่สุด เป็นตัวอย่าง "ในกรณีที่สถานการณ์ฉุกเฉินมีการก่อการร้าย การใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคง ของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล" ข้ออ้างในการใช้อำนาจอย่างเผด็จการทำให้รัฐบาลต้องทำการรณรงค์ผ่านสื่อโดยมี เป้าหมายที่จะอธิบายภาพของคนเสื้อแดงว่าเป็นขบวนการเคลื่อนไหวที่ใช้ความ รุนแรงอันเป็นภัยต่อความเป็นเอกภาพและความมั่นคงของชาติไทย รัฐบาลยังคงยืนยันเหตุผลในการบังคับใช้ พรก.ฉุกเฉินฯ ต่อไปโดยกล่าวอ้างถึงความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้การจัดการของ นปช. (และความเคลื่อนไหวในขอบเขตที่กว้างกว่าในนามของคนเสื้อแดง) รวมถึงข้อกล้าวหาว่าคนเสื้อแดงกำลังเคลื่อนไหวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการ เมือง ตั้งแต่การชุมนุมเริ่มขึ้น แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามทำให้ประชาชนรู้สึกว่าผู้ชุมนุมเสื้อแดงถูกจ้างหรือ ล้างสมองให้เข้าร่วมการชุมนุม แต่รัฐบาลยังใส่ใจ/ระวัง ที่จะย้ำว่า อย่างน้อยที่สุด ความคับข้องใจทางเศรษฐกิจของมวลชนเสื้อแดงเป็นเรื่องชอบธรรมตามกฎหมาย สิ่ง ที่เรียกกันว่า“แผนปรองดอง” ซึ่งนายกรัฐมนตรีประกาศเมื่อเดือนพฤษภาคม มีคำมั่นสัญญาว่านโยบายทางสังคม ใหม่จะแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมทางสังคมที่ขยายไปทั่วประเทศได้ ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้ละเลยวาระทางการเมืองของ นปช. เรื่องความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ในด้านหนึ่ง รัฐบาลอภิสิทธิ์ปฏิเสธข้อกล่าวหาเรื่องความไม่ชอบธรรม และโต้เถียงว่า เขาได้ขึ้นสู่อำนาจผ่านกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ขณะที่อีกด้านรัฐบาลทำให้ข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดงที่ต้องการให้มี “การทำให้ประเทศไทยเป็นประชาธิปไตย” กลายเป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายอะไรมากไปกว่าการกระทำที่ตั้งใจจะปกปิดเป้า หมายบางอย่างเอาไว้เบื้องหลัง ข้อกล่าวหาที่ถูกนำมาใช้กับคนเสื้อแดงมากที่สุดคือการบอกว่า วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของพวกเขาคือการสร้าง “รัฐไทยใหม่” ซึ่งจะทำให้ปราศจากสถาบันกษัตริย์ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะ และแทนที่ด้วยระบอบสาธารณรัฐที่ปกครองโดยประธานาธิบดี ซึ่งอย่างน้อยในช่วงเริ่มต้น สันนิษฐานกันว่าจะนำโดยทักษิณ ชินวัตร ข้อกล่าวหานี้มีความเป็นมาอย่างยาวนาน ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ฝ่ายตรงข้ามของทักษิณอ้างเหตุผลเรื่องความจำเป็นในการปกป้องสถาบันกษัตริย์ ในการต่อสู้เพื่อกำจัดเขาออกจากตำแหน่ง ข้อกล่าวหานี้ติดต่อมาถึงกลุ่มคนเสื้อแดง แม้ว่าแกนนำจะปฎิเสธเรื่องนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า หลังจากประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รัฐบาลได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงการค้นพบเครือข่ายซึ่งมีความสลับซับซ้อน และเกี่ยวพันกับแนวร่วมที่สมรู้ร่วมคิดกันโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ หลักฐานเพียงอย่างเดียวที่ ศอฉ. แสดงก็คือแผนผังที่ยุ่งเหยิงซึ่งโยงรายชื่อหลายสิบชื่อของแกนนำคนเสื้อแดง นักการเมืองฝ่ายตรงข้าม นักเขียน/บรรณาธิการสื่อที่เห็นต่าง อาจารย์มหาวิทยาลัย และนักธุรกิจจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง อภิสิทธิ์ใช้ “การค้นพบ” นี้เป็นข้ออ้างในการคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยอ้างว่า อำนาจที่เพิ่มขึ้นมานี้จะช่วยให้ ศอฉ. ได้มองทะลุถึงแผนการและดำเนินการอย่างเด็ดขาดยิ่งขึ้นเพื่อปกป้องสถาบัน กษัตริย์ [148] ในการแถลงของรัฐบาลต่อสาธารณะหลายครั้งนั้น จากเดิมที่คนเสื้อแดงถูกกล่าวหาว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติได้ถูกขยายจน กลายเป็น “ผู้ก่อการร้าย” คนเสื้อแดงถูกกล่าวหาว่ายั่วยุหรือกระทำการเพื่อให้เกิดความรุนแรง หลังสลายการชุมนุม รัฐบาลยื่นฟ้องข้อหาก่อการร้ายกับแกนนำ นปช.หลายสิบคนรวมถึงทักษิณ ชินวัตร ซึ่งถูกกล่าวหาโดยปราศจากหลักฐานว่า เกี่ยวข้องโดยตรงกับการกระทำการก่อการร้ายและเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินแก่ การชุมนุม อินเตอร์เนชั่นแนลไครซิสกรุ๊ป กลุ่มแก้ปัญหาวิกฤติระหว่างประเทศ (International Crisis Group) ลงความเห็นว่า “เป็นเรื่องยากที่จะอธิบายว่า บทบาทของทักษิณต่อเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อเร็วๆ นี้ เข้าข่ายคำจำกัดความของการก่อการร้าย แบบที่แพร่หลายในระหว่างประเทศ” [149] แกนนำคนเสื้อแดง 10 คนไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว ตั้งแต่หลังการปราบปรามเป็นต้นมา แม้ว่า จะมีการใช้คารมที่เผ็ดร้อนของผู้ปราศรัยบางราย แต่แทบจะไม่มีหลักฐานใดเลยที่เชื่อมโยง นปช.และแกนนำหลักเข้ากับเหตุการณ์ความรุนแรงที่พวกเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ ลงมือกระทำ ประการแรก รัฐบาลล้มเหลวในการหาข้อมูลที่เชื่อถือได้ที่จะโยงแกนนำคนเสื้อแดงเข้ากับ เหตุระเบิดหลายสิบครั้งที่เกิดขึ้นกับธนาคาร กรมทหาร สถานที่ราชการ ที่ทำการพรรค บ้านพักส่วนตัวของนายบรรหาร ศิลปอาชา นักการเมืองพรรคร่วมรัฐบาล ในช่วงเริ่มต้นการชุมนุม ถึงแม้จะมีผู้สังเกตการณ์บางรายมองว่า มีกลุ่มอื่นๆ นอกเหนือจากคนเสื้อแดงที่ได้ประโยชน์กว่ามากจากการสร้างบรรยากาศความกลัวที่ เกิดจากเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ แต่รัฐบาลกลับกล่าวหาคนเสื้อแดงโดยอัตโนมัติ เหตุระเบิดก่อนการชุมนุมจะเริ่มไม่นานนั้นเป็นเครื่องมือเพื่อให้รัฐบาล ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ขณะที่เหตุระเบิดที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น มีความสำคัญในการใช้เป็นเหตุผลในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน อีกด้านหนึ่ง กรมสอบสวนคดีพิเศษประกาศโครมๆ ว่า เมื่อวันที่ 20 มีนาคม คนเสื้อแดงวางแผนโจมตีวัดพระแก้ว ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของไทย ด้วยเครื่องยิงจรวดอาร์พีจี แต่ล้มเหลว โดยอ้างอิงจาก“คำรับสารภาพ” ของชายคนหนึ่งซึ่งระบุว่า ได้รับเงินจากนักการเมืองคนหนึ่งให้ปฎิบัติการระเบิดครั้งนี้ [150] นับตั้งแต่รัฐบาลออกมากล่าวอ้างถึงแผนการดังกล่าว ก็ไม่มีอะไรให้รับรู้อีกหลังจากนั้น ประการที่สอง ขณะที่ยังไม่ทราบว่า “ชายชุดดำ” ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นผู้สังหารเจ้าหน้าที่ทหารระหว่างการปะทะกันเมื่อวัน ที่ 10 เมษายน เป็นใคร หน่วยรบพิเศษนี้ถูกมองว่าเป็นเจ้าหน้าที่ทหารที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี ไม่ว่าจะเกษียณแล้วหรือยังปฎิบัติราชการอยู่ก็ตาม [151]แม้ว่ารัฐบาลจะอ้างว่าคนเหล่านี้ทำงานให้กับคนเสื้อแดง โดยอาจปฎิบัติตามคำสั่งของพล.อ.ขัตติยะ สวัสดิผล (เสธ.แดง) แต่รัฐบาลก็ไม่เคยมีหลักฐานเพื่อสนับสนุนการกล่าวอ้างนั้น ในหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ซึ่งเป็นสื่อที่สนับสนุนกลุ่มอำนาจเก่า อาวุธ ปานะนันท์ คอลัมนิสต์หัวอนุรักษ์คาดการณ์เมื่อเร็วๆ นี้ว่า การสังหาร พล.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรมน่าจะมีเกี่ยวข้องกับการที่กลุ่มทหารเสือราชินีและ “บูรพาพยัคฆ์ [152] ครองอำนาจในกองทัพ ประการที่สาม รัฐบาลโทษว่าเป็นฝีมือของ นปช. โดยทันที หลังมีการโจมตีด้วยระเบิดเอ็ม 79 ที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีศาลาแดง ระหว่างการเผชิญหน้ากันของกลุ่มคนเสื้อแดงและกลุ่ม“เสื้อหลากสี” ซึ่งเป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล เมื่อวันที่ 22 เมษายน อันเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ขณะที่ผู้ต้องสงสัยซึ่งถูกจับได้ในตอนแรกกลับถูกปล่อยตัวอย่างรวดเร็ว ขัดกับการลงความเห็น ศอฉ. ที่ว่าระเบิดถูกยิงมาจากพื้นที่ชุมนุมคนเสื้อแดงใกล้กับอนุสาวรีย์รัชกาลที่ 6 มีประจักษ์พยานซึ่งอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมฝั่งสนับสนุนรัฐบาลอ้างว่าระเบิดถูก ยิงมาจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง [153] ประการที่สี่ รัฐบาลเตือนประชาชนหลายครั้งว่า กลุ่มคนเสื้อแดงมีอาวุธร้ายแรงและมีคลังอาวุธขนาดใหญ่อยู่ในที่ชุมนุม หลายวันหลังเหตุสังหารหมู่ 13-19 พฤษภาคม ศอฉ.โชว์อาวุธซึ่งออกจะน้อยกว่าที่คาด โดยอ้างว่าถูกพบที่สี่แยกราชประสงค์ในระหว่างปฏิบัติการเคลียร์พื้นที่ต่อ ผู้สื่อข่าวและทูตานุทูตต่างประเทศ [154] ด้วยคลังอาวุธที่ไม่มากมายนัก เทียบกับตัวเลขผู้ประสบภัยที่ไม่ได้ดุลกันในการสลายการชุมนุมเผยให้เห็นว่า การมีอาวุธร้ายแรงในหมู่คนเสื้อแดงนั้นเป็นเรื่องไม่สลักสำคัญ จากการรายงานจนถึงวันที่ 19 พฤษภาคม คนเสื้อแดงตอบโต้ทหารด้วยอาวุธที่ทำขึ้นเองหรืออาวุธโบราณขนาดเล็ก ขณะที่มีผู้ชุมนุมน้อยกว่าหยิบมือที่ถูกพบจริงๆ ว่าใช้ปืนและระเบิด ท้ายที่สุด รัฐบาลก็คงยืนยันว่าเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นทั่วกรุงเทพฯ จำนวน 39 แห่งนั้นเกิดขึ้นจาก “การวางแผนและการเตรียมการอย่างเป็นระบบ” [155] อย่างไรก็ตาม ศอฉ. ไม่สามารถอ้างหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่ามีการสมรู้ร่วมคิด แกนนำเสื้อแดงส่วนใหญ่ถูกควบคุมตัวแล้วในช่วงที่มีการวางเพลิงและได้ประกาศ ให้ผู้ชุมนุมสลายการชุมนุมไปแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น คำถามที่สำคัญยังคงเป็นเรื่องของเวลาที่เกิดเหตุที่หน้าห้างสรรพสินค้า เซ็นทรัลเวิลด์ และความเสียหายจากการกระทำของกองทัพซึ่งส่งผลต่อความรวดเร็วในการเดินทางไป ยังที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเพื่อดับไฟ ที่เลวร้ายที่สุดก็คือมีหลักฐานบ่งชี้ว่าเพลิงนั้นถูกจุดขึ้นด้วยความขุ่น ข้องหมองใจของผู้สนับสนุนฝ่ายเสื้อแดงในสภาพไร้การนำ ผู้ที่ได้รู้เห็นช่วงเวลาแห่งการสังหารหมู่ ซึ่งทหารได้คร่าชีวิตคนในครอบครัว เพื่อน และเพื่อนร่วมอุดมการณ์ของพวกเขา แต่แม้ในบริบทเช่นนั้นก็ตาม การทำลายอาคารพาณิชย์ที่ทำประกันภัยไว้อยู่แล้วถือเป็นเรื่องที่อภัยให้ไม่ ได้ ขณะที่โศกนาฏกรรมของมนุษย์ที่ได้เปิดเผยตัวก่อนจะเกิดเหตุการณ์การวางเพลิง ที่คนเสื้อแดงถูกหาว่าเป็นผู้ก่อขึ้น กลับเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินกว่าจะเข้าใจได้ แม้จะขาดแคลนพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือ แต่การวาดภาพคนเสื้อแดงในฐานะ “ผู้ก่อการร้าย”ก็สร้างเหตุผลสนับสนุนให้ฝ่ายรัฐบาลใช้อำนาจเผด็จการและอ้างเป็นความจำเป็น ในการสลายการชุมนุมด้วยความรุนแรงอย่างที่เคยทำเมื่อวันที่ 10 เมษายนอีกครั้งและนำไปสู่การสลายไปของการประท้วงในวันที่ 19 พฤษภาคม มันมีค่าควรแก่การหมายเหตุไว้ด้วยว่า การวาดภาพปีศาจอย่างเป็นระบบให้กับผู้ชุมนุมซึ่งเป็นฝ่ายนิยมประชาธิปไตย เพื่อสร้างการสนับสนุนจากสาธารณะให้แก่ฉากต่อเนื่องของความรุนแรงโดยรัฐ เป็นเทคนิคที่ถูกใช้มาอย่างยาวนานในประเทศไทย ในเหตุการณ์เมื่อไม่นานนี้ก็เช่นกัน ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 ผู้ประท้วงถูกวาดภาพว่าเป็น “นักปฏิวัติ” หัวรุนแรง ดังนั้นแล้ว รัฐบาลทหารจึงทำเช่นเดียวกับที่ทำอยู่ขณะนี้คือกล่าวหาผู้ประท้วงว่าต้องการ จะล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข [156] และเช่นเดียวกับที่ทำอยู่ขณะนี้ รัฐบาลทหารประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและประกาศว่าปฏิบัติการที่รุนแรงจะถูกนำมา ใช้เพื่อจัดการกับ “ผู้ก่อจลาจล” [157] เช่นเดียวกับที่ทำอยู่ขณะนี้รัฐบาลทหารอ้างว่าทหารยิงปืนเพียงเพื่อป้องกันตัว [158] ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างเหตุการณ์ปัจจุบันกับเหตุการณ์ก่อนหน้านั้นก็ คือ ในปี 2535 ผู้คนในกรุงเทพฯ แสดงท่าทีรังเกียจต่อการสังหารหมู่และความพยายามปกปิดการกระทำของทหาร ขณะที่ครั้งนี้คนชั้นกลางระดับบนในกรุงเทพฯ ปรบมือให้กับการสังหารหมู่ซึ่งรัฐบาลทหารดำเนินการด้วยแรงจูงใจที่จะหลีก เลี่ยงการเลือกตั้งซึ่งดูเหมือนว่าพรรคที่สนับสนุนต่อผลประโยชน์ของกลุ่ม อำนาจเก่าจะต้องพ่ายแพ้ การวาดภาพคนเสื้อแดงอย่างเป็นระบบโดยคณะทหารในปัจจุบันยิ่งเป็นการย้ำ เตือนอย่างเด่นชัดถึงวิธีการที่กองทัพใช้อ้างต่อสาธารณะในการฆาตกรรมนัก ศึกษาผู้นิยมประชาธิปไตยหลายสิบชีวิต ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โดยมีบางรายถูกข่มขืน ทรมาน ทำให้พิการ เผาทั้งเป็น [159]คล้ายกันกับคนเสื้อแดง นักศึกษาในธรรมศาสตร์ถูกกล่าวหาด้วยความเท็จว่ามีคลังแสงขนาดใหญ่อยู่ในหอ ประชุมของมหาวิทยาลัย คล้ายกันกับคนเสื้อแดง นักศึกษาเหล่านั้นถูกลดทอนความเป็นมนุษย์ผ่านภาษาของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยการกล่าวถึงพวกเขาในฐานะสัตว์ชั้นต่ำ ไม่ใช่คนไทย และด้วยเพลง “หนักแผ่นดิน” ซึ่งเป็นเพลงปลุกใจที่มีชื่อเสียงมากในทศวรรษ 2520 (ถูกนำมาปัดฝุ่นครั้งล่าสุดโดยพันธมิตรฯ) และที่เหมือนกันอย่างมากระหว่างคนเสื้อแดงและนักศึกษาในยุคนั้นก็คือพวกเขา ถูกกล่าวหาว่ากระทำการคุกคามสถาบันกษัตริย์ ถูกแทรกซึมโดยต่างชาติ และเผยแพร่แนวคิดหัวรุนแรง ในปี 2519 นักศึกษาถูกป้ายสีว่าเป็น “คอมมิวนิสต์” วันนี้รัฐบาลได้พัฒนาศัพท์ใหม่เพื่อให้เข้ากับบริบทภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยน ไปและปักป้ายให้กับคนเสื้อแดงว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” วิธีที่กองทัพจัดการกับคนเสื้อแดงนั้นชวนรำลึกไปถึงเหตุการณ์การปราบปราม นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อ 34 ปีที่แล้ว ในปี 2519 กองทัพอาศัยกองกำลังของกลุ่มฝ่ายขวาราชานิยมสุดโต่งซึ่งทำตัวเป็นศาลเตี้ย เช่นลูกเสือชาวบ้าน และกลุ่มกระทิงแดงในการสังหารหมู่นักศึกษา การใช้ความรุนแรงในครั้งนั้นเป็นสิ่งที่ผสานสอดคล้องไปกับข้ออ้างในการทำรัฐ ประหาร เช่นเดียวกัน ในปลายเดือนเมษายน 2553 รัฐบาลก็อาศัยกลุ่มศาลเตี้ยซึ่งเป็นกองกำลังฝ่ายขวาราชานิยมซึ่งส่วนใหญ่ก็ คือมวลชนของพันธมิตรฯ ที่หันมาสวม “เสื้อหลากสี”ทำการยั่วยุให้เกิดการเผชิญหน้าที่มีแนวโน้มของความรุนแรงในพื้นที่สีลมก็ เหมือนกับที่รัฐบาลทหารชุดปัจจุบันเป็นอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลที่ถูกแต่งตั้งโดยทหารในปี 2519 (นำโดยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งองคมนตรี) อยู่ในฐานะที่ต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อเหยื่อของการสังหารหมู่ นี่จึงเป็นเหตุให้เกิดการสร้างระบอบการปิดกั้นอย่างเข้มงวด สรุปอย่างรวบรัดชัดเจน ผู้ที่ฆาตกรรมนักศึกษาซึ่งไม่มีการกระทำผิดใดๆ ไล่ล่าฝ่ายต่อต้านอย่างไม่ลดราวาศอก กดดันผู้คนจำนวนหลายพันคนให้หลบหนีออกนอกประเทศหรือเข้าร่วมกับพรรค คอมมิวนิสต์ในภาคเหนือและอีสาน เป็นที่น่าสังเกตว่าในปี 2519 และปี 2553 นั้น การที่รัฐบาลวาดภาพปีศาจอย่างเป็นระบบให้กับผู้ชุมนุมเรียกร้องนั้นดูจะ ประสบความสำเร็จในการสร้างความหวาดกลัวให้กับชนชั้นกลางระดับบนในกรุงเทพฯ หรืออย่างน้อยก็รู้สึกมั่นคงกับการไม่แยแสของตัวเอง ยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่แตกต่างจากเหตุการณ์ความรุนแรงของรัฐในปี 2516 และ 2535 คือ การสังหารหมู่ในปี 2519 และ 2553 ไม่ได้ส่งผลให้พระมหากษัตริย์เข้ามาแทรกแซง เส้นขนานทางประวัติศาสตร์ชี้ให้เห็นข้อเท็จจริงว่ากระแสการชุมนุมและความ รุนแรงระลอกล่าสุดนั้นมาจากต้นร่างเดียวกัน อันส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ 2516,2519 และ 2535 จากกรณีทั้งหมดที่เกิดขึ้น คนเสื้อแดงเรียกร้อง “ประชาธิปไตย” กลับถูกอธิบายโดยรัฐบาลว่าเป็นเพียงฉากหน้าของอุดมการณ์ที่คุกคามความมั่นคง แห่งรัฐไทย จากกรณีทั้งหมดที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ คนเสื้อแดงมีส่วนร่วมในการก่อความรุนแรงบางประการ ปล้นสะดม และทำลายทรัพย์สิน ส่วนมากในสถานการณ์เมื่อพวกเขาถูกโจมตี แต่พวกเขาไม่ใช่ “ผู้ก่อการร้าย” ติดอาวุธ หรือ “นักปฏิวัติมาร์กซิสม์” ดังที่รัฐบาลอุปโลกน์ให้พวกเขาเป็น อย่างไรก็ตาม จากกรณีทั้งหมดที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ข้อกล่าวหาเรื่องอุดมการณ์แบบสุดโต่งและมีแนวโน้มจะก่อความรุนแรงเป็น เครื่องมือสำคัญที่กองทัพสร้างขึ้นเพื่อสร้างความชอบธรรมในการกำหนดมาตรการ ปราบปรามพิเศษ และยิงผู้ชุมนุมที่ปราศจากอาวุธจำนวนมากได้ โดยได้รับการยกเว้นโทษอย่างเต็มพิกัด และอย่างที่เคยเป็นมา กลุ่มอำนาจเก่าของไทยตอบรับการเรียกร้องประชาธิปไตยด้วยการทำลายความเป็น มนุษย์ของฝ่ายตรงข้าม ล้มล้างหลักนิติรัฐ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนในระดับที่กว้างขวาง
แปลโดย ประชาไท
การปิดกั้นทางเข้า-ออก อาคารหรือสถานที่ในทางที่จะเป็นการกีดขวางการขนส่ง การทำธุรกรรม หรือการดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป
การโจมตีหรือใช้กำลังในทางที่จะสร้างความเสียหาย ความหวาดกลัว ความวุ่นวาย และความวิตกกังวลต่อความปลอดภัยในชีวิต เลือดเนื้อ และทรัพย์สิน ของประชาชน
เพื่อไทย
Sunday, August 1, 2010
อ่านที่นี่ "สมุดปกขาว" ของโรเบิร์ต อัมเสตอร์ดัม ฉบับสมบูรณ์ ตอน 2
โดย ลูกชาวนาไทย
(ตอน 2)
"สำนักกฎหมาย Amsterdam & Peroff"
000