ที่มา thaifreenews
โดย Porsche
เรียบเรียงโดย Nangfa
คอลัมน์ เมืองไทยหรือเมืองใคร?
เรื่อง สี่ปีได้กี่ก้าว?
โดย กาหลิบ
เขา ประมาณกันไว้ว่าต้องสิบปีขึ้นไปกว่าจะถือว่าอะไรเป็นประวัติศาสตร์ได้
เหตุการณ์บางอย่างเร้าอารมณ์ความรู้สึกของผู้มีส่วนร่วมอย่างรุนแรง
จนคิดว่าสำคัญและเป็นประวัติศาสตร์ไปหมดในขณะที่เกิด
จนเวลาผ่านไปนานพอจึงเกิดระลึกรู้ได้ว่า
อะไรสำคัญมากน้อย
อะไรอยู่นานพอที่จะช่วยกำกับสติของเราไปชั่วชีวิต (อันสั้น) ได้ และ
อะไรจะเลือนหายไป
แต่ สี่ปีหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
น่าจะเริ่มนับหนึ่งในความเป็นประวัติศาสตร์ได้
เวลาเพียงสี่ปีย่อมไม่ใช่สิบปี
แต่ความครบวงจรครั้งแล้วครั้งเล่าของเหตุการณ์การเมืองในเมืองไทย
ทำให้เราย่นย่อประวัติศาสตร์ที่ควรต้องยาวนานกว่านั้นมาพิจารณากันในเวลาอัน สั้นได้
เรา เห็นการรัฐประหารโค่นล้มทำลายระบบรัฐสภาและระบอบประชาธิปไตยโดยสิ้นเชิง
และการก่อรูปใหม่ของสภาผู้แทนราษฎรและรัฐบาลที่เกิดจากสภานั้นถึงสองรัฐบาล
ก่อนจะเห็นประชาธิปไตยถูกบิดเจตนารมณ์ไปอีกครั้งในรัฐบาลที่สามของสภาเดียว กัน
เรา ได้เห็นการกำเนิดของมวลชนธรรมชาติ ผสมผสานกับกิจกรรมของนักการเมือง
และนักเลือกตั้งในระดับที่ไม่เคยเห็นกันมา ก่อน
จนกลายเป็นต้นทุนใหม่ของระบอบประชาชน
และเราก็ได้เห็นการล้อมฆ่าประชาชนเหล่านั้นอย่างเลือดเย็น
และไม่แสดงความ รู้สึกผิดชอบชั่วดีใดๆ
เรา ได้เห็นนักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ
กลุ่มที่เห็นว่าระบอบประชาชนเกิดขึ้นแล้วจริงและพร้อมทำงานใหญ่
ในการ เปลี่ยนแปลงประเทศไทยร่วมกับมวลชนเหล่านั้น กับกลุ่มที่ไม่เชื่อว่า
เมืองไทยจะสามารถพัฒนาการเมืองไปได้มากกว่าที่เป็น อยู่
และพร้อมกระโดดกลับไปร่วมเตียงกับมหาอำมาตย์และบริษัทบริวาร
ที่ประชาชนลุก ขึ้นสู้
และถูกเขาฆ่าตายไปเป็นร้อยๆ เพื่อความอยู่รอดและความรุ่งเรืองของตน
นี่คือตัวอย่างของความครบวงจรและการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทย
ในเวลาอันสั้นจากรัฐประหารครั้งที่ ๑๐ ของประวัติศาสตร์การเมืองไทย
แล้วเราเดินสู่ถนนสายประชาธิปไตยได้เพิ่มอีกกี่ก้าวในสี่ปีนี้?
๑. การกำเนิดขึ้นของระบอบประชาชน/มวลชนที่ไม่ต้องคอยรับน้ำเลี้ยง
และวิ่งหาพ่อแม่ทางการเมืองจากหน้าไหน
๒. การเปิดเผยปัญหาของระบอบการเมืองไทยจนถึงที่สุดและมีความกล้าหาญ
ในการ แสดงออกเพิ่มขึ้นทุกวันโดยไม่หวั่นเกรงอิทธิพลและบารมีใดๆ เหมือนก่อน
๓. การคัดกรองนักการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในใจประชาชน
โดยแบ่งออกเป็นพวกที่สู้ถึงที่สุดและไม่ถึงที่สุด (บางคนใช้คำว่า “บางซื่อ/หัวลำโพง”)
๔. มวลชนผู้มีความรู้และทักษะต่างระดับถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพในขบวนประชาธิปไตย
๕. ความสนใจและการมีส่วนร่วมทางการเมืองแผ่กว้างและลงลึกในสังคมไทย
โดยไม่แบ่งชนบทและเมือง ไม่แบ่งอายุ เพศ ภูมิหลังของชีวิต ศาสนา
และแม้กระทั่งระดับการศึกษา อย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนในสังคมของเรา
ก้าว เดินเหล่านี้เดิมเป็นเพียงฝันของบรรพบุรุษประชาธิปไตยอย่างคณะเปลี่ยนแปลง
การปกครองเมื่อ รศ. ๑๓๐ และคณะราษฎร์ใน พ.ศ.๒๔๗๕
แต่บัดนี้กำลังเกิดขึ้นและเข้มแข็งขึ้นด้วยสถานการณ์
จนแทบจะบอกไม่ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป
แน่ นอนว่ายังอีกหลายก้าวนักกว่าจะถึงหลักชัยอันสมบูรณ์
แต่อย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่าก้าวเดินเหล่านั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง
เพราะเส้นทางสว่างขึ้นจากก้าวที่เราเดินร่วมกันมาแล้ว
และจุดคบมาเรื่อยๆ ตามรายทาง
ความใส่ใจและมีส่วนร่วมของประชาชนต้องกลายเป็นความมั่นใจและกล้าหาญพอ
ที่จะลุกขึ้นสู้
นักการ เมือง/นักเลือกตั้งที่ไม่ยอมพัฒนา
เอาประโยชน์เฉพาะหน้าของตนและเครือข่ายเป็นหลัก
จนเสียระบอบประชาธิปไตยครั้ง แล้วครั้งเล่า ต้องออกไปจากการเมือง
ต้อง ประกาศศัตรูตัวจริงของระบอบประชาธิปไตยไทยอย่างไม่คลุมเครือ
อธิบายทักษะทางการเมือง
และวิถีอำนาจของเขาจนเป็นที่แจ่มแจ้งโดยทั่วกัน
เพื่อ เป็นฐานการต่อสู้ของฝ่ายประชาชน
และอื่นๆ อีกมาก
รัฐ ประหารเมื่อวันอังคารที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ คือ
ความมืดมิดของบ้านเมืองจริง แต่เป็นเพียงการดับเทียนดวงเล็กๆ
ที่ทำให้มืดลงชั่วคราว
ก่อนที่ประชาชนจะช่วยกันหล่อเทียนพรรษาขึ้นทั่วประเทศและจุดจนสว่างไสวเท่า นั้น.
http://democracy100percent.blogspot.com/2010/09/blog-post_17.html