WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, September 17, 2010

ที่มา มติชน


โดย ประสงค์ วิสุทธิ์

คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 มีมติแต่งตั้งนางบุญยิ่ง นิติกาญจนา เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ตามที่นางพรทิวา นาคาสัย เจ้ากระทรวงเสนอ


นางบุญยิ่ง มีสามีชื่อนายวิวัฒน์ นิติกาญจนา อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย จ.ราชบุรีเขต 2 สังกัดกลุ่มวังน้ำยมที่มีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นหัวหน้ากลุ่ม


เมื่อนายสมศักดิ์แยกออกมาตั้งพรรคพรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้ให้นายวิวัฒน์ เป็นรองหัวหน้าพรรค(เนื่องจากนายสมศักดิ์ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่งการยุบพรรคไทยรักไทย) มีนางพรทิวา เป็นเลขาธิการพรรค


ปัจจุบัน นางพรทิวา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สังกัดภรรคภูมิใจไทย(ในฐานะเลขาธิการพรรค)ในโควต้าของกลุ่มนายสมศักดิ์ เทพสุทิน


ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่นางบุญยิ่ง ภรรยานายวิวัฒน์(ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย)ได้รับแต่งตั้งเป็นกุนซือของนางพรทิวา

นอก จากความสัมพันธ์ทางการเมืองที่แนบแน่นแล้ว การได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี ย่อมทำให้นางบุญยิ่งมีอิทธิพลและ เป็นที่เกรงอกเกรงใจของข้าราชการประจำในสังกัดกระทรวงพาณิชย์


เพราะ ในทางปฏิบัติแล้ว รัฐมนตรีอาจมอบหมายงานให้ที่ปรึกษาช่วยดูแลงานด้านใดด้าหนนึ่งหรือที่ปรึกษา บางคนมีบทบาทอย่างสูงในการช่วยรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดิน


แต่แล้วจู่ๆ เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 ก็มี บริษัท กาญจนาพันธ์ ฟาร์ม จำกัด หนองลังกาฟาร์ม และ ไพรสะเดาฟาร์ม (ในเครือของบริษัท กาญจนาฟาร์ม จำกัด ของที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีนายวิวัฒน์ -นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ และผู้ถือหุ้นใหญ่) เข้าร่วมประมูล มันเส้นล็อตใหญ่กว่า 250,251 ตัน มูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาท จากโกดังของรัฐบาลซึ่งเป็นไปตามนโยบายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2551/52


ปรากฏว่า บริษัททั้ง 3 ราย((จากผู้ยื่นประมูล 7 ราย)ผ่านการพิจารณาจากคณะทำงานดำเนินการระบายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่มีนายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นประธานคณะทำงาน


จากนั้นเสนอเรื่องให้นางพรทิวา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านการตลาดมันสำปะหลังอนุมัติและนำเสนอ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลัง


จนกระทั่งมีการนำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรีให้อนุมัติเมื่อวันที่ 24 สิหงาคม 2553 ที่ผ่านมา


อย่างไรก็ตาม ในช่วงการประมูลไม่มีการเปิดเผยว่า บริษัททั้ง3 แห่งเป็นบริษัทในเครือของที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์


แต่ ถูกสื่อมวลชนเปิดโปง มีการนำเอกสารหลักฐานมาเชื่อมโยงให้เห็นกันอย่างชัดเจนว่า บริษัทที่เข้าประมูลรวมถึงตัวบุคคลมีสายสัมพันธ์กันอย่างไรกับบริษัทของที่ ปรึกษารัฐมนตรี (ดู "แกะรอยประมูลมันเส้นฉาว "กาญจนาฟาร์ม & กาญจนพันธ์ฯ" ยึดหัวหาด กวาดเรียบ 2.5 แสนตั" ในมติชน, 13 กันยายน 2553 หรือ มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1284370023&grpid=01&catid=00)


จากพฤติการณ์ดังกล่าวในการประมูล อาจเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 เพราะการที่ผู้เข้าประมูลและชนะการประมูลเป็นบริษัทในเครือของของที่ปรึกษา รัฐมนตรีทั้งหมดอย่างบังเอิญ ทำให้อาจมีการ"ฮั้ว" สมยอมราคาหรือตกลงราคากัน


นอกจากนั้น อาจทำให้สาธารณชนเชื่อว่า มีการใช้อิทธิพลของที่ปรึกษารัฐมนตรีเข้าแทรกแซงการประมูลครั้งนี้ด้วยหรือไม่


การ กระทำผิดในลักษณะนี้ มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่1 - 3 ปี และปรับร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุดหรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับ หน่วยงานของรัฐ


ขณะ เดียวกัน ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจอนุมัติ การพิจารณาหรือการดำเนินการใด ๆ( อาจเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาการประมูล รัฐมนตรีเจ้ากระทรวง รองนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ) รู้หรือมีพฤติการณ์ปรากฏแจ้งชัดว่า ควรรู้ว่า การเสนอราคามีการกระทำความผิด ละเว้นไม่ดำเนินการเพื่อให้มีการยกเลิกการการประมูล ต้องมีความผิดฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่1 - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท


การ ที่บริษัทในเครือของที่ปรึกษารัฐมนตรีเข้าร่วมประมูลมันเส้น มูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาทและชนะการประมูลอย่างบังเอิญโดยพร้อมเพรียงดังกล่าว แม้ยังไม่มีกฎหมายที่จะเอาผิดอาญาในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนโดยตรง(เนื่อง จากคณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังไม่ประกาศให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางารเมืองอื่น นอจากคณะรัฐมนตรี เป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องห้ามกระทำตามมาตรา 100 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542)


แต่ พฤติการณ์ดังกล่าวที่ปรากฏอย่างชัดเจน ยังไม่เพียงพออีกหรือที่นายอภสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีที่กล่าวอ้างว่า รังเกียจการทุจริตและวางกฎ 9 ข้อให้รัฐมนตรีปฏิบัติ จะแสดงให้เห็นประจักษ์แจ้งในคำกล่าวอ้างดังกล่าว


เพื่อพิสูจน์ว่า มิใช่ปล่อยการกล่าวอ้างลอยๆเพื่อความอยู่รอดทางการเมืองเท่านั้น