WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, January 24, 2012

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี: ประชาธิปไตยหลายมาตรฐาน

ที่มา ประชาไท

อีกสักพักเราคงจะได้เห็นกันว่า ส่วนผสมระหว่าง อารมณ์ริษยาของพรรคฝ่ายค้าน อาการดัดจริตของสื่อมวลชนไทย และ ประชาธิปไตยแบบหลายมาตรฐานของสหรัฐนั้นจะสำแดงฤทธิ์แรงพอจะทำให้นลินี ทวีสิน ตกจากเก้าอี้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้หรือไม่

พลพรรคประชาธิปัตย์ กำลังใช้ทักษะชั้นสูงในการพูดอ้อมค้อมอย่างฉะฉานเพื่อแสดงให้สังคมไทยเห็น ว่า การที่นลินีโดนจัดอยู่ในบัญชีของกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องโดนคว่ำบาตรของสำนัก งานควบคุมทรัพย์สินต่างประเทศ กระทรวงการคลังสหรัฐในกรณีซิมบับเวนั้นเป็นเรื่องเสื่อมเสียอย่างร้ายแรงต่อ ประเทศชาติและราษฎรไทย (บางคนกำลังพูดว่าต่อความเป็นประชาธิปไตยของไทยด้วย)

พวกเขาไม่พูดว่า การที่นลินีโดนห้ามทำธุรกิจกับบุคคคลหรือนิติบุคคลสัญชาติอเมริกันผิดหรือ ถูกอย่างไร แต่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกรัฐมนตรี ใช้คำว่า การแต่งตั้งบุคคลซึ่งมี “ข้อจำกัด” อันอาจจะกระทบกระเทือนต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลและของประเทศไทยโดยรวม คำพูดของอภิสิทธิ์นั้นรัดกุมมากทั้งในแง่กฎหมายและในแง่การเมือง เขาไม่ได้ว่าอะไรมากไปกว่าจะบอกว่า การที่นลินีติดต่อทำธุรกิจกับบริษัทอเมริกันไม่ได้นั้นคือข้อจำกัด แต่คำพูดนี้มีช่องว่างอยู่ดี เพราะอดีตนายกรัฐมนตรีย่อมรู้อยู่แก่ใจดีอยู่แล้วว่า การเป็นรัฐมนตรีของประเทศไทยนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในบัญชีไหน ก็มีข้อจำกัดในการทำธุรกิจด้วยตัวเองอยู่แล้ว นี่ยังไม่นับว่า รัฐมนตรีในรัฐบาลของเขาก็เคยมีข้อจำกัดทางกฎหมายอยู่ไม่น้อยเช่นกัน บางคนมีข้อจำกัดมากกว่านี้อีก หมายถึงไม่มีความรู้ความสามารถเสียด้วยซ้ำไป ยังได้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลของเขาได้จนสิ้นอายุของรัฐบาล ประการสำคัญ นลินีไม่ได้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศ และหากปรากฎว่านลินีไม่ได้รับมอบหมายให้ต้องติดต่อโดยตรงกับประเทศสหรัฐ เรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นข้อจำกัด

เจ้าหน้าที่ของพรรคประชาธิปัตย์คนอื่นๆที่ฉลาดน้อยกว่าอภิสิทธิ์ พยายามจะแสวงหาความผิดของนลินีแบบตรงๆ ไปเลย โดยการอ้างความคลุมเครือว่า การถูกจัดอยู่ในบัญชีของกระทรวงการคลังเท่ากับการโดนห้ามเข้าประเทศสหรัฐไป ด้วย บางคนไปไกลขนาดว่า นลีนีไม่มีสิทธิ์ซื้อแมคโดนัลกับโคคาโคล่ากินด้วยซ้ำไป เพราะนั่นเป็นการทำธุรกิจกับบริษัทอเมริกันโดยตรง บางคนพยายามพูดว่าเธออาจจะช่วยทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทำธุรกิจเหมืองอัญมณีในแอฟริกา (อันที่จริงอยากพูดว่าความความผิดของเธอคือ เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลน้องสาวทักษิณมากกว่า)

สื่อมวลชนที่ทำตัวเป็นลูกหาบให้พรรคประชาธิปัตย์จำนวนมากก็เกาะขบวนแห่ นี้ไปด้วยเช่นกัน พวกเขาจะเพียรเฝ้าถามเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีอยู่ทุกเมื่อเชื่อ วันที่เจอหน้า ว่ารัฐบาลจะจัดการเรื่องนี้อย่างไร นลีนีจะแสดงสปิริตด้วยการลาออกจากตำแหน่งหรือไม่ ความเห็นของสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จะได้รับการรายงานข่าวอย่างละเอียดยิบใน ทุกประเด็น ไม่ว่าความเห็นนั่นจะ “บู่” เพียงใดก็ตาม

นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งระยะหลังๆเธอเริ่มแสดงอาการ นักการเมืองเขี้ยวๆ ออกมามากขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งอยู่ในตำแหน่งนานวัน ภาพความเป็นนายกหญิง แม่น้องไปป์ ผู้ใสซื่อ จะหายไปและแทนที่ด้วยนายกรัฐมนตรีหญิงผู้จัดเจน อีกไม่นานเธอคงกลายเป็นหญิงเหล็ก ด้วยการเลี่ยงที่จะตอบคำถามที่ตอบยากหรือไม่อยากตอบไปเสียดื้อๆ อย่างนั้นเอง การไม่ตอบคำถาม ในทางข่าวถือว่า ประเด็นตาย เพราะรายงานได้อย่างเดียวว่า นายกรัฐมนตรีไม่ตอบคำถาม เอาแต่ยิ้มอย่างเดียว มุกนี้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เคยใช้ได้ผลมาแล้วตลอดระยะเวลา 8 ปีที่อยู่ในตำแหน่ง สิ่งที่สื่อมวลชนไทยเกลียดที่สุดคือ การอมพะนำ

ปัญหาของนลีนีนั้นไม่ใช่ปัญหาทางศีลธรรม แต่มีคนพยายามจะสร้างศีลธรรมและจริยธรรมในเรื่องนี้ด้วยก็ตาม ทว่าในความเป็นจริงเรื่องนี้เป็นประเด็นทางการเมืองและกฎหมายระหว่างประเทศ ล้วนๆ หากความไม่ปรากฎชัดว่า นลีนี ได้ค้าสิ่งผิดกฎหมายที่ขัดศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว สิ่งที่เธอทำลงไปคือการ “ดูแล” เครส มูกาเบ ภรรยาของประธานาธิบดี โรเบิร์ต มูกาเบ ก็เพียงแต่ขัดกับ “ท่าที” ทางการเมืองของรัฐบาลสหรัฐต่อประเทศซิมบับเวและผู้ปกครองประเทศนั้นเท่านั้น เอง

ปัญหาที่น่าพิจารณาคือ ประเทศไทย รัฐบาลไทย และ สังคมไทย จะต้องมีท่าทีทางการเมืองระหว่างประเทศต่อซิมบับเว แบบเดียวกับสหรัฐหรือไม่ คำตอบดูเหมือนจะไม่

ในเดือนมีนาคม 2003 ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บูช ได้ออกคำสั่งฝ่ายบริหารเพื่อคว่ำบาตรรัฐบาลซิมบับเว ฐานที่กระทำการอันเป็นปรปักษ์ต่อสถาบันและกระบวนการประชาธิปไตยภายในประเทศ คำสั่งนั้นได้ทำการคว่ำบาตรต่อชาวซิมบับเวทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลเป็น การเฉพาะเจาะจง และในปี 2005 ปรากฎว่าได้มีการขยายขอบเขตคำสั่งนั้นให้ครอบคลุมสมาชิกในครอบครัวของบุคคล ที่อยู่ในเป้าหมายที่ได้ประกาศไปก่อนหน้า และให้รวมถึงบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือบุคคลที่อยู่ในบัญชีเช่นว่านั้นด้วย กรณีของนลินีน่าจะต้องด้วยความในวรรคหลังนี้

ผลของคำสั่งคือ ห้ามบุคคลสัญชาติอเมริกันไม่ว่าอยู่ที่ใดในสหรัฐทำธุรกรรมใดๆกับบุคลในบัญชี ดังกล่าวหรือบุคคลที่ได้กระทำการแทนบุคลลในบัญชีดังกล่าวด้วย ธุรกรรมที่ห้ามนั้นให้หมายรวมถึง การนำเข้า-ส่งออก ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม การเป็นนายหน้าทางการค้า การให้การสนับสนุทางการเงินหรือช่วยอำนวยความสะดวกทางการเงิน การกระทำใดอันจะเป็นการละเมิดหรือหลบเลี่ยงการคว่ำบาตรนี้ก็ถูกห้ามด้วยเช่น กัน

ภายใต้คำสั่งนี้ ชาวสหรัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินการสกัดกั้นการเคลื่อนย้ายทรัพย์สินของบุคคลใน บัญชีดังกล่าว ที่ผ่านเข้ามาหรืออยู่ภายใต้การควบคุมของคนสหรัฐ คำว่าทรัพย์สินนี้ให้หมายรวมถึง เงิน เช๊ค ดราฟท์ บัญชีธนาคาร หุ้น และ ตราสารทางการเงินอื่นๆ L/C, B/L, B/S และตัวสินค้าด้วย การสกัดกั้นทรัพย์สินนี้ให้รวมถึงดอกผลที่เกิดจากธุรกรรมของบุคคลในบัญชี นั้นด้วย

เพื่อประโยชน์ของคำสั่งนี้บุคคลสัญชาติอเมริกันหรือคนสหรัฐนั้นให้หมาย รวมถึงสาขา สำนักงานตัวแทน หรือ สำนักงานอื่นใดของบริษัทสหรัฐที่อยู่ในต่างประเทศ และสาขาหรือสำนักงานของบริษัทต่างประเทศที่อยู่ในสหรัฐด้วย
บุคคลที่ฝ่าฝืนคำสั่งนี้จะมีโทษปรับ 500,000 ดอลล่าร์สหรัฐหรือคิดเป็นสองเท่าของมูลค่าธุรกรรมแต่ละครั้ง บุคคลธรรมดาอาจจะต้องโทษจำคุกถึง 10 ปีหากละเมิดคำสั่งดังกล่าว

โปรดสังเกตุว่า คำสั่งนี้ออกบังคับต่อคนสัญชาติอเมริกัน คนที่มีถิ่นที่อยู่ถาวรในสหรัฐ องค์กรหรือหน่วยงานภายใต้กฎหมายสหรัฐ ซึ่งก็รวมถึงสาขาหรือตัวแทนบริษัทต่างชาติ หรือใครก็ตามที่อยู่ในสหรัฐ

กรณีนลินี หากปรากฎว่าเดินทางเข้าสหรัฐย่อมตกอยู่ภายใต้กฎหมายสหรัฐและคำสั่งนี้ด้วย นั่นอาจเป็นเหตุผลว่า แม้เธอไม่ถูกสั่งห้ามเข้าสหรัฐแต่อาจจะไม่กล้าเดินทางไปด้วยเกรงผลทางกฏหมาย ของคำสั่งนี้

สำนักงานควบคุมทรัพย์สินต่างประเทศ กระทรวงการคลังสหรัฐผู้ถืออำนาจตามคำสั่งนี้ ได้จัดให้การคว่ำบาตรอยู่ใน OFAC Sanction program ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆโครงการคว่ำบาตรที่รวมถึง กรณี พม่า คิวบา อิรัค เลบานอน ลิเบีย เกาหลีเหนือ การก่อการร้าย การต่อต้านยาเสพติด และอะไรต่อมิอะไรมากมายที่ดำเนินการภายใต้นโยบายต่างประเทศของสหรัฐ
การคว่ำบาตรของสหรัฐหรือของประเทศอื่นๆส่วนใหญ่ในตะวันตกนั้น เป็นมาตรการทางการเมืองระหว่างประเทศอย่างหนึ่งที่ดำเนินการเพื่อบีบบังคับ ให้ประเทศในเป้าหมายดำเนินการอย่างที่ต้องการ โดยมากมักมีข้ออ้างเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนเป็นหลักใหญ่ เช่นในกรณีของพม่า และ เกาหลีเหนือ จัดอยู่ในประเภทนี้ ในหลายกรณีก็มีปัญหาเรื่องการก่อการร้ายเข้ามารวมอยู่ด้วย กรณีของลิเบีย จะรวมอยู่ในเรื่องเหล่านี้

สหรัฐมีการดำเนินการและปฏิบัติต่อแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน หลายประเทศที่ถูกสหรัฐคว่ำบาตรแบบเดียวกันอาจจะได้รับการปฏิบัติที่แตกต่าง กันออกไป ทั้งนี้แล้วแต่คำสั่งและรายละเอียดของคำสั่งฝ่ายบริหารที่ออกมาแต่ละคราวไม่ เหมือนกัน หากจะเปรียบเทียบกรณีซิมบับเว กับ พม่า หรือ เกาหลีเหนือ จะเห็นได้ชัด กรณีรัฐวิสาหกิจไทยซื้อแก๊สหรือบริษัทไทยหรือสัญชาติอื่นจำนวนมากทำธุรกิจ กับพม่า ไม่ปรากฎว่าจะถูกจัดอยู่ในบัญชีต้องห้ามเช่นเดียวกับนลีนี หลายบริษัทของไทยทำการค้าและการลงทุนในเกาหลีเหนือ ก็ยังปรากฎว่าสามารถทำธุรกรรมใดๆกับสหรัฐได้ตามปกติไม่ต้องถูกจัดในบัญชี ต้องห้ามอีกเช่นกัน

การถูกขึ้นบัญชีในรายการคว่ำบาตร ไม่ควรถือว่าเป็นความผิดบาปทางศีลธรรม แม้แต่จะถือว่าเป็นปรปักษ์ต่อความเป็นประชาธิปไตยยังยาก ด้วยว่าชื่อในบัญชีอาจจะถูกเคลื่อนย้ายเข้าออกได้หรือเปลี่ยนแปลงได้ตาม สถานการณ์ ตัวอย่างกรณีของพม่าที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้ หลายประเทศกำลังยกเลิกการคว่ำบาตรพม่า เมื่อพบว่าการคว่ำบาตรนั้นไม่ค่อยได้ผล หรือ ให้ผลไปทางตรงกันข้าม หรือ สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป เช่นเดียวกัน สถานการณ์ใหม่ในซิมบับเวหรือข้อมูลใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมูกาเบ อาจจะเป็นเหตุให้สหรัฐทบทวนการคว่ำบาตรได้

ประการสำคัญ มาตรฐานทางประชาธิปไตยหรือสิทธิมนุษยชนที่สหรัฐใช้เป็นเกณฑ์ในการบังคับใช้ การคว่ำบาตรนั้น ไม่ได้เป็นมาตรฐานอันเดียวที่ยอมรับกันได้ทั่วโลก หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย ไม่ได้ดำเนินการคว่ำบาตรหลายประเทศตามสหรัฐ หากแต่ดำเนินการติดต่อมีความสัมพันธ์ทางการทูตและทำการค้ากันอย่างปกติแม้ สหรัฐจะคว่ำบาตรก็ตาม

กรณีซิมบับเวนั้น ไทยมีความสัมพันธ์ทางการทูตด้วยมาตั้งแต่ปี 1985 (2528) สองประเทศมีความสัมพันธ์กับในระดับปกติแม้ว่าไม่ได้ใกล้ชิดนัก ซิมบับเวตั้ง เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ เป็นกงศุลกิตติมศักดิ์ ตามตำแหน่งแล้วดูเหมือนว่าเขามีหน้าที่ต้องอำนวยความสะดวกให้กับผู้นำซิมบับ เวหากเดินทางมาเยือนประเทศไทย รวมทั้งส่งเสริมการค้า การลงทุนระหว่างกัน ซึ่งอาจจะมีโอกาสไปต้องตรงกับผลประโยชน์ทางธุรกิจของครอบครัวมูกาเบ้ได้ด้วย แต่เกรียงศักดิ์ไม่โดนจัดเข้าบัญชี อนึ่งเกรียงศักดิ์ เคยเป็นอดีตสส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ด้วย

แม้ซิมบับเว จะถูกสหรัฐคว่ำบาตรแต่ปรากฎว่า ประเทศไทยมีการค้ากับประเทศนี้ด้วย แม้ว่าจะไม่มากนักก็ตาม มูลค่าการค้าไทย –ซิมบับเว เมื่อปีที่แล้ว 38.69 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ไทยส่งออก 17.04 ล้านดอลล่าร์ ไทยนำเข้า 21.65 ล้านดอลล่าร์ ปรากฎว่าไทยขาดดุลการค้า -4.61 ล้าน ดอลล่าร์สหรัฐ สินค้าส่งออกของไทยไปซิมบับเวส่วนใหญ่เป็น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคหะสิ่งทอ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ ผลิตภัณฑ์ยาง

เดือนมกราคม ปี 2008 ระยะเปลี่ยนผ่านระหว่างรัฐบาลขิงแก่ของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ และรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ซึ่งเป็นปีที่นลินีโดนขึ้นบัญชี (เธอโดนขึ้นบัญชีเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกันนั้น) ปรากฎว่าประธานาธิบดีมูกาเบ เดินทางผ่านมาประเทศไทยเพื่อแวะต่อเครื่องบินไปสิงคโปร์ และในปี 2010 ซึ่งประเทศไทยอยู่ภายใต้การบริหารงานของพรรคประชาธิปัตย์ปรากฎว่ามีเจ้า หน้าที่ระดับสูงคือประธานสภาผู้แทนราษฏรซิมบับเว เคยเดินทางมาประชุมในประเทศไทยด้วย

ไม่เคยปรากฎว่าประเทศไทยมีความเห็นต่อปัญหาประชาธิปไตยในซิมบับเวอย่าง เคร่งครัดนัก ว่ากันตามจริงประเทศไทย และรัฐบาลไทยทุกยุคทุกสมัย ก็ไม่ค่อยเคร่งครัดกับความเป็นประชาธิปไตยสักเท่าใดนัก แม้ว่าจะเป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆก็ตาม ดังนั้นไม่ต้องคาดหวังว่าประเทศไทยจะเคร่งครัดต่อความเป็นประชาธิปไตยตาม ความเห็นของรัฐบาลสหรัฐในประเทศอื่น

คงเป็นเรื่องประหลาดมากทีเดียว สำหรับสังคมการเมืองไทย ที่จะสร้างหรือถือมาตรฐานเรื่องนี้มากดดันให้รัฐมนตรีคนหนึ่งต้องลงจาก ตำแหน่งเพราะมีความเห็นเรื่องประชาธิปไตยไม่สอดคล้องกับสหรัฐ