WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, January 26, 2012

การผูกขาดธุรกิจพลังงานไทยของ ปตท. และชะตากรรมคนไทย

ที่มา ประชาไท

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับการขึ้นราคาก๊าซ NGV โดยส่วนตัวของผู้เขียน เห็นด้วยว่า นโยบายการอุดหนุนก๊าซ NGV และ LPG นั้นไม่ยั่งยืน เพราะราคาขายปลีกที่ถูกกว่าราคาตลาดทำให้มีการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง รวมทั้งมีการลักลอบนำก๊าซ LPG ออกนอกประเทศทำให้เป็นรูรั่วทางการเงินที่อุดเท่าไรก็ไม่พอ

แต่ประเด็นที่เป็นข้อกังขาของสาธารณชน คือ ต้นทุนของก๊าซ NGV และ LPG ที่แท้จริงนั้นคือเท่าไร เพราะดูเหมือนประชาชนจะถูกมัดมือชกเนื่องจากราคาขายปลีกที่ทางกระทรวง พลังงานอ้างถึงนั้นล้วนเป็นราคาที่ “บวกต้นทุน” ของผู้ประกอบการ มิใช่ราคาตลาดเนื่องจากตลาดพลังงานไทยเป็นตลาดที่ผูกขาดตั้งแต่ต้นน้ำจนปลาย น้ำแบบเบ็ดเสร็จโดย ปตท. และ บริษัทในเครือ ทำให้ไม่มีราคาตลาดที่สามารถอ้างอิงได้ มีแต่ตัวเลขต้นทุนที่ “ที่ปรึกษา” ของ กระทรวงพลังงานคำนวณขึ้นมา ซึ่งในกรณีของราคา NGV ที่เป็นที่ถกเถียงกันอยู่ คือ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ชั้น 18 ของตึก ปตท.ที่ถนนวิภาวดีรังสิต และมีอดีตผู้บริหาร ปตท. รวมถึง คุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. เป็นกรรมการมูลนิธิสถาบันแห่งนี้อีกด้วย

โดยหลักการแล้ว รัฐควรทำหน้าที่ในการกำกับดูแลธุรกิจผูกขาดเพื่อคุ้มครองประชาชน แต่แนวนโยบายด้านพลังงานตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันกลับสะท้อนว่ารัฐอยู่ข้างผู้ ประกอบการซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็น (1) การงุบงิบโอนโครงข่ายท่อก๊าซที่ผูกขาดให้แก่ บมจ. ปตท. (รวมทั้งสิทธิประโยชน์ทุกประการที่ ปตท. เคยได้รับ) ในช่วงที่มีการนำ ปตท. เข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี พ.ศ. 2544 (2) การขึ้นราคาก๊าซ LPG เพียงกิโลกรัมละ 1 บาทสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ จัดเก็บเพิ่มขึ้นถึง 12 บาท และ (3) การเปิดทางให้ ปตท. เข้าเทกโอเวอร์ธุรกิจกลั่นน้ำมันหลายแห่งจนกระทั่ง ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทกลั่นน้ำมัน 5 แห่งใน 6 แห่ง (เหลือเพียง เอสโซ่ แห่งเดียวเท่านั้นที่ยังไม่ถูกเทคโอเวอร์) ส่งผลให้ ปตท. และบริษัทในเครือผูกขาดธุรกิจการกลั่นน้ำมันโดยมีส่วนแบ่งตลาดการกลั่น น้ำมันสูงถึงร้อยละ 85 อนึ่ง การผูกขาดธุรกิจกลั่นน้ำมันส่งผลให้เกิดการผูกขาดในธุรกิจต่อเนื่องคือ ธุรกิจปั๊มน้ำมันด้วย ทุกวันนี้ ท่านผู้อ่านแทบจะไม่พบเจอปั๊มน้ำมันอิสระเลย ที่เหลืออยู่ก็อยู่ในสภาพที่ร่อแร่เพราะไม่มีโรงกลั่นน้ำมันของตนเอง ต่างกับแต่ก่อนที่เราจะเห็นปั๊มน้ำมันที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เชลล์ Jet คาลเท็กซ์ หรือ เอสโซ่ ก็ดี

การที่รัฐบาลเลือกที่จะเข้าข้าง ปตท. ตลอดมาเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ (สำหรับระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบไทยๆ) เนื่องจากกำไรอันมหาศาลของ ปตท. (ปี พ.ศ. 2553 กำไร 167,376 ล้านบาท) นั้นเป็นขุมทรัพย์ของผู้กุมอำนาจนโยบายทั้งที่เป็นนักการเมืองและข้าราชการ ประจำ หากท่านเข้าไปดูโครงสร้างกรรมการ ปตท. ทุกยุคทุกสมัย ก็จะพบแต่ข้าราชการกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ สำนักงานอัยการ เป็นหลัก [1] โดย มีนักธุรกิจที่มีสายโยงใยกับการเมืองเข้ามาร่วมด้วย เช่นในปัจจุบันก็มีนักธุรกิจสายโทรคมนาคมเข้าเป็นกรรมการ ปตท. ไม่น่าเชื่อว่าธุรกิจที่มีรายได้เกือบล้านล้านบาท จะไม่มี “มืออาชีพ” ทางด้านพลังงาน กฎหมายพลังงาน หรือ ธุรกิจพลังงานที่เข้ามาบริหารจัดการเลย

นอกจากนี้แล้ว รายงานการวิจัยของ ดร. ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ [2] ยัง ระบุว่าค่าตอบแทนคณะกรรมการของ ปตท. ในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งสูงถึง 42 ล้านนั้น (หรือกรรมการท่านละเกือบ 3 ล้านบาท) สูงกว่าของค่าใช้จ่ายในหมวดเดียวกันนี้ของ Statoil ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของนอร์เวย์ซึ่งมีรายได้ธุรกิจเป็นสองเท่าของ ปตท. และมีการประชุมกรรมการถึง 27 ครั้งต่อปี ทำให้เกิดความสงสัยว่าค่าตอบแทนสูงลิ่วนั้นเป็นไปเพื่อที่จะ “ซื้อใจ" กรรมการซึ่งล้วนแต่เป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดชะตากรรมของ ปตท. หรือไม่

ผู้เขียนมีความเห็นว่า การ “ผูกขาดโดยเสรี” ของ ปตท. เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของเศรษฐกิจของประเทศไทย ยิ่งในยุคที่ราคาน้ำมันแพง ประเทศยิ่งต้องขวนขวายในการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดหาแหล่งพลังงาน เพื่อที่จะประหยัดเงินตรา แต่ระบบที่ผูกขาดแบบสมบูรณ์ที่เป็นอยู่ไม่เอื้อต่อสิ่งเหล่านี้เลย ที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่านั้นคือ ทั้งรัฐบาลและหน่วยงานที่กำกับดูแลต่างก็ดูเหมือนจะไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับ ปัญหานี้เลย ผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลก็ดูเหมือนจะเข้าไปมีส่วนได้เสียกับ ปตท. เกือบหมด ส่วนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในฐานะผู้ซื้อก๊าซรายใหญ่ก็ไม่แยแสต่อราคาค่าก๊าซที่ รับซื้อเพราะต้นทุนทั้งหมดสามารถ “ผ่านต่อ” ไปยังค่าไฟฟ้าซึ่งผู้บริโภคเป็นผู้รับภาระ ในขณะที่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานซึ่งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลมิให้เกิดการผูก ขาดในธุรกิจพลังงานก็มิได้ดำเนินการแต่อย่างใดเพื่อที่จะสลายอำนาจผูกขาดของ ปตท. เช่น โดยการออก กฎ กติกาเพื่อที่จะให้ผู้ประกอบการรายอื่นสามารถเชื่อมต่อและเช่าใช้โครงข่าย ท่อก๊าซที่ ปตท. ผูกขาดในปัจจุบันแม้จะปฏิบัติหน้าที่มาแล้วถึง 4 ปี

ผู้เขียนยังไม่เห็นว่าจะมีรัฐบาลไหนที่จะกล้าหรืออยากที่จะสลายขุมทรัพย์ ของ ปตท. เพื่อผลประโยชน์ของประเทศ แต่ผู้เขียนเชื่อมั่นว่าการผูกขาดของ ปตท. นั้นเป็นเพียงระเบิดเวลา เพราะความไม่พอใจนั้นยิ่งนับวันยิ่งแพร่หลายในกลุ่มประชาชนในวงกว้างมากขึ้น ดังที่สะท้อนจาก blog ต่างๆ หรือ comment ในบทความในสื่อที่เกี่ยวกับ ปตท. ไม่ว่าจะหนังสือพิมพ์ฉบับใดๆ เป็นมุมมองในด้านลบเกือบทั้งหมด ความไม่ไว้วางใจรัฐบาลนั้นก็สะท้อนให้เห็นชัดเจนแล้วเมื่อแผนที่จะลดการถือ หุ้นของภาครัฐใน ปตท. ให้เหลือร้อยละ 49 นั้นเป็นอันต้องพับไป

ผู้เขียนหวังว่ารัฐบาลคงจะตระหนักถึงปัญหาที่กล่าวมานี้ และคลายข้อกังขาของสาธารณชนโดยการให้กระทรวงพลังงานออกมาชี้แจงรายละเอียด เกี่ยวกับการคำนวณต้นทุนก๊าซ NGV และ หลักเกณฑ์ในการขึ้นราคาก๊าซ LPG ที่ดูเหมือนจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจปิโตรเคมีโดยเฉพาะ ตามที่ คุณ รสนา โตสิตระกูล สว. กทม. และ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ตั้งคำถาม ชะตากรรมของคนไทยและธุรกิจไทย (ที่ไม่ผูกขาด แต่ต้องแข่งขัน) จะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะทนอยู่กับระบบที่มีอยู่ไปได้อีกนานเพียง ใด.



[1] เมื่อ ปลายปี พ.ศ. 2553 ปปช. ได้มีข้อเสนอแก่ ครม. มิให้แต่งตั้งข้าราชการระดับสูงที่มีอำนาจหน้าที่ควบคุม กำกับ ทั้งด้านนโยบายและด้านการปฏิบัติ เป็นประธานกรรมการ และ เจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเป็นประธานหรือกรรมการรัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทในเครือ ด้วยเหตุผลของการทับซ้อนของบทบาทหน้าที่และผลประโยชน์ทางการเงิน

[2] บท ที่ 5 กรณีศึกษาบริษัท ปตท (มหาชน) จำกัด ใน รายงานฉบับสมบูรณ์ “ธรรมาภิบาลในองค์กรของรัฐ: กรณีศึกษารัฐวิสาหกิจไทย” สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2552