WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, January 25, 2012

ความมั่นคงของรัฐและความมั่นคงของประมุขแห่งรัฐ: มายาภาพในสังคมไทย

ที่มา ประชาไท

ยอดพล เทพสิทธา<1>

“ที่เสนอให้เอาเรื่องหมิ่นสถาบันออกจากเรื่องความมั่นคง ผมไม่รู้ว่าเขาเกิดและเติบโตมาจากประเทศไหน เพราะถ้าเป็นคนไทยแท้ๆจะรู้ว่าความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติคือความมั่นคง ของประเทศ ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และที่อ้างว่าการไม่ปล่อยให้มีการวิจารณ์อย่างเสรีจะทำให้สถาบันเป็น ปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตย ผมก็อยากรู้ว่านักวิชาการคณะนี้ไปศึกษาหาความรู้มาจากไหน เพราะสถาบันไม่เคยเป็นปฏิปักษ์กับระบอบประชาธิปไตย”<2>

ข้อความดังกล่าวข้างต้นกล่าวโดย นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์จากข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจที่บกพร่อง ในเรื่องเกี่ยวกับรัฐและประมุขของรัฐ

บทความนี้ไม่ได้ต้องการกล่าวถึงความมั่นคงของรัฐในทางการทหารการเศรษฐกิจ หรือการสังคมในด้านต่างๆแต่ต้องการมุ่งเน้นให้เห็นถึงมายาภาพที่อยู่ในมโน สำนึกของพลเมืองไทยที่ถูกผลิตซ้ำมานานว่าสถาบันกษัตริย์และสถาบันรัฐเป็น สิ่งที่ต้องอยู่คู่กันและไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด

บทเกริ่นนำ

รัฐเป็นสิ่งที่มนุษย์สมมุติขึ้นมาเพื่อสถาปนาให้เป็นสถาบันที่ทรงอำนาจ ทางการเมืองโดยทฤษฎีทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการกำเนิดรัฐนั้นมีมากมายหลาย ทฤษฎีไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีที่ว่ารัฐเกิดจากสัญญาประชาคมหรือรัฐเกิดจากความขัด แย้ง(สำนักมาร์กซิส)และรัฐเกิดจากการจัดตั้งสถาบัน การอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยที่มีการหยิบโยงเอาความมั่นคงของ สถาบันกษัตริย์มาเป็นจุดเชื่อมต่อกับความมั่นคงของรัฐนั้นจึงเป็นการเชื่อม โยงที่ค่อนข้างผิดฝาผิดตัว เพราะสถาบันกษัตริย์นั้นเป็นเพียงสถาบันการเมืองหนึ่งหรือเป็นหน่วยการเมือง หนึ่งที่อยู่ภายในรัฐไม่ได้อยู่เหนือรัฐหรือเป็นสถาบันที่เป็นปัจจัยถึงความ มั่นคงของรัฐดังที่เข้าใจกัน

อำนาจทางการเมืองกับรัฐ

ในสังคมบุพกาลอำนาจทางการเมืองนั้นไม่ปรากฎว่าอยู่ที่ตัวบุคคลใบุคคล หนึ่งโดยเฉพาะอำนาจทางการเมืองในสังคมบุพกาลนี้เป็นอำนาจที่เกิดจากความหวาด กลัวพลังของธรรมชาติดังนั้นผู้ที่ทรงอำนาจทางการเมืองในสังคมบุพกาลนี้จะ เป็นผู้ทรงอิทธิฤทธิ็ที่สามารถติดต่อกับธรรมชาติได้เช่นผีปู่ผีย่าหรือผู้ อาวุโสในเผ่าต่างๆที่เชื่อกันว่าพลังที่ติดต่อกับพระเจ้าและควบคุมธรรมชาติ ได้ อำนาจทางการเมืองในสังคมบุพกาลในสังคมบุพกาลนี้เราเรียกกันว่าเป็นอำนาจ นิรนาม(pouvoir anonyme)ซึ่งไม่อาจระบุได้ว่าใครเป็นผู้มีอำนาจทางการเมืองที่แท้จริงเนื่อง จากไม่สามารถระบุได้ว่าใครกันแน่ที่มีอำนาจสูงสุดในเผ่า

เมื่อสังคมพัฒนาจากสังคมบุพกาลมาสู่ยุครัฐชาติ ชาติต่างๆในยุโรปตะวันตกเริ่มมีแนวคิดในการจัดสร้างชาติขึ้น สังคมในยุคนี้พัฒนาขึ้นมาอีกระดับจากสังคมศักดินาโดยกษัตริย์ในยุโรปเริ่ม ที่จะสะสมกำลังอำนาจเป็นของตัวเองและพยายามที่จะลดอำนาจของขุนนางในยุค ศักดินาแม้จะดูเหมือนว่ากษัตริย์จะเป็นผู้ทรงอำนาจทางการเมืองแท้จริงแล้ว กษัตริย์ไม่ได้มีอำนาจที่สูงสุดอย่างแท้จริงเนื่องจากอำนาจของกษัตริย์นั้น เป็นอำนาจที่ผูกพันกับลักษณะส่วนบุคคลกล่าวคือหากกษัตริย์มีลักษณะเข้มแข็ง อำนาจของกษัตริย์ก็จะเข้มแข็งตามไปด้วยแต่หากกษัตริย์นั้นอ่อนแออำนาจของ กษัตริย์ก็จะอ่อนแอตามลงไปด้วยอันเนื่องมาจากเหล่าบรรดาขุนนางหรือผู้มี อำนาจจากที่อื่นอาจเข้ามาท้าทายพระราชอำนาจได้จึงทำให้อำนาจของกษัตริย์นั้น ไม่ใช่อำนาจสูงสุดที่แท้จริงหากเปรียบเทียบกับกรณีของเมืองไทยลองนึกย้อน กลับไปถึงสมัยอยุธยาที่มีการช่วงชิงราชบัลลังก์กันอยู่เป็นประจำไม่ว่าจะ เป็นแย่งชิงกันระหว่างสายเลือดเดียวกันหรือเกิดจากบุคคลภายนอก ลักษณะเช่นนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นคงและความไม่ต่อเนื่องของสถาบันทาง การเมืองดังนั้นในยุคที่ยังมีการนำเอาอำนาจผูกติดกับคุณสมบัติของบุคคลนี้ รัฐ(สมัยใหม่)จึงยังไม่ถือกำเนิดขึ้น

จากสภาพสังคมในยุครัฐชาตินี้ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงและความไม่มีสเถียร ภาพของอำนาจทางการเมืองภายในรัฐจึงได้มีความพยายามที่จะแยกอำนาจทางการ เมืองออกจากตัวบุคคลแต่ปัญหาที่ตามมาคือเมื่อแยกอำนาจทางการเมืองออกจากตัว บุคคลไปแล้วนั้นจะนำอำนาจนั้นไปมอบให้แก่ผู้ใดเพราะหากมอบให้บุคคลใดบุคคล หนึ่งแล้วก็ย่อมที่จะต้องวนกลับไปหาปัญหาเดิมคือความไม่ต่อเนื่องและมั่นคง ของอำนาจทางการเมืองดังนั้นจึงมีการจัดตั้งสถาบันหนึ่งขึ้นมาโดยให้มีฐานะ เป็นนิติบุคคลและให้สถาบันนั้นเป็นสถาบันที่ทรงอำนาจทางการเมืองซึ่งเรียก สถาบันนั้นว่ารัฐ เมื่อมีการแยกอำนาจทางการเมืองออกจากตัวบุคคลและนำมาให้แก่รัฐแล้วสิ่งที่ ตามมาคือกษัตริย์หรือผู้ปกครองนั้นไม่ได้เป็นเจ้าของอำนาจทางการเมืองนั้น ต่อไปหากแต่เป็นเพียงบุคคลที่เข้ามาใช้อำนาจนั้นแทนรัฐ<3>

ปัจจัยที่แสดงถึงการแยกอำนาจทางการเมืองจากตัวบุคคลมาให้แก่รัฐนั้นมี หลายปัจจัยได้แก่ปัจจัยในการเข้าสู่อำนาจกล่าวคือการเข้าสู่อำนาจของผู้ ปกครองจะถูกกำหนดโดยกฎหมายและจะไม่ใช่การเข้าสู่อำนาจโดยอาศัยคุณสมบัติ พิเศษเฉพาะตัว ปัจจัยต่อมาคือเรื่องของความต่อเนื่องของอำนาจทางการเมืองกล่าวคือเมื่อผู้ ใช้อำนาจทางการเมืองหมดสภาพลงหรือตายไปอำนาจทางการเมืองไม่ได้สิ้นสุดลงตาม ไปด้วยเนื่องจากผู้ปกครองเป็นเพียงผู้ที่เข้ามาใช้อำนาจแทนรัฐเท่านั้นไม่ ได้เป็นเจ้าของอำนาจทางการเมืองดังเช่นในสังคมยุคโบราณตัวอย่างที่เห็นได้ ชัดจากปัจจัยเรื่องความต่อเนื่องได้แก่ เมื่อกษัตริย์(ในยุโรป) สวรรคตลงจะมีการร้องว่า The King is dead,Long live the King<4> ซึ่งเป็นการแสดงถึงสัญลักษณ์ว่าเมื่อกษัตริย์สวรรคตแล้วน้นย่อมจะมีกษัตริย์ องค์ต่อไปเข้ามาใช้อำนาจทางการเมืองแทนเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของอำนาจ และปัจจัยสุดท้ายได้แก่เรื่องเหตุผลของรัฐ(raison d'Etat)กล่าวคือในทุกๆกิจกรรมที่ผู้ปกครองได้ทำลงไปนั้นต้องเป็นกิจกรรมที่ เกี่ยวข้องกับประโยชน์ส่วนรวมไม่ใช่ทำไปเพื่อผลประโยชน์แห่งตน <5>

ความต่อเนื่องของรัฐและเหตุผลของรัฐ

รัฐทุกรัฐกำเนิดขึ้นมาโดยมีเหตุผลของตนเองกล่าวคือเพื่อเป็นสถาบันแห่ง อำนาจทางการเมืองและเป็นสถาบันที่มีหน้าที่ในการตอบสนองความต้องการอันหลาก หลายของพลเมืองภายในรัฐหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำ บริการสาธารณะนั่นเองซึ่งหลักสำคัญในการจัดทำบริการสาธารณะหลักหนึ่งคือหลัก แห่งความต่อเนื่องของบริการสาธารณะซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่สอดรับกับหลักความ ต่อเนื่องของรัฐ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าเหตุผลของรัฐนั้นต้องเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของส่วน รวมหรือพลเมืองภายในรัฐ หากรัฐไม่มีความต่อเนื่องของอำนาจแล้วการจัดทำบริการสาธารณธย่อมจะสะดุดหรือ ชะงักทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตัวผู้ปกครองดังนั้นการที่รัฐจำเป็นต้องมีความ ต่อเนื่องของอำนาจนั้นก็เป็นไปเพื่อความต่อเนื่องของารจัดทำบริการสาธารณะ นั่นเอง


ความมั่นคงของรัฐและผู้ปกครอง

เมื่อมีการสถาปนารัฐขึ้นสถานะพิเศษของผู้ปกครองที่เคยมีอำนาจเด็ดขาดได้ ถูกยกเลิกลงอันเนื่องมาจากหลักการว่าด้วยเหตุผลของรัฐนอกเหนือจากนั้นเมื่อ ผู้ปกครองไม่ได้มีสถานะที่เชื่อมโยงกับรัฐนั้นย่อมก่อให้เกิดความมั่นคงของ รัฐในฐานะนิติบุคคลที่ไม่มีจุดเชื่อมโยงกับผู้ปกครองอีกต่อไปดังนั้นการที่ กล่าวว่าเมื่อผู้ปกครองตายลงนั้นรัฐจะต้องล่มสลายลงไปด้วยหรือเมื่อประมุข ของรัฐเกิดความไม่มั่นคงขึ้นในสถานะของตนเองแล้วนั้นจึงไม่ได้กระทบต่อความ มั่นคงของรัฐ(ในทางกฎหมาย)แต่อย่างใด ตัวอย่างเช่นเมือมีการประหารพระเจ้าหลุยส์ที่สิบหกแห่งราชวงศ์บูรบงนั้นรัฐ ฝรั่งเศสไม่ได้ล่มสลายหรือไม่มั่นคงแต่อยางใดเพราะมีการสถาปนาผู้ปกครองและ การปกครองรูปแบบอื่นขึ้นมาแทนที่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชญ์หรือในกรณีของพระ เจ้าไกเซฮร์วิลเฮมล์ที่สองแห่งเยอรมนีเมื่อถูกโค่นล้มลงโดยกลุ่มนายทหารรัฐ เยอรมันก็ยังคงอยู่ได้แม้อาจจะไม่มีความมั่นคงในทางเศรษฐกิจก็ตาม (ปัจจัยจากการแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง)หรือตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่นในรัช สมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิ์ฮิโรฮิโต เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สองสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาจัดระเบียบใหม่ใน ญี่ปุ่นและสร้างระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญขึ้นรัฐญี่ปุ่นก็ไม่ได้เกิด ความไม่มั่นคงขึ้นแต่กลับมั่นคงมากขึ้นเสียมากกว่าเมื่อรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น ได้กำหนดเกณฑ์ในการเข้าสู่การเป็นจักรพรรดิ์อย่างชัดเจน จากตัวอย่างเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการที่ผู้ปกครองหมดคุณสมบัติไปนั้นไม่ได้ ส่งผลกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐแต่อย่างใดเพราะระบบกฎหมายและระบบการเมือง ของแต่ละรัฐนั้นจะสถาปนาการปกครองและผู้ปกครองใหม่ขึ้นมาแทนที่เพื่อให้เกิด ความต่อเนื่องของการใช้อำนาจ

การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา112กับความมั่นคงของรัฐ

ข้อเสนอของกลุ่มนิติราษฎร์ในการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา112โดยให้แยก ออกจากหมวดว่าด้วยความมมั่นคงของรัฐนั้นเป็นข้อเสนอที่ตรงตามหลักวิชาการ เรื่องรัฐดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าผู้ปกครองและรวมถึงประมุขของรัฐนั้นได้ถูก แยกออกจากสถาบันรัฐตั้งแต่มีการสถาปนารัฐขึ้นการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา112โดยแยกออกมาจากหมวดความมั่นคงแห่งรัฐจึงเป็นข้อเสนอที่ไม่ขัดกับ หลักวิชาใดๆทั้งสิ้น

อีกทั้งข้อเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา112ของกลุ่มนิติราษฎร์ยังเป็น การสร้างหมวดใหม่ขึ้นมาในประมวลกฎหมายอาญาคือหมวดความผิดเกี่ยวกับพระ เกียรติยศของประมุขของรัฐจึงเป็นข้อเสนอที่ต้องรับฟังและเปิดกว้างทางความ คิดอย่างมากเพราะป็นข้อเสนอที่ช่วยประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนว่าจะไม่ ถูกกลั่นแกล้งโดยใช้ความผิดตามมาตรานี้และนอกจากนั้นยังเป็นการแก้ความเข้า ใจที่สับสนมาอย่างยาวนานระหว่างความมั่นคงของประมุขของรัฐและความมั่นคงของ รัฐว่าแท้จริงแล้วเป็นคนละเรื่องเดียวกันมิฉะนั้นเราอาจได้เห็นสภาพของ ประเทศไทยที่เป็นสังคมอุดมแห่งความครอบงำไม่ต่างจากเกาหลีเหนือ

===========================

เชิงอรรถ

<1> นักศึกษาปริญญาเอก สาขากฎหมายปกครอง มหาวิทยาลัย Paul CEZANNE

<2> http://www.dailyworldtoday.com/newsblank.php?news_id=13141

<3> บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, แม่บทความคิดว่าด้วยรัฐ, เอกสารโรเนียวประกอบคำบรรยาย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย

<4> บวรศักดิ์ อุวรรณโณ,กฎหมายมหาชนเล่มหนึ่ง,วิญญูชน

<5> เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์,รัฐ รัฐธรรมนูญและกฎหมาย, พิมพ์ครั้งที่ห้า, วิญญูชน หน้า 46