WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, January 27, 2012

ฟอร์บส์วิเคราะห์ สนง.ทรัพย์สินฯ แย้งตัวเลขในหนังสือ ‘A Life’s Work’

ที่มา ประชาไท

นิตยสาร ‘ฟอร์บส์’ วิเคราะห์งบประมาณของ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยดึงข้อมูลจากพระราชประวัติกึ่งทางการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเล่ม ล่าสุด ‘King Bhumibol Adulyadej: A Life’s Work’

ฟอร์บส์ซึ่งเป็นนิตยสารด้านการเงินและธุรกิจของสหรัฐ ตีพิมพ์บทความว่า ด้วยรายได้และการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เมื่อสัปดาห์ ที่ผ่านมา โดยวิเคราะห์จากข้อมูลในหนังสือพระราชประวัติกึ่งทางการของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวเล่มล่าสุด ‘King Bhumibol Adulyadej: A Life’s Work’ ชี้ สนง. ทรัพย์สินฯ ประเมินทรัพย์สินเป็นมูลค่าเพียงหนึ่งในสามของที่ฟอร์บส์เคยวิเคราะห์ไว้

นิตยสารฟอร์บส์ซึ่งก่อนหน้านี้ได้จัดลำดับให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลกตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา วิเคราะห์ว่า อัตชีวประวัติเล่มดังกล่าวได้ท้าทายตัวเลขทรัพย์สินที่ฟอร์บส์เคยประมาณไว้ และถึงแม้ทางวังจะยอมรับว่า สนง. ทรัพย์สินฯ เป็นเจ้าของที่ดินในกทม. และในต่างจังหวัดจำนวนมากก็จริง แต่ฟอร์บส์ก็ชี้ว่า อัตราการให้เช่าที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ ของสนง. ทรัพย์สินฯ ก็อยู่ในอัตราที่ต่ำมากด้วยการอุดหนุนจากรัฐ จนไม่มีองค์กรพาณิชย์ไหนๆ สามารถมาแข่งขันได้

หนังสือ ‘King Bhumibol Adulyadej: A Life’s Work’ ซึ่งมีอานันท์ ปันยารชุน เป็นที่ปรึกษาบรรณาธิการยืนยันจำนวนที่ดินที่ฟอร์บส์เคยประมาณไว้ว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีที่ดินในครอบครองในกรุงเทพจำนวน 3,320 เอเคอร์ (1 เอเคอร์ = ประมาณ 4,050 ตารางเมตร) และเมื่อรวมที่ดินในต่างจังหวัดแล้วจะคิดเป็น 13,200 เอเคอร์ อย่างไรก็ตามฟอร์บส์ชี้ว่า สนง. ทรัพย์สินฯ กลับประเมินมูลค่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็น 1 ใน 3 ของที่ฟอร์บส์เคยประเมินไว้เท่านั้น

ฟอร์บส์ประเมินว่า รายได้สุทธิที่ สนง.ทรัพย์สินฯ ได้จากที่ดินในปี 2010 คิดเป็น 2.5 พันล้านบาท (ราว 80 ล้านดอลลาร์) ซึ่งหนึ่งในรายได้หลักมาจากห้างเซ็นทรัลเวิร์ลด์ และโรงแรมโฟร์ซีซัน โดยมีร้อยละ 7 ของที่ดินทั้งหมดเท่านั้นที่นำออกให้เช่าในทางพาณิชย์ ซึ่งคิดค่าเช่ามากถึงร้อยละ 4 ของราคาตลาด ส่วนที่ดินที่เหลือ บ้างก็ถูกใช้โดยหน่วยงานของรัฐ ชุมชนแออัด สลัม ตลาด และร้านค้า

ทั้งนี้ ข้อมูลของสำนักงานทรัพย์สินฯ เปิดเผยว่า สนง. ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีสัญญาเช่าที่ดินรวมทั้งหมด 40,000 ฉบับ และ 17,000 ฉบับของจำนวนนั้นอยู่ในกรุงเทพฯ

ฟอร์บส์ยังระบุว่า การที่ สนง. ทรัพย์สินฯ ถือหุ้นร้อยละ 23 ในธนาคารไทยพาณิชย์ ร้อยละ 32 ในสยามซีเมนต์กรุ๊ป ซึ่งมีมูลค่าทั้งหมดราว 7 พันล้านดอลลาร์ ยังทำให้ได้รับเงินปันผลจากบรรษัทดังกล่าวราว 184 ล้านดอลลาร์ในปี 2553 นอกจากนี้ หนังสือ ‘King Bhumibol Adulyadej: A Life’s Work’ ยังเปิดเผยด้วยว่า รายได้ของ สนง. ทรัพย์สินตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา คิดเป็นจำนวนระหว่าง 9 -11 พันล้านบาทต่อปีโดยเฉลี่ย

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือไปจากการถือหุ้นในบรรษัทที่กล่าวมาแล้ว ฟอร์บส์ชี้ว่าหนังสือเล่มนี้ละเลยการพูดถึงการถือหุ้นของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในกลุ่มโรงแรมเยอรมัน ‘เคมพินสกี้ เอจี กรุ๊ป’ และบริษัทประกัน ‘Deves’ (เทเวศประกันภัย) ซึ่งรวมกันมีมูลค่าราว 600 ล้านดอลลาร์ (มูลค่าประเมินในปี 2551) ด้วยการลงทุนทั้งหมดนี้ ทำให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กลายเป็นกลุ่มบรรษัทที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศไทย

ฟอร์บส์เปรียบเทียบรายได้ของ สนง. ทรัพย์สินฯ นักธุรกิจที่รวยที่สุดของประเทศไทย คือธนินทร์ เจียรวนนท์เจ้าของบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพีกรุ๊ป ผู้มีทรัพย์สินมูลค่า 7.4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมีความแตกต่างกันหลายเท่ามาก นิตยสารฟอร์บส์จึงต้องจัดลำดับให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นกษัตริย์ อันดับหนึ่งของโลก ทำให้ต่อมาทางการไทยรวมถึงคณะผู้เขียนหนังสืออัตชีวประวัติกึ่งเป็นทางการ เล่มนี้ต้องออกมาชี้แจงว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มิได้เป็นทรัพย์สินส่วนตัว หากแต่เป็นทรัพย์สินของสถาบัน ซึ่งจะสืบทอดไปอยู่ในความรับผิดชอบพระมหากษัตริย์องค์ต่อไปตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ฟอร์บส์ก็ได้ตั้งคำถามถึงสถานะและความโปร่งใสของ สนง. ทรัพย์สินฯ ซึ่งหนังสือ ‘King Bhumibol Adulyadej: A Life’s Work’ เองก็ยอมรับว่ามีความคลุมเครืออยู่มากเช่นกัน

ถึงแม้หนังสือเล่มดังกล่าวจะระบุว่า งบประมาณที่ใช้ในการใช้จ่ายเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์จะรับผิดชอบโดยสนง. ทรัพย์สินฯ เอง แต่ฟอร์บส์ก็ได้นำเอาข้อมูลงบประมาณปี 2554 มาชี้ให้เห็นว่า สำนักพระราชวังได้รับการจัดสรรงบประมาณต่อปีจำนวน 84 ล้านดอลลาร์ และอีก 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับแผนกที่เกี่ยวข้อง โดยเมื่อรวมกับงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการดูแลความปลอดภัยของราชวงศ์แล้วจะ คิดเป็น 194 ร้อยล้านดอลลาร์ต่อปี ทั้งนี้ ฟอร์บส์ชี้ว่า หากนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวรวมกับรายได้ของสนง. ทรัพย์สินต่อปีแล้ว (ราว 300 ล้านดอลลาร์) จะหมายความว่าราชวงศ์ไทยใช้งบประมาณราว 500 ล้านดอลลาร์ต่อปี

ฟอร์บส์สรุปบทวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบกับสถาบันกษัตริย์ของประเทศในยุโรป เช่นในกรณีของสเปนซึ่งปกครองในระบอบกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ รัฐบาลใช้งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ราว 12 ล้านดอลลาร์ ส่วนสถาบันกษัตริย์ของประเทศอังกฤษ ใช้ราว 50 ล้านดอลลาร์ แต่ยกรายได้ส่วนใหญ่ที่เข้ามาทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้กับ กรมคลังของประเทศ และประชาชนเองก็สามารถตรวจสอบข้อมูลด้านการเงินดังกล่าวได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม ในกรณีของประเทศไทย ความโปร่งใสในสถาบันดังกล่าว เห็นจะเป็นหนทางที่ยังต้องใช้เวลาอีกนาน ฟอร์บระบุ