ที่มา Thai E-News
องค์คณะผู้พิพากษาคดียึดทรัพย์-9ผู้พิพากษาคดียึดทรัพย์76,000ล้านบาท ต้องเผชิญแรงกดดันรอบด้านในการตัดสินคดีประวัติศาสตร์ 26 กุมภาพันธ์นี้
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
25 กุมภาพันธ์ 2553คน"แวดวงใน"โจษขานกันว่า มีคนของ"สายเปรม"อยู่ 2 ราย คนแรกมีชื่อเล่นว่า"เจี๊ยบ" อีกคนชื่อเล่นว่า"ชิน" เป็นคนที่ไม่นิยมแต่งงาน เข้าบ้านสี่เสาได้โดยไม่ต้องนัด.."เจี๊ยบ"เป็นคนที่คัดรายชื่อท่านเปาเสนอให้เปรมพิจารณา "เจี๊ยบ"ชอบแสดงตัวว่า"รู้ลึกรู้ดี" เช่นเคยพูดล่วงหน้าว่า นายสันติ ทักราล จะได้เป็นประธานศาลฏีกา ต่อมาก็ได้เป็นจริงๆ และพูดล่วงหน้าอีกว่า นายสันติจะได้เป็นองคมนตรี ก็ได้เป็นในเวลาต่อมา
ส่วน"ชิน"นั้นคือตัวเชื่อมต่อไปยังท่านเปาในระดับต่างๆ ที่คุมคดีที่เกี่ยวกับอดีตนายกฯทักษิณ เช่น "ชีพ"คนมีตำแหน่งระดับอธิบดี เป็นคนคุมเกมระดับรองลงไป
ดังที่เอแบคโพลล์เสนอผลสำรวจว่า ประชาชนเชื่อมั่นในคำตัดสินคดียึดทรัพย์ที่จะเกิดขึ้นและลุ้นระทึกในวันที่ 26 ก.พ. แต่องค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 ท่านก็ไม่วายตกอยู่ใต้แรงกดดันรอบด้าน
สายพันธมิตร นายสำราญ รอดเพชร กล่าวหาหนักหนาเรื่องมีการนำเสนอสินบน และอ้างว่า4รายใน9รายได้รับข้อเสนอไปแล้ว ซึ่งเป็นแรงกดดันชนิด"ตีปลาหน้าไซ"เพราะหากมีการตัดสินให้ทักษิณพ้นผิด พธม.ก็คงได้ทีอ้างว่า"นั่นไง ว่าแล้ว" หากผลออกไปอีกทาง ก็จะมีข้อแก้ตัวว่า"ว่าแล้ว ศาลซื้อไม่ได้" สรุปคือพันธมารได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง
ส่วนฝ่ายที่สนับสนุนทักษิณแม้จะเงียบในที่ตั้งไม่ออกมากดดันใดๆ รวมทั้งแกนนำ3เกลอปรับขบวนไม่ยอมม็อบใหญ่ มีเพียงสายสุรชัย แซ่ด่าน เปิดเวทีปราศรัยท้องสนามหลวง ทว่าก็มีข่าวแพร่ผ่านกระดานสนทนาตามอินเตอร์เน็ต ตั้งข้อกังขาว่าท่านเปาสายเปรมอาจเป็นเงาตะคุ่มๆอยู่
เรามารู้จักผู้พิพากษาในองค์คณะดูว่า ไผเป็นไผ
1.นายกำพล ภู่สุดแสวง
ตำแหน่ง-ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา
ประวัติผลงาน-เป็นองค์คณะคดีทุจริตปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) ให้กับรัฐบาลพม่าวงเงิน 4,000 ล้านบาทที่ คตส.ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ และองค์คณะคดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2และ 3 ตัว (หวยบนดิน) ที่ คตส.ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ กับพวกรวม 47 คน
2.นายธานิศ เกศวพิทักษ์
ตำแหน่ง-ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา
ผลงาน-เคยเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ร่วมวินิจฉัยด้วยคะแนน 9ต่อ 0 ให้ยุบพรรคไทยรักไทย ในคดีทุจริตการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2548 แต่ธานิศเป็น 1 ใน 3 ตุลาการเสียงข้างน้อย ที่วินิจฉัยไม่ให้ตัดสิทธิทางการเมืองกับคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
3.นายประทีป เฉลิมภัทรกุล
ตำแหน่ง-ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกา
ผลงาน-เป็นหนึ่งในองค์คณะคดีออกกฎหมายแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างจำหน่ายคดีชั่วคราว เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณไม่มาศาล
4.พงษ์เทพ ศิริพงศ์ติกานนท์(คนที่1แถวที่2ในภาพใหญ่)
ตำแหน่ง-ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา
5.นายพิทักษ์ คงจันทร์
ตำแหน่ง-ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา
ผลงาน-มาแทน "นายบุญรอด ตันประเสริฐ" ที่ขอลาออกเนื่องจากเสียงวิจารณ์กรณีมติคดีกล้ายางพารา "รั่ว" ซึ่งบุญรอดเป็นองค์คณะผู้พิพากษาคดีดังกล่าวอยู่ด้วย
6.นายสมศักดิ์ เนตรมัย
ตำแหน่ง-ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา เจ้าของสำนวนและหัวหน้าทีมผู้พิพากษาคดีนี้ ผู้มีประสบการณ์ตัดสินคดีสำคัญๆ ทางการเมือง มาอย่างโชกโชน
ผลงาน-เป็นหนึ่งในองค์คณะผู้พิพากษาที่ตัดสินให้จำคุก "วัฒนา อัศวเหม" อดีต รมช.มหาดไทย เป็นเวลา 10 ปี ในคดีทุจริตคลองด่าน และตัดสินจำคุกอดีตคณะกรรมการ ป.ป.ช.กรณีขึ้นเงินเดือนตัวเอง เป็นเวลา 2 ปี
ที่สำคัญ เคยร่วมตัดสินคดีทุจริตจัดซื้อที่ดินรัชดาฯ 772 ล้านบาท ที่พิพากษาจำคุก พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นเวลา 2 ปีด้วย
7.นายอดิศักดิ์ ทิมมาตย์
ตำแหน่ง-ประธานแผนกคดีเยาวชนในศาลฎีกา
ผลงาน-มาแทน "ปัญญารัตน์ วิระยะวานิช" ที่พ้นจากองค์คณะคดียึดทรัพย์ เนื่องจากอายุ 60 ปี และย้ายไปเป็นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์
8.นายไพโรจน์ วายุภาพ
ตำแหน่ง-ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
9.ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล
ตำแหน่ง-ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา
โจษขานสาย"เปรม"คุมคดี
ขณะเดียวกันในกระดานสนทนาประชาไท คน"แวดวงใน"โจษขานกันว่า มีคนของ"สายเปรม"อยู่ 2 ราย คนแรกมีชื่อเล่นว่า"เจี๊ยบ" อีกคนชื่อเล่นว่า"ชิน" เป็นคนที่ไม่นิยมแต่งงาน เข้าบ้านสี่เสาได้โดยไม่ต้องนัด.."เจี๊ยบ"เป็นคนที่คัดรายชื่อท่านเปาเสนอให้เปรมพิจารณา "เจี๊ยบ"ชอบแสดงตัวว่า"รู้ลึกรู้ดี" เช่นเคยพูดล่วงหน้าว่า นายสันติ ทักราล จะได้เป็นประธานศาลฏีกา ต่อมาก็ได้เป็นจริงๆ และพูดล่วงหน้าอีกว่า นายสันติจะได้เป็นองคมนตรี ก็ได้เป็นในเวลาต่อมา
ส่วน"ชิน"นั้นคือตัวเชื่อมต่อไปยังท่านเปาในระดับต่างๆ ที่คุมคดีที่เกี่ยวกับอดีตนายกฯทักษิณ เช่น "ชีพ"คนมีตำแหน่งระดับอธิบดี เป็นคนคุมเกมระดับรองลงไป
อย่างไรก็ตามไทยอีนิวส์ได้แต่หวังว่า การโจษขานทั้งหลายทั้งปวงทั้งจากฝ่ายพันธมิตร และชุมชนอินเตอร์เน็ตนั้น จะเป็นเพียง"ข่าวลือ"ที่ไร้มูล เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมของไทยยังคงความน่าเชื่อถือต่อไป