ที่มา ประชาไท องค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คนที่ขึ้นบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดียึดทรัพย์ฯ ในวันที่ 26 ก.พ.53 ประกอบด้วย นายสมศักดิ์ เนตรมัย ผู้พิพากษาอาวุโสศาลฎีกา ในฐานะเจ้าของสำนวนคดียึดทรัพย์ นายธานิศ เกศวพิทักษ์ ประธานแผนกคดีผู้บริโภคในศาลฎีกา, นายพิทักษ์ คงจันทร์ ประธานแผนกคดีเลือกตั้งในศาลฎีกา, นายพงศ์เทพ ศิริพงศ์ติกานนท์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา, นายอดิศักดิ์ ทิมมาศย์ ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา, ม.ล.ฤทธิเทพ เทวกุล รองประธานศาลฎีกา, นายประทีป เฉลิมภัทรกุล ประธานแผนกคดีสิ่งแวดล้อมในศาลฎีกา, นายกำพล ภู่สุดแสวง ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา และนายไพโรจน์ วายุภาพ รองประธานศาลฎีกา โดยอัยการสูงสุดยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 25 ส.ค.51 ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สินที่ร่ำรวยผิดปกติ และได้มาเนื่องจากการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จำนวน 76,621,603,061.05 บาท พร้อมดอกผล ตกเป็นของแผ่นดิน
เพื่อไทย
Saturday, February 27, 2010
สรุปผลคำพิพากษาในประเด็นต่างๆ คดียึดทรัพย์ ‘ทักษิณ’
ประเด็นพิจารณา
ผลการตัดสิน
-ศาลฏีกาฯมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีนี้หรือไม่
-คตส. มีอำนาจในการดำเนินการไต่สวนหรือไม่
- การแต่งตั้ง ปปช.เป็นไปโดยชอบ และมีอำนาจดำเนินการต่อจากคตส.หรือไม่
มีมติเอกฉันท์
ศาลฎีกาฯ มีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดี และมีประกาศ คปค.ฉบับ 30 รองรับการทำงานของ คตส. ซึ่งถือว่าไม่มีผู้เป็นปฏิปักษ์เป็นผู้ตรวจสอบ อีกทั้งประกาศ คปค.ได้กำหนดขั้นตอนการส่งต่อการทำงานไปยัง ปปช. จนกระทั่งถึงอัยการสูงสุด โดยการดำเนินการทั้งหมดไม่เกินระยะเวลาที่กำหนด
- กรณีการปกปิดการถือหุ้นระหว่างดำรงตำแหน่งนายกฯ ปี 2544 - 2548 โดยผู้ถูกกล่าวหาและคู่สมรสใช้ชื่อบุตร ธิดา และญาติถืหุ้น บมจ.ชิน คอร์ปฯ แทน เป็นการฝ่าผืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 40, พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี 2543 และ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.2542 หรือไม่
มีมติเอกฉันท์
ผู้ถูกกล่าวหาและภริยาเป็นเจ้าของหุ้นบริษัทชินคอร์ปที่แท้จริงในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 2 สมัย
-กรณีแปลงค่าสัมปทานเป็นค่าภาษีสรรพสามิต โดยมีการตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 พ.ศ.2546 ซึ่งกรณีดังกล่าวทำให้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการโทรคมนาคม โดยรายเก่าให้นำค่าสัมปทานมาหักกับภาษีสรรพสามิต เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกิจการของผู้ถูกกล่าวหา กีดกันผู้ประกอบการรายใหม่หรือไม่
มีมติด้วยเสียงข้างมาก
การออกพระราชกำหนด แปลงค่าสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นค่าภาษีสรรพสามิต เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทชินคอร์ปและบริษัทในเครือ มีผลในการกีดกันการแข่งขัน
-กรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้จากการให้บริการมือถือแบบพรีเพดให้กับเอไอเอส ส่งผลให้ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้ ทศท ฯ ในอัตรา 20% คงที่ตลอดอายุสัญญาสัมปทาน จากเดิมที่ต้องจ่ายแบบก้าวหน้า 25% - 30% เอื้อประโยชน์ต่อชินคอร์ปและเอไอเอสหรือไม่
มีมติด้วยเสียงข้างมาก
ผู้ถูกกล่าวหามีส่วนเกี่ยวข้อง ในการแก้ไขสัญญาดังกล่าว และผู้ถูกกล่าวหามีหุ้นในชินคอร์ป จึงเป็นการเอื้อประโยชน์ให้ชินคอร์ปและเอไอเอส
-กรณีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ใช้เครือข่ายร่วม (โรมมิ่ง) และให้หักค่าใช้จ่ายจากรายรับ กรณีการปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายรวม เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ชินคอร์ปและเอไอเอส การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาทำให้ไม่ต้องจ่ายเงินให้ ทศท.และ กสท เป็นผลประโยชน์ที่เกิดกับบริษัทที่ผู้ถูกกล่าวหาถือในระหว่างดำรงตำแหน่ง เป็นเหตุให้หุ้นมีมูลค่าสูงขึ้น จนกระทั่งขายหุ้นให้กับกลุ่มเทมาเส็ก สิงคโปร์
มีมติด้วยเสียงข้างมาก
ผู้ถูกกล่าวหามีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ผลประโยชน์ในการลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วมตกอยู่กับเทมาเส็ก เนื่องจากมีการขายหุ้นให้แก่เทมาเส็กเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549
-กรณีละเว้น อนุมัติ ส่งเสริม สนับสนุนธุรกิจดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศโดยมิชอบหลายกรณี ได้แก่ การอนุมัติโครงการดาวเทียไอพีสตาร์, การอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทชินคอร์ปฯ ในบริษัท ชินแซทเทิลไลท์ ที่เป็นผู้ขออนุมัติสร้างและส่งดาวเทียมไทยคม และการอนุมัติให้ใช้เงินค่าสินไหมทดแทนของดาวเทียมไทยคม 3 จำนวน 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ไปเช่าช่องสัญญาณต่างประเทศ เป็นการเอื้อประโยชน์กับบริษัท ชินคอร์ปฯ และบริษัท ชินแซทฯ หรือไม่
มีมติด้วยเสียงข้างมาก
เป็นการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม
-กรณีอนุมัติให้รัฐบาลสหภาพพม่ากู้เงินจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) เพื่อนำไปซื้อสินค้าและบริการของบริษัท ชินแซทฯ โดยสั่งการเห็นชอบเพิ่มวงเงินกู้จาก 3,000 ล้านเพิ่มอีก 1,000 ล้านบาท สำหรับโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของสหภาพพม่า ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าต้นทุน รวมทั้งให้ขยายเวลาปลอดการชำระหนี้ การจ่ายเงินต้นจาก 2 ปี เป็น 5 ปี เพื่อประโยชน์ของบริษัท ชินแซทฯ จะได้รับงานจ้างพัฒนาระบบโทรคมนาคมจากรัฐบาลสหภาพพม่า
มีมติด้วยเสียงข้างมาก
เป็นการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทชินคอร์ป และบริษัทไทยคม
-คำฟ้องทั้ง 5 กรณี เป็นการใช้อำนาจรัฐเอื้อประโยชน์ให้ผู้ถูกกล่าวหาหรือไม่
มีมติด้วยเสียงข้างมาก
ใช้อำนาจรัฐเอื้อประโยชน์ให้ผู้ถูกกล่าวหา
สรุปผลคำพิพากษา
-ศาลมีอำนาจสั่งให้เงินของของผู้ถูกกล่าวหาตกเป็นของแผ่นดินได้
-ไม่เป็นธรรมหากยึดทรัพย์เงินที่มีก่อนดำรงตำแหน่ง
-ยึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท