WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, February 21, 2010

บทเรียนจากเมียนมาร์

ที่มา Thai E-News




โดย จักรภพ เพ็ญแข
ที่มา คอลัมน์ “ผมเป็นข้าราษฎร” หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์วิวาทะ Thai Red News ปีที่ 1 ฉบับที่ 38
20 กุมภาพันธ์ 2553

หลังจากประกาศว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในเมียนมาร์ภายในพุทธศักราชนี้ โดยมิได้ระบุวันเวลา ระบอบเผด็จการทหารเมียนมาร์ก็ออกข่าวเมื่อเดือนมกราคมว่า นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค้านและผู้ก่อตั้งสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (The National League of Democracy: NLD) จะได้รับอิสระทันทีที่คำสั่งจำคุกในบ้านของเธอสิ้นสุดลงในเดือนพฤศจิกายนปีนี้

ต่อมาไม่กี่วันก็ปล่อยตัว ถิ่นอู ผู้เป็นหมายเลข ๒ ของ NLD เป็นอิสระ ถิ่นอูผู้นี้เป็นอดีตนายทหารยศนายพลที่ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญกล้าหาญต่างๆ มากมาย แต่ด้วยความที่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย ก็แตกร้าวอย่างหนักกับทหารยศสูงคนอื่นๆ จนถูกบังคับให้ออกจากราชการก่อนเกษียณ

พอถึง พ.ศ.๒๕๒๗ มาร่วมก่อตั้ง NLD กับนางซูจี ทีนี้เข้าคุกเลยทีเดียว รวมเวลาเทียวเข้าออกจากคุกและการถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านจากบัดนั้นเป็นต้นมานับสิบปี ครั้งล่าสุดก่อนจะได้รับอิสรภาพนี้ก็คือ ๖ ปีเต็ม

เดินก้าวแรกออกมาจากคุก ถิ่นอูในวัย ๘๒ ปีที่ยังแข็งแรง ให้สัมภาษณ์ทันทีว่าเขาจะเดินสายเดิมคือประชาธิปไตยต่อไปอย่างไม่เหลียวหลังหรือลังเล แต่ยังไม่ตอบชัดเจนว่า NLD ซึ่งมีสมาชิกระดับนำอยู่ในคุกมากมายหลายร้อยคน จะเข้าร่วมรณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วยหรือไม่

ความเคลื่อนไหวระยะนี้ทำให้ทั่วโลกอื้ออึงกันว่าดูจะมีแสงสว่างขึ้นบ้างในเมียนมาร์ ถึงขนาดที่ผู้แทนพิเศษขององค์การสหประชาชาติ โทมัส โอจี ควินตาน่า วางแผนเดินทางไปยังเมียนมาร์ทันที่รู้ข่าว เพื่อประเมินว่าระบอบประชาธิปไตยและการปฏิรูปการเมืองในเมียนมาร์มีโอกาสจริงตามข่าวหรือไม่

โดยส่วนตัวแล้วผมไม่เชื่อเลยว่า ระบอบทหารของเมียนมาร์จะโอนอ่อนผ่อนตามแรงกดดันสากลจริง เพราะถ้าจะยอมก็คงยอมมานานแล้ว การคว่ำบาตรเศรษฐกิจก็เนิ่นนานมากว่าสิบปีแล้ว และแม้จะเกิดความขัดแย้งแรงๆ ในหมู่ผู้นำอย่างคราวพลเอกขิ่นยุ้นต์ถูกจับและติดคุกยาวอยู่ในขณะนี้ ก็ยังรวมสังขารกันติด

ความปีนเกลียวระหว่างพลเอกอาวุโสตานฉ่วยกับผู้นำหมายเลขสองและสามอย่างหม่องเอและตุระฉ่วยมานก็เป็นเพียงข่าวลือ ทั้งนี้ก็เพราะเมียนมาร์ไม่เปิดประตูสู่โลกอย่างแท้จริง ไม่สนใจจะเป็นโลกาภิวัตน์กับใคร และเลือกคบประเทศที่เอื้อประโยชน์โดยตรงและเป็นประโยชน์ในปัจจุบันอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีนที่มาตั้งฐานทัพใหญ่ใกล้นอปิดอว์-นครหลวงใหม่

แรงกดดันระหว่างประเทศจึงไม่ระคายผิวหนาๆ ของเผด็จการทหารในเมียนมาร์

การปรับตัวคราวนี้จึงน่าจะเป็นความพยายามป้องกันความขัดแย้งภายในหมู่ผู้นำที่อาจเกิดได้ในอนาคตมากกว่า เพราะหากปล่อยให้ความตึงเครียดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกาน้ำใกล้ระเบิด อาจกระเทือนถึงตัวผู้นำได้เหมือนเมื่อคราวขิ่นยุ้นต์ ซึ่งแม้จะมีความผิดฐานฉ้อราษฎร์บังหลวง แต่ก็มีความเห็นที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับการปล่อยตัวนางอองซานซูจีอยู่ด้วย ประกอบกับสุขภาพที่ไม่สู้ดีนักของตานฉ่วย ที่อาจเป็นเหตุให้คนคิดการใหญ่กันได้เหมือนคราวตะเบงชะเวตี้จะสิ้นพระชนม์ ก็นำมาสู่นโยบายลดอุณหภูมิ

ถามว่าอยู่ใกล้กันขนาดมีชายแดนร่วมเกือบ ๑,๘๐๐ กิโลเมตร การเมืองที่เข้าสู่ทางตันของไทยจะนำบทเรียนอะไรจากเมียนมาร์มาใช้ได้บ้าง?

ประการแรกเลยก็คือ หากเผด็จการอำมาตยาธิปไตยไทยคิดอย่างกระหยิ่มยิ้มย่องว่าจะเอาอย่างเมียนมาร์ด้วยการปิดประเทศบ้าง ก็ขอบอกเอาบุญว่าไม่มีทาง เมียนมาร์ตลอดเส้นทางอันยาวนานหลังจากได้รับเอกราช คือรัฐที่ใช้อุดมการณ์เศรษฐกิจการเมืองฝ่ายซ้ายคือสังคมนิยมมาโดยตลอด ไม่ใส่ใจต่อระบบทุนนิยมเลย ถึงขนาดมีลัทธิของตัวเองคือ“สังคมนิยมตามแนวทางแบบพม่า” หรือ “Burmese Way of Socialism” และใช้อำนาจเผด็จการทหารปกป้องแนวคิดเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

แต่ชนชั้นปกครองไทย โดยเฉพาะสถาบันระดับสูงและสถาบันทหารที่ปกป้องสถาบันระดับสูง มีวิสัยเป็นทุนนิยมมาตั้งแต่ต้น ถึงขนาดลงทุนตั้งบริษัทที่มุ่งทำกำไรสูงสุดจากประเทศที่ตนมีอำนาจอยู่ แม้รัฐวิสาหกิจก็มีแนวคิดทุนนิยมอนุรักษ์จนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจถูกเรียกว่า กรรมกรศักดินา กันถ้วนหน้า และคนระดับสูงของไทยก็กางปีกปกป้องรัฐวิสาหกิจราวกับไข่ในหิน

อย่างคราวที่เกือบจะเอาชีวิตเข้าแลกเพื่อหยุดยั้งการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ที่อำมาตย์รวมหัวกันหากินและได้รับประโยชน์ส่วนตน ในขณะที่รีบผลักดันการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอีกแห่งหนึ่งคือ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ให้เป็นรูปบริษัท เพราะอำมาตย์ระดับสูงสุดมีผลประโยชน์โดยตรงจากการถือครองหุ้นและการซื้อขายหุ้นในระดับโลก

เช่นเดียวกับสถาบันทหารที่ได้รับผลประโยชน์จากภาคธุรกิจที่ได้รับการเอื้อเฟื้อจากรัฐอีกต่อหนึ่ง ต่างก็เป็นนายทหารหาเงินก่อนเกษียณอายุราชการกันทั้งสิ้น ฝ่ายอำมาตย์ไทยจึงไม่มีอะไรจะอ้างได้ในการปิดประเทศ ทหารของชาติที่อำมาตย์ใช้เป็นหน่วยรักษาความปลอดภัยหรือ รปภ.ส่วนตัวก็เป็นผลผลิตของทุนนิยม เกิดแก่เจ็บตายอยู่ในระบบทุนนิยมเหมือนกัน

ประการที่สอง ระบอบเผด็จการเมียนมาร์ออกมาแสดงบทบาทผู้กุมอำนาจโดยตรง ต่างจากฝ่ายไทยที่ใช้ระบบร่างทรง (proxy) ในรูปของกองทัพแห่งชาติ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พรรคประชาธิปัตย์ ศาล องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

ทำให้เมื่อถึงคราววิกฤติหรือสงครามระเบิดขึ้น ฝ่ายประชาธิปไตยไม่มีตัวจริงที่จะนั่งเจรจากับตนได้ มีแต่ร่างทรงและตัวแทนที่ไม่มีอำนาจจริง ไม่มีทางบรรลุข้อตกลงได้ ในขณะที่ฝ่ายค้านเมียนมาร์ มหาอำนาจที่คว่ำบาตรเมียนมาร์ มหาอำนาจที่สนับสนุนเมียนมาร์ องค์การสหประชาชาติ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ต่างรู้ว่าศูนย์อำนาจของระบอบเผด็จการทหารของเมียนมาร์อยู่ที่ใด คือมีคู่เจรจา (counterpart) ถึงจะยังไม่อาจตกลงกันได้ แต่ก็มีทิศทางและความหวังที่จะตกลงกันได้ในอนาคต

ส่วนอำมาตย์ไทยซ่อนตัวอย่างมิดชิด ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองและความเป็นคนดีเสมอไป ในที่สุดเมื่อถึงคราววิกฤติ จะไม่สามารถแสดงบทบาทใดๆ ได้อย่างสะดวกเลย ฝ่ายประชาธิปไตยจะเดินทางสู่จุดที่ไม่มีทางเลือกและต้องทำลายอุปสรรคเหล่านั้นลงไป ซึ่งก็คือการทำสงครามชนชั้นอย่างที่ไม่น่าจะเป็น

การซ่อนตัวของอำมาตย์ไทยจะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้การเผชิญหน้าเที่ยวนี้รุนแรงถึงเลือดถึงเนื้อ

ประการสุดท้าย นางซูจีเคยผ่านการเลือกตั้งเพียงครั้งเดียวเมื่อราวยี่สิบปีก่อน ความนิยมใดๆ ที่นางและ NLD มี บัดนี้จางไปตามกาลเวลาจนคนทั่วโลกและชาวเมียนมาร์เองไม่แน่ใจเสียแล้วว่ายังได้รับความนิยมขนาดจะเป็นรัฐบาลบริหารประเทศอยู่หรือไม่

อย่าลืมว่านางไม่เคยมีโอกาสพิสูจน์ตัวเองซ้ำอีกเลยตั้งแต่บัดนั้น ในขณะที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับเลือกตั้งในปี พ.ศ.๒๕๔๔ และได้รับเลือกตั้งซ้ำอย่างหนักแน่นกว่านั้นในปี พ.ศ.๒๕๔๘ หลังจากเหตุวุ่นวายทางการเมืองมาก็ได้รับเลือกตั้งครั้งที่สามในปี พ.ศ.๒๕๔๙ และได้รับเลือกตั้งท่ามกลางอำนาจเผด็จการทหาร-หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ.๒๕๕๐ อีก จนคนทั่วโลกและทั่วประเทศยอมรับว่าได้รับความนิยมจริง ความชอบธรรมที่จะเป็นรัฐบาลจึงมีสูง เมื่อถูกกีดกันและถูกทำลายลง กระแสต่อต้านจึงค่อยๆ แรงขึ้นด้วยความชอบธรรมที่มีนั้นเอง จนบัดนี้กลายเป็นขบวนประชาธิปไตยที่ระบอบอำมาตยาธิปไตยกดไม่ลงอีกต่อไป

ผมคิดว่ากรณีเมียนมาร์และนางซูจีสอนอะไรกับเรามาก ส่วนใหญ่เป็นบทเรียนในด้านกลับให้รู้ว่าฐานประชาธิปไตยของเรามีความมั่นคงและเสถียรกว่าเมียนมาร์มากนัก

การที่อำมาตย์ฝันจะย้อนกลับไปเป็นเมียนมาร์จึงเป็นฝันกลางวันของเขาที่เราไม่ต้องกังวล.


----------------------------

TPNews (Thai People News): ข่าวสารสำหรับผู้รักประชาธิปไตย เที่ยงตรง แม่นยำ ส่งตรงถึงมือถือทุกวัน สมัครวันนี้ ใช้ฟรี 14 วัน พิมพ์ PN ส่งมาที่เบอร์ 4552146 ทุกระบบ เพียง 29 บาท/เดือน (เฉพาะ DTAC 30 บาท/เดือน) Call center: 084-4566794-6 (จ.- ศ. 9.30-17.30 น.)