WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, October 6, 2010

บทความ: ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ คือทางออกประเทศไทย

ที่มา Thai E-News

ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ(Deliberative Democracy) คือทางออกประเทศไทย

โดย ชำนาญ จันทร์เรือง
ที่มา กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
5 ต.ค.53

หนึ่ง ในแนวความคิดของอาจารย์สมเกียรติ ตั้งนโม อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนผู้ล่วงลับเน้นย้ำอยู่เสมอเมื่อมีโอกาส ได้พบปะแลกเปลี่ยนแนวความคิดกับผม คือ แนวความคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ(Deliberative Democracy) เพราะพวกเราชาวมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเห็นว่าปัญหาของประชาธิปไตยแบบตัว แทน(Representative Democracy)ในปัจจุบันคือการมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนเพียงเฉพาะการลง คะแนนเสียงเลือกตั้งเท่านั้น ซึ่งผลที่ตามมาก็คือการที่ได้คนที่เป็นตัวแทนที่ไม่ใช่ตัวแทนที่แท้จริงของ ผู้คนในสังคม

ตัวแทนที่ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปในสภาล้วนแล้วแต่ เป็นตัวแทนของกลุ่มนักธุรกิจการเมืองและวงศาคณาญาติ ดังจะเห็นได้จากที่แม้ว่าบางคนที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองไปแล้วยังสามารถส่ง หุ่นเชิดที่เป็นลูกเมียญาติมิตรเข้ารับสมัครและได้รับเลือกตั้งเข้ามาโดย ถ้วนหน้า ทั้งที่ไม่ได้มีความรู้ความสามารถหรือประสบการณ์ ใดใดในอันที่จะแสดงให้เห็นว่ามีกึ๋นพอที่จะเป็นตัวแทนที่แท้จริงของประชาชน ได้เลย

โอกาสของประชาชนในชนชั้นล่างหรือผู้ยากจนหาเช้ากินค่ำที่จะ เข้าไปมีบทบาทในสภานิติบัญญัติหรือ มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาบ้านเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนในปัจจุบันนี้ เรียกได้ว่าเป็นศูนย์ จึงได้มีการพยายามหาทางแก้ไขโดยการเสนอรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แบบใหม่ที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนั่นเอง

นักคิดคนสำคัญ ที่เสนอแนวความคิดนี้คือ เจอเกน ฮาเบอร์มาส (Jurgen Habermas) ที่มีแนวคิดว่าประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนั้นมิได้อยู่ที่การไปร้องขอมาจาก อำนาจที่อยู่เหนือตัวเรา หรือเป็นคำสั่งจากคนที่มีอำนาจเหนือกว่าเรา หากแต่เป็นเรื่องของการใช้ชีวิตร่วมกันและพยายามเข้าใจกันของทุกฝ่าย
ประชาธิปไตย แบบปรึกษาหารือมิได้เน้นเรื่องของสิทธิเสรีภาพ ผลประโยชน์ และการเชื่อฟังส่วนรวมเป็นเบื้องแรก แต่ให้ความสำคัญกับกระบวนการที่พลเมืองที่ได้รับการประกันสิทธิเสรีภาพขั้น พื้นฐาน

การปรึกษาหารือ หรือ Deliberative มีที่มาจากกระบวนการที่ใช้ระบบลูกขุน หรือสภานิติบัญญัติและองค์กรอื่นๆที่ทำหน้าที่ตัดสินใจหลังจากปล่อยให้มี กระบวนการถกเถียงสนทนาเพื่อแสวงหาเหตุผลของแต่ละฝ่ายที่เห็นแตกต่างกันได้มี พื้นที่ทางการเมืองอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม

ต่อมาคำว่าการปรึกษา หารือ หรือ Deliberative ได้พัฒนาความหมายไปสู่รูปแบบหนึ่งของประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญต่อการเห็น พ้องต้องกัน(Consensus)ที่ประชาชนได้จากกระบวนการปรึกษาหารือ มีการให้น้ำหนักกับหลักฐาน เหตุผล ความรู้สึก อารมณ์ และสร้างความเข้าใจในเจตนารมณ์ร่วมมากกว่า การตัดสินใจโดยเสียงข้างมากแต่เพียงอย่างเดียว

ตัวอย่างของ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือในต่างประเทศก็คือการประชุมเมือง(Town Meeting)ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบNew England ที่อยู่ทางย่านตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งเป็นกระบวนการมีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือของคนในชุมชนที่แสวงหา เจตนารมณ์ร่วมในการตัดสินใจสาธารณะ มากกว่าในการตัดสินโดยเสียงข้างมากแต่เพียงอย่างเดียว โดยกระบวนการปรึกษาหารือนี้คล้ายๆกับประชาธิปไตยทางตรงที่คนในชุมชนจะมาร่วม ประชุมเพื่อปรึกษาหารือ แสดงความคิดเห็นและนำไปสู่การตัดสินใจร่วมของชุมชนดังเช่นประชาธิปไตยทางตรง ของนครรัฐเอเธนส์ในอดีต

แต่เมื่อสังคมขยายใหญ่ขึ้นและซับซ้อนมาก ขึ้น การประชุมแบบTown Meeting ทำได้ยาก กระบวนการปรึกษาหารือหรือDeliberativeจึงได้มีการดัดแปลงไปใช้วิธีการต่างๆ ให้เหมาะสมกับกาละและเทศะ เช่น

1. การเวทีเสวนาแบบเปิด(Open Forum) เพื่อสนทนาถกเถียงโดยไม่จำกัดเฉพาะแต่ในหน่วยงานหรือกลุ่มของตนเอง แต่เปิดกว้างให้สาธารณะหรือผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วม โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับการจัดเวทีสาธารณะโดยมีนักวิชาการเป็นตัวกลางหรือทำ หน้าที่เป็นประธาน เช่น การจัดเวทีสภาประชาชนชาวเชียงใหม่ของเครือข่ายบ้านชุ่มเมืองเย็นหรือการจัด เวทีผู้แทนพบประชาชนของสถาบันส่งเสริมประชาธิปไตย(National Democratic Institute) เป็นต้น

2. การเปิดเวทีแสดงความเห็นในสื่อต่างๆ อาทิ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น สถานีโทรทัศน์ วิทยุชุมชน หรืออินเตอร์เน็ต เช่น การเปิดให้แสดงความคิดเห็นในรูปแบบของการเสนอนโยบายประชาชนของเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เป็นต้น

3. การใช้วิธีการ Deliberative Polling ที่จะสามารถบอกเราได้ว่าอะไรคือสิ่งที่สาธารณชนทั้งหมดคิดกับประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับนโยบายหรือเกี่ยวกับผู้สมัครรับเลือกตั้งภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ประชาชนได้มีโอกาสขบคิดกันอย่างกว้างขวาง(Extensive Reflection) และได้มีหนทางเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งวิธีนี้อาจพอเทียบเคียงได้จากหลักการใช้วิธีการจับฉลากสุ่ม เลือก(Lottery)แบบประชาธิปไตยแบบเอเธนส์ หรือหลักการแนวความคิดที่ให้มีคณะผู้เลือกตั้ง(Electoral College)ของสหรัฐอเมริกา หรือแม้กระทั่งการใช้คณะลูกขุนพลเมือง(Citizens’ Juries) เป็นต้น

กล่าวโดยสรุปก็คือ ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ(Deliberative Democracy) เน้นที่การถกเถียงปรึกษาหารือกันก่อนในหมู่ประชาชนทั่วไปก่อนที่จะตัดสินใจ ทางเมือง เช่น การที่จะปรองดองหรือไม่ปรองดองตามแบบที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสนอ หรือการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เพราะประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือนี้เล็งเห็นจุดอ่อนของระบอบประชาธิปไตยแบบ ตัวแทนที่ผ่านมาที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีเวลาหรือไม่มีโอกาสได้ถกเถียงถึงข้อ ดีข้อเสียของนโยบายต่างๆที่ฝ่ายการเมืองนำเสนอมิหนำซ้ำยังไม่ได้มีโอกาสแลก เปลี่ยนรับฟังความเห็นที่แตกต่างจากผู้คนในชุมชน ไม่ได้มีโอกาสซักถามถามถึงที่มาที่ไปของนโยบายต่างๆ ว่าทำไมต้องใช้นโยบายนั้นๆ และมีความเป็นไปได้มมากน้อยแค่ไหนรวมถึงผลกระทบต่างๆที่ตามมาของการใช้ นโยบายนั้นๆ

เราสามารถนำแนวความคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบปรึกษา หารือ(Deliberative Democracy) นี้มาประยุกต์ใช้ในสังคมไทยเราในปัจจุบันได้ทั้งระดับชุมชนและระดับชาติที่ สถานการณ์เต็มไปด้วยความแตกแยกในปัจจุบันนี้ ซึ่งผมคิดว่าหากเราได้มีการนำแนวความคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบปรึกษา หารือ(Deliberative Democracy) มาใช้แล้ว โศกนาฏกรรมทางการเมืองในช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี้คงไม่เกิดขึ้นเป็นแน่

ยัง ไม่สายเกินไปที่เราจะนำแนวความคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบปรึกษา หารือ(Deliberative Democracy) มาใช้ในการแก้ปัญหาความแตกแยกของสังคมไทยในปัจจุบันและใช้ในการแก้ไขปัญหา ของการเป็นสภาผัวเมียในปัจจุบันนี้

แนว ความคิดเรื่องประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ(Deliberative Democracy) นี้เป็นของใหม่ อาจจะเข้าใจยากสักนิดแต่คงไม่ยากเกินไป หากเราพยายามที่จะเข้าใจใช่ไหมครับ