ที่มา มติชน ชัดเจนแล้วว่า บริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด จำกัด ได้รับการคัดเลือกให้ชนะการประกวดราคาเพื่อทำสัญญาซื้อข้าวสารในสต็อกของ รัฐบาลเกือบ 2 ล้านตัน มูลค่ากว่า 22,000 ล้านบาท แบ่งเป็นข้าวในโกดังขององค์การตลาดเพื่อการเกษตร(อ.ต.ก.) จำนวน 1,024,403 ตัน ข้าวในโกดังขององค์การคลังสินค้า(อคส.)จำนวน 845,873 ตัน คาด กันว่า ถ้าปฏิบัติการปิดประตูตีแมวของกระทรวงพาณิชย์สำเร็จ บริษัท เอ็มที อินเตอร์เทรด(และเครือข่าย)จะฟาดกำไรไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท
พรทิวา นาคาสัย
โดย ประสงค์ วิสุทธิ์
ตัวเลขดังกล่าวมาจากการแถลงของนายจุ้งเชียง เฉิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2553(ขณะที่คณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสาร นางพรทิวา นาคาสัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจต่างปกปิดข้อมูลตัวเลขกันสุดฤทธิ์โดยอ้างว่า จะกระทบกับราคาข้าวในตลาด) หลังจากที่ถูกเปิดโปงว่า น.ส.ภาวินี จารุมนต์ หนึ่งในกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท เอ็มที อินเตอร์เทรด มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับครอบครัว"เทพสุทิน"ของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน หัวหน้ากลุ่มวังน้ำยม พรรคภูมิใจไทย ต้นสังกัดของนางพรทิวา นาคาสัย
กล่าว คือ น.ส.ภาวินี และครอบครัว"จารุมนต์"เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นในบริษัทของครอบครัว"เทพสุ ทิน" อย่างน้อย 2 แห่ง คือ บริษัท ดี แลนด์ เพอร์เฟค และบริษัท เมก้า แลนด์
ดังนั้น บริษัท เอ็มที อินเตอร์เทรด ซึ่งเป็นบริษัทโนเนม จึงถูกมองจากวงการค้าข้าวว่า น่าจะเป็น"ร่างทรง"ของนักการเมือง ซึ่งเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน(conflict of interest)และอาจมีการใช้อิทธิพลทางการเมืองทำให้บริษัท เอ็มที อินเตอร์เทรดกวาดข้าวสารในสต็อกของรัฐไปถึง 35% (จากที่มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 5.6 ล้านตัน)
ขณะ ที่บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการส่งออกข้าว 3 บริษัทได้รับการคัดเลือกจากคณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสารที่มีนายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศเพียง 4-5 แสนตันเท่านั้น
ความจริงเหตุการณ์ที่มีการปล่อยให้บริษัทเอกชนเพียงรายเดียวคือ บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้ง ผูกขาดการซื้อข้าวสารของรัฐเคยเกิดขึ้นมาแล้วในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนสร้างความปั่นป่วนให้แก่วงการค้าข้าวอย่างหนัก และยังมีการใช้อำนาจทางการเมืองเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัทดังกล่าวอย่างมากมาย
แต่ ในที่สุด บริษัท เพรซิเดนท์ อะกริฯก็ถึงกาลอวสาน ต้องล้มละลาย และถูกดำเนินคดีอาญาในข้อหาฉ้อโกงธนาคารพาณิชย์กว่า 12,000 ล้านบาทและยังพัวพันการทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทรอีกด้วย
คำถามคือ เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดซ้ำรอยกับกรณีบริษัท เอ็มที อินเตอร์เทรดหรือไม่
ตาม เงื่อนไขการขายข้าวสารในสต็อกของรัฐ บริษัท เอ็มที อินเตอร์เทรด ต้องวางเงินค้ำประกัน 5% หรือกว่า 1,000 ล้านบาท ขนข้าวออกจากโกดังและส่งไปจำหน่ายต่างประเทศภายใน 5 เดือน
แต่ เมื่อถึงเวล าทางบริษัทยังไม่ยอมวางเงินค้ำประกันในการทำสัญญาตามเงื่อนไขโดยอ้างว่า ข้าวสารที่ประมูลได้มีปริมาณมากไม่สามารถดำเนินการได้ทันและทำหนังสือขอขยาย ระเวลาออกไปเป็น 18 เดือน
การไม่ยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขการประมูลดังกล่าว ทั้งๆที่กำหนดไว้ก่อนการประมูลแล้ว ส่อพิรุธอย่างชัดเจน จึงต้องจับตาดูว่า คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าวที่มีนางพรทิวา นาคาสัย เป็นประธานและคณะกรรมการนโยบายข้าว(กขช.)ที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จะยอมตามข้อต่อรองอันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่บริษัท หรือไม่
เพราะ ถ้ายอมเท่ากับเป็นการเอาเปรียบบริษัทผู้ส่งออกรายอื่นที่เข้า ร่วมประมูลที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขซึ่งเป็นที่รับรู้กันทั่วไปอยู่แล้ว
แม้ จะมีผลประโยชน์ทับซ้อนและข้อพิรุธในการประมูลข้าวสารครั้งนี้ อย่างชัดเจน แต่ดูเหมือนว่า ทั้งกระทรวงพาณิชย์และรัฐบาลทำเป็นไขสือเหมือนต้องการปล่อยมีการทำหากินกัน อย่างเป็นล่ำเป็นสันต่อไป
อย่างไรก็ตามมีข่าวว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป. ช.)มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าวและสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปรวบรวมข้อเท็จจริง ขึ้นมาว่า มีการกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐหรือมีการใช้ อำนาจหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่เพื่อนำเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช.เพื่อแต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวนโดยด่วนแล้ว
ขณะเดียวกันในการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมจิตสำนึกด้านจริยธรรม ของผู้ตรวจการแผ่นดิน มีการหยิบยกเรื่องดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาเห็นว่า เข้าข่ายมีผลประโยชน์ทับซ้อนซึ่งขัดต่อจริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐและนักการ เมือง ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงรับที่จะตรวจสอบเรื่องนี้โดยเร็วเช่นกัน
จริงอยู่ บรรดานักการเมืองอาจไม่เห็นการตรวจสอบของทั้งสององค์กรอิสระอยู่ในสายตา
แต่อย่าลืมว่า นักการเมืองที่เคยคิดแบบเดียวกันนี้จำนวนมาก(ไม่ว่าหญิงหรือชาย) ต้องพบจุดจบที่น่าอเนจอนาถมาแล้ว