WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, January 23, 2012

ราชดำเนินเสวนา: เสนอจัดเวทีระดับตำบล ระดมไอเดียแก้ รธน.

ที่มา ประชาไท

ถกแก้ รธน. ลิขิต ธีรเวคิน เสนอแก้ ม.237-309 เหตุขัดหลักนิติธรรม ด้านลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ เสนอจัดเวทีระดับตำบล ระดมไอเดียแก้ รธน. สุนี ไชยรส เล็งแก้ที่มาองค์กรอิสระ-ส.ว.เหตุเลือกกันเองในวงจำกัด

22 ม.ค.54 ในราชดำเนินเสวนา ซึ่งจัดโดยสมาคมนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์ เรื่อง "ทาง เลือกยกร่างรัฐธรรมนูญ: เลือกตั้ง สสร. หรือตั้งกรรมการ?" ที่ห้องประชุมชั้น 3 สมาคมนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน

ลิขิต ธีรเวคิน ราชบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ กล่าวว่า หากจะแก้รัฐธรรมนูญจะต้องแก้มาตรา 291 ให้มี สสร.เพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ก่อน โดยหากจะแก้ มองว่ามี 2 มาตราซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักนิติธรรมคือ มาตรา 237 ที่เปิดโอกาสให้มีการใช้กฎหมายย้อนหลัง ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง ซึ่งผิดหลักสากลและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และมาตรา 309 ที่เป็นเหมือนรัฐธรรมนูญเหนือรัฐธรรมนูญ โดยส่วนตัว มองว่าลึกๆ แล้วมาตรานี้คือการคงอำนาจ คตส. เพราะหากไม่มีมาตรานี้ เท่ากับต้องเลิกล้ม คตส. กลับไปใช้กระบวนการศาลแพ่งและอาญา รวมถึงต้องแก้ไขเรื่องที่มาของ กกต. และ ปปช.ซึ่งแต่งตั้งโดย คมช. และอยู่ในวาระนานถึง 9 ปี

ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ รองประธานสภาพัฒนาการ เมือง กล่าวว่า เมื่อดูตัวเลขพบว่าประชาชน 57.81% เท่านั้นที่ลงมติรับรัฐธรรมนูญ 2550 ขณะที่ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ พบว่าประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 28 จังหวัด จำนวนมากไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญเลย จึงตั้งคำถามว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นตัวแทนความเห็นของประชาชน หรือเป็นกลไกของประชาชนทั้งประเทศจริงหรือไม่ ดังนั้น ส่วนตัวเห็นว่าควรแก้รัฐธรรมนูญ โดยเน้นที่กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้ประชาชนรู้สึกเป็นเจ้าของ รู้สึกว่าใช้เป็นเครื่องมือได้ ซึ่งจะทำให้รัฐธรรมนูญมีความยั่งยืน

ลัดดาวัลย์เสนอว่า ให้จัดเวทีระดับตำบล โดยอาจทำผ่านกลไกระดับตำบล อย่าง อบต. กรรมการหมู่บ้าน สภาวิชาการเมือง กกต. ปปช. ระดับจังหวัด ให้ประชาชนพูดคุยกันให้ตกผลึกว่าอยากเห็นรัฐธรรมนูญแบบใด เอาข้อเสนอมาประมวล และเลือกคนที่สามารถแสดงความเห็น เพื่อไปเสนอระดับจังหวัด ขึ้นไปถึงระดับประเทศ เมื่อทุกคนมีส่วนร่วม จะจดจำได้ว่าเป็นเจ้าของความคิดอะไร จะใช้เครื่องมืออย่างไร ในกรณีมีความเห็นต่าง ควรใช้กระบวนฉันทามติและใช้การโหวตระดับประเทศกรณีที่เห็นต่างกันมาก แล้วนำร่างรัฐธรรมนูญไปออกเสียงประชามติ

สุนี ไชยรส กรรมการปฏิรูปกฎหมาย แสดงความเห็นด้วยว่าควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะรัฐธรรมนูญซึ่งเกิดจากการฉีกรัฐธรรมนูญ 2540 นี้ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งทางการเมืองที่ดุเดือดมาก อย่างไรก็ตาม ไม่เห็นด้วยหากกระบวนการแก้ไขจะเป็นไปด้วยความรวบรัด เพราะหากกระบวนการไม่ชอบ ประชาชนไม่มีส่วนร่วม จะนำสู่ปัญหาไม่จบสิ้น

สุนีกล่าวว่า กระบวนการร่างนั้น เห็นด้วยว่าต้องมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ โดยที่มาของ สสร. ต้องจำแนกออกจากกระบวนการทางการเมือง ไม่ใช่เป็นรูปแบบการเลือกตั้งทั่วไปแบบ สส. สว. ก่อนกระบวนการร่าง ต้องกำหนดประเด็นให้ประชาชนถกเถียงโดยไม่มีเงื่อนเวลา หากทุกคนยอมรับว่าต้องแก้ไข ต้องมีเป้าหมายร่วมกันว่าแก้เพื่ออะไร เพื่อนำไปสู่การยอมรับที่กว้างขวาง โดยมีเงื่อนไขว่า สภาต้องไม่มีส่วนแก้ไขรายมาตรา และนำสู่ประชามติ

ทั้งนี้ สุนีเสนอว่า ประเด็นใหญ่ที่ควรมีการแก้ไขคือ กระบวนการเลือกองค์กรอิสระ และ ส.ว. ซึ่งเดิม มีที่มาจากภาคประชาชนบ้าง แต่ตอนนี้กลายเป็นมีที่มาจากศาลเป็นหลักและนักการเมืองบางส่วน เลือกกันไปมาในวงจำกัด แต่มีสิทธิแต่งตั้งและถอดถอน ส.ส. นอกจากนี้ บางหมวดของรัฐธรรมนูญที่ดีอยู่แล้ว เช่นเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนไม่ควรแก้ไข และอยากให้ส่งเสริมการกระจายอำนาจด้วย

วิรัตน์ กัลยา คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า สิ่งที่พวกตนเองยืนยันมาตลอดคือแก้รัฐธรรมนูญได้ แต่ต้องดูช่วงเวลาว่าเหมาะสมหรือไม่ ทั้งนี้ ตั้งคำถามไว้ว่าขณะนี้ประชาชนรู้เรื่องรัฐธรรมนูญดีแค่ไหน และจะแก้เพื่อใคร เพื่อประชาชนหรือใครบางคน ดังนั้น หากจะแก้รัฐธรรมนูญ ขอให้มีกระบวนการให้ความรู้กับประชาชนโดยเท่าเทียมกัน จากนั้นตั้งคณะกรรมการอิสระศึกษาทั้งผล
ดีและผลเสีย สอบถามประชาชนว่าอยากแก้ประเด็นอะไร

ทั้งนี้ วิรัตน์เน้นว่า สิ่งที่ต้องคงอยู่คือการตรวจสอบถ่วงดุล เพราะการแทรกแซงองค์กรอิสระยังมีอยู่ พร้อมเตือนว่า แต่หากการแก้รัฐธรรมนูญเร่งรัดเกินไป ไม่เปิดให้ศึกษา หรือสังคมเคลือบแคลงว่าจะแก้เพื่อใคร จะทำให้เกิดความขัดแย้ง บ้านเมืองลุกเป็นไฟ

วุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการ สถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า การแก้รัฐธรรมนูญนั้นไม่ว่าเขียนอย่างไรก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทางการเมืองได้ทั้งหมด การจะแก้ปัญหาการแทรกแซง-ซื้อเสียงต้องแก้ที่วัฒนธรรมการเมือง ทั้งนี้ บางเรื่องเช่น การแก้มาตรา 237 ว่าด้วยการยุบพรรค อาจมีคนได้ประโยชน์ในอนาคต ไม่ควรตั้งแง่ว่าทุกคนได้ประโยน์ แต่บางคนได้ประโยชน์ไม่ได้ เหมือนการตัดถนน ที่คนทุกคนได้ประโยชน์ แต่คนที่บ้านอยู่แถวนั้นย่อมได้ประโยชน์ไปด้วย

วุฒิสารเสนอว่าควรรู้ก่อนว่าจะแก้สาระอะไร ถึงจะรู้ว่าที่มาของผู้ร่างฯ ควรเป็นใคร โดยต้องได้ข้อตกลงระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ และไม่ควรรังเกียจตัวแทนทางการเมือง เพราะคนร่าง ไม่ว่าเป็นใครก็เป็นกลุ่มผลประโยชน์ทั้งนั้น

พงษ์เทพ เทพกาญจนา อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย เสนอว่า สภาร่างรัฐธรรมนูญควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชน เพื่อไม่ให้มีข้อครหาว่านักการเมืองมาร่าง ทั้งนี้ต้องมีกลไกรับฟังความเห็นประชาชนให้มากที่สุด โดยช่วง 4 เดือนก่อนมี สสร. ควรมีการโยนประเด็นให้ประชาชนถกเถียง เพื่อเตรียมข้อมูลให้ สสร.ที่จะมีขึ้น เมื่อได้ร่างรัฐธรรมนูญมาแล้วให้ลงประชามติ เพื่อแสดงถึงการยอมรับจากประชาชน