WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, January 23, 2012

อ่านกรอบเนื้อหารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยนิติราษฎร์ ที่นี่

ที่มา ประชาไท

นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ เสนอกรอบเนื้อหารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ระบุหวังการปฏิรูปกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย ใช้รัฐธรามนูญ 3 ฉบับแรกของไทยเป็นรากฐานการวางร่างเนื้อหา

22 ม.ค.55 ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ เสนอกรอบเนื้อหารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ เป็นตัวแทนในการนำเสนอ โดยกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญนี้เป็นการปฏิรูปกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะไม่ยาวมากนัก แต่เปิดโอกาสให้มีกฎหมายกำหนดรายละเอียดในแต่ละเรื่องเพื่อให้รัฐธรนรมนูญ ที่ทำขึ้นมีมีคุณค่าสูงสุด และสถาพรตลอดไป

รากฐานจากรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับแรก + รัฐธรรมนูญ 2540
จันจิรา เอี่ยมมยุรา กล่าวว่า กรอบเนื้อหาการร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวนั้น ใช้รัฐธรรมนูญ 3 ฉบับแรกเป็นกรอบในการยกร่างฯ และพิจารณานำรัฐธรรมนูญปี 2540 ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ สถาบันทางการเมืองและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐมาประกอบ

เหตุผลที่นำรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับแรกมาเป็นกรอบนั้น เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่วางรากฐานประชาธิปไตยของไทย คือธรรมนูญชั่วคราวปี 2475 ที่เป็นฉบับแรกนั้นบัญญัติว่า อำนาจสูงสุดเป็นของราฎรทั้งหลาย เป็นการปักหมุดลงไปวางรากฐานว่าอำนาจสูงสุดซึ่งเดิมนั้นเป็นของกษัตริย์ บัดนี้ได้ถูกถ่ายโอนมาสู่ประชาชน

ก่อนหน้า 2475 เราไม่เคยมีแนวคิดที่จะถ่ายโอนอำนาจมาเป็นของประชาชน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ไม่ได้มีแนวคิดที่จะถ่ายโอนอำนาจให้แก่ประชาชนด้วยพระองค์เอง หลักฐานนี้ปรากฏอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่พระบาทสมเด็จพระปกเกหล้าฯ ได้โปรดฯ ให้พระยากัลยาณไมตรี ร่างรัฐธรรมนูญฯ ซึ่งเขียนเอาไว้ว่าอำนาจสูงสุดตลอดทั่วราชอาณาจักรเป็นของกษัตริย์ นี่คือหลักฐานว่ากษัตริย์ในรัชกาลนั้นยังคงสงวนอำนาจสูงสุดไว้เป็นของสถาบัน กษัตริย์ แต่รัฐธรรมนูญปี 2475 เป็นการถ่ายโอนอำนาจดังกล่าวมาสู่ประชาชน

สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับ 2 คือรัฐธรรมนูญปี 2475 เป็นฉบับที่ระบุว่าสถาบันกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้สถาปนารัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย สยามเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวที่แบ่งแยกไม่ได้ เป็นการยอมรับหลักราชารัฐ คือรัฐนั้นมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

นี่เองที่เป็นการประกาศระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพราะหลังจากนั้นพระมหากษัตริย์จะไม่มีอำนาจในการตรากฎหมายลำพังโดยพระองค์ เอง แต่ต้องทำโดยการแนะนำและยินยอมขององค์กรที่ใช้อำนาจแทนราษฎร

ในรัฐรรมนูญฉบับที่ 3 คือ รัฐธรรมนูญปี 2489 เป็นการสถาปนาระบบสองสภา ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นการแสดงรูปธรรมของหลักการที่รัฐธรรมนูญฉบับแรกและฉบับที่สองประกาศเอา ไว้ โดยกำหนดให้สภาผู้แทนและพฤฒิสภามาจากการเลือกตั้ง

สำหรับรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นการสถาปนาโดยระบอบสภาผู้แทนและผสมผสานประชาธิปไตยโดยตรงด้วย คือให้ประชาชนสามารถเสนอแก้ไขกฎหมายได้ และเป็นผู้ตัดสินใจชี้ขาดบางประเด็น เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นต้น

สำหรับรัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฎร์เลือกประกาศคณะราษฎร์เป็นจิตวิญญาณของรัฐ ธรรมนูญ เพราะว่า เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2475 คณะราษฎร์ได้อ่านประกาศ 6 ประการ ซึ่งข้อ 4 คือ ให้ประชาชนมีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่เจ้ามีสิทธิเหนือกว่า เป็นการลงหลักปักฐานหลักความเสมอภาคเบื้องหน้ากฎหมาย และหลักความเสมอภาคนี้เองเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญทุกฉบับ

สำหรับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นการรับรองสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นหลักรัฐธรรมนูญทั่วไป เพราะไทยได้ลงนามรับรองแล้ว

ในส่วนของประเด็นเนื้อหาของรัฐธรรมนูญนั้น จันทจิรา กล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฎร์จะเป็นการนำกลับมาซึ่งเจตจำนงของคณะราษฎร์ ซึ่งจะเริ่มต้นในโอกาสครบรอบ 80 ปีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

ประเด็นสถาบันกษัตริย์ ถึงเวลาพูด ควรจะต้องพูด
วรเจตน์กล่าวว่า หลังจากฟังข้อเสนอแล้ว เหมือนนิติราษฎร์เปิดแนวรบ 10 ทิศจะไปไหวหรือ ซึ่งเขากล่าวว่า จะเป็นการดีหากเปิดให้กลุ่มทางสังคมได้แสดงจุดยืน และหากเห็นด้วยกับนิติราษฎร์ก็จะห็นว่าข้อเสนอนั้นเป็นการแก้ปัญหาเหมือนผ่า ตัดใหญ่ ซึ่งถ้าไม่ทำแบบนี้ก็แก้ปัญหาไม่ได้

เขากล่าวถึงข้อกล่าวหาเรื่องล้มเจ้า หรือล้มสถาบันที่หลายคนพยายามโยนข้อกล่าวหาเพื่อทำลายการเคลื่อนไหวทางความ คิดของนิติราษฎร์ ซึ่งเขาระบุว่าขอให้ฟังให้เข้าใจ โดยเฉพาะสื่อมวลชนที่มองนิติราษฎร์เป็นศัตรูว่า รัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นรัฐธรรมนูญในราชอาณาจักร ไม่ใช่การเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ ดังนั้นเลิกการกล่าวหาดังกล่าวได้แล้ว แต่แม้จะเป็นราชอาณาจักร ก็ต้องมีการปฏิรูปให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ตามระบอบประชาธิปไตย ทั้งนี้ แม้จะมีความเข้าใจ หรือการบัญญัติว่ารัฐธรรมนูญหมวดพระมหากษัตริย์นั้นห้ามแตะต้อง แต่หมวดดังกล่าวกลับถูกแตะต้องมาโดยตลอด เช่น ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ก็มีการแก้ไขในหมวดดังกล่าว

“บางเรื่องควรพูดกัน เมื่อถึงเวลาก็ควรจะพูด แล้วเปิดใจฟังกันว่าแต่ละฝ่ายมีเหตุผลอย่างไร เพื่อให้สถาบันกษัตริย์ดำรงอยู่และสอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยต่อไป” วรเจตน์กล่าว

อีกประการคือ ความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตยขององค์กรตุลาการ วรเจตน์กล่าวว่า มีการให้ผู้พิพากษาศาลสูงเสนอโดย ครม. โดยรายละเอียดในทางกฎหมายจะมีกระบวนการเพื่อสร้างความชอบธรรมมาเป็นตัวกำหนด และตัวพิพากษาในศาลสูงควรเป็นแบบสากลคือไม่ควรจะมีจำนวนมากเกินไป

การรัฐประหารและการต่อต้านการรัฐประหาร
ปิยบุตร แสงกนกกุล อธิบายถึงเนื้อหาร่างฯ ดังกล่าวว่า มีการกำหนดให้ประมุขของรัฐต้องสาบานตนว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและพิทักษ์ ไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญก่อนเข้ารับตำแหน่ง ประการที่หนึ่งเพื่อเป็นสัญลักษณ์ แสดงให้เห็นว่าสถาบันกษัตริย์ในฐานะเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ถือเป็นองค์กรภายใต้รัฐธรรมนูญ จึงต้องแสดงความเคารพในรัฐธรรมนูญ อีกประการหนึ่งคือ กษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐที่เป็นศูนย์รวมจิตใจคนในชาติ จึงมีหน้าที่ที่ต้องพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ

“ในประเทศที่เป็นราชอาณาจักร และเป็นประชาธิปไตยทั่วโลกมีบทบัญญัติเช่นนี้ทั้งสิ้น” เขากล่าวและว่าสังคมไทยเคยพูดเรื่องนี้มาแล้วใน พ.ศ. 2475 แต่สังคมไทยถูกทำให้ลืม จึงต้องรื้อฟื้น

สำหรับหลักรัฐบาลพลเรือนเหนือทหารนั้น รัฐสภาต้องมีกรรมาธิการชุดหนึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบกองทัพทั้งในแง่งบประมาณและ รักษาสิทธิและหน้าที่ให้ทหารชั้นผู้น้อย

อีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องสิทธิหน้าที่ของทหารชั้นผู้น้อยในการปฏิเสธคำ สั่งที่ละเมิดรัฐธรรมนูญ ซึ่งสามารถนำสิทธิที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนุญยกขึ้นต่อสู้กับคำสั่ง ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ส่วนประเด็นสุดท้ายคือ การต่อต้านการแย่งชิงอำนาจสูงสุดของประชาชน ซึ่งคณะนิติราษฎร์ได้เสนอมาตลอด และแม้รัฐรรมนูญที่ผ่านมาจะมีการเขียนถึงสิทธิในการต่อต้านรัฐประหาร แต่ต้องทำโดยสันติวิธี เขากล่าวว่าประเทศกรีซมีการรัฐประหารบ่อยมาก ล่าสุดมีการเขียนในรัฐธรรมนูญว่าประชาชนมีสิทธิและหน้าที่ในการต่อต้านการ แย่งชิงอำนาจสูงสุดของประชาชน ซึ่งการต่อต้านนี้คือ “ทุกวิธีการ” หลังการบัญญัติเช่นนี้ กรีซไม่มีการรัฐประหารอีกเลย เขากล่าวว่าแนวคิดเช่นนี้ หากนำมาปรับใช้กับไทยก็น่าจะได้ผลเช่นกัน

วรเจตน์กล่าวเสริมว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันให้ประชาชนต่อต้านได้โดยสันติวิธี แต่เขาเห็นว่าในบรรยากาศของการแย่งชิงอำนาจนั้น การเรียกร้องให้ประชาชนใช้สันติวิธีเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็น

“คือการต่อต้านรัฐประหารทุกวันนี้ ท่านต้องไปกราบคนทำรัฐประหาร หรือไปทำสมาธิหน้ารถถังเพราะถ้าท่านใช้วิธีอื่นมันไม่สันติวิธี ผมแปลกใจมากเลยว่าทำไมเวลาจะต่อต้านอะไรแบบนี้คุณเรียกร้องสันติวิธี ถึงตอนนั้นมันเป็นการแย่งชิงอำนาจ ถึงเวลานั้นประชาชนทุกคนมีหน้าที่และสิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญเอาไว้ ไม่จำเป็นต้องสันติวิธี” วรเจตน์กล่าว

ท้ายสุด วรเจตน์กล่าวถึงการโจมตี การกล่าวร้ายนคณะนิติราษฎร์ว่ามีมาอย่างต่อเนื่อง เรื่องแรกคือ เรื่องการรับเงิน หรือการได้ผลประโยชน์จากอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

“หลายคนที่โจมตีนั้นใช้จิตใจของเขาประเมินจิตใจของเรา เราทุกคนที่เป็นนิติราษฎร์นั้นมีศักดิ์ศรี เรามุ่งหวังอย่างเดียวอยากให้ประเทศเป็นนิติรัฐและเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้ จริง”

เขากล่าวว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวปัจจุบันแทบไม่มีแล้ว เพราะไม่มีมูลความจริง แต่ถูกยกระดับไปอีกชั้นหนึ่งคือ เรื่องทางความคิด

“สังคมนี้กำลังมีผู้วิเศษเข้าไปในสมองของเรา แล้วบอกว่ารู้นะ คิดอะไรอยู่ บางคนอ้างว่ารู้จักนิติราษฎร์ดี การที่เขาพูดแบบนั้นคือการที่เขาไม่รู้ว่าเราเป็นอย่างไร นี่คือความพยายามที่จะดิสเครดิต ใช้วิธีการแบบนี้มาทำลาย และมีการพูดจาไปต่างๆ นานา ซึ่งเป็นเท็จ เป็นการพูดมุสา แต่สังคมไทยเราก็อยู่กับความเท็จมานานหลายปีแล้ว ผมไม่มีปัญหากับใครเลย กับสื่อมวลชน หรือเพื่อนร่วมวิชาชีพ ใครจะตั้งกลุ่มอะไรตามไม่มีปัญหา แต่ขอให้สู้กันแบบแฟร์ๆ ทางความคิด อย่าทำร้ายกันด้วยวิธีการอันสกปรกต่างๆ ที่พยายามทำกันมาโดยตลอด”

วรเจตน์กล่าวว่า อีกประเด็นคือ นี่เป็นครั้งแรกที่เป็นการจัดงานที่หอประชุมเล็ก จากเดิมที่จัดที่คณะนิติศาสตร์ซึ่งไม่มีค่าใช้จ่าย แต่วันนี้ย้ายมาจัดที่หอประชุมเล็ก เพราะทางคณะแจ้งว่าไม่สะดวกให้ใช้สถานที่เนื่องจากเกรงจะเสียงดังรบกวนการ เรียนการสอน การย้ายสถานที่มีค่าใช่จ่าย แต่นิติราษฎร์จะยังไม่รับเงินบริจาคจากใครทั้งสิ้น ไม่ใช่เพราะร่ำรวย แต่อยากให้งานที่ทำเป็นกิจกรรมที่บริสุทธิ์ในทางวิชาการ จนถึงวันนี้ยังมีกำลังพอที่จะทำกันได้ และจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

กรอบเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฎร์

กรอบเนื้อหาโดยสังเขปของรัฐธรรมนูญตามความคิดของคณะนิติราษฎร์ มีดังต่อไปนี้

รัฐธรรมนูญและเอกสารทางการเมืองที่ใช้เป็นพื้นฐานของการจัดทำรัฐธรรมนูญ

  • พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 และอาจนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 254๐ ในส่วนของการประกันสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนโครงสร้างสถาบันการเมืองและองค์กรทางรัฐธรรมนูญเท่าที่สอดคล้องกับ พัฒนาการในยุคร่วมสมัย
  • ประกาศคณะราษฎร
  • ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declarati0n 0f Human Rights) ลงวันที่ 1๐ ธันวาคม 1948 ของสหประชาชาติ

คำปรารภของรัฐธรรมนูญ

  • การอภิวัฒน์ 24 มิถุนายน 2475
  • ความเลวร้ายของรัฐประหารอันก่อให้เกิดวงจรอุบาทว์ในการเมืองไทย
  • การหวนกลับไปหาเจตนารมณ์ของคณะราษฎร และอุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบคณะราษฎร
  • ประกาศหลักการพื้นฐานของราชอาณาจักรไทย

ประเด็นเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฎร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูป “สถาบันกษัตริย์ – ศาล – กองทัพ –สถาบันการเมือง” ให้สอดคล้องกับประชาธิปไตยและนิติรัฐ ดังนี้

1. หลักราชอาณาจักร

  • ประมุขของรัฐ คือ พระมหากษัตริย์
  • ปฏิรูปกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์
  • จัดวางโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประมุขของรัฐกับองค์กรผู้ใช้อำนาจอื่นๆ

2. หลักประชาธิปไตย

  • อำนาจสูงสุดของประเทศเป็นของประชาชน
  • อำนาจสูงสุดของประชาชนเป็นฐานแห่งอำนาจของระบบการปกครองประเทศและองค์กรผู้ใช้อำนาจทั้งหลาย
  • เจตจำนงของประชาชนแสดงออกโดยการเลือกตั้งอย่างแท้จริงที่กำหนดให้มีขึ้น ตามระยะเวลาที่แน่นอน โดยทั่วไป โดยเสมอภาค โดยเสรี และโดยลับ
  • เคารพเสียงข้างน้อย และเปิดโอกาสให้เสียงข้างน้อยสามารถกลับมาเป็นเสียงข้างมาก

3. หลักนิติรัฐ

  • การปกครองโดยกฎหมายที่ยุติธรรม
  • กฎหมายที่ใช้ปกครองประเทศต้องมาจากความเห็นชอบของผู้แทนประชาชนหรือประชาชนโดยตรง
  • หลักการแบ่งแยกอำนาจ การประกันสิทธิเสรีภาพ

4. ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ

  • รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
  • กำหนดให้มีองค์กรควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
  • หน้าที่ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญของกษัตริย์
  • กำหนดให้ประมุขของรัฐต้องสาบานตนว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและพิทักษ์ไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ ก่อนเข้ารับตำแหน่ง

5. ความเป็นรัฐเดี่ยวแบบกระจายอำนาจ

  • ราชอาณาจักรไทยเป็นรัฐเดี่ยว แบ่งแยกมิได้
  • รัฐต้องเคารพหลักการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น

6. หลักประกันสิทธิและเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

  • กำหนดให้สิทธิและเสรีภาพที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นมีผลโดยตรง และผูกพันองค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐทั้งปวง
  • รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาค และสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนสิทธิมนุษยชนที่รับรองไว้ในกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นรัฐ ภาคี

7. การแบ่งแยกอำนาจให้ได้ดุลยภาพระหว่างสถาบันการเมือง

  • แบ่งแยกองค์กรผู้ใช้อำนาจสูงสุดของประชาชนเป็น 3 องค์กร ได้แก่ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ
  • กำหนดให้วิธีการใช้อำนาจเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
  • ความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารเป็นระบบรัฐสภา

8. โครงสร้างของสถาบันทางการเมืองและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ

  • กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยตรง โดยใช้ระบบเลือกตั้งที่มีความยุติธรรมและเสมอภาคแก่ประชาชนผู้ออกเสียงเลือก ตั้งทั้งในแง่จำนวนคะแนนเสียงและค่าของคะแนนเสียง
  • กำหนดให้มีการปฏิรูปกฎหมายรัฐสภา
  • กำหนดให้มีพระราชบัญญัติรัฐมนตรี และข้อบังคับการประชุมคณะรัฐมนตรี
  • ยุบเลิกองค์กรตามรัฐธรรมนูญในปัจจุบันที่ไม่มีสถานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญในทางเนื้อหา
  • ประกันความเป็นสถาบันขององค์กรอิสระในทางปกครอง
  • กำหนดให้ใช้ระบบสภาเดี่ยว แต่หากต้องการให้ใช้ระบบสองสภา ที่มาของสภาทั้งสองต้องมาจากการเลือกตั้ง

9. ความชอบธรรมทางประชาธิปไตยขององค์กรตุลาการ

  • ผู้พิพากษาศาลสูงและตุลาการศาลสูง ต้องได้รับการเสนอชื่อโดยคณะรัฐมนตรี และได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
  • กำหนดให้มีผู้พิพากษาสมทบที่ได้รับการเลือกจากประชาชนหรือองค์ที่มีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยในศาลระดับล่าง
  • การแจ้งบัญชีทรัพย์สินของผู้พิพากษาศาลสูงและตุลาการศาลสูง และเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินต่อสาธารณะ
  • คณะกรรมการที่ทำหน้าที่บริหารงานบุคคลของผู้พิพากษาและตุลาการต้องมีความเชื่อมโยงกับประชาชน
  • ปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยกระบวนการได้มาซึ่งผู้พิพากษาตุลาการและว่าด้วยหน่วยธุรการของศาล

10. การยอมรับความเป็นสังคมพหุนิยม

  • รับรองความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ความคิด ความเชื่อ

11. การตรวจสอบใช้อำนาจรัฐของทุกองค์กรให้ได้ประสิทธิภาพและดุลยภาพ

  • ปฏิรูปกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบอำนาจรัฐ

12. หลักประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ

  • เคารพหลักเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมโดยกลไกตลาด
  • ส่งเสริมให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม และจัดให้มีระบบสวัสดิการอย่างทั่วถึง

13. หลักความสูงสุดของรัฐบาลพลเรือนเหนือทหาร

  • กำหนดให้มีผู้ตรวจการกองทัพที่แต่งตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎร
  • รับรองสิทธิและหน้าที่ของทหารในการปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ บังคับบัญชาที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและละเมิดกฎหมายอย่างชัดแจ้งและร้ายแรง
  • การแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งระดับสูงในกองทัพเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรี

14. ความชอบธรรมทางประชาธิปไตยในกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่าย

  • การเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหารเท่านั้น
  • การพิจารณาและให้ความเห็นชอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา
  • องค์กรอื่นใดไม่อาจเสนอหรือแปรญัตติงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้

15. การต่อต้านการแย่งชิงอำนาจสูงสุดของประชาชน

  • กำหนดให้มีบทบัญญัติในหมวดว่าด้วย “การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549” โดยมีเนื้อหาสาระตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์เรื่องการลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
  • กำหนดให้ปวงชนชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่ในการต่อต้านโดยวิธีการใดๆต่อการแย่งชิง (usurpation) อำนาจสูงสุดของประชาชน
  • กำหนดให้การแย่งชิงอำนาจสูงสุดของประชาชนเป็นความผิดอาญา ภายหลังการรื้อฟื้นอำนาจที่ชอบธรรมกลับมาได้แล้ว ก็ให้ดำเนินคดีต่อบุคคลที่แย่งชิงอำนาจสูงสุดของประชาชนดังกล่าว โดยให้อายุความเริ่มนับตั้งแต่มีการรื้อฟื้นอำนาจอันชอบธรรมนั้น

คณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร
ท่าพระจันทร์, 22 มกราคม 2555