ที่มา Thai E-News
พรรคเพื่อไทยและ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ชนะเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 หรือขวบปีที่แล้วแบบฟ้าถล่ม บนคำสัญญาและความคาดหวังจากผู้ออกเสียงล้นเปี่ยม
ดังทีั่รู้1ปี ผ่านไปคำสัญญานั้นยังไม่กลายเป็นจริง เข้าตำรา"ปกครองได้แต่บริหารไม่ได้" พรบ.ปรองดองถูกตีโต้จนถอยร่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญปี50ถูกตีกลับว่าจะล้มล้างรธน.จนถูกข่มขู่จะนำไปสู่การ รัฐประหารด้วยตุลาการอีกหน
คำสัญญาที่ว่าจะ นำผู้กระทำผิดบงการ และสังหารหมู่เหตุการณ์ชุมนุมเดือนเมษา-พฤษภา2553มาลงโทษเลือนหาย ขณะที่ผู้ออกเสียงสนับสนุนให้ยิ่งลักษณ์พากันติดตามเร่งรัด ล่่าสุดธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานนปช.เรียกร้องมาจากกรุงเฮก ระหว่างไปยื่นเรื่องต่อICCให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ลงนามในกติกาสัญญาโรม เพื่อจะได้เอาคนผิดไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศได้
ไม่มีคำตอบใดๆจากยิ่งลักษณ์
ไทยอีนิวส์จัดทำ โพลล์เรื่องครบรอบ 1 ปีเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง 3กรกฎาคม 2554 มีท่านผู้อ่านที่โหวตในประเด็น"รัฐบาลต้องกล้าหาญและตอบสนองความต้องการของ ประชาชนมากกว่าในรอบปีที่ผ่านมา"มากกว่า68% อีก10%ที่บอกว่าผิดหวังหากมีทางเลือกใหม่ที่ดีกว่านี้ก็คงดี เพียงราว20%ที่บอกว่าจะปกป้องรัฐบาลนี้(โดยปราศจากเงื่อนไข)
ก่อน หน้านี้มีผู้นำสารคดี Thailand - Justice Under Fire (ประเทศไทย-ความยุติธรรมที่ปลายกระบอกปืน)ออกเผยแพร่อีกครั้่งทางYoutube(ดู ที่http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=sdffMC1UEUQ อัพโหลดโดย minitau1)โดยในคราวนี้ได้ปรับปรุงซับภาษาไทยให้มีความคมชัดอ่านง่ายยิ่งกว่าเวอร์ชั่นเดิม
ความ น่าสนใจของสารคดีชุดนี้ที่จัดทำโดยสถานีโทรทัศน์BBCที่ออกเผยแพร่ครั้งแรกใน เดือนสิงหาคม2554 ก็คือว่า แม้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ที่เพิ่งชนะการเลือกตั้งในเวลานั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะได้กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า หากพบหลักฐานทหารสังหารประชาชน พวกเขาก็ต้องติดคุก โดยผู้พิพากษาจะตัดสินคดีเหล่านี้ ซึ่งBBCกล่าวว่า หากยิ่งลักษณ์ทำตามที่พูดได้จริงๆมันจะเป็นครั้งแรกในหน้าประวัติศาสตร์ใหม่ ของไทยเลยทีเดียว
แต่BBCตั้ง ข้อสงสัยว่าจะเป็นจริงไปได้เพียงไหน เพราะประวัีติศาสตร์การเมืองไทยยุคใหม่ ไม่เคยมีการดำเนิืนคดีต่อกองทัพหรือผู้มีอำนาจสั่งการเลย ไม่ว่าจะในตอนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 หรือพฤษภาทมิฬ 2535 สุดท้ายก็มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมยกเว้นความผิดให้ และเกิดการฆ่าซ้ำขึ้นมาใหม่
ใน คราวเหตุการณ์ 10 เมษายน - 19 พฤษภาคม 2553 จากการทำข่าวสารคดีของBBCก็พบว่า มีความพยายามจะปกปิดความผิดให้กองทัพหรือผู้มีอำนาจสั่งการ อย่างคดีสังหารผู้สื่อข่าวช่างภาพชาวอิตาลี คือนายฟาบิโิอ โพเลนกี้นั้น ทางสำนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) แจ้งกับพี่สาวของผู้ตาย คืออิซา โพเลงกี โดยอ้างว่าำ ไม่มีทหารในที่เกิดเหตุขณะที่มีการยิงฟาบิโอในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 เลยซักคน
ทาง BBC ได้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวต่างประเ้ทศที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์นั้น 3 คน คนแรกคือ BRAD COX ยืนยันว่า DSI โกหกทั้งเพ ขอยืนยันว่ามีกองทหารอยู่ตรงนั้น อย่างน้่อยที่สุดก็ 1 ชั่วโมงก่อนเข้าสลายการชุมนุม
มิ เชล มาส นักข่าววิทยุเนเธอร์แลนด์ ที่ถูกยิงบาดเจ็บเวลาเดียวกับฟาบิโอ ก็ยืนยันว่า การยิงมาจากทิศทางกองทัพ พวกเราหลบอยู่ กระสุนมาจากทิศทางทหารตั้งอยู่
ขณะ ที่ผู้สื่อข่าวช่างภาพญี่ปุ่นอีกรายที่เห็นฟาบิโอถูกยิงล้มลงและเข้าไปลาก ตัวออกจากที่เกิดเหตุก็ยืนยันว่าทหารยิงใส่แน่ เพราะเขาเห็นกับตา
่
BBCรายงาน ว่า แกนนำเสื้อแดงได้แนะนำให้BBCสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ใน DSI สองคน ให้สัมภาษณ์โดยไม่เปิดเผยชื่อ และใบหน้า แต่บันทึกเทปสัมภาษณ์ไว้(ดูในคลิปYoutubeนาทีที่ 33)
เจ้า หน้าที่ 2 คนนี้ยืนยันว่า่ "เราเชื่อว่าการเสียชีวิตในเหตุการณ์นั้่น เกิดขึ้นโดยการยิงของทหาร แต่หลังจากที่เรามีข้อสรุปในคดีก่อนว่า ประชาชนถูกสังหารโดยกองทัพ คดีต่อมาที่มีข้อสรุปแบบเดียวกันก็ถูกขัดขวาง DSIถูกสั่งให้ปกปิดเรื่องกองทัพสังหารประชาชน เราถูกสั่งให้พูดว่า ในตอนนี้ยังไม่ทราบตัวผู้กระทำ แม้เราเชื่อว่า การเสีียชีวิตนั้นเกิดขึ้่นโดยการยิงของทหาร"
่เช่น เดียวกับคดีการตายของผู้สื่อข่าวช่างภาพญี่ปุ่น คือนายฮิโรยูกิ มูรามูโต้ ซึ่งถูกสังหารในวันที่ 10 เมษายน 2553 ตอนแรก DSI สรุปว่า เขาถูกฆ่าโดยทหาร ซึ่งตรงกับการสอบสวนของรอยเตอร์ ซึ่งเป็นต้นสังกัดของเขา แต่แล้วในเวลาต่อมาDSIได้เปลี่ยนแปลงรายงานว่า เขาอาจถูกฆ่าโดยฝา่ยเสื้อแดง
"มีนโย บายให้กล่าวโทษคนเสื้อแดงในทุกกรณีเท่าที่จะเป็นไปได้ ยังมีความพยายามจะออกคำสั่งว่า หากไม่พบผู้กระทำผิดให้โยนข้อกล่าวหาำไปให้ฝา่ยเสื้อแดง อธิบดี DSI เป็นผู้ออกคำสั่งนั้น"
"มี คำสั่งว่า หากไม่สามารถหาบุคคลที่เหนี่ยวไกปืนได้ เราจะต้องสันนิษฐานว่า ฝ่ายเสื้อแดงและผู้สนับสนุนเป็นคนทำ" แต่นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดี DSI ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ใดๆกับ BBC
พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศอฉ.กล่าวปฏิเสธกับBBC เรื่องผู้นำทหารไปพบอธิบดี DSI และสั่งว่า"อย่าเข้ามายุ่ง ต้องให้ทหารไม่มีความผิด" และปฏิเสธกรณี 6ศพวัดปทุมฯ ว่าอาจถูกยิงมาจากข้างนอกแล้วแบกเข้ามาในวัด
แต่ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศชาวแคนาดา มาร์ค แมคคินนอน (Mark MacKinnon) ที่อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวยืนยันว่า หลังสลายชุมนุม คนจำนวนมากหลบเข้าไปในวัด มีทหารตามมายิง และมีคนจุดบั้งไฟขึ้น จากนั้นทหารก็ยิงมาใส่อย่างถล่มทลายแบบไม่หยุดยั้ง โดยทหารที่อยู่บนรางรถไฟฟ้าเหนือวัดปทุมฯ ทั้งที่ผู้ตายมีเครื่องหมายพยาบาล และอยู่ในวัดพุทธศาสนา เป็นเขตอภัยทาน ในกลางกรุงเทพฯ
"วัฒนธรรม การปกปิดความผิดและการโยนความรับผิดแบบไทย หากนายกฯยิ่งลักษณ์จะเอาผู้่กระทำผิดลงโทษได้ตามที่ให้เธอให้สัมภาษณ์เรา ก็จะกลายเป็นกรณีแรกของประวัติศาสตร์ประเทศนี้..ว่าแต่มันจะเป็นไปได้แค่ ไหน" ผู้สื่อข่าวBBCระบุ