ที่มา ประชาไท
ชนะชัย บุญเพิ่ม
กรรมการสภาคณาจารย์ และข้าราชการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ชื่อเรื่องเดิม:
บทบาทของสภาคณาจารย์และข้าราชการต่อการส่งเสริมกระบวนการเคลื่อนไหวของ
เครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา: กรณีมหาวิทยาลัยราชภัฏ
กรณีการเคลื่อนไหวของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศผ่านเครือข่าย
สังคมออนไลน์ (Facebook) ที่ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน กว่า 9,000 คน
เพื่อทวงถามสิทธิ และสวัสดิการต่อรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาไม่ได้ปรากฏตัวตนในระบบการทำงานถึงแม้จะ
มีสถานะเป็นถึงอาจารย์ และบุคลากร ทำงานในมหาวิทยาลัย ที่ทำการสอน การวิจัย
และบริการวิชาการ ตามหน้าที่ทุกประการ เนื่องพนักงาน ฯ
ได้รับผลกระทบจากการประกาศขึ้นเงินเดือนแก่ข้าราชการตามมติคณะรัฐมนตรี
มกราคม พ.ศ. 2555 ที่ไม่ครอบคลุม ถึงพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา
ที่ปรากฏตัวตนตาม พ.ร.บ.ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ฉบับที่ 2 พ.ศ
2551 เพียงน้อยนิดในมาตรา 3 ที่ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า
“พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา”
ระหว่างบทนิยามคำว่า“ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา” และคำว่า
“สภาสถาบันอุดมศึกษา” ในมาตรา
4แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาพ.ศ.2547 “
พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา”
หมายความว่าบุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างให้ทำงานในสถาบันอุดมศึกษา
โดยได้รับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของ
สถาบันอุดมศึกษา” มิหนำซ้ำ ยังขังตายความก้าวหน้าของพนักงาน ด้วยหมวด
9 มาตรา 65/1
กล่าวว่าการกำหนดตำแหน่งระบบการจ้างการบรรจุและการแต่งตั้งอัตราค่าจ้างและ
ค่าตอบแทนเงินเพิ่มและสวัสดิการการเลื่อนตำแหน่งการเปลี่ยนและการโอนย้าย
ตำแหน่งการลาจรรยาบรรณวินัยและการรักษาวินัยการดำเนินการทางวินัยการออกจาก
งานการอุทธรณ์และการร้องทุกข์และการอื่นที่เกี่ยวกับการบริหารงาน
บุคคลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภาสถาบันอุดม
ศึกษา ที่สภาแต่ละสถาบันก็ออกข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคล
ด้วยการได้มาซึ่งกรรมการรบริหารงานบุคลสำรับพนักงานมหาวิทยาลัย (ก.บ.ม.)
มาทำหน้าที่ออกประกาศ
ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคลสำหรับพนักงานทั้งหมด
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547
กำหนดให้สภาคณาจารย์และข้าราชการมีหน้าที่ ดังนี้ 1)
ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะในกิจการของมหาวิทยาลัย
และการพัฒนามหาวิทยาลัยต่ออธิการบดีหรือสภามหาวิทยาลัย, 2)
แสวงหาแนวทางร่วมกันเพื่อส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์
และข้าราชการในการปฏิบัติหน้าที่แห่งจรรยาบรรณวิชาชีพ, 3)
พิทักษ์ผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัยและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่อธิการบดีมอบ
หมาย, 4)
เรียกประชุมคณาจารย์และข้าราชการเพื่อพิจารณากิจกรรมของมหาวิทยาลัย
และนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย เมื่อตีความหน้าที่ของสภา ฯ ตาม พ.ร.บ.
แล้วจะเห็นว่าสภาฯ มีอำนาจเต็มในการปกป้องส่งเสริม
เพื่อหาแนวทางพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์และข้าราชการ ภายในมหาวิทยาลัย
องค์กรสภาฯ ประกอบไปด้วยกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งมาจาก
หน่วยงานระดับคณะ, ศูนย์ สำนัก และสถาบัน หากพิจารณาถึงบทบาทของสภาฯ
ต่อการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน ฯ
ในปัจจุบันนั้นพบว่ายังมีบทบาทน้อยมากต่อการชี้นำ ช่วยเหลือ
และส่งเสริมศักยภาพของพนักงาน ฯ
ภายในองค์กรให้ได้รับรู้รับทราบถึงสิทธิและสวัสดิการเกื้อกูล
ผลประโยชน์ที่พึงได้รับจากองค์กรนายจ้าง
การผลักดันสิทธิและสวัสดิการเกื้อกูล
ที่ดีให้บังเกิดต่อพนักงานอย่างเป็นรูปธรรม นับเป็นหน้าที่อันสมบูรณ์ตาม
พ.ร.บ. ที่สภา ฯ พึงปฏิบัติ โดยสภาฯต้องสร้างกระบวนการช่วยเหลือ ส่งเสริม
และผลักดันด้วยมติประชาคม
(การเรียกประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาคม) การเรียกร้องผ่านตัวแทน
(ประธานสภาฯต้องทำหน้าที่เรียกร้องผ่านการประชุมสภามหาวิทยาลัย)
การนำเสนอปัญหาต่ออธิการบดี
ร่วมหาทางออกที่เป็นธรรมแก่องค์กรและพนักงานทั้งมวล
เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจที่ต่อมวลหมู่พนักงาน
อันจะส่งผลประโยชน์และประสิทธิภาพต่อองค์กรเป็นสำคัญ
สรุปองค์กรสภาคณาจารย์และข้าราชการนับเป็นองค์กรที่มีความใกล้ชิดกับ
ชีวิตและความเป็นอยู่ของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นบุคลกรที่มีความ
สำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการศึกษาของประเทศ
หากยังคงเพิกเฉยต่อกระบวนการเคลื่อนไหวของเครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดม
ศึกษา ก็นับว่าสภาตีความหน้าที่ตาม พ.ร.บ.
คลาดเคลื่อนดังนั้นจึงขอถือโอกาสนี้เรียกร้องมายังสภา ฯ
และกรรมการสภาคณาจารย์ และข้าราชการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ
ให้ร่วมกันส่งเสริมกระบวนการเคลื่อนไหวของเครือข่ายบนพื้นฐานความถูกต้อง
เพื่อกอบกู้วิกฤตแห่งการอุดมศึกษา
เนื่องจากพนักงานทั้งหลายอยู่ภายใต้ความสิ้นหวังต่อระบบที่ไร้เสถียรภาพ
ขาดความมั่นคง ในชีวิตการทำงาน เช่นในสภาพปัจจุบัน...
โปรดช่วยกันครับเพื่อประเทศชาติที่เราพร่ำบอกว่ารักเสมอมา...