WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, July 2, 2012

สมยศ พฤกษาเกษมสุข: วิกฤติตุลาการกับความบัดซบของนักการเมือง

ที่มา ประชาไท

 
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องของกลุ่ม 40 ส.ว. นำโดยสมเจตน์ บุญถนอม นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหาจากกรณีรัฐสภาแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นการลบล้างระบอบการปกครอง ประชาธิปไตย พร้อมกับออกคำสั่งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ชะลอการพิจารณาลงมติร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมในวาระ 3 ที่จะมีขึ้นวันที่ 5มิถุนายน 2555 เอาไว้ก่อนจนกว่า จะมีคำวินิจฉัยออกมา
ศาลรัฐธรรมนูญออกแถลงการณ์ตีความรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ไว้ว่า ผู้ทราบการกระทำว่า มีบุคคลหรือพรรคการเมืองกระทำการเพื่อลบล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอัน มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิ์เสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุด และเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาเพื่อดำเนินการวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำ การดังกล่าว
ทางฝ่ายพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นผู้ผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญออกมาตอบโต้โดยเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญกำลังก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติ ออกคำสั่งโดยปราศจากกฎหมายรองรับ รัฐสภาไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม
ปรากฏการณ์ตุลาการภิวัตน์ ซึ่งกำลังกลายเป็นตุลาการวิบัติในครั้งนี้เป็นเพียงหนังม้วนเก่า คนแสดงหน้าเดิม นำมาฉายซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนคนดูเอือมระอาในพฤติกรรมอัปยศอดสูของตุลาการเมืองไทย
ประการแรก เมื่อเกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โค่นล้มรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ฉีกรัฐธรรมนูญ 2540ล้มล้างการปกครองประชาธิปไตย เป็นการกระทำแบบโจรกบฏที่ชัดเจนที่สุด แต่บรรดาตุลาการผู้ทรงคุณธรรมทั้งหลาย ไม่ทราบว่าไปมุดรูอยู่ตรงไหน ณ เวลานั้น จึงไม่ได้ออกมาทำหน้าที่ออกคำสั่งให้หยุดกระทำการดังกล่าว ในทางตรงกันข้ามหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 กลับมีตุลาการบางคนยอมรับคำ สั่งแต่งตั้งจากคณะรัฐประหารให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เป็นประจักษ์พยานของความต่ำทรามในวงการตุลาการไทยเป็นอย่างยิ่ง
ประการที่สอง การใช้ข้ออ้างว่าเป็นการกระทำหน้าที่พลเมืองที่จะปกป้องรัฐ ธรรมนูญ ราวกับว่าพวกเขาห่วงใยต่อชาติบ้านเมืองเป็นล้นพ้น กลัวจะเป็นการพลิกฟ้า พลิกแผ่นดิน เปลี่ยนแปลงการปกครอง จะให้เป็นอำนาจอัยการสูงสุดอย่างเดียวไม่ได้ จึงต้องกุลีกุจอออกคำสั่งทันทีทันใด ให้หยุดกระทำการดังกล่าว ข้ออ้างเช่นนี้เป็นการอ้างอันน่าสมเพศเวทนาเหลือเกิน เพราะเมื่อคราวที่คณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ทำการล้มล้างรัฐ ธรรมนูญ 2540 ไม่มีใครหน้าไหนในกลุ่มที่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญคราวนี้ และก็ไม่มีตุลาการหน้าไหนออกมาปกป้องรัฐธรรมนูญ 2540 แต่กลับยินดีปรีดาไป กับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่คลอดมาจากมดลูกของคณะรัฐประหาร และยัดเยียดให้กับสังคมไทยในเดือนสิงหาคม 2550
จึงเข้าใจเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เลย นอกจากเป็นเพราะพวกเขาได้ประโยชน์แห่งความเป็นอำมาตย์ในนามของตุลาการที่มี อำนาจชี้เป็นชี้ตายในชะตากรรมการเมืองไทย พวกเขาทั้งหลายถึงกับยอมสูญเสียต้นทุนทางสังคมในฐานะผู้ที่ต้องวางตัวเป็น กลาง และผดุงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งความเป็นชนชั้นอภิสิทธิ์ชนในสังคมอันมากล้นด้วย เกียรติยศ และผลประโยชน์ส่วนตน
พวกเขาอ้าปากก็เห็นไส้เป็นขด ๆ ของการแสดงตนออกมาปกป้องรัฐธรรมนูญ 2550 จนเกินความงาม ความพอดีในอำนาจตุลาการ เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 ไปให้ฝ่ายตุลาการซึ่งไม่ได้มีส่วนเชื่อมโยงกับภาค ประชาชนมีอำนาจแต่งตั้งวุฒิสภาจำนวนกึ่งหนึ่ง (มาตรา 113) และยังเป็นผู้แต่งตั้งองค์กรอิสระ (มาตรา 229, 243, 246ฯลฯ )ไว้คอยกำกับควบคุมฝ่ายบริหาร และนิติบัญญัติ โครงสร้างเช่นนี้เป็นการดึงอำนาจฝ่ายตุลาการให้มาก้าวก่ายการเมือง – การปกครอง จนสูญเสียหลักการแบ่งแยกและถ่วงดุลอำนาจในระบอบประชาธิปไตยไปหมดสิ้น
ทั้งๆ ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย จะต้องเปิดกว้างให้มีสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นกันเต็มที่ ซึ่งอาจจะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยกับระบอบการปกครองแบบเดิม หรืออาจจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปได้ เพราะความขัดแย้งแตกต่างทางความคิดในสังคมเช่นนี้ คือพลวัตรของการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้าของสังคมไทย
การที่พรรคการเมืองเสียงข้างน้อยออกมาล็อคสเป็คกันล่วงหน้าด้วยการห้าม ไม่ให้มีการแก้ไขหมวดพระมหากษัตริย์ โดยที่พรรคการเมืองเสียงข้างมากคล้อยตามการล็อคสเป็คของเสียงข้างน้อยกัน อย่างง่ายดาย นี่เป็นความบัดซบของสภาผู้แทนราษฎรที่มีแต่นักการเมืองขลาดเขลา และสิ้นไร้ไม้ตอก เพราะในระบอบประชาธิปไตย การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพกันอย่างเต็มที่ในการแสดง ความคิดเห็นในทุกเรื่อง ทุกประเด็น โดยปราศจากข้อจำกัดใด ๆ มาปิดกั้น
สังคมประเทืองปัญญาย่อมยินดีที่ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง มีความกระตือรือร้นต่อการแสดงความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์ มีการโต้แย้งวิวาทะ หลากหลายความคิด อันจะนำมาซึ่งความเข้าใจร่วมกัน และนำมาสู่ความปรองดองในสังคมได้ในที่สุด
มีแต่สังคมมืดบอดทางปัญญาแบบไทยเราที่มีข้อกำหนดห้ามแก้ไข ห้ามแตะต้อง ห้ามทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น ห้ามทำโน้น ห้ามทำนี่ สังคมแบบนี้ต้องการให้ประชาชนโง่เขลาว่านอนสอนง่าย เชื่อฟังและคล้อยตามระบอบการปกครองของพวกเขา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคนจำพวกต้มตุ๋น กะล่อน และจอมโจรสารพัดความชั่วที่เกาะกินอยู่ในโครงสร้างการเมืองสาระยำอยู่ในทุก วันนี้