ที่มา ประชาไท
Fri, 2012-07-06 22:27
ศาลรัฐธรรมนูญนัดแถลงคำวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญวันศุกร์ที่ 13 ก.ค. เวลา 14.00 น. "เลขากฤษฎีกา” แจง รบ.ประกาศให้ทำประชามติ
6 ก.ค. 55 - เว็บไซต์คมชัดลึกรายงาน
ว่าคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลังจากออกนั่งบัลลังก์เพื่อไต่สวนพยานทั้งผู้
ร้องและผู้ถูกร้องกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
มาตรา 291 เข้าข่ายเป็นการล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
หรือไม่ครบถ้วนแล้ว จนกระทั่งเวลาเมื่อเวลา 21.00 น.นายวสันต์
สร้อยพิสุทธิ์ ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ได้กล่าวก่อนอ่านสรุปกระบวนการพิจารณาว่า คดีนี้ ทอดเวลาไปนาน
มีแต่เรื่องไม่เป็นมงคล ดังนั้นถ้าตัดสินเร็วเกินไป ก็หาว่าลุกลี้ลุกลน
มีธง แต่หากตัดสินล่าช้า ก็จะถูกกล่าวหาว่าดึงเกม
สรุปแล้วไม่ว่าทำอะไรก็ผิด
ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวต่อว่า ดังนั้นศาลให้เวลาพอสมควร
หากจะยื่นคำแถลงปิดคดีให้ยื่นมาภายในวันพุธที่ 11 ก.ค.
จากนั้นและวันศุกร์ที่ 13 ก.ค. ศาลจะนัดวินิจฉัยคดี เวลา 14.00 น.
เบื้องต้นการตัดสินจะดูประเด็นข้อกฎหมาย วิธีการ และพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้อง
ส่วนตัวมองว่าหากยื้ดเยื้อไปก็มีแต่ปัญหามากขึ้น
"เลขากฤษฎีกา”แจงรบ.ประกาศให้ทำประชามติ
ก่อนหน้านี้เวลา 20.00 น. นายอัชพร จารุจินดา
เลขาธิการสำนักงานกฤษฎีกา ในฐานะผู้แทนครม. ผู้ถูกร้องที่ 2
ไต่สวนต่อศาลว่า
ก่อนการบริหารประเทศรัฐบาลได้มีการหาเสียงไว้ตอนเลือกตั้งและได้แถลงนโยบาย
ต่อรัฐสภาเป็นสัญญาประชาคมว่า
รัฐบาลจะปฏิรูปการเมืองให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดคือจะต้องมีการแก้ไข
รัฐธรรมนูญและให้มีการทำประชามติ ซึ่งเป็นคำมั่นที่ผูกพันทางกฎหมาย
ไม่ทำก็ผิดรัฐธรรมนูญเอง และต่อมา เมื่อประชาชน
ส.ส.มีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญทำให้ครม.ทำตามที่ได้แถลงไว้
จึงมอบให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการ และเสนอครม.
และกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเหมือนการตรากฎหมายปกติ โดยรัฐบาลได้ย้ำกฤษฎีกาไป 2
เรื่องว่า เนื้อหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอ
ต้องไม่มีบทบัญญัติที่เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ
มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และให้ประชาชนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน
นายอัชพร กล่าวว่า
ในการตรวจพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของกฤษฎีกาได้มีการตรวจกฎหมายที่เกี่ยว
ข้องทุกฉบับ รวมถึงรัฐธรรมนูญในอดีต เห็นว่ามาตรา 291
ของรัฐธรรมนูญมีข้อความเหมือนรัฐธรรมนูญในอดีต
และเมื่อดูถึงองค์ที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญก็พบว่ามีการตั้งส.ส.ร.ในการยกร่าง
รัฐธรรมนูญในปี 2489 และ 2540 และ 2550
และการแก้ไขสามารถแก้ไขเป็นรายมาตรามากน้อยแล้วแต่ผู้เสนอ
หรือมีการเพิ่มบทบัญญัติใหม่ก็ได้
ซึ่งการเพิ่มบทบัญญัติใหม่ครั้งนี้ยึดจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2538
ที่กลายมาเป็นรัฐธรรมนูญ 2540
ดังนั้นถ้าจะมีการตีความว่าสามารถแก้ไขทั้งฉบับได้หรือไม่
ก็ต้องตีความในสองลักษณะนี้ ซึ่งถ้าผ่านหลักเกณฑ์ของสภาในวาระ 3
บทบัญญัติที่มีการแก้ไขหรือเพิ่มเติมก็จะแทรกอยู่ในรัฐธรรมนูญ 2550
และมีผลบังคับใช้ทั่วไป ดังนั้นที่ว่าครม.กระทำขัดมาตรา 68 นั้น
ครม.เห็นว่ายังไม่มีการกระทำตามขั้นตอนดังกล่าว
“ซึ่งคำว่าและของรัฐธรรมนูญมาตรา 68 นั้น ขอชี้แจงต่อศาลว่า
ในภาษาไทยไม่อาจตีความขยายไปในประโยคก่อนหน้านั้นได้
เพราะจะทำให้สภาพของกฎหมายมีปัญหา ดังนั้น
การดำเนินการของผู้ร้องจึงไม่ต้องตามมาตรา 68” นายอัชพร กล่าว
นายอัชพร กล่าวอีกว่า การจะยื่นตามมาตรา 68
ได้จะต้องมีการกระทำที่เป็นการล้มล้างการปกครอง
แต่สิ่งที่ครม.ดำเนินการเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกระบวนการรัฐธรรมนูญมาตรา
291
คือมีการห้ามมิให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมีบทบัญญัติที่เป็นการล้มล้างการ
ปกครองฯ เปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ ครบตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 291 บัญญัติไว้
และกำหนดกรอบในการทำงานของส.ส.ร.ไว้
ว่าในการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้นำรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นประชาธิปไตยมากที่
สุดมาเป็นต้นแบบ ซึ่งตนเห็นว่าคือรัฐธรรมนูญปี 2540
จากนั้นได้มีการซักค้านจากฝ่ายผู้ร้อง โดยพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม
ได้พยายามซักค้านว่าในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาลนี้ที่ว่าจะมีการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มีการคัดค้านแต่เนื่องจากจำนวนมือในสภามีน้อย
ส่งผลให้การคัดค้านทำไม่สำเร็จ
และขณะนั้นผู้ที่คัดค้านยังไม่มีการกระทำใดเกิดขึ้น จึงยังไม่มีการคัดค้าน
และถ้านายอัชพรเห็นตรงกับที่นายโภคิน พลกุล
ชี้แจงว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญกำหนดว่าห้ามแก้ใน 2 เรื่องแล้ว เรื่องอื่นๆ
แก้ได้ ทำไมจึงไปบัญญัติไว้ว่า ต้องให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 291/17-18
นายอัชพร กล่าวว่า นอกจากข้อห้าม 2 ข้อแล้ว
เห็นด้วยว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไรก็ได้ และที่รัฐบาลไม่ดำเนินการไปเลย
เพราะได้ให้สัญญากับประชาชนว่าให้มีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
พล.อ.สมเจตน์ได้ซักต่อว่า การที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291/16
บัญญัติว่าหากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ตกไปให้สมาชิกไม่น้อยกว่า 1ใน 3
มีสิทธิเสนอให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่
ในกรณีนี้หมายถึงหากมีการตกไปของร่างรัฐธรรมนูญก็มีการเสนอใหม่จนกว่าจะ
สามารถทำให้รัฐธรรมนูญ 2550 สิ้นไปหรือไม่ นายอัชพร กล่าวว่า
จะต้องไปดูในวรรคสองจะมีเงื่อนไขของการตกไปคือ
1.ตกไปเพราะขัดข้อห้ามยกเลิกทั้ง 2 ข้อ 2.รัฐธรรมนูญร่างไม่เสร็จ
3.องค์ประกอบของสภาร่างไม่ครบ ไม่ใช่ประชาชนลงประชามติไม่เอาแล้ว
สมาชิกรัฐสภาจะเสนอขึ้นมาใหม่ได้
อย่างไรก็ตามนายอัชพร กล่าวว่า
ส่วนตัวรู้สึกว่าประชาชนผ่านประสบการณ์แก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2540-50 มา
การที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งน่าจะเป็นโอกาสให้กับประชาชนอีกครั้ง
หนึ่งที่จะได้ใช้ประสบการณ์บทเรียนทำรัฐธรรมนูญครั้งสุดท้ายที่สอดคล้องกับ
ความประสงค์ของประชาชนมากที่สุด
และการมาร่วมจัดทำรัฐธรรมนูญนี้น่าจะเป็นเวทีให้ทุกฝ่ายได้พูดคุยกันใน
ประเด็นที่ขัดข้องจนไปสู่จุดจบที่ทุกคนตกลงกันได้
จากนั้นนายสุวัตร์ อภัยภักดิ์ ตัวแทนผู้ถูกร้องที่2 ซักค้านว่า
ถ้ารัฐบาลไม่ทำตามนโยบายที่แถลงไว้มีความผิดหรือไม่
และที่ไม่ทำอีกหลายเรื่อง เอาผิดได้หรือไม่
และถ้ามีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วรัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาจะยังคงอยู่ต่อไปหรือ
ไม่ นายอัชพร กล่าวว่า ถ้าไม่ทำตามนโยบายที่แถลงไว้ก็ผิดอาจถูกถอดถอนได้
ส่วนแก้รัฐธรรมนูญแล้ว รัฐบาลและรัฐสภาจะอยู่ต่อไปหรือไม่
ขึ้นอยู่กับเนื้อหาในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งยังตอบไม่ได้ว่า
เนื้อหาจะออกมาอย่างไร
อย่างไรก็ตามในตอนท้ายตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนหนึ่ง
ได้ถามพยานถึงกรณีที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจะมีการบัญญัติมาตรา 291
ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 หรือไม่ รวมถึงจะมีการบัญญัติมาตรา 68
โดยระบุว่าห้ามมีการแก้ไขหรือยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้เลยหรือไม่
ซึ่งนายอัชพร ตอบว่า ตนไม่คิดว่าร่างรัฐธรรมนูญน่าจะคงมีอยู่
แต่ปัญหาที่จะไม่ให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่นั้น คงต้องมีอีกแน่
แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากว่าไม่อยากให้มีการแก้รัฐธรรมนูญเกิดขึ้นอีกไม่
ก็ต้องมีการระบุถึงคะแนนเสียงในการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้สูงขึ้นอีก
เพื่อเป็นการป้องกันทำให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อีก
ทั้งนี้คิดว่าคงไม่มีการระบุคำว่าห้ามหรือยกเลิกแก้ไขรัฐธรรมนูญลงไปในมาตรา
68 หากมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แน่นอน