ที่มา ประชาไท
Sun, 2012-07-08 15:35
เปิดตัวเครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112 คนเข้าร่วมคึกคัก
ส. ศิวรักษ์ เสนอขออภัยโทษคดีหมิ่นฯ ทั้งหมดในวันแม่นี้ จอน อึ๊งภากรณ์
เผยอีก 2 สัปดาห์ผลการศึกษาเกี่ยวกับคดี 112 ของกรรมการสิทธิฯ ใกล้เสร็จ
เตรียมประชาพิจารณ์ 3 กลุ่ม หวังเป็นรายงานฉบับกลางทุกฝ่ายรับพิจารณา
7 ก.ค. 55 - เวลา 13.00 น. ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถ.ราชดำเนิน มีการแถลงข่าวเปิดตัว "เครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112" นำโดยญาติของผู้ต้องขังและผู้ต้องหาในคดีกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อรณรงค์ให้มีการปล่อยตัวผู้ต้องขังในคดีหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพโดยเร็วที่สุด รวมถึงเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ที่ผู้ต้องขังควรได้รับ อาทิ สิทธิในการประกันตัว สิทธิในการรักษาพยาบาล และให้ความช่วยเหลือด้านการเยียวยาสภาพจิตใจผู้ประสบภัย เป็นต้น
สุกัญญา พฤกษาเกษมสุข ภรรยาของสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ กล่าวถึงจุดประสงค์ของการตั้งเครือข่ายว่า เป็นไปเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ต้องขังในคดีม. 112 เนื่องจากผู้ถูกจับกุมส่วนใหญ่จะได้รับโทษสูง ไม่ได้รับการประกันตัวและไม่สามารถต่อสู้คดีด้วยตนเองได้อย่างเต็มที่ เหล่าครอบครัวและญาติจึงเห็นความจำเป็นของการรวมกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องความ เป็นธรรมให้แก่ผู้ต้องขัง
"วัตถุประสงค์หลักๆ ที่ทางกลุ่มจะช่วยกันเองคือในเรื่องของการรณรงค์ให้มีการปล่อยตัวนักโทษ ซึ่งก็คือญาติของเราโดยเร็วที่สุด แต่ทีนี้แต่ละกรณีจะแตกต่างกันออกไป เช่น กรณีที่ยังอยู่ในการพิจารณาของศาล ยังไม่สิ้นสุด เราคงรณรงค์ให้มีการประกันตัวหรือติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อเขียนคำร้องขอประกันตัว" สุกัญญากล่าว
"ส่วนอีกลักษณะหนึ่งผู้ต้องหาที่คดีสิ้นสุดแล้ว ก็จะมีการประสานงานให้ได้รับอำนวยความสะดวกในการขอพระราชทานอภัยโทษ ให้กระบวนการสิ้นสุดเร็วที่สุดเพื่อให้นักโทษได้รับการปล่อยตัว เราต้องการให้ญาติของเรากลับบ้านมาอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวอีกครั้ง" เธอกล่าวว่า จะมีการตั้งกองทุนเพื่อดำเนินการดังกล่าวด้วย
ในงานเปิดตัวดังกล่าว ได้มีญาติของผู้ต้องขังม. 112 มาร่วมแถลงด้วย อาทิ
รสมาลิน ตั้งนพกุล ภรรยาของนายอำพล ตั้งนพกุล หรือ "อากง เอ็สเอมเอ็ส"
ที่เสียชีวิตในเรือนจำหลังจากถูกจำคุกด้วยม. 112 นายชีเกียง ทวีวโรดมกุล
บิดาของธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล หรือ "หนุ่ม เรดนนท์" ซึ่งถูกตัดสินจำคุก 20
ปี ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ภรรยาของสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์
แกนนำกลุ่มแดงสยาม ซึ่งถูกตัดสินจำคุกรวมทุกคดีเป็นจำนวน 12 ปีครึ่ง
"เราเห็นว่าองค์กรต่างๆ มาช่วยเรา ถ้าเราไม่ออกมาร่วมด้วยมันจะยังไง มีองค์กรมีเพื่อนๆ ออกมาทำกันเยอะแยะเลย ขนาดเขาไม่ได้เป็นอะไรเขายังมาช่วยเรา แล้วเราเป็นหนึ่งที่ได้รับผลกระทบในนั้นก็ต้องออกมาช่วย ก็ไม่กลัวตายแล้ว อายุมากแล้ว จะเอาไปต้มยำทำแกงก็เอาไป" ชีเกียงกล่าว เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงความเป็นมาของการเข้าร่วมเครือข่าย
ด้านรสมาลิน ภรรยา "อากง" กล่าวว่าสาเหตุที่เข้าร่วม เพราะต้องการให้กำลังใจญาติผู้ต้องหาที่ประสบชะตากรรมคล้ายกัน
"มันเป็นเหตุการณ์และเรื่องเดียวกับที่เกิดขึ้นกับอากง ฉะนั้น เราก็รู้สึกว่าคนที่ยังไม่ได้ออก เรารู้สึกเป็นห่วงพวกเขา อยากให้วันเวลามันกระชับขึ้นมา อยากให้พวกเขาได้รับอิสรภาพโดยเร็วพร้อมกับลมหายใจ" รสมาลินกล่าว
ส่วนกิจกรรมที่ทางกลุ่มวางแผนจะดำเนินการ ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ทางกลุ่มวางแผนจะเดินทางไปยื่นหนังสือเรียกร้องต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยว ข้อง เช่น ให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพช่วยเหลือเบื้องต้นในการประกันตัว หรือรัฐบาลที่สามารถออกพ.ร.ก. นิรโทษกรรมเพื่อให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองโดยไม่ผ่านสภา นอกจากนี้ จะเรียกร้องความเป็นธรรมผ่านทางการถวายฎีการ้องทุกข์เพื่อขอความเมตตาจากพระ มหากษัตริย์เกี่ยวกับความเดือดร้อนที่ได้รับด้วย
นอกจากนี้ สุกัญญากล่าวว่า ทางเครือข่ายได้รับความสนใจจากองค์กรระหว่างประเทศด้วย เช่น สหประชาชาติ ซึ่งได้นัดหมายตัวแทนญาติผู้ได้รับผลกระทบจากม. 112 เพื่อเข้าไปหารือและให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสถานทูตต่างๆ ที่ให้ความสนใจในกรณีม. 112
ส.ศิวรักษ์เสนอปล่อยตัวนักโทษทั้งหมดในวันแม่ที่จะถึง
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยามและอดีตผู้ต้องหาคดีม. 112 ให้ข้อเสนอแนะต่อเครือข่ายว่า การให้ความเข้าใจต่อสาธารณะเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก โดยเฉพาะผ่านทางสื่อมวลชนกระแสหลัก ซึ่งต้องให้สังคมเข้าใจถึงสภาพความเป็นอยู่ของคนในเรือนจำและปัญหาอื่นๆ ของม. 112 นอกจากนี้ เขายังเสนอด้วยว่า ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ วันที่ 12 สิงหาที่จะถึงนี้ ควรเสนอขอพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษในคดีหมิ่นฯ ทั้งหมด เพื่อเป็นพระมหากรุณาธิคุณ
จอน อึ๊งภากรณ์ สมาชิกคณะอนุกรรมการศึกษากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวในวงเสวนาว่า
ตนเห็นว่ากฎหมายหมิ่นฯ ทำให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิของประชาชนอย่างร้ายแรง
ทั้งนี้ จะพยายามผลักดันให้กสม.
ต้องออกมาพูดเรื่องนี้และให้ข้อเสนอแนะแก้รัฐบาล
เนื่องจากหากมีองค์กรของรัฐออกมาเสนอแนะรัฐบาลอาจให้ความสนใจมากขึ้นกว่าที่
เป็นอยู่
จอนกล่าวด้วยว่า ในขณะนี้ทางคณะอนุกรรมการฯ อยู่ในระหว่างการเก็บข้อมูลและศึกษาปัญหาดังกล่าว โดยรายงานฉบับร่างเบื้องต้นจะเสร็จในเวลาอีกสองสัปดาห์ หลังจากนั้นจะผ่านการทำเวทีประชาพิจารณ์จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 3 เวที และพร้อมเผยแพร่ต่อสาธารณะไม่เกินภายในปีนี้ หากผ่านการรับรองจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
"ผมมีความหวังว่ารายงานของเรา ถ้าได้รับการพิจารณาจากทุกฝ่ายแล้ว ผมเชื่อว่าในสังคมไทย แม้แต่คนที่บอกว่าไม่อยากจะแก้ไข ลึกๆ มีคนจำนวนมากที่มองเห็นว่ามันมีปัญหาอยู่ แม้อาจจะไม่ใช่ความเห็นว่ายกเลิกเลย แต่ความเห็นว่ามันต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดการถูกใช้เป็นเครื่องมือ ทางการเมือง และความเห็นว่าโทษมันหนักอย่างแน่นอน" จอนระบุ
"คณะกรรมการสิทธิสุดท้ายจะรับหรือไม่รับรายงานนี้ เราจะใช้กระบวนการที่ให้ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางทั้งในเวทีประชา พิจารณ์และและการเผยแพร่ต่อไป ผมเชื่อว่ารายงานนี้จะเป็นเอกสารที่สังคมไทยสามารถนำมาพิจารณาได้"
แนะต้องจัดนักโทษม. 112 เป็นนักโทษมโนธรรมสำนึก
ศราวุธ ประทุมราช จากสถาบันหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า สิทธิในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งรัฐสามารถแทรกแซงสิทธินี้ได้อย่างจำกัด โดยเขามองว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีปัญหา เพราะปัจจุบันถูกบรรจุอยู่ในหมวดความมั่นคงของรัฐ ทั้งๆ ที่การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ควรทำได้โดยเป็นไปอย่างสุจริต เนื่องจากถือว่าเป็นการวิจารณ์บุคคลสาธารณะ
ศราวุธเสนอว่า ควรนำกฎหมายอาญาม. 112 ออกจากหมวดความมั่นคงของรัฐ และผลักดันให้นักโทษในคดีดังกล่าว เป็นนักโทษทางการเมือง และถือว่าเป็นนักโทษมโนธรรมสำนึก (prisoners of conscience) ตามคำนิยามขององค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เพื่อให้เกิดการรณรงค์ในระดับสากลมากยิ่งขึ้น
ด้านทนายความสิทธิ เสาวลักษณ์ โพธิ์งาม ตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมายหมิ่นถูกนำมาใช้เล่นงานคนระดับล่างมากขึ้น โดยแต่ก่อนอาจจะเป็นเครื่องมือของนักการเมืองโจมตีนักการเมืองหรือปัญญาชน แต่ตอนนี้กม. หมิ่นฯ ถูกนำมาใช้กล่าวหาคนธรรมดา เช่นคนขัดรองเท้า คนขับรถ เป็นต้น ทำให้คนที่ถูกฟ้องไม่ได้รับการดำเนินคดีอย่างยุติธรรม เนื่องจากบางคนไม่มีเงินจ้างทนายความ ทำให้จำเป็นต้องยอมรับสารภาพในชั้นสอบสวน และเมื่อมาให้การปฏิเสธในชั้นศาล ก็ทำให้การต่อสู้คดีไม่มีน้ำหนัก
ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวนสพ. เดอะ เนชั่น หนึ่งในผู้ที่ถูกกล่าวโทษด้วยม. 112 กล่าวว่า ตนคงไม่เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าว แต่ยินดีที่จะให้ข้อเสนอแนะตามจำเป็น ทั้งนี้ ประวิตรมองว่าประเด็นเรื่องกฎหมายหมิ่นและนักโทษการเมืองยังคงถูกละเลยจาก สื่อกระแสหลัก ทางเครือข่ายจึงจำเป็นจะต้องทำให้สาธารณะและประชาคมนานาชาติทราบถึงปัญหาของ ผู้ต้องขัง โดยเฉพาะเรื่องการใช้แรงงานนักโทษ การซ้อมทรมาน และการล่วงละเมิดทางเพศ ที่มีรายงานว่าผู้ต้องขังม. 112 ต้องเผชิญ
เขาให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากที่ตนเองถูกร้องทุกข์กล่าวโทษด้วยม. 112 ก็ได้รับผลกระทบทั้งในทางส่วนตัวและการทำงาน โดยได้รับการขอร้องจากที่ทำงาน คือ นสพ. เดอะ เนชั่น ขอให้ลดการเขียนบทความเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งเขากล่าวคงจะลดลงไปซักระยะ นอกจากนี้ ยังได้รับข้อความด่าทอต่างๆ จากอินเทอร์เน็ตด้วย
"ผมก็ไม่ได้เกลียดอะไรนะ วันนั้นผมบอกตำรวจว่า ให้ดำเนินคดีไปตามเนื้อ ทางอ.สุลักษณ์เคยมาเสนอว่าจะให้วิ่งเต้นอะไรหรือเปล่าแต่เราก็ปฏิเสธ ขอบคุณแต่ก็ปฏิเสธไป เราฝากตำรวจไปว่าเราไม่ได้เกลียดชังอะไรไอแพดเขาเลย และเราก็ไม่ได้โกรธ คิดว่านี่คือการสู้กันทางอุดมการณ์ที่ความแตกต่าง...ผมไม่ได้มองว่าเป็น เรื่องส่วนตัว" ประวิตรกล่าว
7 ก.ค. 55 - เวลา 13.00 น. ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ถ.ราชดำเนิน มีการแถลงข่าวเปิดตัว "เครือข่ายญาติและผู้ประสบภัยจากมาตรา 112" นำโดยญาติของผู้ต้องขังและผู้ต้องหาในคดีกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อรณรงค์ให้มีการปล่อยตัวผู้ต้องขังในคดีหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพโดยเร็วที่สุด รวมถึงเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ที่ผู้ต้องขังควรได้รับ อาทิ สิทธิในการประกันตัว สิทธิในการรักษาพยาบาล และให้ความช่วยเหลือด้านการเยียวยาสภาพจิตใจผู้ประสบภัย เป็นต้น
สุกัญญา พฤกษาเกษมสุข ภรรยาของสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ กล่าวถึงจุดประสงค์ของการตั้งเครือข่ายว่า เป็นไปเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ต้องขังในคดีม. 112 เนื่องจากผู้ถูกจับกุมส่วนใหญ่จะได้รับโทษสูง ไม่ได้รับการประกันตัวและไม่สามารถต่อสู้คดีด้วยตนเองได้อย่างเต็มที่ เหล่าครอบครัวและญาติจึงเห็นความจำเป็นของการรวมกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องความ เป็นธรรมให้แก่ผู้ต้องขัง
"วัตถุประสงค์หลักๆ ที่ทางกลุ่มจะช่วยกันเองคือในเรื่องของการรณรงค์ให้มีการปล่อยตัวนักโทษ ซึ่งก็คือญาติของเราโดยเร็วที่สุด แต่ทีนี้แต่ละกรณีจะแตกต่างกันออกไป เช่น กรณีที่ยังอยู่ในการพิจารณาของศาล ยังไม่สิ้นสุด เราคงรณรงค์ให้มีการประกันตัวหรือติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อเขียนคำร้องขอประกันตัว" สุกัญญากล่าว
"ส่วนอีกลักษณะหนึ่งผู้ต้องหาที่คดีสิ้นสุดแล้ว ก็จะมีการประสานงานให้ได้รับอำนวยความสะดวกในการขอพระราชทานอภัยโทษ ให้กระบวนการสิ้นสุดเร็วที่สุดเพื่อให้นักโทษได้รับการปล่อยตัว เราต้องการให้ญาติของเรากลับบ้านมาอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวอีกครั้ง" เธอกล่าวว่า จะมีการตั้งกองทุนเพื่อดำเนินการดังกล่าวด้วย
"เราเห็นว่าองค์กรต่างๆ มาช่วยเรา ถ้าเราไม่ออกมาร่วมด้วยมันจะยังไง มีองค์กรมีเพื่อนๆ ออกมาทำกันเยอะแยะเลย ขนาดเขาไม่ได้เป็นอะไรเขายังมาช่วยเรา แล้วเราเป็นหนึ่งที่ได้รับผลกระทบในนั้นก็ต้องออกมาช่วย ก็ไม่กลัวตายแล้ว อายุมากแล้ว จะเอาไปต้มยำทำแกงก็เอาไป" ชีเกียงกล่าว เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงความเป็นมาของการเข้าร่วมเครือข่าย
ด้านรสมาลิน ภรรยา "อากง" กล่าวว่าสาเหตุที่เข้าร่วม เพราะต้องการให้กำลังใจญาติผู้ต้องหาที่ประสบชะตากรรมคล้ายกัน
"มันเป็นเหตุการณ์และเรื่องเดียวกับที่เกิดขึ้นกับอากง ฉะนั้น เราก็รู้สึกว่าคนที่ยังไม่ได้ออก เรารู้สึกเป็นห่วงพวกเขา อยากให้วันเวลามันกระชับขึ้นมา อยากให้พวกเขาได้รับอิสรภาพโดยเร็วพร้อมกับลมหายใจ" รสมาลินกล่าว
ส่วนกิจกรรมที่ทางกลุ่มวางแผนจะดำเนินการ ปราณี ด่านวัฒนานุสรณ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ทางกลุ่มวางแผนจะเดินทางไปยื่นหนังสือเรียกร้องต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยว ข้อง เช่น ให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพช่วยเหลือเบื้องต้นในการประกันตัว หรือรัฐบาลที่สามารถออกพ.ร.ก. นิรโทษกรรมเพื่อให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองโดยไม่ผ่านสภา นอกจากนี้ จะเรียกร้องความเป็นธรรมผ่านทางการถวายฎีการ้องทุกข์เพื่อขอความเมตตาจากพระ มหากษัตริย์เกี่ยวกับความเดือดร้อนที่ได้รับด้วย
นอกจากนี้ สุกัญญากล่าวว่า ทางเครือข่ายได้รับความสนใจจากองค์กรระหว่างประเทศด้วย เช่น สหประชาชาติ ซึ่งได้นัดหมายตัวแทนญาติผู้ได้รับผลกระทบจากม. 112 เพื่อเข้าไปหารือและให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสถานทูตต่างๆ ที่ให้ความสนใจในกรณีม. 112
ส.ศิวรักษ์เสนอปล่อยตัวนักโทษทั้งหมดในวันแม่ที่จะถึง
สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยามและอดีตผู้ต้องหาคดีม. 112 ให้ข้อเสนอแนะต่อเครือข่ายว่า การให้ความเข้าใจต่อสาธารณะเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก โดยเฉพาะผ่านทางสื่อมวลชนกระแสหลัก ซึ่งต้องให้สังคมเข้าใจถึงสภาพความเป็นอยู่ของคนในเรือนจำและปัญหาอื่นๆ ของม. 112 นอกจากนี้ เขายังเสนอด้วยว่า ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ วันที่ 12 สิงหาที่จะถึงนี้ ควรเสนอขอพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษในคดีหมิ่นฯ ทั้งหมด เพื่อเป็นพระมหากรุณาธิคุณ
จอนกล่าวด้วยว่า ในขณะนี้ทางคณะอนุกรรมการฯ อยู่ในระหว่างการเก็บข้อมูลและศึกษาปัญหาดังกล่าว โดยรายงานฉบับร่างเบื้องต้นจะเสร็จในเวลาอีกสองสัปดาห์ หลังจากนั้นจะผ่านการทำเวทีประชาพิจารณ์จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 3 เวที และพร้อมเผยแพร่ต่อสาธารณะไม่เกินภายในปีนี้ หากผ่านการรับรองจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
"ผมมีความหวังว่ารายงานของเรา ถ้าได้รับการพิจารณาจากทุกฝ่ายแล้ว ผมเชื่อว่าในสังคมไทย แม้แต่คนที่บอกว่าไม่อยากจะแก้ไข ลึกๆ มีคนจำนวนมากที่มองเห็นว่ามันมีปัญหาอยู่ แม้อาจจะไม่ใช่ความเห็นว่ายกเลิกเลย แต่ความเห็นว่ามันต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดการถูกใช้เป็นเครื่องมือ ทางการเมือง และความเห็นว่าโทษมันหนักอย่างแน่นอน" จอนระบุ
"คณะกรรมการสิทธิสุดท้ายจะรับหรือไม่รับรายงานนี้ เราจะใช้กระบวนการที่ให้ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางทั้งในเวทีประชา พิจารณ์และและการเผยแพร่ต่อไป ผมเชื่อว่ารายงานนี้จะเป็นเอกสารที่สังคมไทยสามารถนำมาพิจารณาได้"
แนะต้องจัดนักโทษม. 112 เป็นนักโทษมโนธรรมสำนึก
ศราวุธ ประทุมราช จากสถาบันหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า สิทธิในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งรัฐสามารถแทรกแซงสิทธินี้ได้อย่างจำกัด โดยเขามองว่ากฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีปัญหา เพราะปัจจุบันถูกบรรจุอยู่ในหมวดความมั่นคงของรัฐ ทั้งๆ ที่การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ควรทำได้โดยเป็นไปอย่างสุจริต เนื่องจากถือว่าเป็นการวิจารณ์บุคคลสาธารณะ
ศราวุธเสนอว่า ควรนำกฎหมายอาญาม. 112 ออกจากหมวดความมั่นคงของรัฐ และผลักดันให้นักโทษในคดีดังกล่าว เป็นนักโทษทางการเมือง และถือว่าเป็นนักโทษมโนธรรมสำนึก (prisoners of conscience) ตามคำนิยามขององค์กรแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เพื่อให้เกิดการรณรงค์ในระดับสากลมากยิ่งขึ้น
ด้านทนายความสิทธิ เสาวลักษณ์ โพธิ์งาม ตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมายหมิ่นถูกนำมาใช้เล่นงานคนระดับล่างมากขึ้น โดยแต่ก่อนอาจจะเป็นเครื่องมือของนักการเมืองโจมตีนักการเมืองหรือปัญญาชน แต่ตอนนี้กม. หมิ่นฯ ถูกนำมาใช้กล่าวหาคนธรรมดา เช่นคนขัดรองเท้า คนขับรถ เป็นต้น ทำให้คนที่ถูกฟ้องไม่ได้รับการดำเนินคดีอย่างยุติธรรม เนื่องจากบางคนไม่มีเงินจ้างทนายความ ทำให้จำเป็นต้องยอมรับสารภาพในชั้นสอบสวน และเมื่อมาให้การปฏิเสธในชั้นศาล ก็ทำให้การต่อสู้คดีไม่มีน้ำหนัก
ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวนสพ. เดอะ เนชั่น หนึ่งในผู้ที่ถูกกล่าวโทษด้วยม. 112 กล่าวว่า ตนคงไม่เข้าร่วมเครือข่ายดังกล่าว แต่ยินดีที่จะให้ข้อเสนอแนะตามจำเป็น ทั้งนี้ ประวิตรมองว่าประเด็นเรื่องกฎหมายหมิ่นและนักโทษการเมืองยังคงถูกละเลยจาก สื่อกระแสหลัก ทางเครือข่ายจึงจำเป็นจะต้องทำให้สาธารณะและประชาคมนานาชาติทราบถึงปัญหาของ ผู้ต้องขัง โดยเฉพาะเรื่องการใช้แรงงานนักโทษ การซ้อมทรมาน และการล่วงละเมิดทางเพศ ที่มีรายงานว่าผู้ต้องขังม. 112 ต้องเผชิญ
เขาให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากที่ตนเองถูกร้องทุกข์กล่าวโทษด้วยม. 112 ก็ได้รับผลกระทบทั้งในทางส่วนตัวและการทำงาน โดยได้รับการขอร้องจากที่ทำงาน คือ นสพ. เดอะ เนชั่น ขอให้ลดการเขียนบทความเรื่องกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งเขากล่าวคงจะลดลงไปซักระยะ นอกจากนี้ ยังได้รับข้อความด่าทอต่างๆ จากอินเทอร์เน็ตด้วย
"ผมก็ไม่ได้เกลียดอะไรนะ วันนั้นผมบอกตำรวจว่า ให้ดำเนินคดีไปตามเนื้อ ทางอ.สุลักษณ์เคยมาเสนอว่าจะให้วิ่งเต้นอะไรหรือเปล่าแต่เราก็ปฏิเสธ ขอบคุณแต่ก็ปฏิเสธไป เราฝากตำรวจไปว่าเราไม่ได้เกลียดชังอะไรไอแพดเขาเลย และเราก็ไม่ได้โกรธ คิดว่านี่คือการสู้กันทางอุดมการณ์ที่ความแตกต่าง...ผมไม่ได้มองว่าเป็น เรื่องส่วนตัว" ประวิตรกล่าว