ที่มา Thai E-News
แปลไทยโดย ดวงจำปา
ที่มา เฟซบุ๊คดวงจำปา
ต้นฉบับ Thai Political Prisoners
เว็บ PPT ไม่ได้มีอะไรมากนักที่จะต้องกล่าวถึงการโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่อง สนามบินอู่ตะเภา ของราชนาวีไทย และ
ความปรารถนาของฝ่ายประเทศสหรัฐอเมริกาที่จะต่ออายุการผ่านเข้าออกจากฐานทัพ
ซึ่งเมื่อครั้งก่อนนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวดเรื่องหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้ เราคิดว่าท่านผู้อ่านอาจจะพบว่า เคเบิ้ลของวิกิลีกค์ฉบับนี้ ซึ่งเขียนเมื่อปี พ.ศ. 2548 อาจ
จะสร้างความสนใจมาสู่ตัวท่านได้ เราจึงขอลอกข้อความจากตัวเคเบิ้ลเลย
เพียงแต่ตัดตอนส่วนที่เป็นพวกตัวย่อต่างๆ ซึ่งอยู่ในส่วนแรกของเคเบิ้ล
และเราจะใช้ตัวหนานิดหน่อย เพื่อการเน้นความสนใจในข้อความสำหรับเรา:
เอกสารปกปิดส่วนที่ 1 จาก 2 ส่วน เลขที่ กรุงเทพ 002280
หัวข้อ: สนามบินอู่ตะเภาของราชนาวีไทย – โอกาสที่มีต่อการปรับปรุงแก้ไข
สถานที่ ปกปิดโดย:
เอกอัครราชฑูต ราล์ฟ แอล บอยซ์ ด้วยเหตุผล 1.4 (ดี)
(ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือกิจกรรมทางต่างประเทศของรัฐบาลประเทศสหรัฐ
อเมริกา รวมไปถึง แหล่งข่าวปกปิด)
1. (ปกปิด) สนามบินของราชนาวีไทยที่อู่ตะเภา แสดงให้เห็นถึงจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในประเทศไทย และเป็นหนึ่งในจุดที่อันสำคัญภายในภูมิภาคนี้ด้วย จาก
หลายๆ ปีที่ผ่านมาในอดีต
สนามบินอู่ตะเภาได้ถูกใช้เพื่อการสนับสนุนแผนการปฎิบัติการการต่อสู้เพื่อ
อิสรภาพ (Operation Enduring Freedom),
แผนการการปฎิบัติการเพื่อการสู่อิสรภาพของชาวอีรัค (Operation Iraqi
Freedom) และรวมไปถึงโครงการภารกิจเล็กๆ ต่างๆ เมื่อเร็วๆ นี้
ในขณะที่ถูกใช้เป็นฐานปฎิบัติการทางภูมิภาคที่นำโดยฝ่ายสหรัฐอเมริกาใน
“แผนการช่วยเหลือเพื่อความปึกแผ่น” (Operation Unified Assistance หรือ
OUA)
ความคุ้มค่าที่ทางฝ่ายเราสามารถเข้าออกจากสถานที่ได้อย่างเกือบเป็นอิสระ
นั้น มันได้ถูกแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนแล้ว
2. (ปกปิด) รวมไปถึงการสนับสนุนการปฎิบัติการภาคสำรอง เครื่อง
บินของกองทัพสหรัฐอเมริกาได้บินผ่านมาลงที่สนามบินอู่ตะเภาอย่างเป็นกิจวัตร
ประมาณเดือนละ 30 ครั้ง
และฐานทัพเองก็ยังเป็นศูนย์กลางของการสนับสนุนการฝึกซ้อมทางการทหารร่วมกัน
ซึ่งดำเนินการโดยฝ่ายสหรัฐอเมริกาและกองทัพไทยทุกๆ ปีโดยเฉลี่ยปีละประมาณ
40 ครั้ง ยัง
มีความกดดันในเรื่องการพาณิชย์ที่สนามบินอู่ตะเภาซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเติบโต
ขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้
รวมไปถึงความเฟื้องฟูในทางธุรกิจจากบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกซึ่ง
อยู่ใกล้ๆ ที่ประกาศให้เป็นเขตอุตสาหกรรม, การเหมาเที่ยวบินระหว่างประเทศ,
การใช้ท่าอากาศยานให้เป็นลานจอดสำรองของเครื่องบินของสายการบินทางการ
พาณิชย์
และการแข่งขันโดยฝ่ายพลเรือนเพื่อการควบคุมการปฎิบัติการของสนามบินด้วย
3. (ปกปิด) ถึง
แม้ว่า รัฐบาลที่ผ่านมาหลายๆ
ชุดของประเทศไทยจะตอบสนองคำขอจากทางสหรัฐอเมริกามาอย่างต่อเนื่องในการใช้
สนามบินอู่ตะเภา
เราไม่สามารถที่จะทึกทักเอาว่าเรามีสิทธิ์สามารถผ่านเข้าออกตามความสะดวกที่
เราต้องการได้จนถึงบัดนี้
แม้จะมีการปฎิบัติภารกิจจากทางฝ่ายสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากที่
สนามบินอู่ตะเภา
เราให้การตอบแทนเพียงนิดหน่อยในเรื่องการปรับปรุงสถานที่เพื่อสร้างความมั่น
คงถาวร
และต่ออายุการใช้หรือแม้แต่การรักษาสถานที่ซึ่งเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน
และเป็นการสนับสนุนวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ของเราซึ่งเกี่ยวกับการขยาย
สิทธิในการผ่านเข้าออกและเพิ่มฐานอำนาจด้วย
4. (ปกปิด) ผลพวงที่มาจาก “แผนการช่วยเหลือเพื่อความปึกแผ่น” และการเพิ่มความสนใจต่อการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาให้เป็น สถานที่รักษาความปลอดภัยร่วม (Cooperative Security Location หรือ CSL) ซึ่ง
ปรารถนาให้มีการพิจารณาอย่างระมัดระวังว่า
จะทำอย่างไรถึงจะสร้างความรุดหน้ากับผลประโยชน์ของเราได้อย่างมากที่สุด
ในขณะที่ยอมรับอย่างเต็มที่ถึงอำนาจอธิปไตยของประเทศหุ้นส่วนอย่างถูกต้อง
ตามกฎหมายและรวมถึงเรื่องประเด็นของการพาณิชย์ ในความพยายามต่อเรื่องนี้
มันเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวดที่การริเริ่มทาบทามทั้งหมดโดยทางฝ่ายกอง
ทัพประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งอาจปรับเปลี่ยนระบบต่างๆ ในสภาพปัจจุบันนั้น
จะต้องได้รับการทบทวนอย่างละเอียดถี่ถ้วน
รวมไปถึงการประเมินทดสอบและได้รับการอนุมัติจากผู้บัญชาการกองทัพฝ่ายแปซิ
ฟิค และจากเรื่องนั้น พวกเขาจะถูกพิจารณาในบริบทว่าเป็นโปรแกมของการ
“แข่งขัน” หรือเป็นเพียงโปรแกรมช่วยประกอบ
โปรแกรมเหล่านี้ซึ่งได้รับการอนุมัติจากผู้บัญชาการกองทัพฝ่ายแปซิฟิคจะต้อง
มีการทบทวนโดยทีมนักวิชาการอาวุโสของฝ่ายการฑูตประเทศสหรัฐอเมริกาในประเทศ
ไทย เพื่อที่จะให้มุมมองว่า สิ่งใดที่สามารถทำได้บ้าง
โดยพิจารณาถึงสภาพอันแท้จริงทางการเมืองและสภาพการณ์ที่มีอยู่ก่อนหน้าแล้ว
ดังนั้น ผลลัพธ์ที่ออกมาคือ
ผลผลิตที่พัฒนาด้วยความร่วมมือกันซึ่งจะถูกพิจารณาในเรื่องความเที่ยงธรรม
เสมอภาคทั้งหมด คณะ
ที่ปรึกษาทางการทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย (จัสแมกไทย)
จะอยู่เป็นจุดศูนย์รวมภายในประเทศ ที่ให้เกิดการริเริ่มต่างๆ
โดยทางฝ่ายกองทัพของสหรัฐอเมริกา
ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างผลกระทบให้กับสนามบินอู่ตะเภา
ด้วยการเหมารวมไปถึงโครงการก่อสร้าง, โครงการบูรณะ,
โครงการขยายสถานที่และการติดต่อสื่อสารทั้งหมดกับตัวแทนของทางฝ่ายกองทัพไทย
5.
(ปกปิด)
ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยจะตระหนักทราบถึงผลประโยชน์โดยทั่วไปของประเทศสหรัฐ
อเมริกาเกี่ยวกับแนวคิดของ “สถานที่รักษาความปลอดภัยร่วม”
ให้มีทั่วทุกมุมโลก มันเป็นเรื่องที่สำคัญต่อการบันทึกว่า
ยังไม่มีสัญญาข้อตกลงอย่างเป็นทางการกับบุคคลในระดับใดๆ
กับทางฝ่ายรัฐบาลไทย ในการจัดตั้งสถานที่รักษาความปลอดภัยร่วมในประเทศไทย สิทธิ
การผ่านเข้าออกที่เรามีอยู่ในปัจจุบันนี้
เป็นเพียงแต่ผลพวงจากความเป็นประเทศพันธมิตรตามธรรมเนียมและความเป็นประเทศ
หุ้นส่วนจากทางฝ่ายกองทัพต่อกองทัพแต่อย่างเดียวที่ประคับประคองมิตรภาพมา
ได้เป็นเวลาหลายๆ ปี หลัก
การปฎิบัติในอดีตของสำนักงานที่ผิดแผกแตกต่างจากองค์กรต่างๆ
ซึ่งกระทำการสำรวจสนามบินอู่ตะเภา
มีรากฐานมาจากความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและจุดประสงค์ที่อาจจะสร้าง
ความเสียหายอย่างไม่ได้ตั้งใจ
มาสู่ระดับสิทธิการผ่านเข้าออกของเราซึ่งมีอยู่ในปัจจุบัน
ด้วยทัศนคติอย่างผิดๆ ของทางฝ่ายไทยที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ในเรื่องเจตจำนงของรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา
มันเป็นเรื่องที่สำคัญในเวลานี้
และจะเริ่มมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอีกหลายๆ ปีต่อไปในอนาคต
ซึ่งเราควรที่จะเน้นถึงความพยายามที่จะพัฒนาสร้างแผนการชิ้นหนึ่ง
ที่ได้รับคำรับรองจากผู้บัญชาการกองทัพฝ่ายแปซิฟิค
และทีมนักวิชาการอาวุโสของฝ่ายการฑูตประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งช่วยส่งเสริมแผนยุทธศาสตร์เพื่อความมั่นคงร่วม (Theater Security
Cooperation Plan หรือ TSCP) และแผนการปฎิบัติการต่อภารกิจ (Mission
Performance Plan หรือ MPP)
แต่สามารถถูกบรรเทาลงได้ด้วยการวิเคราะห์ด้วยสภาพความเป็นจริงในเรื่องที่
ทางฝ่ายรัฐบาลไทยมีความวิตกกังวลและความรู้สึกอันอ่อนไหวประกอบอยู่
6.
(ปกปิด)
วิธีการที่สามารถเข้าถึงของทีมนักวิชาการอาวุโสของฝ่ายการฑูตประเทศสหรัฐ
อเมริกา ควรจะเป็นแผนการที่ดำเนินการให้สำเร็จเป็นผลเป็นระยะๆ
ด้วยการระบุให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว
และมีองค์ประกอบที่เป็นประโยชน์โดยตรงกับวัตถุประสงค์ของทั้งทางฝ่ายสหรัฐ
อเมริกาและทางฝ่ายรัฐบาลไทย
วิธีการนี้จะหาหนทางที่จะดำเนินการปรับปรุงอย่างหนักที่สุดในระยะแรก
ซึ่งจะถูกมองให้เห็นจากมุมมองของประเทศไทยเองว่า
ฝ่ายตนได้รับผลประโยชน์มากที่สุด
เพื่อเป็นการสร้างหลักฐานให้เห็นอย่างแน่ชัด
ถึงความชื่นชมจากทางฝ่ายเราในการได้รับสิทธิพิเศษจากการผ่านเข้าออก
ซึ่งเราได้รับอนุญาตตลอดมาเป็นระยะเวลาหลายปี
รวมถึงเป็นการตอบแทนชดเชยให้ทราบถึงความประทับใจที่อาจจะเกิดตามมา
ด้วยการปรับปรุงพัฒนา
ที่อาจจะถูกมองว่าเป็นผลประโยชน์ที่ทางฝ่ายสหรัฐอเมริกาได้รับอย่างมากกว่า
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง:
A. แผนการระยะสั้น:
ให้เครื่องมือและการบริการที่ระบุถึงความต้องการอย่างเร่งด่วน
ต่อการปรับปรุงความปลอดภัยของท่าอากาศยานและปรับปรุงแก้ไขสมรรถภาพของการควบ
คุมการจราจรทางอากาศ
เรื่องเหล่านี้คือส่วนที่ถูกเพิกเฉยมาเป็นเวลานานแและเป็นการแสดงให้เห็นถึง
พื้นฐาน ด้วยการกำหนดให้สมรรถภาพของท่าอากาศยาน
สามารถสนับสนุนกองกำลังของทางฝ่ายสหรัฐอเมริกา, กองทัพไทย
และรวมไปถึงสายการบินพาณิชย์ได้
ตัวอย่างของการปรับปรุงในระยะสั้นควรจะรวมไปถึงเรื่องของ:
1) พื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการสอดแนมด้วยเรดาห์ (ASR-10);
2) สมรรถภาพของการใช้ระบบ VOR/DME (สถานี
วิทยุเพื่อการนำร่องของเครื่องบิน โดยการใช้เครื่องมือเรียกว่า VOR หรือ
VHF Omnidirectional range และ Distance Measuring Equipment หรือ DME
ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวัดระยะทาง – ผู้แปล);
3) รายการเหมารวมเกี่ยวกับเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร ซึ่งรวมกันด้วยคลื่นสัญญาณจากระบบ UHF/VHF;
4) การปรับปรุงสมรรถภาพต่อการดับเพลิงและเครื่องบินตกและการกู้ภัย;
5) ระบบป้องกันฟ้าผ่า (สายล่อฟ้า) กับตัวสนามบิน
B. แผนการระยะกลาง: ช่วย
พัฒนาพื้นที่ส่วนใหญ่ทางด้านตะวันออกแถบลานเครื่องบินขึ้นลงของสนามบินอู่
ตะเภา ซึ่งไม่ได้นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์
ด้วยการสร้างให้เป็นจุดสถานที่พักของทางฝ่ายสหรัฐฯ
เพื่อการสนับสนุนการส่งลำเลียงกองกำลังเล็กๆ โดยใช้บุคลากรของฝ่ายสหรัฐฯ
และเครื่องไม้เครื่องมือ เช่นอาจคาดว่า
จะต้องนำมาใช้ในการฝึกซ้อมทางการทหารต่างๆ คุณประโยชน์อันสำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายการปฎิบัติการของทางฝ่ายสหรัฐอเมริกาเข้ามาสู่ทางฝั่งตะวันออกนั้น รวมไปถึง:
1) การลดการปรากฎตัวของฝ่ายกองกำลังของประเทศสหรัฐอเมิรกา;
2) การลดการรบกวนในการจราจร ระหว่างฝ่ายทหารกับฝ่ายพลเรือนทางการพาณิชย์;
3)
สมรรถภาพของตนเองเพื่อจะรับเรื่องและดำเนินการให้กับบุคลากรฝ่ายทหารของ
สหรัฐอเมริกา, พัสดุหีบห่อ และ เครื่องไม้เครื่องมือ
ซึ่งแยกออกมาจากสายการบินหลักของฝ่ายกองทัพไทยและรวมไปถึงการบินทางพาณิชย์
ของประเทศอื่นๆ และสถานที่ด้วย
C. แผนการระยะยาว: ขยาย
การพัฒนาทางฝั่งตะวันออก
รวมไปถึงการสำรวจความเป็นไปได้ในการเช่าโรงโกดังสินค้าที่สร้างขึ้นมาก่อน
แล้ว
เพื่อการสนับสนุนการส่งกำลังลำเลียงตามภารกิจที่ใหญ่กว่าสำหรับบุคลากรทาง
การทหารของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะต้องปฎิบัติหน้าที่อย่างชั่วคราว
(Temporary Duty หรือ TDY)
และเพื่อแสดงให้เห็นอย่างเป็นทางการในเรื่องการอยู่ในพื้นที่ของทางฝ่ายทหาร
ตามรากฐานในระยะยาว การ
พิจารณาถึงเรื่องนี้ควรจะให้การกำหนดจัดตีังนำเอาอุปกรณ์เคลื่อนที่เข้ามา
เพื่อการสนับสนุนสมรรถภาพทางฝ่ายพลาธิการที่กว้างใหญ่มากกว่า ซึงรวมไปถึง:
1) รถบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง;
2) เครื่องมือจัดการกับอุปกรณ์ต่างๆ (MHE หรือ Materials Handling Equipment) เช่น:
- รถยก 10K ที่มีกำลังยกได้ 10 ตัน;
- รถยก 10K ที่สามารถวิ่งไปในพื้นที่มีภูมิประเทศขุขระได้;
- รถยกเครื่องมือเข้าไปจอดแนบกับประตูเครื่องบินที่มีกำลังยกได้ 25 ตัน ซึ่งเป็นรถยกรุ่นใหม่ (Next Generation Small Loader หรือ NGSL);
- รถเคลื่อนที่สำหรับเก็บกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องบิน (Ground Power Unit หรือ GPU);
- รถเคลื่อนที่ซึ่งสตาร์ทเครื่องบินด้วยการอัดอากาศ (Air Start Unit หรือ ASU);
- บันไดเคลื่อนที่สำหรับการซ่อมแซม (aircraft maintenance stands) และ
- รถกวาดพื้นสนามบิน (runway sweeper)
--------------------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นของผู้แปล:
ท่าน ผู้อ่านก็คงจะสามารถวิเคราะห์ได้เองว่า ทางฝ่ายสหรัฐอเมริกาต้องการใช้สนามบินอู่ตะเภาในเรื่องของใคร และเพื่อใคร รวมไปถึงรัฐบาลที่เอื้ออำนวยความสะดวกให้อย่างเป็นเวลายาวนาน ดังนั้น เราไม่ควรจะไปโทษรัฐบาลหนึ่งรัฐบาลใดในการยอมรับหลักการที่สนามบินอู่ตะเภา เพราะเรื่องนี้ มันกลายเป็นนโยบายที่เกิดขึ้นมามากกว่า 30 ปีแล้ว
วิ กิลีกค์ฉบับนี้ เขียนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2548 ดังนั้น การสร้างอาคารต่างๆ ทางฝั่งตะวันออกของสนามบินอาจจะเป็นเรื่องที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้วก็ได้ เรื่องนี้ ท่านผู้อ่านต้องไปสำรวจหรือค้นคว้ากันเองนะคะ
อย่างไรก็ตามวิกิลีกค์ ไม่ได้ระบุเรื่องนี้เกี่ยวกับ องค์กรนาซ่า ที่มีเรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
วิ กิลีกค์เกี่ยวกับ สนามบินอู่ตะเภา ในภาคที่สอง จะเป็นการแปลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ในเรื่องการฝึกซ้อมทางการทหาร ซึ่งสนามบินอู่ตะเภามีบทบาทพอสมควร
Doungchampa Spencer
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทความต่อเนื่อง:
- บทความแปล: วิกิลีกค์: ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเทศสหรัฐอเมริกาและสนามบินอู่ตะเภา