WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, July 8, 2012

สื่อสารมวลชนกับความรับผิดชอบต่อสังคมในการลงข่าวการฆ่าตัวตาย

ที่มา Thai E-News

 โดย หมอแมว
ที่มา เว็บไซต์พันทิป
5 กรกฎาคม 2555

การนำเสนอข่าวและผลสืบเนื่องอันเกี่ยวกับการจบชีวิตตนเอง

บทความต่อจากนี้เนื้อหาส่วนมากมาจาก preventing suicide a resource for media professionals โดยองค์การอนามัยโลกและ องค์การป้องกันการฆ่าตัวตายสากล ฉบับปี2008

และ Reporting on suicide:Recommendation for the media ที่จัดทำโดยองค์กรชั้นนำนานาชาติด้านสุขภาพ-

ก่อนจะเข้าไปในรายละเอียด เรามาดูถึงสิ่งที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนทำได้เพื่อสังคมในประเด็นเรื่องการฆ่าตัวตายครับ สิ่งที่สื่อทำได้คือ



  1. การใช้โอกาสนำเสนอข่าวนี้ เพื่อจุดประสงค์หลักในการให้ความรู้สังคมเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย
  2. หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่อ่อนไหวกระทบกระเทือนใจ ภาษาที่ทำให้การฆ่าตัวตายเป็นเรื่องปกติ หรือบอกว่ามันคือทางออกของปัญหาชีวิตนั้น
  3. หลีกเลี่ยงการระบุสถานที่หรือการเล่าเท้าความถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆในข่าว
  4. หลีกเลี่ยงวิธีการ อุปกรณ์ หรือข้อมูลในเหตุการฆ่าตัวตาย
  5. หลีกเลี่ยงการระบุถึงรายละเอียดของพื้นที่เกิดเหตุในเนื้อข่าว
  6. ใช้คำพาดหัวอย่างระวัง
  7. ระวังการเสนอรูปและภาพข่าว
  8. ระวังการเสนอข่าวฆ่าตัวตายของคนที่เป็นที่รู้จักในสังคม
  9. ระวังและให้ความเคารพสิทธิของผู้ที่กำลังเสียใจจากเหตุการณ์ฆ่าตัวตายนั้น
  10. ต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่และวิธีการขอความช่วยเหลือหากมีความคิดฆ่าตัวตาย
  11. นักข่าวที่นำเสนอข่าวเหล่านี้ต้องระวังอาจได้รับผลชักจูงให้เกิดความคิดฆ่าตัวตายรัฐ-และการฆ่าตัวตาย10องค์กร

ปัจจุบัน นี้เป็นที่รู้กันอย่างชัดเจนและปราศจากข้อสงสัยแล้วว่าการฆ่าตัวตายนั้น สามารถถูกชักนำได้โดยการนำเสนอของสื่อในแขนงต่างๆ โดยรายงานแรกที่โด่งดังสามารถย้อนไปได้ตั้งแต่สมัยปีคศ.1774 ซึ่งในยุคนั้นมีนิยายเรื่อง "The Sorrows of Young Werther" ตีพิมพ์ออกมาและก่อให้เกิดกระแสการฆ่าตัวตายเลียนแบบขึ้นทั่วภาคพื้นยุโรป โดยผู้ตายจะใส่ชุดเลียนแบบตัวละครที่ตายแล้วใช้วิธีการจบชีวิตเหมือนกับตัว ละคร หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า "Werther effect"นี้ขึ้น ทำให้ประเทศในแถบยุโรปหลายประเทศทำการแบนหนังสือเล่มนี้ในประเทศของตนไป

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาทั้งในสหรัฐ ประเทศทางยุโรป ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น รวมกันกว่า50งานวิจัยสำคัญ ที่ส่วนมากชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่าสื่อสารมวลชนมีส่วนสำคัญในการสร้างการ ฆ่าตัวตาย ดังเช่นงานวิจัยในปี1981-82ของ Bollen & Phillips ที่แสดงถึงการพาดหัวข่าวฆ่าตัวตายหรือรายการทีวีที่เจาะลึกการฆ่าตัวตาย ว่าเพิ่มอัตราการฆ่าตัวตายของชาวสหรัฐหลังจากการนำเสนอ , งานวิจัยของ Motto 1970 ที่พบว่าในช่วงที่หนังสือพิมพ์ทำการหยุดงานประท้วงและไม่มีการนำเสนอข่าว อัตราการฆ่าตัวตายได้ลดลง Stack 1990 ที่หนังสือพิมพ์NewYorks times นำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายทั้งหน้าหนึ่งและเจาะลึกรวมทั้งข่าวการหย่าร้าง ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่เวียนนาออสเตรีย ที่นักข่าวนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายแบบเข้มข้นในปี1984-1987ชนิดลงรายละเอียด และสถานที่วิธีการ จากนั้นเมื่อปี1987ได้มีการปรับปรุงการทำงานของสื่อและปลูกจิตสำนึกให้ ตระหนักถึงความเลวร้ายที่เกิดขึ้นตามหลังการนำเสนอข่าว พบว่าเมื่อนักข่าวได้ทำการเปลี่ยนแปลงการนำเสนอข่าว ก็ทำให้ปรากฎการณ์ฆ่าตัวตายโดยการกระโดดให้รถไฟทับในทางรถไฟใต้ดินกรุง เวียนนาลดลงถึง 80% และอัตราการฆ่าตัวตายทั่วประเทศลดลง20%ภายในเวลาเพียง6เดือนเลยทีเดียว

วิธีที่สื่อสารมวลชนสามารถทำได้เพื่อสังคมในประเด็นการฆ่าตัวตายตามแต่ละหัวข้อมีรายละเอียดดังนี้ครับ

1. ใช้โอกาสนำเสนอข่าวนี้ เพื่อจุดประสงค์หลักในการให้ความรู้สังคมเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย

การฆ่าตัวตายยังเป็นสิ่งที่คนทั่ว ไปเข้าใจผิดอย่างมากครับ และสื่อมีศักยภาพในการแก้ไขความเชื่อที่ดๆนั้น การฆ่าตัวตายของบุคคลหนึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดจากสาเหตุเดี่ยวๆ ไม่มีการฆ่าตัวตายใดที่เกิดมาจากการอกหักอย่างเดียว การสอบตกเรียนไม่ดีแต่อย่างเดียว การฆ่าตัวตายเกือบทั้งหมดมีความผิดปกติทางร่างกายในกลุ่มโรคซึมเศร้า-อารมณ์ แปรปรวน-หรือการใช้สารเสพติด(เหล้าและอื่นๆ)เสมอ

การด่วนนำเสนอข่าวที่ทำให้กลายเป็นสาเหตุธรรมดาๆง่ายๆมีเหตุผลฆ่าตัว ตายอย่างเดียวเป็นสิ่งที่ไม่สมควรและอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดหลายๆอย่างที่ อาจจะเกิดแก่คนใกล้ชิดหรือญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิต

ควรนำเสนอข่าวโดยหาสาเหตุที่แท้จริงและไม่ด่วนสรุปสาเหตุเบื้องต้นใดๆลงไป

2. หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่อ่อนไหวกระทบกระเทือนใจ ภาษาที่ทำให้การฆ่าตัวตายเป็นเรื่องปกติ หรือบอกว่ามันคือทางออกของปัญหาชีวิตนั้น

ที่จริงแล้ววิชาชีพสื่อสารมวลชนคือ วิชาชีพที่รู้ถึงพลังแห่งการใช้ภาษาดีกว่าแขนงอาชีพและวิชาชีพอื่นๆ ภาษาที่ใช้นั้นต้องระบุให้เห็นว่าปัญหาฆ่าตัวตายคือสิ่งที่เป็นปัญหาสังคม ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ไม่ใช่คำหรือวาทกรรมในการอธิบายการฆ่าตัวตาย
(เช่น ใช้คำว่าอัตราการฆ่าตัวตายมีมากขึ้น แทนการใช้คำว่า มหกรรมฆ่าตัวตาย กระแสฆ่าตัวตาย แฟชั่นฆ่าตัวตาย)
หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่ตัดสินว่าการฆ่าตัวตายถูกต้อง เช่นบอกว่าเป็นการเลือกทางออกอย่างกล้าหาญ
หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่ตัดสินว่าการฆ่าตัวตายนั้นผิดอย่างใช้อารมณ์ เช่น การศึกษาไม่ช่วยอะไร คนโง่ คนบาป เกิดใหม่ต้องมาฆ่าตัวตาย100ชาติ
สิ่งที่ควรนำเสนออย่างถูกต้องคือการนำเสนอข้อเท็จจริงแบบไม่มีความเห็น 

3. หลีกเลี่ยงเน้นย้ำ ทำให้เด่นหรือการเล่าเท้าความถึงเหตุการณ์นั้นซ้ำๆในข่าว

ข่าวการฆ่าตัวตายไม่ควรอยู่บนหน้า หนึ่ง เพราะมีความชัดเจนว่าเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการเลียนแบบมากขึ้น รวมทั้งการนำเสนอในสื่อโทรทัศน์วิทยุควรนำไว้เป็นข่าวที่ไม่ใช่ข่าวเด่น ไม่ควรอยู่เบรกแรกหรือเบรกที่สอง
นอกจากนี้หากมีการนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรเล่าเหตุการณ์ซ้ำแต่ควรเท้าความเพียงสั้นๆ

4. หลีกเลี่ยงวิธีการ อุปกรณ์ หรือข้อมูลในเหตุการฆ่าตัวตาย

การบอกถึงวิธีเพียงว่าเสียชีวิต หรือฆ่าตัวตายนั้นความจริงก็เพียงพอแล้ว หรือหากบอกถึงวิธีการก็ควรบอกเพียงชื่อวิธี ไม่ควรนำเสนอลงไปในรายละเอียดไม่ว่าจะเป็นวิธีการแบบStep-by-step หรือ DIY ทำเองก็ได้ง่ายจัง
หากเป็นการใช้ยาหรือสารต่างๆในการฆ่าตัวตาย หากคิดจะบอกก็บอกเพียงว่า ยา-สารพิษ ไม่ควรลงลึกไปถึงชื่อ ขนาด และวิธี
การฆ่าตัวตายที่มีลักษณะแปลกพิศดาร เป็นข่าวที่มักจะได้รับความสนใจ เพราะในขณะที่มันเป็นวัตถุดิบชั้นดีในการรายงานข่าว แต่ในเวลาเดียวกันมันจะทำให้เกิดการฆ่าตัวตายเลียนแบบได้มากกว่าปกติ 

5. หลีกเลี่ยงการระบุถึงรายละเอียดของพื้นที่เกิดเหตุในเนื้อข่าว

การระบุรายละเอียดของสถานที่นั้นๆ จะก่อให้เกิดผลคือ สถานที่นั้นอาจจะมีชื่อและนิยมเดินทางไปฆ่าตัวตาย (เช่นป่ารอบฟูจิ;บอกได้เพราะคนไทยคงไม่ไปหรอก นอกจากวิ่งตอน3ทุ่มแล้วทะลุมิติออกจากเมืองไปอยู่ในป่า)
ไม่ระบุถึงสถานที่นั้นแบบรายละเอียด ... เช่นกระโดดตึกก็กระโดดตึก แต่ไม่ลงไปว่าตึกนี้มีคนมาฆ่าตัวตายแล้วกี่คน เสาต้นนี้อาถรรพ์หล่นลงมาคาทุกทีอะไรแนวนี้

6. ใช้คำพาดหัวอย่างระวัง

พาดหัวข่าวคือสิ่งที่มีผลต่อการเลียนแบบการจบชีวิตของตนเองของคนที่อ่าน ต้องเลือกใช้อย่างระมัดระวัง
โดยคำที่ไม่ควรใช้ในพาดหัวข่าวก็คือคำว่า "ฆ่าตัวตาย" นอกจากนั้นก็คือคำอื่นๆที่แสดงถึงการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย (แขวนคอ โดดสะพาน นอนให้รถไฟทับฯลฯ)

7. ระวังการเสนอรูปและภาพข่าว

ไม่ควรใช้รูปถ่าย ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวของสถานที่เกิดเหตุหรือหากนำเสนอต้องให้คนดูคนอ่านดูไม่ออกว่ามันคือที่ไหน
ไม่ควรตีพิมพ์หรือนำเสนอจดหมายลาตาย
ไม่นำเสนอภาพหรืออะไรที่ระบุตัวตนของผู้ที่ฆ่าตัวตายหรือผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย
และที่สำคัญที่สุด ไม่นำเสนอภาพร่างผู้เสียชีวิต(ไม่ว่าจะปิดหน้าเซ็นเซอร์หรือยังไง) นอกเสียจากจะได้คำยินยอมแบบชัดเจนและระบุเหตุผลในการถ่ายรวมทั้งประโยชน์ใน การนำเสนอ(ถ้ามี)เป็นลายลักษณ์อักษรจากญาติสายตรงของผู้เสียชีวิต
(จากภาพในความเห็นเมื่อครู่ คาดว่าด้วยจรรยาวิชาชีพนักข่าวและความเป็นมืออาชีพของหนังสือพิมพ์ที่มียอด ขายสูงเป็นอันดับต้นๆของประเทศ มั่นใจได้ว่าเค้าต้องขออนุญาตญาติถ่ายภาพมาแล้วแน่นอน ไม่มีพลาดแน่ๆ)

8. ระวังการเสนอข่าวฆ่าตัวตายของคนที่เป็นที่รู้จักในสังคม

การนำเสนอข่าวการฆ่าตัวตายของคนดัง แม้จะเป็นเนื้อข่าวอันพิเศษสุดเหมาะสมแก่การติดตาม แต่ต้องระมัดระวังนำเสนอข่าวอย่าให้โดดเด่น ไม่นำเสนอการฆ่าตัวตายแบบโรแมนติกหรือสวยงาม ไม่บอกวิธีการฆ่าตัวตาย หากแต่ควรนำเสนอผลกระทบที่เกิดจากการตายของบุคคลนั้นมากกว่า

9. ระวังและให้ความเคารพสิทธิของผู้ที่กำลังเสียใจจากเหตุการณ์ฆ่าตัวตายนั้น

ญาติมิตรคนใกล้ชิดของผู้ตายที่ เพิ่งตายใหม่ๆเอง จะมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้อนได้สูง การสัมภาษณ์ใดๆที่จะทำ ควรทำอย่างระมัดระวังขั้นสูง เพราะอาจก่อให้เกิดความกระทบกระเทือนจิตใจ ไม่ควรเน้นย้ำถามสาเหตุที่เป็นไปได้จากญาติหรือผู้ใกล้ชิด เพราะเกือบทั้งหมดจะไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง(ถ้าทราบ ผู้ป่วยต้องไม่ตาย)นอกจากนี้ยังเสี่ยงกับการไปคาดคั้นหาสาเหตุหรือหาอาการนำ ก่อนฆ่าตัวตายแล้วไปฝังความคิดว่าเป็ฯความผิดบาปเลวร้ายของคนใกล้ชิดที่ดูแล ไม่ดีแล้วทำให้คนๆนั้นต้องฆ่าตัวตาย
ความเป็นส่วนตัวและความเห็นอกเห็นใจแก่ญาติผู้เสียชีวิตต้องมาเป็นอันดับหนึ่งก่อนข่าว

10. ต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่และวิธีการขอความช่วยเหลือหากมีความคิดฆ่าตัวตาย

การนำเสนอข่าวฆ่าตัวตาย เมื่อปิดท้ายต้องเสนอทางออก บอกวิธีแก้ไข เบอร์สายด่วน หรือสถานที่ให้ความช่วยเหลืออย่างชัดเจน (อย่าบอกแค่ว่าควรไปพบหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)
การให้ข้อมูลความช่วยเหลือปิดท้าย จะสามารถลดผลที่ตามมาจากการนำเสนอข่าว หากมีผู้ที่มีความคิดฆ่าตัวตายกำลังดูอยู่ นอกจากจะไม่เป็นการกระตุ้นให้ฆ่าตัวตายเลียนแบบ ยังจะสามารถทำให้เขาเห็นทางออกได้
อย่าลืมครับว่าผู้ที่คิดฆ่าตัวตายส่วนใหญ่คือผู้ป่วยซึมเศร้าและอารมณ์แปร ปรวน ในภาวะที่กำลังแย่เค้าจะไม่ไปหาเบอร์สายด่วนเอง ดังนั้นในข่าวที่เสี่ยงต่อการกระตุ้นให้คนกลุ่มนี้ฆ่าตัวตายตาม เราต้องใส่ข้อมูลทางออกทางแก้ไขไว้เสมอ

11. นักข่าวที่นำเสนอข่าวเหล่านี้ต้องระวังอาจได้รับผลชักจูงให้เกิดความคิดฆ่าตัวตาย

นักข่าวก็เป็นมนุษย์ เป็นคน มีชีวิตและจิตใจ มีความไม่รู้เหมือนกับคนทุกคน แม้ว่าหลายๆคนจะมีความเป็นมืออาชีพและจิตวิญญาณแห่งความเป็นนักข่าวสูงเพียง ใด แต่ความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าอย่างไม่รู้ตัวแล้วได้รับผลกระทบจากการ ติดตามข่าวจะสูงกว่าประชาชนทั่วไปเพราะจะรู้ข้อมูลและความดราม่าของข่าว มากกว่าปกติ
เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับความเป็นมืออาชีพ ไม่เกี่ยวกับความกล้า ไม่เกี่ยวกับความเข้มแข็งของจิตใจ แต่เกี่ยวกับสารสื่อประสาทในสมอง
ดังนั้นนักข่าวต้องพึงระลึกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นเมื่อสัมผัสข่าวมากๆ และหาทางออกให้ตนเองไว้เสมอ
ภาพข้างต้น ขอให้เครดิตก่อนนะครับ มาจากเดลินิวส์ ไทยรัฐ และคมชัดลึก 
เรื่องพวกนี้ไม่เข้าใครออกใคร ใครๆก็ซึมเศร้าได้ ไม่ใช่เรื่องบาปกรรมสนองแต่อย่างใด
ผู้ที่เขียนข่าวในวิชาชีพนักข่าวเหล่านี้ก็ระมัดระวังตัวกันนะครับ เป็นห่วง
แหล่งข่าวความรู้เกี่ยวกับการให้คำแนะนำเรื่องภาวะฆ่าตัวตายและโรคที่เกี่ยวข้อง
วิชาชีพสื่อสารมวลชนต้องเก่งในทางการนำเสนอและการให้ข้อมูลประชาชน แต่ข้อมูลบางอย่าง ความเชื่อ ความรู้ ทัศนคติ เกี่ยวกับการฆ่าตัวตายอาจจะไม่เชี่ยวชาญ การขอความรู้หรือศึกษาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือจึงเป็นสิ่งสำคัญ
เบื้องต้นที่ที่สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ ได้แก่
สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย :  http://www.psychiatry.or.th
ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย   http://www.rcpsycht.org
โครงการช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย   http://www.suicidethai.com
ร่วมมือกันนะครับ เพื่อสังคมไทยยิ้มละไมคืนชีวิตสู่สังคม
เอกสารอ่านเพิ่มเติม
  1. Hendin H.,et al. Epidemiology of suicide in asia. Suicide and suicide prevention in asia
  2. Understanding suicide fact sheet 2010 . www.cdc.gov/violenceprevention
  3. ศุภรัตน์ เอกอัศวินใ การพยายามฆ่าตัวตายซ้ำในวัยรุ่นที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจิตเวช . Journal of Mental Health of Thailand 2004;12;40-49
  4. Sriruenthong W,et al.The suicidality in THai population : National survey .วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ;56;414-424
  5. Reporting on suicide:Recommendation for the media. จัดทำโดย CDC และอีก9สมาคม โดยความร่วมมือกับ WHO
  6. Preventing suicide a resource for media professionals. จัดทำโดยWHOและIASP
  7. Jarassaeng N,et al.Suicidal risk in major depressive disorder at the OPD Section in Srinagarind hospital, Faculty of medicine, Khon Kaen university วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.2554;56;130-135
  8. แนวทางการจัดการโรคซึมเศร้าสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปในสถานบริการระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ ;กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  9. Gould M. Suicide and the media. Annals New York Academy of Sciences.200-224
  10. Power point "การฆ่าตัวตายในเด็กและวัยรุ่น" ของ พญ.นิดา ลิ้มสุวรรณ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี
  11. Power point "การฆ่าตัวตาย อันวินิบาตกรรม" ของ รศ.พญ.สุจิรา จรัลศิลป์
  12. คู่มือการป้องกันและช่วยเหลือ ผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสำหรับบุคลากรทางสาธารณสุข โดย โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข 16ตค.2543
(สำหรับแนวทางสำหรับสื่อมวลชน หาโหลดต้นฉบับจริงได้จากหัวข้อ5-6ก็ได้ครับ) 
ปล. ตัวอย่างการเขียนที่ต้องระมัดระวังการใช้คำ เพราะคนอ่านที่ไม่ได้เป็นนักข่าวหรือคนที่เป็นญาติอาจจะไม่ชอบคำเหล่านี้ ในภาวะที่น่าเศร้าเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องเหมาะที่จะไปทำให้ญาติเสียใจกับเรื่องแบบนี้ 
ปอ. ส่วนมากญาติจะเครียดครับ 
ปฮ. สุดท้ายนี้ กระทู้นี้ไม่ได้ว่าใคร แต่ว่าแค่อยากบอกในฐานะแพทย์ ที่เรื่องแบบนี้มีงานวิจัยรองรับจริงว่าสื่อมีผล และมีเอกสารสากลที่ระบุแนวทาง ภาพ ทั้งหลายนั้นเป็นภาพจริงไม่ได้ตัดต่อ แต่ลบบางอย่างที่ผมเห็นว่าน่าจะกระทบกระเทือนใจออกและใส่คำพูดบางอย่างลงไป ตามเนื้อผ้าตามหลักMedical ไม่ใช่ในหลักนักข่าว
ผมเป็นแค่หมอครับ แม้จะทราบหลักการทางการแพทย์ หรือรู้เรื่องจิตวิทยาอยู่บ้างนิดนึง แต่ไม่อาจก้าวล่วงไปวิจารณ์การทำงานของสายวิชาชีพที่ผมไม่มีความชำนาญ
ดังนั้นจึงทำได้เพียงเสนอกระทู้นี้แบบบังอาจสอนจรเข้ว่ายน้ำว่าในสากลเขามีหลักปฏิบัติแบบใด
สวัสดีครับ เมี้ยว