WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, July 8, 2012

วอนนายกเซ็นร่างแก้ พ.ร.บ.ยา เข้าสภาเพื่อขจัดการส่งเสริมการขายยาที่ขาดคุณธรรม

ที่มา ประชาไท

 

นักวิชาการด้านยาวอนนายกฯ ปู เซ็นร่างแก้ พ.ร.บ.ยา เข้าสภาเพื่อขจัดการส่งเสริมการขายยาที่ขาดคุณธรรม ชวนองค์กรวิชาชีพลงสัตยาบรรณเกณฑ์จริยธรรมควบคุม
 
7 ก.ค.55 - จากการที่บริษัทยา GSK ยอมที่จะจ่ายค่าปรับปรับเกือบแสนล้านบาทหลังทำความตกลงกับกระทรวงยุติธรรม สหรัฐฯ ในความผิดทั้งอาญาและแพ่งในหลายข้อหา อาทิ การทำการตลาดยาทั้งที่ไม่ตรงกับข้อบ่งใช้ที่ขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและ ยา สหรัฐฯ (FDA), ปิดบังความไม่ปลอดภัยของยา, ปั้นงานวิจัยว่า ยาปลอดภัย, ให้อามิสสินจ้างบุคลากรทางการแพทย์เพื่อสั่งจ่ายยา, ขายยาเกินราคาให้กับระบบหลักประกันสุขภาพ ฯลฯ กรณีดังกล่าวไม่ใช่คดีแรก เคยมีการปรับบริษัทยาอื่น ๆ มานับแล้วมากกว่า 10 คดี แต่คดีนี้นับว่ามีมูลค่ามากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
 
รศ.ดร.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นว่า แม้จะเป็นคดีประวัติศาสตร์ที่มีรายละเอียดของคดีที่ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจน ถึงพฤติกรรมของบริษัทยาและบุคลากรทางการแพทย์ที่สมคบกันหาประโยชน์บนชีวิต ผู้ป่วยอย่างไร้จริยธรรม แต่ผลของการกระทำไปทั้งที่รู้ว่าผิดกฎหมายก็นำไปสู่ค่าปรับและการประนี ประนอมทั้งทางแพ่งและอาญา แต่ไม่มีการลงโทษผู้กระทำความผิดอาญาใดๆเลย ไม่ว่าจะเป็นบริษัทยาที่ทำผิดกฎหมายหรือแพทย์ผู้สั่งจ่ายยาที่ความปลอดภัย ไม่ความชัดเจนเพราะได้รับอามิสสินจ้าง หรือแม้แต่ปกปิดงานวิจัยของบริษัทถึง 3 ชิ้นที่ไม่สนับสนุนประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา ตลอดจนเกี่ยวข้องกับการตีพิมพ์งานวิจัยอันเป็นเท็จ
 
“ถึงแม้บริษัทยาจะถูกปรับราว 3,000 ล้านเหรียญ หรือเกือบแสนล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับยอดขายของ GSK ปีที่แล้วปีเดียว 44,000 ล้านเหรียญ เป็นกำไรสุทธิ 9,000 ล้านเหรียญ ยาต่างๆที่มีปัญหาในคดีนี้ทำการตลาดในลักษณะที่ว่ามาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ฉะนั้น หากยังไม่มีกลไกที่ดีกว่านี้ เชื่อว่า บริษัทยายักษ์ใหญ่เหล่านี้ก็จะยังคงมีพฤติกรรมเช่นเดิม แต่จะทำให้เนียนขึ้น เพื่อยากต่อการเอาผิด”
 
ทางด้าน ผศ.ดร.ภญ.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา กล่าวว่า จากคดีดังกล่าว เมื่อหันกลับมามองในประเทศไทยพบว่า สถานการณ์ส่งเสริมการขายยาอย่างขาดจริยธรรมนั้นไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน แต่ยิ่งน่าวิตกกังวลมากกว่า เพราะกลไกกฎหมายเดิมยังล้าหลัง จนถึงขณะนี้ พรบ.ยา พ.ศ. 2510 และกฎระเบียบต่างๆในบ้านเรายังไม่สามารถเข้าไปเอาผิดกับการส่งเสริมการขายยา ที่ขาดจริยธรรมเหล่านี้ได้เลย เช่น มีผู้ให้ข้อมูลว่า เมื่อราว 2 ปีที่แล้วมีอาจารย์แพทย์ในโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่จ่ายยาเบาหวานที่อยู่ในกรณีนี้นั้นในปริมาณสูงสุดถูกให้ออก เพราะพฤติกรรมไม่เหมาะสม ผิดจริยธรรม แม้จะถูกตักเตือนมาเป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามระบบการควบคุมกันเองนี้ก็ยังไม่เข้มข้นมากพอ จึงต้องเร่งแก้ไข พรบ.ยา และออกเกณฑ์จริยธรรมควบคุมการส่งเสริมการขายยาที่ขาดคุณธรรม
 
“อยากให้ท่านนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตรลงนามในร่างแก้ไข พ.ร.บ.ยาที่ภาคประชาชนนำเสนอเพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาและขอให้กระทรวงสาธารณ สุขเร่งนำร่าง พ.ร.บ.ยาที่ผ่านการพิจารณาของกฤษฎีกาเข้าสู่สภาเช่นกัน เพราะทั้ง 2 ฉบับมีเนื้อหาควบคุมการส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรม จัดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพและตัวแทนขายยาอย่างเหมาะสม ไม่เช่นนั้นปัญหาเปล่านี้จะยิ่งทวีความรุนแรง ซึ่งจะส่งผลกระทบทั้งชีวิตประชาชนและงบประมาณของประเทศอย่างรุนแรง ขณะเดียวกันก็ขอเชิญชวนทุกสภาวิชาชีพต่างๆ โรงเรียนแพทย์และโรงพยาบาลมาร่วมลงสัตยาบรรณรับรองเกณฑ์จริยธรรมควบคุมการ ส่งเสริมการขายยาที่ขาดจริยธรรมที่กำหนดกลไกการกำกับกันเองให้มีประสิทธิภาพ ที่สุด รวมทั้งเปิดให้กลไกการเฝ้าระวังและตรวจสอบที่เป็นทางการเพิ่มเติมขึ้น”
 
ภก.ภาณุโชติ ทองยัง รองผู้อำนวยการวิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม กล่าวเสริมว่าพระราชบัญญัติยาพ.ศ.2510 มีการควบคุมการโฆษณาแต่ไม่ได้มีการพูดถึงการส่งเสริมการขาย จึงเป็นช่องโหว่ที่อาจทำให้บริษัทยาทำการส่งเสริมการขายอย่างไร้จริยธรรมได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับแก้ระบบยาให้โปร่งใสรวมทั้งให้บริษํทยา เปิดเผยโครงสร้างราคายาของตน  เพื่อให้สังคมสามารถติดตามตรวจสอบได้
 
“ในนามของสถาบันฯซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมเพื่อให้ผู้ประกอบ วิชาชีพเภสัชกรรมมีจริยธรรม ความรู้ และความเชี่ยวชาญในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพ ขอเรียกร้องเภสัชกร ตลอดจนผู้บริโภค เข้ามาร่วมกันเป็นเครือข่ายในการตรวจสอบและเฝ้าระวังพฤติกรรมการขายยาที่ไม่ ถูกต้องตามหลักจริยธรรมด้วย หากพบการกระทำที่ไม่เหมาะสมขอให้แจ้งยังสภาเภสัชกรรม ซึ่งเป็นองค์กรที่ควบคุมจรรยาบรรณของวิชาชีพ และหากพบผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆเกี่ยวข้องด้วยก็ขอให้แจ้งยังสภาวิชาชีพนั้นๆ เช่นกัน”
 
ทางด้านนิมิตร์ เทียนอุดม กรรมการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า จากคดี GSK ยังพบว่า มีการขายยาเกินราคาให้กับโครงการประกันสุขภาพของรัฐที่ให้การรักษาคนชราใน สหรัฐฯ จนถูกสั่งปรับ 300 ล้านเหรียญ หรือเกือบพันล้านบาทนั้น ถือเป็นบทเรียนที่ดีกับระบบหลักประกันสุขภาพบ้านเราทั้งสามระบบ โดยเฉพาะระบบสวัสดิการข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจประมาณ 5 ล้านคน ที่ใช้งบประมาณจากภาษีอากร ปี 53 ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท ขณะที่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดูแล 47 ล้านคน ใช้งบประมาณประมาณ 1 แสนล้านบาท ซึ่งสัดส่วนงบประมาณที่ใหญ่ที่สุดคือ ค่ายา ดังนั้นกรมบัญชีกลางและคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นมาเพื่อให้ 3 ระบบหลักประกันมีความเท่าเทียมนั้น ต้องมีการตรวจสอบราคายา ควบคุมราคายา ให้มีความเหมาะสม อย่าปล่อยให้บริษัทยาหลอกได้