WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, October 11, 2012

วิกฤตเบอร์รี่ปี 2555 ปัญหาคนงานเบอร์รี่ยังไม่จบง่ายๆ

ที่มา Thai E-News

 จรรยา ยิ้มประเสริฐ
10 ตุลาคม 2555



เทป บันทึกภาพการนำเสนอปัญหาแรงงานทาส “คนงานเก็บเบอร์รี่ชาวไทยที่แลปแลนด์” และตามด้วยการแลกเปลี่ยนในประเด็นนี้ที่ดำเนินรายการโดยปลัดกระทรวงการจ้าง งานและ เศรษฐกิจของฟินแลนด์
* * * * * * * *

ฟินแลนด์สัมมนา “คนงานต่างชาติชาวเอเชียที่ฟินแลนด์”

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2555 มีงานเสวนาที่สำคัญมากเรื่อง “คนงานต่างชาติชาวเอเชียที่ฟินแลนด์” ที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ จัดโดย “เวทีประชาชนเอเชียยุโรป (AEPF) ที่ร่วมนำเสนอและร่วมฟังโดยองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงานจนเต็มห้องประชุม

จรรยา ได้นำเสนอเกี่ยวกับ “คนงานเก็บเบอร์รี่ชาวไทยที่แลปแลนด์” ทั้งนี้แลปแลนด์เป็นชื่อตอนเหนือของฟินแลนด์ที่เป็นเขตเบอร์รี่ป่า

คำว่าแลปแลนด์ ช่างพาให้คิดถึงเมืองลับแล จริงๆ คือลับจากสายตาผู้คน และแลหาความช่วยเหลือจากใครไม่มี และก็คุยกันก็ไม่รู้เรื่อง

คนงานเก็บ เบอร์รี่ชาวไทย "แรงงานทาสยุคใหม่" ในวีซ่า “นักท่องเที่ยว” จะถูกพาจากสนามบินไปยังแคมป์ที่พักทันทีที่เครื่องลงจอด และจะถูกพาจากแคมป์ แวะซื้อเสื้อผ้ามือสองระหว่างทางมาสนามบิน เพื่อขึ้นเครื่องกลับประเทศไทย โดยที่พวกเขาไม่เคยได้รับอนุญาตหรือสามารถทำตัวเป็น “นักท่องเที่ยว” ที่แท้จริงได้เลย อีกทั้งไม่เคยเห็นหรือเที่ยวดูแม้แต่เมืองหลวง “เฮลซิงกิ” ที่รถบัสพวกเขาวิ่งผ่านรอบนอก ทั้งขาไปและขากลับสนามบิน ด้วยข้ออ้างจากพวกบริษัทนายหน้าว่า “ยุ่งยาก ในการจัดการ”

พวกคนงานเก็บ เบอร์รี่ชาวไทยจึงเหมือนกับ “ผี” ที่คนฟินแลนด์ไม่เคยเห็นตัว รู้แต่เพียงว่ามีจำนวน “นักท่องเที่ยว-จ้างงานตัวเอง-คนงานเก็บเบอร์รี่” 3,000 คน เดินทางจากประเทศไทยมาเก็บเบอร์รี่ แต่ไม่รู้ว่ารูปร่างหน้าตาและสภาพความเป็นอยู่และสภาพการทำงานเป็นอย่างไร จะไปพบเจอได้ที่ไหนบ้าง

คนฟินแลนด์ ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าแคมป์คนงานอยู่ตรงไหนกันบ้าง เพราะบริษัทเบอร์รี่ ไม่เปิดเผยชื่อแคมป์ต่อสาธารณะ แม้แต่นักข่าวจะเข้าไปถ่ายทำสภาพปัญหา ก็ต้องขออนุญาต และขอที่อยู่จากบริษัท

เวลาจะเข้าแคม ป์ต้องบอกว่า “เราไม่ใช่ NGOs” เพราะเป็นที่รับรู้กันว่าหัวหน้าแคมป์ (พวกสายและนายหน้า) รวมทั้งธุรกิจเบอร์รี่ไม่ชอบคนวิจารณ์และโยนความผิดให้ NGOs รับไปเต็มๆ

คนที่เข้าไป ถึงแคมป์และได้คุยกับคนงาน ต่างเล่าว่า เวลาคุยกับคนงาน จะอยู่ในสายตาที่จับจ้องของหัวหน้าแคมป์ และถ้าคุยนานก็จะเข้ามายืนฟัง และคอยสอดแทรกคำว่า “ไม่จริง” “ไม่ขาดทุน” เมื่อคนงานเปิดปากถึงสภาพปัญหาต่างๆ

คนงานเก็บเบอร์รี่ชาวไทยช่างดูประหนึ่ง "แรงงานทาส" เป็นนักโทษในค่ายกักกันแรงงานเสียเหลือเกิน

เมื่อพวกเขา เดินทางกลับมาถึงเมืองไทยพร้อมเรื่องราวความเจ็บปวดและสูญเสีย แดดสีทองแห่งมหานครเมืองเทพอมรดินแดนสุวรรณภูมิ ที่พวกเขาย่างเหยียบ ก็เผาสลายพวกเขา ราวกับแวไพร์ยามต้องแสงอาทิตย์

เมื่อไม่มีใครพยายามที่จะฟังความจริง พี่แมวพูดจับใจทุกคนว่า
“เรื่องเล่าแห่งความสวยงาม ก็เป็นได้แต่เพียงเรื่องเล่าแห่งความสวยงาม”

วิกฤตเบอร์รี่ปี 2555

คนไทยหลายพันคนเดินทางมาถึงตอนเหนือของสวีเดนภายใต้วีซ่าทำงานชั่วคราว - เพื่อเก็บเบอร์รี่ สวีเดนให้สิทธิสาธารณะกับใครก็ได้ที่จะเก็บเบอร์รี่ป่า แม้แต่ในพื้นที่ของเอกชน ในปีที่ผลิตผลดี (ซึ่งไม่น่าจะใช่ปีนี้) ป่าจะเต็มไปด้วยบลูเบอร์รี่และเบอร์รี่สีแดง มีคนสวีเดนเหลือเพียงไม่กี่คนที่ยังยอมทำงานหนักเช่นงานเก็บเบอร์รี่ แต่ความต้องการเบอร์รี่ก็เพิ่มสูงขึ้น เบอร์รี่ป่าเป็นที่ต้องการสูงมากของอุตสาหกรรมอาหารสุขภาพ: สี่ในห้าของเบอร์รี่ที่เก็บได้ส่งออกไปขายต่างประเทศ

ผลประโยชน์ ที่ตามมายังเป็นข้อกังขาทั้งในประเทศบ้านเกิดและต่างแดน บริษัทเบอร์รี่หันมาใช้แรงงานคนเอเชียกว่าสิบปีแล้ว คนไทยเดินทางมาในฤดูกาลเก็บ ปีนี้มีการอนุมัติวีซ่า 5,700 คน สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ เป็นคนไทยทั้งหมด กระนั้นสมาพันธ์แรงงานแห่งชาติสวีดิช (LO) เรียกงานเก็บเบอร์รี่ว่า “ทาสยุคใหม่” เมื่อเบอร์รี่ไม่ดก บ่อยทีเดียวที่ คนงานไม่สามารถเก็บได้มากพอคุ้มค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าอาหารและค่าที่พัก Thord Ingesson เจ้าหน้าที่ LO ที่รับผิดชอบงานด้านแรงงานต่างชาติ บ่นว่าสวีเดน “สูญเสียอำนาจการควบคุมสภาพการทำงาน เมื่อแรงงานโลกได้กลายเป็นสินค้าราคาถูก”

Economist, Foreign workers in Sweden: Berrypickers, unite!, 4 สิงหาคม 2012

ปีนี้ “เสียงที่ส่งต่อกันมา” ทั้งจากสวีเดนและฟินแลนด์ที่ถูกพวกนายหน้าค้าแรงงานและเจ้าหน้าที่กระทรวง แรงงานไทยปิดกั้นจนเงียบฉี่ที่เมืองไทย คือ “ปัญหาเยอะจริงๆ”

คนงานเก็บเบอร์รี่ที่สวีเดนบอกว่า ...

“คนเยอะมาก เป็นหมื่นคนเลย”
“สี่ห้าแคมป์ตั้งอยู่ใกล้กัน ไปไหนก็เจอกัน ใกล้ๆ ก็เอากันหมดแล้ว ต้องขับรถ 4-5 ชั่วโมงหาเบอร์รี่”
“มานอนรอเป็น 15 วัน ถึงได้เก็บ ไม่มีรถให้คนงาน”
“พอรถเสียก็ต้องหยุด 2-3 วันกว่าจะซ่อมเสร็จ”
"อาหารการกินก็แย่ (เหมือนเดิม) มีแต่ปีกไก่"
“ปีนี้ มีข่าวผู้ชายอายุ 48 ตายในป่าที่สวีเดน” (แต่ไม่มีใครมีรายละเอียดมากกว่านี้)
ฯลฯ

คนงานชาติอื่นเจอสภาพปัญหาก็มักประท้วงกันทันที

"เมื่อคนงานชาว บัลกาเรีย 500 คน ที่ตั้งแคมป์ที่หมู่บ้าน Mehedeby ทางตอนเหนือของสต๊อกโฮลม์ ถูกคนท้องถิ่นที่โกรธแค้นต่อว่า "ละเมิดสิทธิสาธารณะที่มีมาแต่ดั่งเดิมของพวกเขา" คนเก็บเบอร์รี่ก็ไม่มีความสุขเช่นกัน ไม่มีทั้งน้ำประปาหรือห้องน้ำ และเบอร์รี่ก็ไม่ดกด้วย บางคนอยากจะกลับบ้าน แต่ก็ทำไม่ได้ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นและสถานทูตบัลกาเรียที่ตื่นตระหนก รีบขนคนเก็บเบอร์รี่ขึ้นรถบัสที่เช่ามาจอดรอที่ข้างโรงเรียน เพื่อส่งกลับบ้านเกิด แต่ก็ยังมีคนเก็บเบอร์รี่ชาวบัลกาเรียที่ถูกทิ้งให้รอความช่วยเหลือที่ หน้าประตูสถานทูตอีกเป็นจำนวนมาก"
Economist, 4 สิงหาคม 2555

แต่คนเก็บเบอร์รี่ชาวไทยอึดกว่าชาติใดในโลก

คนเจ้าถิ่นชาวฟินแลนด์และสวีดิช ต่างพากันฉงนงงงวยว่า คนงานไทยเอาพลังอึดมาจากไหน ถึงทำงานได้ราวกับเครื่องจักร 12-20 ชม. ทุกวันตลอด 70 วัน โดยที่ไม่เคยพัก ไม่ต้องผ่อน ไม่ต้องนอน ไม่ต้องมีวันหยุด แม้ป่วยก็ไม่พัก

กระนั้นปีนี้ คนงานเก็บเบอร์รี่ที่สวีเดนบอกว่า "คนงานกว่าครึ่งเก็บไม่ได้ตามเป้า และบริษัทบอกว่าจะไม่จ่ายเงินเดือนตามกฎหมาย เพราะเก็บไม่ได้ตามเป้า" ซึ่งก็หมายความว่าพวกเขาจะถือว่าทำงานฟรี เพราะเงินเดือนที่ระบุในสัญญาครอบคลุมแค่่ค่าเดินทางและกินอยู่เท่านั้น ไม่เหลือกำไรอยู่แล้ว

และจนถึงบัดนี้ คนงานหลายร้อยคนที่มาเก็บเบอร์รี่ที่สวีเดนที่เดินทางกลับบ้านเมื่อวันที่ 29 และ 30 กันยายน ก็ยังคงรอเงินเดือนที่ระบุตามสัญญาจ้าง ที่บริษัทที่พามาเก็บเบอร์รี่ยังไม่ยอมจ่ายให้คนงาน อ้างว่ายังเคลียร์ค่าเบอร์รี่ไม่ได้

ที่ฟินแลนด์ก็มีปัญหาเยอะมากเช่นกัน แต่เสียงยิ่งเงียบฉี่กว่าสวีเดน เพราะนายหน้าและบริษัทที่นี่อ่อนไหวต่อเรื่องภาพลักษณ์และป้องกันไม่ให้คน งานประท้วงหรือร้องเรียนได้สำเร็จกว่าที่สวีเดน (คนน้อยกว่า เลยคุมได้ง่ายกว่า)

พี่แมว คนฟินแลนด์ที่พูดและเขียนภาษาไทยได้คล่อง และช่วยเป็นล่ามให้คนงาน บอกว่ามีคนป่วยหนักต้องเข้าโรงพยาบาลนับสิบวัน 2 คน และกลับบ้านในสภาพที่ต้องได้รับการดูแล พร้อมหนี้ที่ยังอยู่กว่าสี่หมื่นบาท

พวกนายหน้าคือโซ่สุดท้ายที่อันตรายต่อเกษตรกร

นายหน้าหาคนงานไปต่างประเทศ ที่ตระเวณตามหมู่บ้านทั่วภาคอีสานและกระจายไปทุกภาคตอนนี้ คือแขนขาอันสำคัญยิ่ง ที่หล่อเลี้ยงเครือข่ายป้อนแรงงานทาสชาวไทยของพวกบริษัทจัดหางานทั้งถูก กฎหมายและผิดกฎหมาย เพื่อขายแรงงานไทยให้กับต่างชาติ

ในกรณีงาน เบอร์รี่ที่สวีเดนและฟินแลนด์ นายหน้าหลายคนเป็นคนเก็บเบอร์รี่เก่า ที่หารายได้จากการหาคนไปทำงาน หรือต้องการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของตัวเอง จึงหาคนเก็บใหม่เพื่อค่าหัวคิว

และหลายคนก็ เป็นพวกคนที่มีอาชีพนายหน้าหาคนงานให้บริษัทจัดหางานไปประเทศ ต่างๆ ที่มีประสบการณ์ "ค้าความฝันลวง" พวกเขาจะเดินทางขยายพื้นที่ไปเรื่อยๆ เมื่อหมู่บ้านหนึ่งเจ๊งทั้งหมู่บ้าน ไม่ไปอีกแล้ว ก็ไปหาหมู่บ้านใหม่ เมื่ออีสานเริ่มมีบทเรียน ก็ไปภาคเหนือ หรือภาคใต้

พวกนี้จะเก่งในการโน้มน้าวให้คนไปทำงานต่างประเทศให้ได้ และไม่พูดความจริงหรือพูดความจริงไม่หมด ใช้คำหลอกล่อด้วยตัวเลขเงินที่จะได้ อ้างกันเป็นแสนหรือหลายแสน

นายหน้าคนหนึ่งที่แก้งค้อ หาคนเก็บเบอร์รี่มาสวีเดนเพื่อกินค่าหัวคิว ป้อนบริษัทจัดหางานได้ถึง 130 กว่าคน (ถ้าคิดตามอัตราที่รับรู้กันทั่วไปก็น่าจะได้ค่านายหน้า 5,000 บาท x 130 คน = 650,000 บาท) โดยที่ตัวเองก็ไม่ได้เดินทางมาดูแลคนงานด้วย

นี่คือหนึ่งในหลายสิบนายหน้า ที่ทำตัวหาคนงานมาเก็บเบอร์รี่ที่สวีเดนและฟินแลนด์ และกำลังจะขยายไปนอร์เวย์อีกด้วย

นายหน้าที่ทำ มาหากินกับค่าหัวคิว เห็นแก่เงิน และไร้ซึ่งจิตสำนึก ไม่มีความรู้ความเข้าใจในต้นต่อปัญหา ไร้ความรับผิดชอบ และไม่มีศักยภาพใดๆ ทั้งสิ้นที่จะรองรับความเสียหาย

โซ่สายส่ง "แรงงานทาส" ของธุรกิจค้าแรงงานข้ามชาติ คือ ต้นต่อปัญหาที่สั่งสมมากว่า 40 ปี ที่เมืองไทย 

ถ้าไปเมืองนอกแล้วรวยจริง คนอีสานต้องเป็นภาคที่คนรวยมากที่สุดในประเทศไทย

นับตั้งแต่ปี 2518 จนถึงปัจจุบัน มีคนไทยโดยเฉพาะเกษตรกรจากอีสานรวมกันว่า 4 ล้านคนเดินทางไปทำงานต่างประเทศ โดยที่ 90% เป็นการเดินทางไปกับบริษัทจัดหา(ค้า)งานเอกชนที่คิดค่าหัวคิวจากพวกคนงาน อย่างโหดร้าย

เงินจำนวนมาก ถูกหล่อเลี้ยงธุรกิจค้าแรงงานและสายป่านโยงใยข้าราชการและนักการเมือง ตั้งแต่ระดับกรุงเทพฯ จนถึงจังหวัดเป้าหมายต่างๆ มาอย่างยาวนานที่จำเป็นต้องแก้ไขให้ได้เสียที

เพราะระบบนี้ ส่วนมากแล้วคนงานต้องทำงานฟรีตามสัญญา ถ้าสัญญา 2 เดือนเช่นเก็บเบอร์รี่ ค่าใช้จ่ายแน่ๆ คือ 160,000 บาท (เท่ากับเงินเดือน 2 เดือน)

คนตกหลุมพรางส่วนใหญ่ จะถูกทำให้เชื่อลมปากมากกว่าสัญญา (ที่พวกเขาเห็นหลังจากจ่ายเงินให้นายหน้าไปแล้วหลายงวด) กับคำพูดประเภท "ไม่ต้องสนใจเงินเดือนตามสัญญา เพราะคนงานจะได้เงินจากรายได้พิเศษและค่าล่วงเวลามากมาย"

การแบ่งผลประโยชน์ระหว่างบริษัทเอกชนกับนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ กระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรักษาโซ่ความสัมพันธ์ของธุรกิจค้าแรงงานชาว ไทย (ที่ทรหดและอดทนยิ่งกว่าควายเหล็ก) และดำรงการสนับสนุนให้บริษัทจัดส่ง โดยรัฐไม่ยอมดำเนินการจัดส่งเอง ด้วยข้ออ้างว่า "บริษัททำได้ดีกว่า" เพื่อเปิดโอกาสให้ 200-300 บริษัท ที่ได้รับอนุญาตและส่งเสริมจากกระทรวงแรงงาน ทำหน้าที่ส่งคนงานไปต่างประเทศปีละกว่าแสนคนเพื่อเงินค่าหัวคิว (ที่ไม่เคยเก็บตามกฎหมาย) และเงินใต้โต๊ะที่หล่อเลี้ยงกันทั้งกรมกองที่เกี่ยวข้อง (ที่ตรวจจับไม่ได้)

แม้ว่าจะมีการ เรียกร้องให้รัฐจัดส่งเอง เพื่อป้องกันการโกงและหลอกลวง กระทรวงก็ยังดื้อดึงให้บริษัทจัดหางานรับผิดชอบส่งคนงานที่ต้องผ่านกระทรวง แรงงานกว่า 90% ไปทำงานต่างประเทศ (ไม่รวมพวกพาคนเข้าเกาหลีหรือประเทศอื่นๆ ที่ไม่ต้องผ่านกระทรวงฯ) ทั้งนี้กระทรวงแรงงานดำเนินการจัดส่งเองตามข้อตกลงระหว่างประเทศที่ไม่มีค่า นายหน้าเพียง 5% เท่านั้น
บริษัทเหล่า นี้ ไม่มีศักยภาพ และไม่เตรียมรับผิดชอบความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นกับการส่งออก "แรงงานทาส สินค้ามีชีวิตราคาถูก" นับหมื่นนับแสนคนต่อปี ที่แต่ละบริษัทหลอกล่อมาเพื่อป้อนออเดอร์จากต่างประเทศ

คิดดูแล้วกันว่า เพราะเหตุใด อุตสาหกรรมเบอร์รี่นี้จึงชอบคนไทยนักหนา เพราะไม่มีคนงานชาติไหนทนกับสภาพการทำงานทาส ไร้ศักดิ์ศรี ต้องทำตัวเป็นเครื่องจักรเก็บเบอร์รี่ วันละ 12-20 ชั่วโมง ตลอด 60-70 วันไม่เคยหยุด “กินน้อย นอนน้อย ไม่หยุด ไม่ลาป่วย ไม่ต้องสนุก” เช่นคนไทยได้อีกแล้ว

ในขณะที่คนงาน ชาติอื่นๆ ทั้งจีน บังคลาเทศ หรือเวียดนาม ไม่สามารถทำงานได้เกิน 2 หรือ 3 อาทิตย์ก็ประท้วงกันแล้ว จนสถานทูตทั้งสองประเทศต้องปิดวีซ่าเก็บเบอร์รี่จากหลังเกิดการประท้วง

แต่จนกระทั่งบัดนี้ ก็ยังเป็นที่กังขากันว่าเพราะเหตุใด คนงานไทยที่เจอปัญหา เสียหายและประท้วงกันทุกปี แต่สถานทูตที่เมืองไทยก็ยังไม่ปิดวีซาพาคนมาเก็บเบอร์รี่ ธกส. ก็ยังปล่อยเงินกู้ และกรมการจัดหางานก็ยังเดินหน้าเจรจาให้บริษัทจัดหางานอยู่เช่นเดิม และยังส่งเสริมให้คนไทยมากันมากขึ้น ราวกับแม่งเมาบินเข้ากองไฟ จนสร้างความเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปีเช่นนี้

งานเก็บเบอร์รี่ ต้นทุนสูง เป็นงานค้าทาส ที่ไม่ควรส่งเสริมอย่างยิ่ง

การส่งเสริมมา เก็บเบอร์รี่เป็นนโยบายที่ผิดพลาดของกระทรวงแรงงาน ที่ชินกับการรับเงินใต้โต๊ะจากธุรกิจเบอร์รี่และบริษัทนายหน้าค้าเบอร์รี่มา ตั้งแต่ยุคอดีต รมต. ไพฑูรย์ แก้วทอง กระทรวงแรงงานจึงยังไม่ยอมหยุดหนุนและหยุดอุ้มธุรกิจเบอร์รี่ที่ประเทศ ร่ำรวย และไม่ยอมศึกษาความเสียหาย

แม้เปลี่ยนรัฐบาลแล้วก็ตาม ก็ยังคงดาหน้าดำเนินโครงการหาเงินกู้และรับประกันเงินกู้ ธกส. ส่งคนไทยไปตายเมืองนอกกันต่อไป

กรณีเบอร์รี่ เป็นหนึ่งในบทเรียนแห่งการไร้วิสัยทัศน์ของกระทรวงแรงงาน ของธนาคารของรัฐบาลไทย โดยเฉพาะ ธกส. (รับไปเต็มๆ) ที่ปล่อยเงินกู้ไม่รู้กี่พันคนจากจำนวนนับ 10,000 คน แทนที่จะปล่อยเงินกู้เพื่อพัฒนาเกษตรที่ไร่นาของตัวเอง

เป็นการปล่อยให้เกษตรกรไทย ขนเงินออกจากประเทศไทยปีนี้ทั้งสิ้นกว่า 700 ล้านบาท (ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายจากประเทศไทยคนละไม่ต่ำกว่า 70,000 บาท) เพื่ออุดหนุนธุรกิจค้าแรงงานข้ามชาติชาวไทย และช่วยอุ้มธุรกิจเบอร์รี่ที่ประเทศร่ำรวย ที่ขยายเติบโตอย่างรวดเร็วบนน้ำพักน้ำแรง "ทาสชาวไทย"
ที่ฟินแลนด์ แรงงานไทยแค่หนึ่งในสี่ (3,000 ต่อ 12,000 คน) ของคนเดินทางเก็บเบอร์รี่จากประเทศอ่ืนๆ (โดยเฉพาะในยุโรปตะวันออกและยูเครน) และคนท้องถิ่น แต่สามารถเก็บเบอร์รี่ป้อนอุตสาหกรรมเบอร์รี่ในสัดส่วน 80% ของเบอร์รี่ที่เก็บขายให้บริษัทแปรรูปเบอร์รี่ทั้งหมด

แต่เกือบทุกปี คนงานเก็บเบอร์รี่จำนวนไม่น้อยไม่เหลือเงินติดตัวกลับมาบ้านเลย และส่วนใหญ่กลับพร้อมกับความรู้สึกว่าได้เงินไม่คุ้มค่าเหนื่อย
จากการพูดคุยกับหลายฝ่าย แม้ว่าอุตสาหกรรมเบอร์รี่ต้องการให้คนงานเก่ากลับมา แต่ทุกๆ ปี จะมีคนงานเก่ากลับมาแค่ 40% อีก 60% เป็นคนงานใหม่ แสดงว่าคนงาน 60% ของแต่ละปี มาครั้งเดียวแล้วก็รู้ฤทธิ์ความลำบากและการทำงานฟรี และก็ไม่มาอีก

ความโชคดีบนความเสียหายของคนจำนวนเยอะกว่า คือ คนไม่ถึง 40% ที่เริ่มชินกับความลำบาก รู้แหล่งเบอร์รี่ดก หรือหาคนงานใหม่มาให้บริษัท (ค่านายหน้าหาคนงานให้บริษัทหัวละ 3,000-5,000 บาท) เพื่อป้อนอุตสาหกรรมแลกกับการได้ลดค่านายหน้าและลดต้นทุนค่าใช้จ่ายตัวเอง

งานเก็บเบอร์รี่ เป็นงานที่ใช้แรงงานคนแทนเครื่องจักร ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเห็นแต่ประโยชน์เฉพาะหน้า จนลืมความเป็นมนุษย์ ละเลยเรื่องงานที่มีคุณค่า เรื่องสิทธิแรงงาน และเรื่องสิทธิมนุษยชน

กระทรวงแรงงานต้องหยุดส่งเสริมและหยุดให้อนุญาตนักค้าแรงงานชาวไทยพาคนงานไปทำงานทาสเช่นนี้

และต้องต่อรองกับธุรกิจเบอร์รี่ว่า ถ้าธุรกิจเบอร์รี่ต้องการคนงานไทย ก็ให้จ่ายค่าใช้จ่ายให้คนงานทั้งหมด และดูแลคนงานไทยด้วยความให้เกียรติและปฏิบัติตามหลักกฎหมายฟินแลนด์และ สวีเดน

-------------------------