WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, October 9, 2012

วิพากษ์ กสทช. ต้องเปิดเผยข้อมูล และเรียนรู้การสื่อสารยุคใหม่

ที่มา ประชาไท



วงเสวนานักวิชาการ-สื่ออาวุโส ระบุ องค์กรอิสระไม่ควรมีความลับ ไม่ควรห้ามกรรมการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดีย ต้องรักษาประโยชน์สาธารณะ อย่าสับสนระหว่างความรับผิดชอบร่วมกันขององค์กรกับประโยชน์สาธารณะ ชี้ สื่อตรวจสอบองค์กรอิสระน้อยเกินไป
8 ต.ค. 2555 มูลนิธิไฮริช เบิลล์ ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดเสวนาหัวข้อ “เสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและจรรยาบรรณ กสทช.” โดย รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล จากคณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่, ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ ม.หอการค้าไทย, รุ่งมณี เมฆโสภณ สื่อมวลชน อิสระ และกานต์ ยืนยง ผู้อำนวยการ Siam Intelligence Unit (SIU) ดำเนินรายการโดย พลกฤต เรืองจรัส จากสถานีโทรทัศน์ TNN24
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล กล่าวถึงกรณีการอ้างถึงความรับ ผิดชอบร่วมกันของ กสทช. โดยไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดียว่า ประเด็นการรับผิดชอบร่วมกันนั้น เป็นคำเฉพาะในระบบรัฐสภา ถูกใช้ในการรับผิดร่วมกันของคณะรัฐมนตรีอังกฤษ เป็นคำเฉพาะในการเมืองในระบบรัฐสภา เป็นคำที่เกิดขึ้นเพราะรัฐบาลผสมนั้นสัมพันธ์กับความมั่นคงทางการเมือง แต่ในส่วนของความรับผิดชอบร่วมของ กสทช. นั้น มาจากกระบวนการสรรหา ที่ต่างจารัฐบาลในระบบสภา การดำรงอยู่ของ กสทช. ก็สัมพันธ์กับเงื่อนไขทางการเมืองต่ำ
โดย รศ.สมชายระบุว่า องค์กรอิสระนั้น ต้องรักษาประโยชน์สาธารณะได้ดีกว่าระบบราชการ นี่คือหัวใจสำคัญ แต่คำถามคือ ถ้าสมมติว่า ตอนนี้มีปัญหาเรื่องความรับผิดชอบร่วมขององค์กรกับประโยชน์สาธารณะ ถ้าคิดว่าความรับผิดร่วมมันขัดแย้งกับประโยชน์สาธารณะควรจะทำอย่างไร จะรับผิดชอบร่วมโดยไม่ไยดีต่อประโยชน์สาธารณะ ลงมติเสร็จก็เลิก หรือจะรักษาประโยชน์สาธารณะเหนือความรับผิดชอบร่วมขององค์กร
“ผมคิดว่าถ้าเกิดเราพิจารณาจากเป้าหมายของการก่อตั้ง กสทช.ขึ้น ไม่ได้เพื่อให้ กสทช. ดำรงอยู่ หรือรักษาให้มั่นคง แต่เกิดขึ้นเพื่อรักษาผลประโยชน์สาธารณะ ฉะนั้นในแง่นี้ผมคิดว่าเวลาที่เราพูดว่าเพื่อความรับผิดร่วมขององค์กร มีอะไรแล้วห้ามไปปากโป้งข้างนอก ผมคิดว่าเป็นความเข้าใจที่ผิดพลาดอย่างสำคัญ”
ทั้งนี้ รศ.สมชาย กล่าวว่า ประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์การสื่อสารของ กสทช. ผ่านโซเชียลมีเดียว่าไม่เหมาะสมนั้น ส่วนตัวเขาเห็นว่าเป็นเรื่องขั้นต่ำที่ควรทำ และถือว่าทำน้อยเกิดไปด้วยซ้ำ

“ผม คิดว่าสังคมไทยปัจจุบัน เรากำลังเป็นผู้ประสบภัยจากองค์กรอิสระ ในปัจจุบันองค์กรอิสระเกิดขึ้นจำนวนมาก องค์กรอิสระ อย่างน้อยมีเงื่อนไขบางอย่างที่ทำให้เราวิพากษ์วิจารณ์ได้น้อย เช่น เป็นประเด็นที่มีความสลับซับซ้อน เป็นเทคนิคสูง เป็นประเด็นที่จะตอบว่าดีหรือไม่ดี โดยฉับพลัน เช่นระบบประมูล องค์กรอิสระจำนวนมากเป็นองค์กรที่หากจะวิจารณ์ก็ต้องทำงานมากขึ้น
“หรือคนที่เข้ามาในองค์กรอิสระมักจะเป็นเทวดาน้อยๆ คือเป็นผู้ทรงคุณธรรมความรู้ ลองเทียบกับส.ส. ในองค์กรอิสระหลายๆ องค์กรใช้เงินอีลุ่ยฉุยแฉกไม่น้อยไม่กว่า ส.ส. แต่ไม่ถูกด่า เพราะว่าอะไร เพราะว่าเป็นเทวดา
“เนื่องจากผมจัดตัวเองว่าเป็นผู้ประสบภัยจากองค์กรอิสระซึ่งผลาญเงิน ประชาชนมาก ด้วยลักษณะที่เราคิดถึงว่าองค์กรอิสระเป็นเทวดา เป็นผู้ทรงความรู้คู่ธรรม การวิจารณ์ตรวจสอบจึงไม่เกิดขึ้น นี่เป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าเรื่องสำคัญในการเมืองไทยจำนวนมาก รัฐบาลไม่ได้ตัดสินใจแต่ถูกดึงไปให้องค์กรอิสระจำนวนมาก และนี่เป็นเรื่องที่สำคัญเกินกว่าจะฝากไว้กับใคร ผมคิดว่าองค์กรอิสระ เป็นสิ่งที่หลายๆ ส่วนควรคิดถึงและจับตามองให้มากขึ้น”
ทั้งนี้ หากการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะของ กสทช.คนใดนำไปสู่การถูกฟ้องร้อง ก็ต้องถือว่าเป็นการตรวจสอบหลักการว่า จะยึดถือหลักเสรีภาพในการแสดงความเห็นตามรัฐธรรมนูญหรือไม่
“ถ้า กสทช.ออกระเบียบว่าห้ามออกมาพูดข้างนอก ผมจะทำให้เห็นเลยว่า กสทช.อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งรับรองเสรีภาพในการแสดงความเห็น สื่อมวลชนยังได้รับการคุ้มครอง การแสดงความเห็นของ กสทช.เป็นสิ่งที่ทำได้ และเป็นหลักการธรรมดาของระบอบประชาธิปไตย คือเสรีภาพในการแสดงความเห็นของเสียงข้างน้อย เพราะเราไม่รู้ว่าเสียงข้างมากนั้นเมื่อไหร่มันจะผิด เป็นเรื่องซึ่ง ถ้า กสทช. ออกระเบียบที่ขัดกับหลักการพื้นฐานที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้
รศ. สมชายกล่าวว่า หากเปิดเผยข้อมูลแล้วถูกฟ้องร้อง ก็เป็นเหมือนเป็นหินก้อนแรก เอาตัวเข้าแลก ให้ศาลตัดสินเพื่อยืนยันหลักการว่าเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งเสรีภาพในการแสดงความเห็น ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารมีข้อยกเว้นมากมาย แต่กรณีถกเถียงในที่ประชุม กสทช. นั้น ไม่น่าเข้าข้อยกเว้นต่างๆ เหล่านั้นเพราะเกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธาณณะเต็มไปหมด เช่นการชี้แจงเหตุผลว่าทำไมระบบประมูลเช่นนี้จึงไม่เห็นด้วย เป็นสิทธิเสรีภาพของ กสทช. และเป็นสิทธิของสังคมที่จะรับรู้ด้วย

ดร. มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ กล่าวว่า หลายคนคาดหวังกับหน้าที่ของ กสทช. ว่าจะเป็นเวทีให้กับการสื่อสาร และให้ข้อมูลโดยที่ กสทช.ตั้งขึ้นมาในช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนภูมิทัศน์สื่อมาก มีสื่อใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งในระบบสื่อใหม่ ทุกคนสามารถจะแสดงความคิดเห็นได้ ในบริบทเช่นนี้ กสทช. ควรทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อจะเปิดเผยข้อมูลให้กับสาธารณะ โดยใช้สื่อใหม่
“ตอนแรกที่มีข่าวว่ามีการห้ามใช้โซเชียลมีเดียก็ตลกว่า กสทช. อยู่ในยุคไหนกันแน่ ยังต้องการควบคุมหมดทุกอย่างหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ก็ไม่ควรจำกัดและจริงๆ แล้ว กสทช. ทุกคนควรใช้โซเชียลมีเดียด้วยซ้ำไปว่าเรื่องๆ หนึ่งตัวเองมีจุดยืนอย่างไร เพื่อให้สาธารณะทราบ เพราะ  กสทช. มีผประโยน์มหาศาล ควรใช้ทุกช่องทางไม่ว่าจะเป็นวิทยุ ทีวีหนังสือพิมพ์ รวมถึงสื่อใหม่ และเข้าใจธรรมชาติ ไม่ใช่ใช้สื่อใหม่ด้วยแนวคิดแบบสื่อเก่า คือต้องการให้คนบริโภคมาฟังอย่างเดียว”
ทั้งนี้แม้โซเชียลมีเดียซึ่งมีความเร็ว ก็ต้องมีความรับผิดชอบด้วย อย่างน้อยคือรับผิดชอบต่อข้อเท็จจริงที่รายงาน ในหลายๆ องค์กรจึงต้องมีการวางกรอบกติกา เป็นกรอบกว้างๆ เหมือน code of conduct บางองค์กรอาจจะลงรายละเอียด เช่นความลับขององค์กร แต่สำหรับองค์กรอิสระเช่น กสทช. ก็มีความไม่ชัดเจนว่าเรื่องบางเรื่องเป็นความลับจริงหรือไม่ เช่น มติที่ประชุมเป็นความลับ คนที่มีส่วนได้ส่วนเสียรู้ แต่ไม่อยากให้ประชาชนที่เป็นคนเสียผลประโยชน์รับรู้
“แทนที่จะมีการลักลั่นกันอยู่ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ทำไมไม่ใช้สื่อใหม่เป็นเครื่องมือ รวมทั้งให้ความรู้แก่ประชาชน ยามวิกฤตต่างก็เช่นกันเครื่องมือเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่ดีมาก แต่ต้องมีความรับผิดชอบ แต่อย่าใช้ความรับผิดชอบมาจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น”
ดร.มานะ กล่าวว่า กสทช. น่าจะเป็นตัวอย่างในการเปิดเผยข้อมูล เพื่อให้ประชาชนเอาไปตรวจสอบอีกที และตัวบทบาทสำคัญในการตรวจสอบ และคานอำนาจ กสทช. คือสื่อมวลชนเองก็ต้องพัฒนาคุณภาพของสื่อมวลชนในการทำข่าวเชิงสืบสวนด้วยและ ก็ต้องรู้เทคนิคที่เกี่ยวข้อง นักข่าวต้องรู้ไม่น้อยกว่าเพื่อรู้เท่าทันในเรื่องเทคนิค การประมูล 3G บางเรื่องอาจจะบอกไม่หมด เป็นหน้าที่ทั้งในส่วนของนักข่าวเองและภาคประชาชนอื่นๆ ในการให้ความคิดเห็นก่อนล่วงหน้าด้วยซ้ำไป
และในยุคนี้มีการใช้สื่อใหม่ค่อนข้างเยอะ เปิดโอกาสให้คนได้ร่วมกันแชร์ความคิดเห็นทำไมไม่ใช้สื่อใหม่ในการระดมความ รู้จากภาคส่าวนต่างๆ มาช่วยกันในเรื่องการตรวจทาน กสทช. และสร้างอค์ความรู้ในการตรวจทานการทำงานของ กสทช. ด้วย เป็นการดึงพลังของประชาชนโดยใช้สื่อใหม่ ที่ก่อนหน้านี้สื่อเก่าไม่เคยให้ค่า สัมภาษณ์แต่คนหน้าเก่า แหล่งข่าวเก่าๆ
รุ่งมณี เมฆโสภณ กล่าวว่าสื่อเองมักมององค์กรอิสระเป็น เทพ ไม่ค่อยแตะ ไม่ค่อยทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนเท่าไหร่นัก นำมาสู่คำถามสองประเด็นคือ หนึ่ง กำลังทำข่าวแบบเดิมๆ อยู่หรือเปล่า คือรอการแถลง และอีกประเด็นคือ มองว่าองค์กรใหม่ยังเป็นน้องใหม่น่าสงสารอยู่ ให้เวลาเขา ทั้งที่จริงๆ แล้วผู้ทำงานในองค์กรอิสระไม่ต้องการการให้เวลา เพราะเขารู้อยู่แล้วว่าเขาต้องทำอะไร และภาระหน้าที่หลักคือต้องดูแลประโยชน์สาธารณะ รักษาทรัพยากรของชาติ ในกรณีของคลื่น ชัดเจนว่าเป็นสมบัติของชาติ เป็นผลประโยชน์ของทุกคน และหน้าที่สื่อคือป้องกันผลประโยชน์ชาติและประโยชน์สาธารณะ สื่อได้ทำหน้าที่ตรงนั้นครบถ้วนหรือไม่ เรายังใกล้ชิดสนิทสนมกับคณะกรรมการคนใดคนหนึ่งจนเรามองไม่เห็นในสิ่งที่เรา ต้องขุดคุ้ย
รุ่งมณีกล่าวด้วยว่า การขุดคุ้ยของสื่อนั้นไม่ใช่จำกัดระยะเวลาที่ กสทช. อยู่ในตำแหน่งเท่านั้น แต่ต้องต่อเนื่อง เพราะมีกรณี กสทช.ของสหรัฐ ลาออกไปทำงานกับบริษัทโทรคมนาคม เช่นกัน
กานต์ ยืนยง ระบุว่า สำหรับ กสทช. นั้น พ.ร.บ. กสทช. 2553 ระบุไว้ว่าต้องมีการรายงานการประชุม มติต้องเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบ รวมถึงต้องรายงานข้อเท็จจริง และรายงานด้านวิชาการ
ทั้งนี้ การตรวจสอบ กสทช.จากประชาชน อาจไม่จำเป็นต้องทำตามกลไกกฎหมาย แต่ภาคประชาชนมีช่องทางอื่นๆ ในการตรวจสอบได้ เช่น ตรวจสอบการการใช้เงิน ซึ่ง SIU ศึกษาไว้เมื่อปีที่ผ่านมาโดยข้อสรุปว่า ข้อดีคือไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณ แต่มีปัญหาคือขาดการวางแผนการใช้จ่ายเงินของสาธารณะอย่างรอบคอบ และขาดการประเมินปัจจัยเสี่ยงอย่างเพียงพอ
สำหรับการตรวจสอบนั้นทำได้สามระดับคือ จริยธรรม, แนวทางจริยธรรม และจรรยาบรรณ คือ จริยธรรมขึ้นกับกรอบของสังคมว่าสิ่งใดที่ควรปฏิบัติ ส่วนแนวทางจริยธรรมคือกรอบกว้างๆ ว่าสิ่งที่องค์กรนั้นๆ ควรปฏิบัติควรเป็นอย่างไร ส่วนจรรยาบรรณเป็นกฎหรือข้อบังคับชัดเจน ทั้งนี้แนวทางการกำกับดูแลองค์กร จะใช้การกำกับดูแลกันเองมากขึ้น ผสมทั้งผ่านการใช้ตัวบทกฎหมายและการดูแลกันเอง แต่สุดท้ายก็ต้องวางกรอบให้ดีระหว่างการทำงานในฐานะเป็นองค์กรร่วมกัน แต่ก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะด้วย