WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, October 7, 2012

'สมเกียรติ' แนะ 'สรยุทธ' ยุติบทบาทสื่อไปสู้คดียักยอกเงิน

ที่มา Voice TV

 'สมเกียรติ' แนะ 'สรยุทธ' ยุติบทบาทสื่อไปสู้คดียักยอกเงิน



'สมเกียรติ' แนะ 'สรยุทธ' ยุติอาชีพสื่อไปสู้คดีก่อนแม้ไม่มีกฏหมายบังคับแต่เป็นเรื่องจรรยาบรรณ-จริยธรรม
 
 
นายสมเกียรติ อ่อนวิมล อดีตนักสร้างสรรค์รายการข่าวและผู้ประกาศข่าวของหลายสถานีโทรทัศน์ในประเทศ ไทยเปิดเผยว่า กรณีนายสรยุทธ สุทัศนจินดา ผู้ดำเนินรายการทีวีช่อง 3 ในฐานะผู้บริหารบริษัท ไร่ส้ม ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลว่ามีความผิด ฐานร่วมกับเจ้าหน้าที่ของ บริษัท อสมท ยักยอกเงินค่าโฆษณา จำนวน 138 ล้านบาท โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจ ดังนี้
 
 
กรณีนี้ก็ถือว่าเป็นความผิดตามที่ ป.ป.ช.ชี้มูล มี 2 เรื่อง คือ ประการแรกความผิดเกี่ยวกับการทำธุรกิจ นายสรยุทธต้องรับผิดชอบต่อความผิดในฐานะที่เป็นเจ้าของบริษัท ประการที่ 2 คือความผิดในเชิงจรรยาบรรณ ทำให้แปดเปื้อนต่อจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งก็อยู่ที่จิตสำนึกของนาย สรยุทธเอง
 
 
นายสรยุทธคือสื่อมวลชนที่ทำธุรกิจแล้วมีจุดด่างพร้อย ก็ควรจะยุติการประกอบอาชีพนี้ แล้วไปสู้คดีให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งมันไม่ได้มีกฎหมายบังคับหรอก แต่มันเป็นเรื่องของจรรยาบรรณและจริยธรรมของสื่อ ขณะเดียวกันผู้บริหารของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ก็น่าจะหาทางออกว่าควรทำอย่างไร เพราะอาชีพสื่อสารมวลมวลชนคือการผลิตข่าวสารให้แก่ประชาชน มันต้องมีความน่าเชื่อถือ ถ้ามีอะไรด่างพร้อยก็ควรยุติบทบาทการทำงาน และไปเคลียร์คดีเสียก่อน การที่จะอยู่ในอาชีพสื่ออย่างสง่าผ่าเลยก็คงจะลำบาก เพราะจะสูญเสียความน่าเชื่อถือไป แต่ถ้ากรณีนี้สังคมปล่อยให้ทำมาหากินกันไป มันก็เป็นความตกต่ำของสังคมเอง
 
 
จรรยาบรรณในวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์หรือสื่อสารมวลชนฉบับแรกนั้นออกมาจาก 'อิศรา อมันตกุล' นายกสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยคนแรก เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2500 ต้นๆ ซึ่งจริงๆก็มีอยู่ไม่กี่ข้อนะ ข้อแรกคือ จะต้องไม่ทุจริตประพฤติมิชอบ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวทั้งทางตรงและทางอ้อม ถ้าเป็นสื่อมวลชนแล้วทำไม่ได้เลย ยิ่งเป็นทั้งสื่อมวลชนแล้วยังไปทำธุรกิจด้วยเนี่ยอันนี้ทำไม่ได้ อันนี้คือจรรยาบรรณ
 
 
จากนั้นก็มีจรรยาบรรณที่ร่างโดยสมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย แต่ละองค์กรก็จะมีกรอบจรรยาบรรณของตัวเอง แล้วเขาก็สอนกันมาในคณะนิเทศศาสตร์ คณะวารสารศาสตร์ สื่อสารมวลชนทุกหนทุกแห่งในเมืองไทยและในโลกนี้ มีในตำรับตำรา จิ้มไปตรงไหนก็เจอ ไม่ใช่ความลับ และไม่ใช่สิ่งที่ไม่คุ้นเคยในหัวใจของคนเป็นสื่อ โดยไม่จำเป็นต้องจบมาจากคณะนิเทศฯ หรือวารสารฯนะ คุณมาทำอาชีพนี้ปุ๊บก็ต้องรู้แล้ว
 
 
เรามีหน้าที่ตรวจสอบผู้มีอำนาจในสังคม เราต้องไม่ทุจริตคอร์รัปชั่นเพราะเรามีหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตคอร์รัปชั่น มันเป็นเรื่องของจริยธรรมไม่มีคำสั่งจากศาล แต่เป็นเรื่องของจิตสำนึกส่วนตัว นายสรยุทธไม่ใช่นักข่าว หรือผู้ผลิตข่าว ไม่ใช่นักข่าวของสถานีโทรทัศน์ แต่เป็นผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ประเภทข่าว เป็นผู้ดำเนินรายการเชิงข่าว ใช้หนังสือพิมพ์ที่วางแผงทุกเช้า แล้วก็ผสมกับข่าวที่ช่อง 3 ส่งมา ก็อาจจะมีที่นายสรยุทธออกไปทำข่าวเองบ้าง เช่นช่วงน้ำท่วม หรือข่าวสำคัญบางเรื่อง จึงเป็นลักษณะของนักข่าวปนนักดำเนินรายการและผู้ผลิตรายการ ข่าวที่ได้มันก็ผิดบ้างถูกบ้าง มันไม่ใช่ผู้สื่อข่าวอย่างจริงจังอย่างที่เราเข้าใจกัน
 
 
Source : news center/posttoday/positioningmag.com(Image)
7 ตุลาคม 2555 เวลา 09:09 น.