ที่มา ประชาไท
10 ตุลาคม, 2012 - 10:53 | โดย Somyot-Redpower
โดย .. จิม ยาร์ด เล (Jim Yard Ley)
ถอดความโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข
ถอดความโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สำนักงานขนาดเล็กกระจิดริดของเขาแทบหาไม่เจอ ท่ามกลางโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าใหญ่โต ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้ากางเกง และเสื้อผ้ายี่ห้อดังเช่น แก็ป (GAP) หรือ ทอมมี่ ฮิลฟิเกอร์ (Tommy Hilfiger) แต่สำหรับคนงานแล้วไม่ใช่เรื่องยากเย็นที่จะไปพบกับ “อมินูล อิสลาม” (Aminul Islam) พวกเขาเข้ามาพร้อมกับปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการถูกเบี้ยวค่าจ้าง นายจ้างที่กดขี่ นี่คือ “นายอิสลาม” นักจัดตั้งแรงงาน และนักต่อสู้เพื่อสิทธิคนงาน
พวกหน่วยงานความมั่นคงก็รู้จักนายอิสลามเช่นกัน โทรศัพท์ของเขาถูกดักฟัง ตำรวจมักจะคุกคามเขาอยู่เสมอ และพวกสายลับท้องถิ่นเคยลักพาตัวเขาไปซ้อมทุบตี เพื่อนของเขาคนหนึ่งเล่าให้ฟัง
หลายครังด้วยกันที่เขาถูกบอกว่าการที่เขาต่อสู้เพื่อสิทธิคนงานเป็นการทำ ร้ายบังคลาเทศ ซึ่งเป็นประเทศส่งออกเสื้อผ้า เป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจในประเทศ หลังจากนี้ไม่นานไม่มีใครพบเห็นนายอิสลามอีกต่อไป เขาหายตัวไปเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2555 ต่อมาทางครอบครัวจึงพบว่าเขาถูกทรมานและถูกฆ่าตายเสียแล้ว
การฆาตกรรมแบบนี้สะท้อนให้เห็นถึงความป่าเถื่อนที่มีแรงจูงใจทางการเมืองอันเป็นมรดกตกทอดกันมาช้านานแล้ว
เป็นคำถามที่หนักใจเป็นอย่างยิ่งว่า การตายของเขามาจากความพยายามจะรวมกลุ่มคนงานใช่หรือไม่ ?
หลังการตายของนายอิสลามผ่านไปแล้ว 5 เดือน ยังอยู่ในชั้นของการสอบสวน ยังไม่มีการจับกุมคนร้าย หรือผู้ต้องสงสัย และตำรวจยังบอกอีกว่า คดีนี้ยังไม่คืบหน้าไปถึงไหน
ในวันที่นายอิสลามหายตัวไป เขาพยายามที่จะแก้ปัญหาของคนงานในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้ายี่ห้อ ทอมมี่ ฮิลฟิเกอร์ (Tommy Hilfiger) อเมริกัน อีเกิ้ล (American Eagle) และยี่ห้อดังระดับดลกอื่น ๆ ครั้นแล้วคนที่รู้จักกันคนหนึ่งมาพร้อมกับผู้หญิงในชุดคลุมใบหน้ามุสลิม ผู้ชายคนนี้สงสัยว่า จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานความมั่นคง ซึ่งเข้ามาเชิญให้นายอิสลามร่วมงานแต่งงาน นายอิสลามนั่งรถขี่สามล้อไปช่วยงาน แล้วไม่เคยกลับมาให้เห็นหน้าอีกเลย
ยังไม่ชัดเจนว่า นายอิสลามถูกฆ่าตายด้วยสาเหตุมาจากการทำงานของเขา หรือมาจากสาเหตุอื่น แต่ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือ และปกป้องสิทธิคนงานของเขาย่อมไปขัดแย้งกับผู้ทรงอิทธิพลในบังคลาเทศ ซึ่งเป็นประเทศตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกเป็นอันดับที่สองรองจากประเทศจีน ด้วยแรงงานราคาถูกเป็นปัจจัยสำคัญของการส่งออก คนงานบังคลาเทศได้รับค่าจ้างเพียงเดือนละ 3,000 ทากา (ta ka) หรือ 37 เหรียญสหรัฐ ต่อหนึ่งเดือน (ราว 2,400 บาทต่อเดือน) อีกทั้งยังไม่มีสหภาพแรงงานในระดับโรงงานอีกด้วย
โดยปกติการฆาตกรรมในบังคลาเทศไม่ได้ทำให้คนส่วนอื่นภายนอกประเทศให้ความ สนใจเท่าไรนัก แต่ทว่ากรณีการตายของนายอิสลาม เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการรณรงค์ขึ้นระดับโลก ด้วยการประท้วงโดยกลุ่มแรงงานสากล และโดยประชาคมยุโรป ทูตสหรัฐ รวมทั้งเลขานุการของฮิลลารี่ รอดแฮม คลินตัน (Hillary Rodham Clintan) แรงกดดันจากภายนอกขยายตัวเพราะเหตุว่า เสื้อผ้ายี่ห้อดังของโลกจ้างโรงงานผลิตในบังคลาเทศ อีกทั้งนายอิสลามยังทำงานให้กับสภาแรงงานสหรัฐอเมริกา (A.F.L.-C.I.O.) ซึ่งเป็นองค์กรแรงงานใหญ่ที่สุดในอเมริกา ความเชื่อมโยงเช่นนี้ทำให้การตายของเขากลายเป็นประเด็นทางการเมืองสอดแทรก ขึ้นมา
หลายปีมานี้ข้อกังขาทั้งสองฝ่ายได้กำหนดให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหพันธ์ แรงงานสหรัฐอเมริกา และการก่อตั้งสหภาพแรงงานในบังคลาเทศ ได้อ้างถึงการกดขี่แรงงาน ซึ่งสภาแรงงานอเมริกาได้ส่งข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลสหรัฐให้ยกเลิกสิทธิพิเศษ ทางการค้าของบังคลาเทศ ทำให้ผู้นำของบังคลาเศเกิดความโกรธเคือง (Infuriating) และโทษพวกองค์กรแรงงานที่ได้รับการเลี้ยงดูจากสหพันธ์แรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งรวมทั้งกลุ่มที่นายอิสลามทำงานอยู่ด้วย
พวกเขาเคยแสดงความคิดเห็นไว้ว่า “ทำไมพวกคุณพยายามที่จะทำลายเศรษฐกิจของพวกเราด้วย” เป็นคำบอกกล่าวของ อลอนโซ ซูซัน (Alongo Suson) ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานของศูนย์กลางสมานฉันท์ (Solidarity Center) ของ AEL-CIO โดยมีศูนย์ฝึกอบรมอยู่ในเมืองหลวงดากา (Dhaka) ได้รับเงินทุนสนับสนุนจาก AFL-CIO องค์กรนี้ถูกมองว่าไม่จงรักภักดีต่อบ้านเมือง
ในปี 2010 คนงานในบังคลาเทศลุกฮือประท้วงเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำเป็นการสั่นสะเทือนภายใน ประเทศ เจ้าหน้าที่รัฐได้ตั้งข้อกล่าวหานายอิสลาม และพวกอีก 2 คนว่า เป็นผู้ทำการต่อต้านรัฐบาล ตำรวจและหน่วยงานความมั่นคง คุกคามนายอิสลามและเจ้านายของเขามากยิ่งขึ้นเมื่อมีข่าวว่าเจ้านายของนายอิส ลามมีการพบปะกันอย่างปิดลับกับผู้อำนวยการสายสืบภายในประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติ หรือ NSI (National Security Intellegent Agenoy)
เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล ได้ให้สัมภาษณ์ในกรณีนี้ปฏิเสธความเกี่ยวข้องกับการตายของนายอิสลาม แต่ทว่าเพื่อนร่วมงานของนายอิสลามมีความกังวลว่า ความไม่คืบหน้าของการสอบสวนในคดีนี้สะท้อนให้เห็นถึงภาวการณ์ไม่ดูแลเอาใจ ใส่ต่อสิทธิคนงาน “ใครเล่ามีอำนาจมากมายในประเทศนี้” คาล โพนา แอกเตอร์ (Kalpona Akter) เพื่อนของเขาตั้งคำถาม “พวกเขาฆ่าอมินูล และไม่มีใครกล้าแตะต้องพวกเขาได้”
เสียงเพื่อคนงาน (A voice for workers)
นายอิสลามมีส่วนสูง 1.63 เมตร หรือ 5 ฟุต 4 นิ้ว เป็นคนจริงจัง และเคร่งศาสนามุสลิม ในเดือนกุมภาพันธ์ เขาใช้เวลา 40 วันในการออกชักชวนชาวบ้าน และส่งเสริมให้เป็นมุสลิมที่ดีในบังคลาเทศ แรงศรัทธา และวิถีชีวิตในศาสนธรรมของเขาทำให้เขาเป็นที่น่าเคารพนับถือ และมีความศรัทธาในตัวเขาในฐานะที่เป็นนักจัดตั้งแรงงาน (Labour Organinger)
เขาเริ่มต้นจากการเป็นคนงานอยู่ที่โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า Shasha Danim ในย่านอุตสาหกรรมหนาแน่น เขตรอบนอกวงแหวนของเมืองทากา รถบรรทุกวิ่งอยู่บนถนนสกปรก หรือไม่ก็บนถนนไฮเวย์ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ ด้วยการจราจรติดขัดอยู่หลายชั่วโมง ในช่วงการเปลี่ยนกะทำงาน คนงานหลายพันคนหลั่งไหลเข้า – ออก อาคารโรงงานคอนกรีต ซึ่งผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปยี่ห้อดังตามห้างสรรพสินค้าทั่วโลก
ที่โรงงานชาชาดานิม (Shasha Danim) เพื่อนคนงานของนายอิสลามได้เลือกให้เขาเป็นคณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ (Grievances) ของคนงานในโรงงาน เมื่อปี 2005 ถัดมาอีกหนึ่งปีบริษัทไล่เขาออกจากงาน แล้วก็แน่นอนเขาฟ้องร้องต่อศาล และชนะคดี เขาเพียงแต่พบเจ้าของโรงงานให้ปฏิบัติตามกฎหมายในการจ่ายเงินเดือนให้เขา เดือนละ 30 เหรียญสหรัฐตราบเท่าที่เขายังไม่ได้กลับเข้าทำงาน
ในการเรียนรู้สิทธิคนงาน นายอิสลามเข้ารับการอบรมกับศูนย์กลางสมานฉันท์ ซึ่งมีผู้ปฏิบัติงาน 23 คนใน 4 เขตงานของบังคลาเทศ ในบังคลาเทศมีการจัดตั้งสหพันธ์แรงงาน ส่วนมากจะเป็นแนวร่วมกับพรรคการเมือง และหาสมาชิกจากหลายอุตสาหกรรมในภาครัฐ แต่ศูนย์กลางแรงงานจะรักษาระยะห่างจากสหภาพแรงงานเหล่านี้ เพราะระมัดระวังในความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง และยังตั้งข้อสงสัยในอิทธิพลของพรรคการเมืองในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า
ศูนย์กลางสมานฉันท์แรงงานได้เน้นไปที่กลุ่มสหพันธ์แรงงานที่จัดตั้งขึ้น มาใหม่ และกลุ่มองค์กรเอกชนไม่แสวงหากำไร ซึ่งนำโดยผู้นำแรงงานรุ่นใหม่ ในปี 2006 สองกลุ่มนี้ได้ว่าจ้างเป็นนักจัดตั้งในอาธุเลีย (Ashulia) ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่แห่งหนึ่งนอกรุงธากา
เขาเป็นคนที่พูดจาหนักแน่นจริงจัง และไม่มีความกลัว นางแอกเตอร์ หัวหน้าศูนย์กลางเพื่อการสมานฉันท์แรงงาน เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน เมื่อไรก็ตามที่คนงานมาหาเขา เขาจุถือเป็นภารกิจที่จะต่อสู้เหมือนเป็นปัญหาของเขาเองราวกับว่านี่เป็น ความเจ็บปวดของตัวเขาเอง
ปี 2010 นักวิเคราะห์เศรษฐกิจได้ยกย่องให้บังคลาเทศเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมตัดเย็บ เสื้อผ้ายี่ห้อดังระดับโลกให้สามารถแสวงหาความได้เปรียบจากประเทศที่มีแรง งานราคาถูก คนงานบังคลาเทศทุกข์ยาก เดือดร้อนเพราะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าแค่ 166.50 ทากา ไม่รวมการทำงานล่วงเวลา (Over time) และเงินค่าตอบแทนพิเศษ (Bonuses) ภาวะเงินเฟ้อทะยานขึ้นสูง และการประท้วงเริ่มล้นทะลัก (Spillout) ออกจากโรงงานในเขตอุตสาหกรรมรอบนอกกรุงธากา
นายอิสลามพยายามที่จะไกล่เกลี่ยคู่กรณี (นายจ้าง – ลูกจ้าง) คนงานคนหนึ่งกล่าวว่า เขาร้องขอคนงานไม่ให้ทำลายทรัพย์สินระหว่างที่มีการประท้วง เจ้าหน้าที่สืบราชการลับคนหนึ่งกล่าวถึงแนวโน้มที่ว่า นายอิสลามจะประสบผลสำเร็จในการขยายงานรวมกลุ่มคนงานเข้าเป็นสมาชิกในสังกัด ของ AFL-CIO
เดือนเมษายน, บาบูล อาคเตอร์ (Babul Akhter) หัวหน้ากลุ่มแรงงานกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า หน่วยสืบราชการลับคนหนึ่งได้เตือนเขาว่าให้หยุดพูดคุยเรื่องสิทธิแรงงานกับ คนงาน มิเช่นนั้นอาจโดนเล่นงานอย่างแรง
นายแอคเตอร์หวนนึกถึงสิ่งที่เคยได้ยืนเป็นคำถามที่ว่า “ทำไมพวกคุณ และนายอนิมูลต้องไปพูดคุยกับคนงานด้วย” เขาเคยถูกตั้งคำถามอีกว่า พวกคุณมีสิทธิที่จะทำงานแบบนี้ด้วยหรือ
เมื่อการประท้วงยังดำเนินต่อไปในปี 2010 เจ้าหน้าที่รัฐได้เพิกถอนการจดทะเบียนของศูนย์กลางเพื่อการสมานฉันท์ของคน งาน (Center for Workers Solidarity) เป็นองค์กรที่ว่าจ้างนายอิสลาม มีนางแอคเตอร์ และนายบาบูล อาคเตอร์ เป็นนายจ้าง
นางแอคเตอร์ และนายบาบูล อาคเตอร์ ถูกตั้งข้อหาว่าเป็นผู้ยุยงคนงานก่อการจลาจล เขาปฏิเสธข้อกล่าวหา และตีความว่าเป็นความพยายามที่จะทำลายล้างขบวนการคนงานของพวกเขา นายอิสลามเจอข้อหาแบบเดียวกัน
“แต่ที่เป็นการข่มขู่ที่ไร้ยางอายที่สุดก็คือ ในเดือนมิถุนายน เมื่อนายอิสลามถูกลักพาตัวไป และถูกซ้อมทุบตี โดยกลุ่มอันธพาล นำโดยหน่วยงานความมั่นคง N.S.I” ครอบครัวและเพื่อนของนายอิสลามกล่าว
เขาบอกกับเพื่อนที่ใกล้ชิดคนหนึ่งว่าเขาถูกลักพาตัวไปทางตอนเหนือของกรุ งธากา และถูกทุบตี เขาบอกว่าเขาถูกบังคับให้เซ็นต์ในเอกสารปรักปรำเพื่อนร่วมงาน กระทั่งข่มขู่จะฆ่าเขา และครอบครัวของเขา ก่อนที่นายอิสลามจะจัดการหลบหนีออกมาได้
การพักรบอย่างปิดลับ
คนงานได้รับชัยชนะส่วนหนึ่งหลังจากก่อการจลาจลในปี 2010 เมื่อนายกรัฐมนตรีธาสินา วาเซ็ด เพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำในระดับเดือนละ 3,000 บาท นักกิจกรรมแรงงานจำนวนมากเชื่อว่าขั้นตอนต่อไปของรัฐบาลคือการกำจัดการรวม ตัวของคนงาน การควบคุมการประท้วงบนท้องถนนให้น้อยลง พวกเขาโต้แย้งต่อรัฐบาลว่า หากคนงานได้รับความเป็นธรรม กระบวนการยุติธรรมไม่เอียงข้างจะแก้ไขข้อพิพาทแรงงานได้ดี
แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เจ้าหน้าที่รัฐฯกลับเข้มงวด กวดขัน มีการจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษของรัฐบาลใช้ชื่อว่า กลุ่มผู้นำการจัดการวิกฤติการณ์ เพื่อคอยดูแลอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า มีการจัดตั้งตำรวจอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ถูกสร้างขึ้นมาขยายขอบเขตอำนาจสายสืบและเข้าจัดการความไม่สงบของแรงงานในภาค อุตสาหกรรม
หลังจากความยากลำบากแสนสาหัน (Ordeal) นายอิสลามเริ่มลดบทบาทของเจา กัลป์ปานา อาคเตอร์ จากศูนย์กลางเพื่อการสมานฉันท์แรงงานบังคลาเทศกล่าวว่า หน่วยงานความมั่นคง NSI เคยเรียกเธอไปพบอยู่เสมอเพื่อให้เธอโยกย้ายนายอิสลามออกไปทำงานในพื้นที่ อุตสาหกรรมที่เงียบสงบกว่านี้ เพราะต้องการให้ตัวเขาห่างออกไปจากการประท้วงในแอสซุนเลีย (Ashulia) ครั้งหนึ่งเธอเคยถามเขาว่า อยากจะลาออกจากงานไหม ?
เขาตอบว่า “ไม่, ผมต้องการทำงาน เพราะมันคืออารมณ์ ความรู้สึกหยั่งลึกของตัวผม” เธอกล่าวหวนรำลึกถึงตัวเขา
ในที่สุดช่วงปลายปี 2010 คนกลางคนหนึ่งจัดประชุมลับ ซึ่งมีนายอิสลาม และผู้อำนวยการ NSI การประชุมนี้ยืนยันโดยคนงาน 3 คนซึ่งรับรู้เรื่องนี้ เป็นความพยายามที่จะจัดการให้นายอิสลามสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย ผู้อำนวยการให้เบอร์มือถือของเขาไว้กับนายอิสลามเพื่อไว้ติดต่อหามีปัญหา เกิดขึ้น
แต่ว่าในเดือนมีนาคม มีเจ้าหน้าที่มากกว่า 12 คน นำตัวนายอิสลามไป ครอบครัวและเพื่อนคนงานของเขากล่าวว่า เขาไปอยู่หลายชั่วโมง โดยตำรวจอุตสาหกรรมได้สอบถามเกี่ยวกับข่าวลือที่ว่า เขากำลังรวบรวมคนงานถึง 10,000 คน เพื่อเข้าร่วมการชุมนุมของพรรคฝ่ายค้านในวันที่ 12 มีนาคม นายอิสลามปฏิเสธข่าวดังกล่าว เจ้าหน้าที่อนุญาตให้เขาจากไป แต่ขอร้องให้เขามาที่สถานีตำรวจในวันที่มีการชุมนุม
โดยคร่าว ๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน การประท้วงที่แอสซุนเลีย ได้ทำให้โรงงานซานครา เดนิม (Shanta Danim) กลายเป็นอัมพาต หยุดผลิตเสื้อผ้ายี่ห้อไนกี้ (Nike) ทอมมีซีฟิเกอร์ (Tommy Hilfiger) อเมริกันอีเกิ้ล (American Eagle) และอีกหลายยี่ห้อดังระดับโลก การเผชิญหน้าระเบิดขึ้น เมื่อนายจ้างปฏิเสธที่จะอนุญาตให้คนงานได้หยุดพักกลางวันเพื่อชมการแข่งขัน ชิงแชมป์ของทีมชาติ กีฬาคลิกเก็ตระดับเอเชีย ซึ่งเป็นปัญหาที่งอกเงยขึ้นมาต่างหากจากเรื่องค่าจ้าง การลวนลามทางเพศ และปัญหาอื่น ๆ
คนงานพบว่านายอิสลามเริ่มแลกเปลี่ยนเบอร์โทรศัพท์กับเจ้าหน้าที่ฝ่ายความ มั่นคงระดับสูงเพื่อจะเป็นตัวกลางจัดการกับปัญหา ในช่วงก่อนค่ำของวันที่ 4 เมษายน นายอิสลามได้เจรจาเป็นที่ยุติได้ เช้าวันต่อมาคนงานก็กลับเข้าทำงานในโรงงาน หลังจากนี้นายอิสลามหายตัวไป
หลักฐานจากหลุมฝังศพ (Evidence from a grave)
สองวันต่อมา รูปถ่ายปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เอม่าเดส (Amar Desh) ซึ่งเผยแพร่ในหมู่บ้านของนายอิสลาม มันเป็นภาพคนตายที่ไม่ระบุว่าเป็นใคร ตำรวจในแทงเกิ้ล (Tangail) พบศพของเขา ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองธากา 80 กิโลเมตร หรือราว 50 ไมล์ ชาวบ้านคนหนึ่งนำหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ไปให้ครอบครัวในหมู่บ้านของเขาดู
เมื่อครอบครัวของเขามาถึงที่แทงเกิ้ล ตำรวจได้ฝังศพเขาในหลุมฝังศพอนาถา ศพถูกขุดขึ้นมา และแสดงให้เห็นหลักฐานการถูกทุบตี ภาพของตำรวจปรากฏสภาพหัวเขาถูกทุบตี ข้อเท้าแตกหัก บางคนได้ตัด หรือเจาะรูใต้เข่าขวา นายแพทย์ได้รายงานว่าเขาเสียเลือดมากจนเสียชีวิต
นางอาคเตอร์กล่าวว่า การทรมานแบบนี้แน่นอนว่าเป็นการกระทำของทีมสังหารมืออาชีพ
การทรมาน และการวิสามัญฆาตรกรรม มีรายงานของกลุ่มวิกฤติการณ์สากล (International Crisis Group) ว่า ตำรวจบังคลาเทศมีเชื่อเสียงกระฉ่อนในเรื่องความป่าเถื่อน โหดร้าย (Brutality) การทุจริตคอรัปชั่น และไร้ความสามารถ (Incompetence) บ่อยครั้งที่รายงานระบุว่ากองกำลังความมั่นคงเป็นผู้รับคำสั่งจากพวกกลุ่มผล ประโยชน์ทรงอิทธิพล
นักธุรกิจผู้มั่งคั่งมีประวัติความเป็นมาในการซื้อตำรวจเอาไว้ใช้งาน เพื่อเพิ่มผลกำไร รายงานยังอ้างถึงทนายความสิทธิมนุษยชนคนหนึ่งที่เคยร้องเรียน ในบางกรณีที่นายจ้างโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าติดสินบนเจ้าหน้าที่ตำรวจในการ บังคับคนงานที่กำลังประท้วง เพราะนายจ้างจ่ายค่าจ้างล่าช้าให้กลับเข้าทำงาน
ในปี 2007 และ ปี 2008 เมื่อทหารสนับสนุนรัฐบาลรักษาการปกครองบังคลาเทศ ประชาชนอย่างน้อย 297 คนตายโดยการวิสามัญฆาตรกรรม รายงานของกลุ่มสิทธิมนุษยชน ออดิการ์ (Odhikar) ในปี 2009 นางฮาสินา (Mr.Hasina) สัญญาว่าจะปฏิรูปประชาธิปไตย และยุติการเข่นฆ่า
แต่ว่าเกือบสี่ปีต่อมา ความก้าวหน้าที่ต้องหยุดชะงักลงในเดือนมกราคม องค์กรเฝ้าดูสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch) ตั้งข้อสังเกตว่ากองกำลังความมั่นคงในบังคลาเทศยังคงอยู่เหนือกฎหมาย และยังระบุอีกว่า ได้เกิดปัญหาใหม่ที่ว่า “การบังคับให้หายสาบสูญ (Enforced disappearances) ซึ่งมีจำนวนผู้สูญหายมากขึ้น หลังจากถูกลักพาตัวไป (Abduct)
เพื่อนคนงานของนายอิสลามเชื่อว่า กรณีของเขาเป็นไปตามรูปแบบที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ แม้ว่าเจ้าหน้าที่ได้ปฏิเสธว่าหน่วยงานความมั่นคงไม่ได้เกี่ยวข้องใด ๆ กับเรื่องนี้ ในเดือนกรกฎาคม นางฮาสินา ดูเหมือนว่าจะกังวลใจกับการเคลื่อนไหวภายนอกประเทศเธอกล่าวว่าไม่พบข้อสงสัย เชื่อมดยงกับหน่วยงานความมั่นคง และภาพพจน์ของนายอิสลามไม่ใช่ผู้นำแรงงาน เพราะเขาทำงานให้กับองค์กรพัฒนาเอกชน “ทำไมคุณไม่แจ้งให้สถานทูตในประเทศตะวันตกรู้ว่า อมินูลไม่ใช่ผู้นำแรงงาน” เธอกล่าวไว้โดยการรายงานข่าวของ The Inde pendent
ชายลึกลับคนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้คือนายมุสตาฟิส ราห์มาน (Mustafiz Rahman) ผู้ชายซึ่งตามหานายอิสลามให้ช่วยเขาจัดงานแต่งงานในตอนกลางคืนที่นายอิสลาม หายตัวไป เพื่อนคนงานนายอิสลามกล่าวว่า นายราห์มานนั้นมีความสัมพันธ์อยู่กับ กองกำลังหน่วยงานความมั่นคงในขณที่หนังสือพิมพ์นิวเอจ (New Age) วิเคราะห์ว่านายราห์มานได้ช่วยตำรวจในการจับกุมนักจัดตั้งแรงงาน และเขาเคยปรากฏตัวในหน่วยสายสืบ อีกทั้งหลังจากนายอิสลามหายตัวไปยังไม่มีใครได้พบเห็นตัวเขาอีกเลย
ผู้นำแรงงานที่ใหญ่ที่สุดในบังคลาเทศได้ประณามการฆ่านายอิสลามตาย แต่ก็ยังต่อว่างทางศูนย์กลางเพื่อการสมานฉันท์คนงาน และสหภาพแรงงานในสังกัดยังหลีกเลี่ยงที่จะต่อสู้ในเรื่องนี้ภายในประเทศ พวกเขาไม่ยอมทำอะไรในระดับพื้นฐาน ได้แต่มองหาความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
รอย ราเมช จันทรา (Roy Ramesh Chantra) หัวหน้าสหพันธ์แรงงานใหญ่ที่สุดในบังคลาเทศ ซึ่งเป็นองค์กรอยู่ข้างรัฐบาลกล่าวว่า “พวกเขาเพียงแค่เรียกร้องการสมานฉันท์จากภายนอกพวกนี้เพียงแค่ส่งอีเมลล์ เพื่อทำลายอุตสาหกรรม และภาพพจน์ของประเทศแม้กระทั่งทำลายสหภาพแรงงานอีกด้วย”
ความเกี่ยวข้องในแง่ภาพพจน์ของประเทศนี่แหละที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ผู้ สนับสนุนนายอิสลาม เชื่อว่ารัฐบาลอาจมองว่าตัวเขาคือภัยคุกคาม (ของรัฐ) เขาเคยบันทึกเรื่องการถูกลักพาตัว และถูกทรมาน เผยแพร่ในเวปไซค์แรงงาน เมื่อปี 2010 ในปีนี้เขายังได้ช่วยดำเนินการให้สำนักข่าว ABC ในสหรัฐอเมริกาทำข่าวเกี่ยวกับสภาพการทำงานไม่ปลอดภัยในดรงงานเมื่อเกิดเหตุ ไฟไหม้โรงงานผู้ผลิตเสื้อผ้าทอมมี่ ฮิลฟิเกอร์ เป็นเหตุให้คนงานเสียชีวิต 29 คน
นายอิสลามอาศัยอยู่ในฮิโจฮาติ (Hijolhati) หมู่บ้านเล็ก ๆ เขียวขจี ใช้เวลาแค่ชั่วดมงเดียวในการขับรถจากแอสฮุนเลีย ภรรยาหม้ายนางฮอสนี่ เอร่า บักัม ฟาอิมา ยังอาศัยอยู่ในกระท่อมคอนกรีต ศพของนายอิสลามฝังอยู่ที่นั่นในสนามหลังบ้านดกโรโกโส
นางฟาฮิมา อายุ 32 ปี ยังว่างงาน และวิตกกังวลในอนาคตของลูก ๆ เธอยังทุกข์ระทรมจากความทรงจำ เพมื่อมีโทรศัพท์จากตำรวจและสายสืบตอนกลางคืน เธอไม่รุ้ว่าใครคือคนฆ่าสามีเธอ แต่ว่าในคืนที่เขาหายตัวไป เธอตื่นจากฝันร้าย เธอเห็นสามีร้องให้ล้อมรอบด้วยกองกำลังจากหน่วยความมั่นคง
อมินูลเคยทำงานเพื่อสิทธิของคนงานในโรงงาน “ฉันคิดว่านี่คือเหตุผลที่ว่า ทำไมต้องฆ่าเขา”
Julfikar Ali Manik ช่วยเขียนรายงาน
หนังสือพิมพ์ International Herald Tribune
11 กันยายน 2012
ภาษาไทยโดย ... สมยศ พฤกษาเกษมสุข
20 กันยายน 2555
หมายเหตุ: ภาพประกอบจาก Free Somyot
บรรยายภาพ: Kim Ae Hwa - Korean activist represented Unified Progressive Party, Korea extended the international solidarity to free somyot and all political prisoners in Thailand