WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, February 28, 2010

ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน

ที่มา Thai E-News



ความสำเร็จในแวดวงวิชาการ สามารถช่วยให้ก้าวเข้าไปเป็นชนชั้นนำของสังคมไทยได้ หากแต่ บุญสนองได้เลือกทางเดินที่ไม่มีใครเดิน โดยจัดตั้งพรรคสังคมนิยมขึ้น ซึ่งนั่นเหมือนกับการทรยศต่อชนชั้นตัวเอง และด้วยความผิดนี้นี่เองที่ทำให้ บุญสนอง ถูกลอบสังหาร


โดย ดร.ทักษ์ เฉลิมเตียรณ , อิทากะ นิวยอร์ค
27 กุมภาพันธ์ 2553

ภายหลังจากการลอบสังหาร บุญสนอง บุณโยทยาน เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ ได้ไม่นาน เพื่อนสนิทคนหนึ่งของเขาคือ คาร์ล ทรอกกี (Carl Trocki) ได้เขียนคําไว้อาลัยที่ลึกซึ้งและกินใจไว้ในวารสาร Bulletin of Concerned Asian Scholars (Vol.9, 1977) ที่ครอบคลุมความเป็นนักวิชาการ นักกิจกรรม และนักการเมืองผู้มีอุดมคติ ของ บุญสนอง บุณโยทยาน

รวมทั้งได้รวมคำสัมภาษณ์ของ นอร์แมน พีแกม แห่งวารสารฟาร์อิสเทอร์นอิคอนอมิครีวิว ทั้งคำสัมภาษณ์และบทความของ คาร์ล ทรอกกี ได้ยืนยันถึงความยอดเยี่ยมทางวิชาการของบุญสนอง แต่ที่สำคัญคือได้แสดงให้เห็นถึง การมีปฏิภาณอันเฉียบแหลม ไม่หวาดหวั่น มีความเป็นมนุษย์ และมีจิตใจที่เป็นธรรม

บทความนั้นแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในแวดวงวิชาการที่สามารถช่วยให้ก้าวเข้าไปเป็นชนชั้นนำของสังคมไทยได้ หากแต่ บุญสนองได้เลือกทางเดินที่ไม่มีใครเดิน โดยจัดตั้งพรรคสังคมนิยมขึ้น ซึ่งนั่นเหมือนกับการทรยศต่อชนชั้นตัวเอง และด้วยความผิดนี้นี่เองที่ทำให้ บุญสนอง ถูกลอบสังหาร

การสังหาร บุญสนอง อย่างเหี้ยมโหดนั้นเป็นการกระทำที่มุ่งหวังจะสั่งสอน

ทั้งนักศึกษา อาจารย์ และปัญญาชนที่ก้าวหน้าให้รู้ว่าพวกเขาไม่ควรจะกระทำการทรยศต่ออำนาจผูกขาดของชนชั้นนำ ขุนนางและพลพรรคที่เป็นนายทุน

แม้เวลาจะผ่านไปแล้ว ๓๔ ปี แต่สภาพความเหลื่อมล้ำทางสังคมเศรษฐกิจที่มองด้วยแนวทางการเมืองของ บุญสนอง แทบจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปสักกี่มากน้อย รอยร้าวและความแตกแยกในสังคมยิ่งทวีความเลวร้ายมากขึ้นจากความขัดแย้งทางการเมืองที่หาข้อยุติได้ยากในบรรดากลุ่มหรือชนชั้นต่างๆ ในสังคม

การหวนรำลึกถึง บุญสนอง ในวันนี้อาจทำให้เราทบทวนและพิจารณาถึงความมีปัญญาของ บุญสนอง ที่จะนำไปสู่การคิดด้วยการตั้งคำถาม “ถ้า...อย่างนั้น ถ้า...อย่างนี้” ที่จะช่วยเสนอเป็นแนวทางที่จะนำสังคมไทยหลุดพ้นจากวิกฤตการณ์ได้

ความเรียงอย่างสั้นนี้ต้องการจะหวนรำลึกถึงชีวิตของ บุญสนอง ที่พึงจะจดจําเขาในฐานะที่เป็นบุคคลหนึ่ง เป็นพ่อ เป็นสามี และเป็นเพื่อน

ข้าพเจ้าต่างจากคนอื่นที่สนิทกับบุญสนองเป็นอย่างดีมานาน ตรงที่ข้าพเจ้าได้รู้จักบุญสนองเพียงชั่วเวลาไม่กี่ปี (๒๕๑๑-๒๕๑๙)

ในยามที่เราทั้งสองยังเป็นหนุ่ม และทุกอย่างที่อยู่เบื้องหน้าดูสดใส น่ายินดี มีโอกาส และมีความหวัง เมื่อข้าพเจ้าไปถึงมหาวิทยาลัยคอร์แนลเพื่อศึกษาต่อปริญญาเอกในปี๒๕๑๑ นั้น บุญสนอง อยู่ที่นั่นแล้วเช่นเดียวกับนักศึกษาไทยอีกหลายคนที่มาศึกษาต่อก่อนหน้า

ผู้ที่อาวุโสกว่าได้จัดงานพบปะสังสันท์ให้กับนักศึกษาใหม่อย่างข้าพเจ้า พวกเราส่วนใหญ่ที่มาถึงในปีนั้นหรือเวลาใกล้เคียง (เช่น ฉลาดชาย รมิตานนท์, ยุพา คลังสุวรรณ, บัณฑร อ่อนดำ, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ปรานี วงษ์เทศ) ต่างก็ทึ่งในความสำเร็จของรุ่นพี่อย่าง บุญสนอง บุณโยทยาน ม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ วารินทร์ วงศ์หาญเชาวน์ และปราโมทย์ นาครทรรพ

ซึ่งกลุ่มหลังนี้มักจะเป็นผู้สร้างบรรยากาศและคิดหัวข้อการสนทนาในวงเสวนาที่ทำกันเป็นประจำที่หอพักเมเปิลวูดส์ ย่านชานเมืองมหาวิทยาลัยที่วารินทร์พำนักอยู่

เวลานั้นเป็นยุคทศวรรษ ๖๐ และ ๗๐ (1960-1970) ซึ่งคนหนุ่มสาวพากันตั้งคำถามต่อผู้มีอำนาจ และให้ความสนใจกับเรื่อง ความยุติธรรม ความเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตย การต่อสู้ทางชนชั้น และลัทธิทหาร เป็นต้น

สงครามเวียดนามถึงจุดสูงสุดและประเทศไทยก็เข้าไปพัวพันอย่างลึกซึ้งกับสงครามของอเมริกา นักศึกษาไทยในคอร์แนลไม่พอใจกับการเข้าร่วมสงครามของไทย โดยเฉพาะการใช้ฐานทัพในประเทศไทยในการทิ้งระเบิดเวียดนาม ลาวและกัมพูชา หลายคนได้เข้าร่วมกับขบวนการต่อต้านสงครามทั้งในมหาวิทยาลัยและที่อื่นๆ

เรามีความกังวลเกี่ยวกับอนาคตของประเทศไทยถ้าหากอเมริกาต้องถอนตัวออกจากภูมิภาคนี้ พวกเราที่เข้าร่วม” การสัมมนา” ประจำสัปดาห์ที่หอพักของวารินทร์เห็นพ้องต้องกันว่าเผด็จการถนอม-ประภาสต้องรับผิดชอบต่อการนำประเทศไปสู่หนทางอันตรายโดยยืนข้างอเมริกา และประเทศไทยต้องขจัดเผด็จการทหารออกไป

เราพูดคุยถึงสิ่งที่พอจะทำได้และควรจะทำเพื่อให้ประเทศดีขึ้นหลังจากเราจบการศึกษาและกลับไป

ทำงานในประเทศไทยแล้ว เราพูดคุยถึงเรื่องการเมือง การปฏิรูป มหาวิทยาลัย การจัดตั้งสถาบันวิจัยที่เป็นอิสระ การเขียนบทความการเมืองและสังคมลงตีพิมพ์ในวารสาร และอื่นๆ

เมื่อใดก็ตามที่บุญสนองอยู่ด้วยเขาจะเป็นจุดเด่นของวงเสวนาด้วยเสียงอันดังและการโต้แย้งอย่างมีน้ำหนัก ทำให้คนอื่นต้องเป็นฝ่ายฟังเป็นส่วนใหญ่ ข้าพเจ้ายอมรับว่าสิ่งที่พูดคุยในวงเสวนานี้ตรงกับใจข้าพเจ้าและยิ่งชื่นชอบมากขึ้น เมื่อผนวกกับการจิบไวน์มาเทรียสอย่างไม่อั้น

เราแน่ใจว่าการประชุมของเราเป็นเรื่องสำคัญและเราเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และเราไม่ธรรมดาเพราะเราดื่มไวน์ ส่วนพวกเราจะมีคุณูปการต่อสังคมไทยมากน้อยแค่ไหนให้เป็นเรื่องที่ผู้อื่นจะตัดสินเอง ข้าพเจ้าเพียงต้องการจะระลึกถึงเพื่อนของข้าพเจ้า บุญสนอง บุณโยทยาน


นักศึกษาปริญญาโทและเอกไทยในเวลานั้นส่วนใหญ่มีครอบครัวแล้ว และหลายคนมีลูกเล็กด้วย บุญสนองและพี่ทัศนีย์มีลูกสาวชื่อ ‘กุ๊กไก่’ ซึ่งมีอายุไล่เลี่ยกับ ‘ทวน’ ลูกของเรา ข้าพเจ้ามักจะพบถ้าไม่บุญสนองก็พี่ทัศนีย์เมื่อเราไปส่งลูกที่สถานรับเลี้ยงเด็ก จำได้ว่าเจ้าของบ้านที่เปิดเป็นสถานรับเลี้ยงเด็กย่านกลางเมืองเป็นหญิงผิวดำใจดีซึ่งทุกคนเรียกเธอว่า ‘คุณยายคันนิ่งแฮม’

บุญสนองกับข้าพเจ้ามักจะได้สนทนากันสั้นๆ เกือบทุกเช้าที่บ้านของมาม่าคันนิ่งแฮม ในระหว่างที่บุญสนองพยายามหว่านล้อมกุ๊กไก่ให้เลิกกอดขาพ่อแล้วไปวิ่งเล่นกับเพื่อนๆ ซึ่งต่างจากทวนซึ่งไม่เคยรีรอที่จะไปเล่นกับเพื่อนๆ ในบ้านคุณยายคันนิ่งแฮม แต่กุ๊กไก่ไม่อาจทำใจที่จะแยกจากพ่อแม่ของเธอ

ข้าพเจ้ายังจำได้อีกว่า บุญสนอง ชอบที่จะแหย่และยั่วเพื่อนผู้มาใหม่

เหตุการณ์หนึ่งที่ข้าพเจ้าจำได้ดีเมื่อปลายทศวรรษที่ ๗๐ บุญสนอง ชวนข้าพเจ้านั่งรถไปกับเขาเพื่อร่วมงานสังสันทน์กับนักศึกษาไทยที่มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ซึ่งอยู่ห่างไปทางเหนือของอิทะกะ ๖๐ ไมล์ อาจารย์เจริญ คันธวงศ์เป็นประธานสมาคมนักเรียนไทยในซีราคิวส์ บุญสนองยังได้ชวนนักศึกษาที่เพิ่งมาใหม่อีกคนคือ อานันท์ กาญจนพันธ์ ซึ่งเพิ่งมาถึงคอร์แนล เพื่อศึกษาวิชาประวัติศาสตร์

บุญสนอง ใช้เวลาทั่งชั่วโมงตลอดการเดินทางเพื่อ “ อัด” อานันท์ผู้น่าสงสารเรื่องคุณค่าของวิชาประวัติศาสตร์ เขายืนยันว่ามีการเขียนประวัติศาสตร์ไทยไว้มากมายเพียงพอแล้วทั้งโดยนักวิชาการไทยและต่างประเทศ “ จะมีอะไรเหลือให้ศึกษาอีก” เขาถามพร้อมกับขยิบตา อานันท์ผู้ไม่เคยจนแต้มมาก่อนกล่าวตอบโต้อย่างเผ็ดร้อนถึงคุณค่าอันน่าสงสัยของวิชาสังคมวิทยาและสังคมศาสตร์อื่นๆ เขาย้อนถามว่า “ แล้วทฤษฎีนามธรรมมันดียังไง”

นั่นเป็นช่วงก่อนที่อานันท์จะเลิกเรียนประวัติศาสตร์ แล้วหันไปศึกษามานุษยวิทยาในอีกหลายปีต่อมา ข้าพเจ้าได้แต่นั่งฟังอย่างมีความ
สุขกับการโต้เถียงกันนี้ บุญสนองเองก็สนุกสนานกับการโต้เถียงนี้ แต่อานันท์คงไม่ค่อยจะสนุกเท่าไหร่นัก


ข้าพเจ้าได้ติดต่อกับบุญสนองครั้งสุดท้ายที่คอร์แนลเมื่อเราทราบว่าเขาได้รับเลือกให้ไปทำวิจัยรับเชิญที่มหาวิทยาลัยฮาวาย สมัยนั้นมิใช่เรื่องง่ายที่นักศึกษาไทยจะได้รับงานที่มีเกียรติเช่นนั้น พวกเราภูมิใจในตัวบุญสนองมาก แต่ลึกๆแล้ว หลายคนคงรู้สึกอิจฉาอยู่บ้าง อย่างไรก็ดีบุญสนองได้ชี้ให้เราเห็นหนทางที่จะสร้างชื่อเสียงในวงวิชาการระหว่างประเทศเช่นเดียวกับเขา ข้าพเจ้าจำได้ว่าพวกเรายังเรียกตำแหน่งใหม่เขาอย่างล้อเล่นว่า “นักวิจัยรับเชิญ” (Visiting Fellow)

จากการที่ได้งานใหม่นี้ บุญสนองต้องจากอิทากะไปก่อนที่หอพักของเขาจะหมดเวลาเช่า เป็นโชคดีที่ข้าพเจ้าก็กำลังหาที่พักใหม่ภายในมหาวิทยาลัยเช่นกันจึงได้เข้าไปอยู่ต่อแทน สมัยนั้นหอพักฮาสบรูกถูกออกแบบให้สำหรับนักศึกษาปริญญาโทและเอกที่มีครอบครัวแล้ว โดยเฉพาะผู้มีที่มีลูก แต่ทุกวันนี้หอพักเหล่านี้ได้เปิดกว้างสำหรับนักศึกษาทุกคนอันเป็นผลจากกฎหมายห้ามการแบ่งแยก

เมื่อ บุญสนอง และพี่ทัศนีย์ได้ย้ายออกไป ได้ทิ้งเครื่องครัวและจานเมลามีนหลายชิ้นและชามอีกหนึ่งใบไว้ เชื่อหรือไม่ว่า ผ่านมา ๔๐ ปีแล้วข้าพเจ้าก็ยังมีจานเมลามีนและชามใบนั้นอยู่ ของเหล่านี้ได้ติดตามข้าพเจ้าไปหลายที่ที่ข้าพเจ้าย้ายไป น่าอัศจรรย์ที่จานชามนี้ได้กลับมาอยู่ที่อิทากะ นิวยอร์ค อีกครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้ายังคงใช้จานชามเหล่านี้อยู่เป็นประจำ แม้มีรอยบิ่นขีดข่วนแต่ก็ยังใช้การได้


บุญสนองโปรดปรานการพูดคุยสนทนาที่ออกรสออกชาด ชอบการสมาคม เป็นคนที่พูดคุยด้วยได้ง่าย และหามิตรใหม่ได้เสมอ และเขามักจะได้เพื่อนแบบที่ดูจะ ‘เหลือเชื่อ’

หลังจากกลับมาทำวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ในไทยได้ปีหนึ่งข้าพเจ้าก็เดินทางกลับไปอิทากะโดยผ่านทางฮาวายเมื่อปี ๒๕๑๕ ขณะนั้นบุญสนองได้กลับไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว โฮโนลูลูเป็นด่านแรกของการเข้าสู่ประเทศอเมริกา การเดินทางเที่ยวนั้นข้าพเจ้าต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรที่สนามบิน ข้าพเจ้าเป็นกังวลที่จะต้องผ่านด่านตรวจ เพราะในบรรดาข้าวของของข้าพเจ้ามีหม้อดินเผาสังคโลกที่ซื้อไว้ตอนไปเที่ยวสุโขทัย ที่แม้ของชิ้นนี้จะเล็กและไม่มีค่าอะไร แต่ข้าพเจ้าก็ยังกลัวว่าจะโดนริบหรือเก็บอากรขาเข้าในอัตราที่สูง

หลังจากกวาดตามองช่องทางผ่านด่านต่างๆแล้ว ข้าพเจ้าก็เลือกเอาช่องที่มีเจ้าหน้าที่ผิวดำประจำอยู่ โดยหวังว่าเขาจะให้ความเห็นใจต่อบุคคลที่เป็นชนกลุ่มน้อยเช่นกัน

เจ้าหน้าที่คนนี้ร่างใหญ่ราวกับหมีสูงกว่าหกฟุตสี่นิ้วและหนักประมาณสามร้อยปอนด์ ข้าพเจ้าคิดผิด เจ้าหน้าที่บอกให้เปิดกระเป๋าและตรวจดูของทุกชิ้น เรื่องแบบนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นกับข้าพเจ้า แต่อาจจะเป็นเพราะได้ข่าวมาว่าจะมีการขนยาเสพติดมาจากดอนเมือง เจ้าหน้าที่จึงได้รับคำสั่งให้เปิดกระเป๋าตรวจทุกใบที่น่าสงสัยที่มาจากประเทศไทย หนวดเคราและผมเผ้ายาวของข้าพเจ้าอาจเป็นสาเหตุให้ถูกตรวจค้น ไม่ว่าจะอย่างไร ชายร่างใหญ่ผิวดำนี้ตะคอกถามถึงหม้อดินเผาสังคโลก ซึ่งข้าพเจ้าก็ได้อธิบายว่าคืออะไร และกำลังจะรับสารภาพว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบว่านี่เป็นของหนีภาษีหรือไม่

แต่เจ้าหน้าคนนั้นก็กล่าวขึ้นด้วยสีหน้าเรียบเฉยว่า วัตถุโบราณนี้สามารถนำเข้าประเทศได้โดยไม่ต้องเสียภาษี แล้วในทันใดเขาก็ถามข้าพเจ้าด้วยภาษาไทยอันชัดเจนว่า “คุณรู้จักบุญสนองหรือเปล่า”

ลองนึกถึงสีหน้าประหลาดใจของข้าพเจ้าในตอนนั้น ข้าพเจ้านิ่งอึ้งไปชั่วขณะ ชายที่ดูน่ากลัวนี้หัวเราะออกมาดังลั่นบอกว่า คุณต้องรู้จักบุญสนองแน่เพราะอยู่คอร์แนล หลังจากรวบรวมสมาธิได้ข้าพเจ้าก็พูดคุยอย่างสนุกสนานกับเขา ถึงชีวิตทหารช่วงสงครามเวียดนาม และเป็นมาอย่างไรจึงได้รู้จักบุญสนองในฮาวายจนกลายเป็นเพื่อนกัน แย่หน่อยที่ข้าพเจ้าได้ลืมชื่อเจ้าหน้าที่ผู้นั้นไปเสียแล้ว ไม่เช่นนั้นเขาคงจะมีเรื่องเล่ามากมายมาเล่าให้ฟัง


หลังจากที่ข้าพเจ้ากลับไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว บุญสนองจะแวะแวียนมาหาที่คณะรัฐศาสตร์อยู่เนืองๆ เพื่อรับประทานอาหารกลางวันด้วยกันที่โรงอาหารของคณะ ขณะนั้นเขาได้ตัดสินใจที่จะลงสู่เวทีการเมืองแล้ว

เขาไม่ได้มาคุยเรื่องการเมือง เพียงแต่จะได้มาเจอกันไม่ห่างหายไปเท่านั้น ส่วนมากเขาจะออกมาจากห้องทํงาานที่คณะรัฐศาสตร์ของปราโมทย์ นาครทรรพ ทั้งบุญสนอและปราโมทย์เป็นเพื่อนเรียนมาด้วยกันตั้งแต่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ทั้งคู่ตัดสินใจทิ้งงานวิชาการเพื่อเข้าสู่การเมือง

ข้าพเจ้าก็เช่นเดียวกับเพื่อนอีกหลายคน ที่ประหลาดใจกับความมุ่งมั่นต่อภารกิจเพื่อมวลชนของบุญสนองที่จะจัดตั้ง และนำพาพรรคสังคมนิยมในประเทศที่อนุรักษ์นิยมอย่างยิ่งเช่นประเทศไทย

เราทุกคนทราบดีถึงอันตรายแต่บุญสนองยืนยันว่า เขาไม่หวาดหวั่นและมีปืนพกติดตัวไว้ป้องกันตัว พวกเราเป็นห่วงกังวลความปลอดภัยของเขาแต่ก็นับถือความมุ่งมั่นและการอุทิศตัวของเขา

การลอบสังหารเขาในเวลาต่อมานำความเศร้าโศกเสียใจมายังพวกเราทุกคน แม้จะมีผลทำให้พวกเราเศร้าหมองแต่ก็ยิ่งเพิ่มความมุ่งมั่นที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่งในขบวนเหยียดยาวของเพื่อนฝูง ผู้นิยมชมชอบ และนิสิตนักศึกษาที่ไปร่วมพิธีศพ

ความตายของบุญสนองให้บทเรียนสำคัญที่เปลี่ยนชีวิตของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง เราอาจจะไม่มีความกล้าหาญหรือกล้าเผชิญอย่างบุญสนอง แต่เราก็สามารถทำสิ่งเล็กๆ ตามความเชื่อที่เรายึดมั่นได้ พวกเราหลายคนพยายามจะทำอะไรที่มีความหมาย มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองภายในระบบราชการ ข้าพเจ้าก็ทำเช่นนั้นแต่เพียงชั่วเวลาสั้นๆ ประสบการณ์นั้นสร้างความผิดหวังให้กับข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงเลือกทางออกที่ง่ายๆ โดยตัดสินใจที่จะใช้ชีวิตการทำงานที่เหลือในสถาบันการศึกษาที่มีบรรยากาศที่ปลอดภัย

ข้าพเจ้าลาออกจากงานที่ธรรมศาสตร์และรัฐบาลเปรม แล้วกลับไปที่คอร์แนลเพื่อสอนนักศึกษาให้รู้จักมีศรัทธาความเชื่อมั่นและการค้นหาความจริง ความเชื่อมั่นที่มีต่อความยุติธรรมในสังคมและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่บุญสนองให้แรงบันดาลใจกับข้าพเจ้านี้ ได้ถูกย้ำเตือนปลูกขึ้นใหม่ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าหยิบจานเมลามีนและชามใบนั้นที่บุญสนองทิ้งไว้ให้

หลายปีผ่านไปข้าพเจ้ายังนึกถึงรอยยิ้มและเสียงอันดังกังวานของเขา
*******************

"กลุ่มนักคิดนักเขียนเพื่อชีวิตและสังคม" ขอเชิญร่วมงาน "ปลุกชีวิต บุญสนอง บุณโยทยาน ตื่นตระหง่านเดินสู่สังคมนิยม"

เพื่อรำลึกถึงการครบรอบ 34 ปีของการสูญเสียดร.บุญสนองบุณโยทยาน

ร่วมรำลึกโดยผู้ร่วมอุดมการณ์

-จรัล ดิษฐาอภิชัย
-วัฒน์ วัลยางกูร
และ ทองธัช เทพารักษ์

หลังจากนั้น เชิญฟังการพูดคุยในหัวข้อ "บุญสนอง บุณโยทยาน อยู่ตรงไหนในใจนักคิดนักเขียนไทยร่วมสมัย"

โดย ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ และ คำ ผกา
ดำเนินรายการโดย วาด รวี

ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 13.00-17.00 น.