ที่มา Thai E-News
โดย Marwaan Macan-Markar สำนักข่าวอินเตอร์เพรส
แปลและเรียบเรียง แชพเตอร์ ๑๑ เวบลิเบอรัลไทย
ขอนแก่น – ศักดา อ้อพงษ์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ด้วยภาพที่เปรียบเสมือนหัวหมู่ที่วุ่นไปกับการปลุกระดมในการเคลื่อนไหวประท้วงของชาวรากหญ้าเพื่อประจันหน้ากับรัฐบาลชุดปัจจุบันของประเทศไทย
ก่อนที่เขาจะปลดเกษียณ ศักดา วัย ๗๘ ปี ซึ่งพำนักในบ้านหลังงามในตัวจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เคยเป็นข้าราชการที่มีบทบาทสำคัญในราชอาณาจักรแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นี้ ชีวิตข้าราชการของเขาเคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ ซึ่งเป็นตำแหน่งหลักของกระทรวงมหาดไทย อันเป็นกระทรวงที่มีอำนาจมากที่สุด และอนุรักษ์นิยมมากที่สุดของรัฐบาลไทย
อำนาจของกระทรวงมหาดไทยครอบคลุมไปถึงการแต่งตั้งข้าราชการส่วนท้องถิ่น รวมไปถึงการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อทำการสอดส่องตัดตอนแนวความคิดด้านประชาธิปไตย โดยคอยยัดเยียดข่าวสารกระตุ้นให้เกิดความคลั่งชาติอย่างสุดโต่งมานานนับทศวรรษ
ตัวศักดาเองเคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯมาถึงห้าปี รวมทั้งดำรงตำแหน่งข้าราชการระดับสูงสุดของขอนแก่นมาถึงสองสมัย
แต่เวลานี้ อดีตผู้ว่าฯที่คล่องแคล่วผู้นี้ มองตัวเองว่าเป็นหนึ่งใน “กลุ่มผู้วางกลยุทธ” ของจังหวัดนี้ โดยการจัดระเบียบของวาระในการประท้วงของกลุ่มนปช. ซึ่งเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลของประชาชนซึ่งสนับสนุนแนวทางการเมืองต่ออดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการลี้ภัย
ศักดาให้สัมภาษณ์ในห้องนั่งเล่นของเขาโดยสวมเสื้อสีแดงอันเป็นสัญญลักษณ์ของผุ้สนับสนุนนปช.ทั้งหมด เขาได้เปิดเผยว่า “สิ่งที่เราได้ร่วมกับกลุ่มนปช. จะเป็นการเคลื่อนไหวพิเศษสุดซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ถือได้ว่าเป็นการเคลื่อนไหวครั้งแรก และเป็นครั้งสำคัญ” “ประชาชนจากทุกสาขาอาชีพได้เข้าร่วมกับเรา – ทั้งชาวนา พ่อค้า นักธุรกิจ ทนาย ตำรวจ หรือแม้แต่ข้าราชการอย่างผม”
เขาเปิดเผยต่อว่า “ประชาชนจากหลายๆจังหวัดจะเดินทางเข้ากรุงเทพฯเพื่อร่วมการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดง” “ผมจะไปร่วมชุมนุมด้วย ไม่ได้เป็นโฆษกบนเวทีหรอกนะ แต่ผมจะทำงานอยู่หลังเวที เพื่อความสำเร็จของเรา”
และบทบาทที่คล้ายผู้อำนวยการฝ่ายปฎิบัติการของเสื้อแดงซึ่งเดินทางมาจากหลายที่ เขาเป็นคนต้นคิดในการวางแบบแผนเพื่อให้เสื้อแดงได้ยึดถือปฎิบัติ ส่วนหนึ่งของการปฎิบัติการนั้นรวมถึงเอกสารเล่มกระทัดรัดสี่หน้า – “นปช.: แนวทางการปฎิบัติ” – ซึ่งได้แจกจ่ายให้กับครอบครัวนปช.ในจังหวัดขอนแก่น และกระจายไปตามหลายหมุ่บ้านทั่วทั้งจังหวัดซึ่งมีอาชีพทำนา และทำไร่อ้อยนี้”
อุทัย คำทาบุตร แห่งหมู่บ้านโนนสมบูรณ์รับเอกสารแนะแนวด้วยความยินดี ซึ่งเป็นการแจ้งให้ชาวบ้านอย่างเขาได้ทราบถึงการณรงค์ต่อต้านของกลุ่มนปช. เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนที่มีความคิดเห็นเหมือนกันได้ “ร่วมมือกัน และเรียกร้องให้ได้มาถึงประชาธิปไตยซึ่งมีสถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง ทุกคนจะต้องได้รับการปฎิบัติอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้ประเทศไทยเป็นอย่าง “นิติรัฐ” ภายใต้หลักนิติธรรม”
เนื้อหาในเอกสารแนะแนวมีต่อว่า “ประชาชนที่มีความเห็นต่าง หรือขัดแย้งกันนั้น ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นศัตรูกัน” “ผู้มีความคิดเห็นเหมือนกันควรปฎิบัติต่อกันด้วยความเอื้อเฟื้อ และด้วยความรัก เราจะต้องมีความเห็นอกเห็นใจ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน”
และคำพูดเหล่านี้จะได้พิสูจน์กันให้เห็นในวันที่ ๑๒ มีนาคมที่ใกล้จะถึงนี้ ทั้งอุทัย และชาวบ้านอื่นๆจากหมู่บ้านของเขา และจากหมู่บ้านใกล้เคียงจะเดินทางมุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเทพฯเพื่อร่วมการชุมนุม ในสิ่งที่แกนนำนปช.ได้สัญญาว่าจะเป็นการประท้วงต่อต้านรัฐบาลของมวลชนนับ “ล้าน”
วันประท้วงซึ่งคาดว่าจะมีผู้ร่วมมากถึงขนาดนั้น –ก่อนหน้านี้นปช.เคยรวบรวมผู้ประท้วงเสื้อแดงในกรุงเทพฯได้มากที่สุดแค่เพียงมากกว่าแสนคนนิ้ดหน่อยเมื่อต้นปีที่แล้ว – เป็นวันที่ตรงกับช่วงโรงเรียนปิดเทอมในกลางเดือนมีนาคม – “เป็นช่วงตรงกับวันปิดเทอม เด็กๆไม่ต้องไปโรงเรียน พ่อแม่จะได้ร่วมประท้วงโดยไม่ต้องกังวลมากนัก” นี่เป็นคำพูดของบิดาคนหนึ่ง ซึ่งมีอาชีพทำนากล่าวไว้
การข่มขวัญของกลุ่มเสื้อแดงซึ่งจะเคลื่อนพลเข้ากรุงเทพฯ สร้างความตื่นเต้นให้แม้แต่อดีตสมาชิกของพรรคคอมมูนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท) ซึ่งเป็นพรรคต้องห้ามบางคน ในระหว่างการกลับมารวมตัวกันใหม่เมื่อสองวันก่อนของอดีตสมาชิกพคท.ในจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งใกล้เขตชายแดนลาว-ไทยนั้น แหล่งข่าวซึ่งร่วมในการประชุมครั้งนี้กล่าวว่า พคท.ได้มีการเสนอในการ “ช่วยร่วมจัดระบบ” ให้กับแกนนำนปช.คนหนึ่ง
หากแกนนำนปช.คนนั้นยอมรับข้อเสนอจากอดีตเจ้าหน้าที่พคท.ต้องห้ามนั้น จะเป็นการเพิ่มขยายแนวรบ ซึ่งการชุมนุมจะเป็นการรวมทั้งกลุ่มการเมือง และกลุ่มทางสังคมเข้าด้วยกันภายใต้ชื่อนปช. เพื่อโค่นรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่เข้ามามีอำนาจเมื่อปีที่แล้วจากวิธีแอบตกลงลับๆกับกองทัพอันทรงแสนยานุภาพของประเทศ แทนที่จะเข้ามามีอำนาจจากคะแนนเสียงของประชาชนส่วนมาก
เสียงสนับสนุนตัวจริงเสียงจริงของนปช. ส่วนใหญ่มาจากมวลชนจากจังหวัดภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากกว่า ๓๐ จังหวัด ประชาชนเหล่านี้ต่างโกรธแค้นที่ทักษิณ ตัวแทนของของพวกเขาถูกโค่นอำนาจลง ทักษิณได้รับเสียงสนุนอย่างท่วมท้นจากชาวชนบทซึ่งมีอาชีพทำนาในดินแดนใจกลางของภูมิภาค เนื่องจากนโยบายที่ทักษิณได้วางไว้สำหรับคนยากจนในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี ๒๕๔๔ จนถึงกลางปี ๒๕๔๙
รัฐบาลทักษิณ ซึ่งได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นตามกติกาการเลือกตั้งถึงสองสมัย ถูกกองทัพใช้กำลังก่อการรัฐประหารช่วงชิงอำนาจเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๔๙ เป็นการปล้นอำนาจครั้งที่ ๑๘ ของราชอาณาจักร รัฐบาลทหารไม่รอให้เสียเวลา รีบตั้งข้อหาใช้อำนาจในทางมิชอบ และทำการทุจริตต่อทักษิณในทันที ทักษิณซึ่งเป็นมหาเศรษฐีจากธุรกิจโทรคมนาคมมาก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี
ชะตากรรมในทรัพย์สิน ๗๖,๖๐๐ ล้านบาทของทักษิณได้ถูกตัดสินเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ เมื่อศาลอาญาฯมีคำพิพากษาในคดีประวัติศาสตร์ว่า ทักษิณกระทำความผิดที่ร่ำรวยขี้นมาโดยใช้อำนาจในทางมิชอบในขณะดำรงตำแหน่งนายก และผลประโยชน์ทับซ้อนอันเป็นที่แน่ชัด
คำตัดสินหมายถึงรัฐบาลสามารถริบทรัพย์สินซึ่งถูกอายัดไว้แล้วของทักษิณจำนวน ๔๖,๐๐๐ ล้านบาท บรรยากาศอึมครึมแห่งความไม่แน่นอนในทรัพย์สินที่เหลืออีก ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งศาลกล่าวว่าเป็นของทักษิณก่อนที่เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
ผู้สนับสนุนนปช.ซึ่งสำนักข่าวไอพีเอสได้ไปสัมภาษณ์ต่างไม่ยอมรับในคำตัดสินนั้น โดยกล่าวว่านี่เป็นเพียงการตัดสินของศาลแค่ยกแรก ยังมีคดีอื่นอีกเรียงตามมาเป็นหางว่าวต่อทักษิณ และพรรคพวกของเขานับตั้งแต่การทำรัฐประหารในปี ๒๕๔๙ ทักษิณซึ่งกำลังลี้ภัยอยู่ในขณะนี้เพื่อเลี่ยงโทษจำคุกสองปีในคดีทุจริตอื่น เป็นการสะท้อนทัศนคติแนวเดียวกัน
นักจัดรายการของสถานีวิทยุชุมชนฝ่ายสนับสนุนนปช. กล่าวว่า คำตัดสินคาดว่าจะเห็นคนเสื้อแดง “ที่โกรธแค้น” มุ่งหน้าเข้าร่วมการประท้วงมากขี้น ซึ่งจะมีขี้นในกรุงเทพตั้งแต่วันที่ ๑๒-๑๔ มีนาคม
หนึ่งในเสื้อแดงอย่างเช่นวนิดา พิมพ์ดีด มองคดีฟ้องทักษิณ และพรรคพวกของทักษิณว่า เป็นการยืนยันซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า “มีแค่ฝ่ายเดียวเท่านั้นแหละที่โดนลากตัวขี้นศาลโดยหาว่ากระทำความผิด แต่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นพวกนักการเมือง และพวกมีอิทธิพลที่ทำผิดกฎหมาย แต่กลับรอดตัวไปได้”
ชาวไร่ปศุสัตว์วัย ๔๘ ปีกล่าวว่า “เราทั้งหมดตกเป็นเหยื่อของระบบที่ไม่มีความเป็นธรรมนี้” เธอยังชี้ให้เห็นว่าการทำรัฐประหาร และการตัดสินของศาลอันไม่ชอบมาพากลในเดือนธันวาคม ๒๕๔๑ – ได้สั่งยุบพรรคนิยมทักษิณซึ่งได้รับการเลือกตั้งให้เข้ามาบริหารประเทศ – อันหมายถึงว่า “ขาดความเคารพต่อรัฐบาล ซึ่งเราผู้ซึ่งยากจนได้ลงคะแนนเลือกกันมา”
เธอเปิดเผยว่า เป้าหมายของเสื้อแดงในการประท้วงที่ใกล้จะเข้ามาถึงนี้ คาดว่าจะเป็นใครก็ตามซึ่ง “ได้รับประโยชน์จากการทำให้พวกเราต้องตกเป็นเหยื่อของระบบการเมือง”
หนึ่งในบัญชีรายชื่อ “ศัตรูของประชาธิปไตย” ที่นักเคลื่อนไหวนปช.ของจังหวัดนี้ และจังหวัดอุดรธานีที่อยู่ใกล้เคียงใช้เรียกนั้น คือตัวจักรทางการเมืองที่มีฐานในกรุงเทพฯ รวมไปถึงศักดินาที่ได้รับการปกป้อง ข้าราชการหัวโบราณ และกองทัพที่ทรงพลัง