WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, March 3, 2010

รัฐบาลพลัดถิ่นและศาลโลก เครื่องมือในการผ่าทางตันประเทศไทย

ที่มา Thai E-News

เมื่อประชาชนมากันเป็นล้านคน จนต่างประเทศมั่นใจว่านายกทักษิณฯ ได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลาม ก็สามารถประกาศเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นได้ รัฐต่างประเทศที่เข้าใจสถานการณ์จะรับรอง จากนั้นร้องขอให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาตรวจสอบเหตุผิดปกติในประเทศไทย ตั้งแต่การปิดสนามบิน การฆ่าประชาชน จนถึงสงกรานต์เลือดเพื่อสืบหาผู้สั่งการไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ รวมถึงเรื่องการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ซึ่งหมายถึงบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมอาจถูกนำไปดำเนินคดีในต่างประเทศได้ด้วย

เมื่อนั้นคำว่า “ดาบนี้ คืนสนอง” จะคืนไปยังผู้ที่บงการไม่มีเว้น การยึดทรัพย์อย่างมโหฬารพันลึก สุดที่จะคาดคิดกำลังจะเกิดขึ้นเพราะหลักฐานพยานต่างๆมีครบถ้วนด้วยความอหังการของผู้มีอำนาจนั้นเอง


โดย Pegasus
3 มีนาคม 2553

ถ้าจะกวาดตามองหาสาเหตุปัญหาการเมืองของประเทศไทยแล้ว ก็จะสามารถพบได้ว่าเกิดขึ้นมาจากรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเริ่มตั้งแต่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2475 นั่นเลยทีเดียว

ที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเรื่องทางวิชาการ ขอให้ทราบว่าสิ่งนี้เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ ผู้เขียนจะปล่อยให้ท่านผู้อ่านพิจารณาข้อมูลด้วยตัวเอง ถ้ายังมองอะไรไม่เห็น ก็โปรดพิจารณาใหม่อีกครั้ง

หลักการทั่วไปของรัฐธรรมนูญที่เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในประเทศต่างๆทั่วโลกจะคล้ายคลึงกันจะมีก็แต่ข้อปลีกย่อยแตกต่างกันไปบ้าง อย่างไรก็ตามก็พอที่จะสรุปออกมาได้ดังนี้คือ

“...พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ

อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนโดยตรง หรือโดยปริยายก็ตามที เช่นให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นองค์กรปกครองสูงสุดโดยระบุไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนแต่เขียนไว้ว่า อำนาจอธิปไตยมาจากชาติ เป็นต้น

พระมหากษัตริย์ในบางประเทศมีความรับผิดชอบต่อสภา เช่น ต้องกระทำสัตย์ต่อหน้า หรือด้วยลายลักษณ์อักษรต่อสภาว่า จะทรงปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและรักษารัฐธรรมนูญ ในบางประเทศเช่น ภูฎาน ของกษัตริย์จิกมี่ ถึงขนาดให้รัฐสภาสามารถถอดถอนองค์พระมหากษัตริย์ได้ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าอย่างมาก และจะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ในภูฎานมีความมั่นคงอย่างมากต่อไปในอนาคต

พระราชกรณียกิจใดที่เป็นงานฝ่ายบริหารต้องได้รับความเห็นชอบสอดคล้องจากฝ่ายบริหารด้วยการลงนามร่วม


รัชทายาทในบางประเทศกำหนดลำดับไว้ตั้งแต่วันพระสูติ แต่ไม่ว่าจะเป็นรัชทายาท การเสด็จขึ้นทรงราชย์ หรือผู้สำเร็จราชการฯ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเสมอ ในบางประเทศกำหนดให้ คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตี หรือ ประธานรัฐสภาเป็นผู้สำเร็จราชการ หรือ ในบางประเทศต้องให้รัชทายาทตามลำดับเป็นผู้สำเร็จราชการก่อน หากไม่มีก็จะเป็นฝ่ายประชาชนทางใดทางหนึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการ ไม่มีองคมนตรีมาเกี่ยวข้องในทางใดๆเลย

ไม่มีบทบาทขององคมนตรีกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ


พระราชอำนาจจะถูกจำกัดไว้เสมอตามกฎหมายว่าจะทรงปฏิบัติอะไรได้บ้าง ในที่นี้จะขอยกของอังกฤษมาพอเป็นสังเขป ได้แก่
-ทรงเป็นประมุขในบทบาททางพิธีการ
-ต้องนับถือศาสนาคริสต์นิกายอังกฤษ
-อำนาจบริหารได้รับคำแนะนำจากนายกรัฐมนตรี เช่นการแต่งตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ พระราชาคณะและผู้พิพากษา
-มีพระราชดำรัสนโยบายของรัฐบาลที่รัฐบาลร่างทูลเกล้าฯให้ในวันเปิดประชุมสภาเดือนพฤศจิกายน และมีเท่านั้น
-อำนาจดั้งเดิมที่ไม่เกี่ยวข้องกับอำนาจอธิปไตยให้เป็นไปตามประเพณีดั้งเดิม
-ทรงมีพระราชอำนาจในการยุบสภา เรียกประชุมสภา ประกาศสงคราม ทำสนธิสัญญากับต่างประเทศ โดยคำแนะนำของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติแล้วแต่กรณี
-และสุดท้ายที่สำคัญมาก คือ รัฐบาลต้องรับผิดชอบทางการเมืองต่อพระมหากษัตริย์(ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า The king can do no wrong. มีความหมายว่า ฝ่ายรัฐบาลจะเป็นผู้ถวายงานทั้งหมดให้ ด้วยการลงนามร่วมกับองค์พระมหากษัตริย์ หรือแปลเป็นภาษาชาวบ้านง่ายๆว่า องค์พระมหากษัตริย์ไม่อาจทรงงานได้เองแต่เพียงพระองค์ตามลำพัง ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้กลับไปเป็นระบอบราชาธิปไตย และเป็นการป้องกันไม่ให้องค์พระมหากษัตริย์ทรงงานที่อาจกระทบต่อประชาชนได้)...”


เพื่อเป็นการยืนยันว่าพระราชบัญญัติธรรมนูญปกครองแผ่นดินสยาม 2475 เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขจึงขอนำมาเสนอไว้ในบางตอน โดยขอให้พิจารณาเปรียบเทียบกับหลักการของสาก ลหรืออย่างน้อยของอังกฤษที่เป็นต้นแบบ ดังนี้

ฯลฯ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ใต้ธรรมนูญการปกครอง แผ่นดินสยาม เพื่อบ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น และ โดยที่ได้ทรงยอมรับตามคำร้องของคณะราษฎร จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้น ไว้โดยมาตราต่อไปนี้

หมวด ๑ ข้อความทั่วไป

มาตรา ๑ อำนาจสูงสุดของประเทศนั้นเป็นของราษฎร ทั้งหลาย

มาตรา ๒ ให้มีบุคคลและคณะบุคคลดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ เป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรตามที่จะได้กล่าวต่อไปในธรรมนูญ คือ

๑. กษัตริย์

๒. สภาผู้แทนราษฎร

๓. คณะกรรมการราษฎร

๔. ศาล

หมวด ๒ กษัตริย์

มาตรา ๓ กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ พระราชบัญญัติก็ดี คำวินิจฉัยของศาลก็ดี การอื่น ๆ ซึ่งจะมีบทกฎหมายระบุไว้โดยฉะเพาะก็ดี จะต้องกระทำในนามของกษัตริย์

มาตรา ๔ ผู้เป็นกษัตริย์ของประเทศ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว การสืบมฤดกให้เป็นไปตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พุทธศักราช ๒๔๖๗ และด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร

มาตรา ๕ ถ้ากษัตริย์มีเหตุจำเป็นชั่วคราวที่จะทำหน้าที่ ไม่ได้ หรือไม่อยู่ในพระนคร ให้คณะกรรมการราษฎรเป็น ผู้ใช้สิทธิแทน

มาตรา ๖ กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายังโรงศาลไม่ได้ เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัย

มาตรา ๗ การกระทำใด ๆ ของกษัตริย์ต้องมีกรรมการราษฎร ผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึ่งจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ


ฯลฯ

ส่วนในรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 หลังจากฝ่ายขวาเอาชนะฝ่ายคณะราษฎรในสภาได้ โดยคัดมาเฉพาะที่สำคัญ มีดังนี้

ฯลฯ

บท ทั่วไป

มาตรา ๑ สยามประเทศเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ ประชาชนชาวสยามไม่ว่าเหล่ากำเนิดหรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน

มาตรา ๒ อำนาจอธิปไตยย่อมมาจากปวงชนชาวสยาม พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุข ทรงใช้อำนาจแต่โดยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

หมวด ๑ พระมหากษัตริย์

มาตรา ๓ องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการ ผู้ใดจะละเมิดมิได้

มาตรา ๔ พระมหากษัตริย์ต้องทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก

มาตรา ๕ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย

มาตรา ๖ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติโดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร

มาตรา ๗ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี

มาตรา ๘ พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาลที่ได้ตั้งขึ้นตามกฎหมาย

มาตรา ๙ การสืบราชสมบัติท่านว่าให้ไปโดยนัยแห่งกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติ วงศ์ พ.ศ.๒๔๖๗ และประกอบด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร

มาตรา ๑๐ ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ จะได้ทรงตั้งบุคคลหนึ่งหรือหลายคนเป็นคณะขึ้นให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ ด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร ถ้าหากพระมหากษัตริย์มิได้ทรงตั้งหรือไม่สามารถจะทรงตั้งได้ไซร้ ท่านให้สภาผู้แทนราษฎรยังมิได้ตั้งผู้ใด ท่านให้คณะรัฐมนตรีกระทำหน้าที่นั้นไปชั่วคราว

มาตรา ๑๑ พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปโดยกำเนิดหรือโดยแต่งตั้งก็ตาม ย่อมดำรงอยู่ในฐานะเหนือการเมือง

ฯลฯ

เท่านี้คงมองเห็นแล้วว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขขาดหายไปตั้งแต่เมื่อใด และคำว่าทหารของพระราชากำเนิดขึ้นเมื่อใด

หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2490 ก็เกิดการรัฐประหารโดยฝ่ายขวาอนุรักษ์นิยม มีพรรคการเมืองเก่าแก่ ทหารและสื่อมวลชนบางกลุ่มร่วมมือกันดำเนินการและจัดให้มีองคมนตรี(แรกเรียกว่า อภิรัฐมนตรี) ตั้งแต่นั้น

ต่อมาเมื่อสามารถไล่สมาชิกคณะราษฎรคนสุดท้ายคือ จอมพลแปลก พิบูลย์สงคราม ออกนอกประเทศได้ ก็มีการยกเลิกวันชาติไทยคือวันที่ 24 มิถุนายนเสีย เปลี่ยนเป็นวันปลูกต้นไม้แห่งชาติ ยกเลิกกฎหมายปฏิรูปที่ดิน และต่อมาได้มีคำวินิจฉัยของศาลฎีการับรองว่าการรัฐประหารนั้นเป็นรัฎฐาธิปัตย์ ซึ่งหมายถึงเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ไม่ใช่ประชาชนอีกต่อไป

ดังนั้นปัญหาของรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นในสมัย 10 ธันวาคม 2475 นี้ มาจากการที่สภาในสมัยนั้นเต็มไปด้วยฝ่ายขวาอนุรักษ์นิยม คณะราษฎรมีเพียงจำนวนน้อย ประชาชนยังไม่รู้จักประชาธิปไตยดีพอ ดร.ปรีดี พนมยงค์ จึงต้องลี้ภัยและไปเสียชีวิตในต่างประเทศในที่สุด

บัดนี้ในศตวรรษที่ 21 เมื่อฝ่ายขวาอนุรักษ์นิยมได้อำนาจและกระทำการมากมายที่เป็นการผิดกฎหมาย ผิดต่อหลักการประชาธิปไตยแต่เนื่องจากมีเส้นใหญ่ ไม่มีใครทำอะไรได้ รัฐบาลพลัดถิ่นและศาลโลกอาจเป็นคำตอบสุดท้ายสำหรับประเทศไทย

มาดูอำนาจของรัฐบาลพลัดถิ่นตามกฎหมายระหว่างประเทศก่อน

การจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นเกิดได้ 4 แบบคือ เป็นรัฐบาลแล้วถูกไล่ด้วยสงคราม หรือการรัฐประหารนับเป็นแบบที่หนึ่ง

แบบที่สองคือมีองค์กรการเมืองที่ไม่พอใจรัฐบาลและจัดตั้งเป็นฝ่ายค้านขึ้นในต่างประเทศเป็นกรณีที่สอง (ซึ่งกรณีนี้น่าจะเข้าข่ายสำหรับไทย)

กรณีที่สามคือเป็นประเทศที่อยู่ในอีกรัฐ เช่ นรัฐฉานในพม่าประกาศแยกตัวแต่ไม่ได้จึงเป็นเพียงรัฐบาลพลัดถิ่น

หรือ กรณีที่สามารถแยกตัวได้แต่รัฐบาลไม่ยอมรับ รัฐบาลนั้นก็ประกาศเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นในพื้นที่นั้น เป็นต้น

รัฐบาลพลัดถิ่นมีอำนาจดังนี้

Actions of governments in exile

International law recognizes that governments in exile may undertake many types of actions in the conduct of their daily affairs. These actions include:

becoming a party to a bilateral or international treaty
amending or revising its own constitution
maintaining military forces
retaining (or "newly obtaining") diplomatic recognition by sovereign states
issuing identity cards
allowing the formation of new political parties
instituting democratic reforms
holding elections
allowing for direct (or more broadly-based) elections of its government officers, etc.

สรุปโดยย่อคือ สามารถติดต่อทำสัญญากับต่างประเทศ แก้ไขรัฐธรรมนูญ มีกำลังทหาร มีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศอื่น ออกบัตรประชาชน ตั้งพรรคการเมือง ปฏิรูประบบการเมือง จัดการเลือกตั้ง และแต่งตั้งหรือเลือกข้าราชการ

รัฐบาลพลัดถิ่นนี้จัดตั้งเมื่อไหร่ก็ได้ หากมีการสนับสนุนจากต่างประเทศ และภายในประเทศมากพอ ถ้าจัดตั้งแล้วควรทำอะไร คำตอบคือ

-ทำสัญญาผูกพันกับสหประชาชาติเรื่องของสิทธิมนุษยชนและศาลอาญาระหว่างประเทศหรือศาลโลก(จะกล่าวถึงภายหลัง)

-แก้ไขรัฐธรรมนูญนำรัฐธรรมนูญปี 40 มาใช้ และแก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ให้กลับไปเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่สมบูรณ์ ด้วยการนำเอา ธรรมนูญการปกครองสยาม 2475 ฉบับแรกมาใช้

-จากนั้นเพิ่มเติมมาตราในรัฐธรรมนูญกำหนดว่า การรัฐประหารไม่ใช่รัฏฐาธิปัตย์ เท่านี้ก็ทำให้รัฐธรรมนูญไม่สามารถถูกฉีกทิ้ง และมีการรับรองการกบฏของฝ่ายตุลาการได้อีกต่อไป

-หรือถ้าหากต้องการให้เข้มข้นขึ้นก็อาจกำหนดให้ประชาชนสามารถใช้อาวุธปืนยิงผู้ก่อรัฐประหารได้โดยไม่ผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับในสหรัฐฯ

-จากนั้นเรียกร้องให้ ทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร และประชาชนเลือกข้างว่า จะอยู่กับรัฐบาลฝ่ายใด เนื่องจากมีรัฐบาลสองฝ่ายภายในประเทศเดียวกัน

-นอกนั้นเป็นการยกเลิกองค์กรอิสระ สรรหา กกต.ใหม่ โดยให้ทุกพรรคการเมืองมีส่วนร่วม


หากโชคดีทุกฝ่ายยอมรับรัฐบาลพลัดถิ่นทุกอย่างก็จบ ถ้าไม่ยอมก็คงได้สู้กัน แต่เป็นการสู้กันอย่างถูกกฎหมาย ไม่มีกบฏเพราะเป็นรัฐบาลทั้งสองฝ่าย จนกว่าจะยอมแพ้กันไปข้างหนึ่ง (หมายเหตุ อันนี้เป็นหลักการทั่วไปไม่ได้เกี่ยวกับการยุยงหรือตระเตรียมการกบฏแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องของกฎหมายระหว่างประเทศ ทุกคนควรทราบไว้ อย่ารับใช้อำมาตย์ ที่กำลังจะหมดอำนาจมากนัก...)

ศาลโลกก็จะสามารถเข้ามาดูแลประเทศไทยได้ดังต่อไปนี้ (โปรดศึกษาได้จากสนธิสัญญากรุงโรม : Rome Statute )

Article 1

The Court

An International Criminal Court (‘the Court’) is hereby established. It shall be a permanent

institution and shall have the power to exercise its jurisdiction over persons for the most serious crimes of international concern

ศาลโลกนี้เรียกกันว่าศาลอาญาระหว่างประเทศ (International Criminal Court : ICC) ไม่ใช่ศาลโลกเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารศาลนั้นเรียกว่าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Criminal Justice : ICJ) ทั้งสองศาลอยู่ที่กรุงเฮกที่เดียวกันในเนเธอร์แลนด์ ศาลนี้จะเห็นว่าเกี่ยวกับคดีร้ายแรง(คือคดีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เพราะนานาชาติกำหนดให้การทำร้ายมนุษย์ด้วยกันเป็นอาชญากรรม) ที่สำคัญคือ เป็นคดีเกี่ยวกับบุคคล (persons) ดังนั้นใคร หรือคณะบุคคลใดก่อกรรมทำเข็ญกับประชาชน เตรียมรับชะตากรรมได้

Article 5

Crimes within the jurisdiction of the Court

1. The jurisdiction of the Court shall be limited to the most serious crimes of concern

to the international community as a whole. The Court has jurisdiction in

accordance with this Statute with respect to the following crimes:

(a) The crime of genocide;

(b) Crimes against humanity;

(c) War crimes;

(d) The crime of aggression.

ศาลอาญาระหว่างประเทศจะพิจารณาคดีเกี่ยวกับ การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การกระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม และการรุกรานต่างๆ

Article 7

Crimes against humanity

1. For the purpose of this Statute, ‘crime against humanity’ means any of thefollowing acts when committed as part of a widespread or systematic attack directed against any civilian population

หากสนใจเรื่องเกี่ยวกับ การกระทำอาชญากรรมต่อมนุษยชาติซึ่งมีหลายกรณีแต่หลักๆคือ การกระทำใดๆอย่างเป็นระบบและกว้างขวางโดยตรงต่อพลเมืองใดๆ

Article 25

Individual criminal responsibility

1. The Court shall have jurisdiction over natural persons pursuant to this Statute.

2. A person who commits a crime within the jurisdiction of the Court shall be

individually responsible and liable for punishment in accordance with this Statute.

3. In accordance with this Statute, a person shall be criminally responsible and liable

for punishment for a crime within the jurisdiction of the Court if that person:

(a) Commits such a crime, whether as an individual, jointly with another or

through another person, regardless of whether that other person is

criminally responsible;

(b) Orders, solicits or induces the commission of such a crime which in fact

occurs or is attempted;

(c) For the purpose of facilitating the commission of such a crime, aids, abets

or otherwise assists in its commission or its attempted commission,

including providing the means for its commission;

(d) In any other way contributes to the commission or attempted commission

of such a crime by a group of persons acting with a common purpose. Such

contribution shall be intentional and shall either:

(i) Be made with the aim of furthering the criminal activity or criminal

purpose of the group, where such activity or purpose involves the

commission of a crime within the jurisdiction of the Court; or

(ii) Be made in the knowledge of the intention of the group to commit

the crime;

(e) In respect of the crime of genocide, directly and publicly incites others to

commit genocide;

(f) Attempts to commit such a crime by taking action that commences its

execution by means of a substantial step, but the crime does not occur

because of circumstances independent of the person's intentions.

However, a person who abandons the effort to commit the crime or

otherwise prevents the completion of the crime shall not be liable for

punishment under this Statute for the attempt to commit that crime if that

person completely and voluntarily gave up the criminal purpose.

มาตรานี้โดยสรุปคือ การเป็นผู้กระทำ ผู้สนับสนุน ผู้สั่งการทั้งทางตรง ทางอ้อมก็สามารถนำมาขึ้นศาลได้หมด ทั้งผู้ที่ยุยง ทั้งผู้ที่ออกนโยบาย อย่างเช่นกรณีผู้นำเซอร์เบีย และ กรณีรวันดาที่ทั้งผู้นำและเจ้าของสำนักพิมพ์ที่ยุยงให้มีการฆ่ากันต้องโทษประหารชีวิตทั้งคู่

Article 28

Responsibility of commanders and other superiors

In addition to other grounds of criminal responsibility under this Statute for crimes within the

jurisdiction of the Court:

(a) A military commander or person effectively acting as a military

commander shall be criminally responsible for crimes within the

jurisdiction of the Court committed by forces under his or her effective

command and control, or effective authority and control as the case may

be, as a result of his or her failure to exercise control properly over such

forces, where:

(i) That military commander or person either knew or, owing to the

circumstances at the time, should have known that the forces

were committing or about to commit such crimes; and

(ii) That military commander or person failed to take all necessary

and reasonable measures within his or her power to prevent or

repress their commission or to submit the matter to the competent

authorities for investigation and prosecution.

(b) With respect to superior and subordinate relationships not described in

paragraph (a), a superior shall be criminally responsible for crimes within

the jurisdiction of the Court committed by subordinates under his or her

effective authority and control, as a result of his or her failure to exercise

control properly over such subordinates, where:

(i) The superior either knew, or consciously disregarded information

which clearly indicated, that the subordinates were committing or

about to commit such crimes;

(ii) The crimes concerned activities that were within the effective

responsibility and control of the superior; and

(iii) The superior failed to take all necessary and reasonable measures

within his or her power to prevent or repress their commission or to

submit the matter to the competent authorities for investigation and prosecution.


มาตรานี้ บัญญัติสำหรับผู้คุมหน่วยทหารโดยเฉพาะ และแม้แต่เป็นหัวหน้าหน่วยงาน ลูกน้องไปทำร้ายประชาชนไม่ห้ามปรามเท่าที่ควรก็โดนด้วยในฐานะเดียวกัน กลุ่มแม่ทัพ นายกองทั้งหลายโปรดทราบว่าวันนี้คือศตวรรษที่ 21 ไม่มีใครยินยอมอยู่ภายใต้พวกท่านอีกแล้ว

Article 70

Offences against the administration of justice


1. The Court shall have jurisdiction over the following offences against its administration of justice when committed intentionally:


มาตรานี้ยกมาเพียงหัวข้อให้ทราบว่าการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมที่ได้ทำกันเป็นล่ำเป็นสันในประเทศไทยด้วยนึกฝันว่าไม่มีใครมาทำอะไรได้ หลงผิดไปว่าอำนาจอธิปไตยอยู่ที่กลุ่มพวกของตัวเอง ก็จะถูกพิจารณาคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศนี้ได้ด้วยเช่นกัน ตำรวจ อัยการ ตุลาการและผู้บงการท่านใดอยากขนหัวลุก กรุณาไปอ่านกฎหมายข้อนี้ได้


อยากจะสรุปให้เห็นภาพอย่างย่อๆว่า เมื่อประชาชนมากันเป็นล้านๆคน การสนับสนุนจากประชาชนมหาศาลจนต่างประเทศมั่นใจว่านายกทักษิณฯ ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างล้นหลาม นายกทักษิณฯ สามารถประกาศการเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นได้ รัฐต่างประเทศที่เข้าใจสถานการณ์ในประเทศไทยดังกล่าวจะรับรองรัฐบาลนายกทักษิณฯ ณ เวลานั้นประเทศไทยจะมีสองรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายระหว่างประเทศ (ไม่เกี่ยวกับกิจการภายในประเทศ) จากนั้นข้าราชการทั้งพลเรือน ทหาร ตำรวจที่มีจิตใจเป็นประชาธิปไตยจะเข้าร่วมกับประชาชนในการต่อสู้เพื่ออิสรภาพของเขา ถ้าการต่อสู้จบลงเร็ว ก็มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยท่านนายกทักษิณฯ มีการปฏิรูปการเมืองโยกย้ายข้าราชการที่เป็นฝ่ายเผด็จการในทันทีโดยไม่ต้องติดขัดกฎหมายใดๆ เช่นการยกเลิกองค์กรอิสระ การแต่งตั้งบุคลากรทางการเมือง ฯลฯ

จากนั้น ร้องขอให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเข้ามาตรวจสอบเหตุผิดปกติในประเทศไทย ตั้งแต่การปิดสนามบิน การฆ่าประชาชน จนถึงสงกรานต์เลือดและการปะทะกันกับฝ่ายเผด็จการ เพื่อสืบหาผู้สั่งการ ผู้ปฏิบัติการ ผู้สนับสนุน ไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ รวมถึงเรื่องการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ซึ่งหมายถึงบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมอาจถูกนำไปดำเนินคดีในต่างประเทศได้ ด้วยมาตรฐานสากลของนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตัดสินของบางศาลและการกระทำของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมก่อนไปสู่ศาลอีกหลายหน่วยงานและหลายๆท่าน.... ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับกระบวนการยุติธรรมสากลต่อไป

เมื่ออำนาจอธิปไตยของประชาชนถูกปล้นไปและได้ทำทารุณกรรมกับประชาชนคนไทย ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเหมือนไพร่ ทาส ตลอดมาหลายสิบปี บัดนี้ถึงเวลาที่จะต้องนำปัญหาประเทศไทยขึ้นไปสู่ชุมชนระหว่างประเทศเพื่อชี้ขาดอนาคตประเทศไทยและผ่าทางตันให้กับประชาชนคนไทย ซึ่งแน่ละอยู่บนพื้นฐานของกระบวนการประชาธิปไตยสากลที่ทุกคนพึงปรารถนา และเมื่อนั้นคำว่า “ดาบนี้ คืนสนอง” จะคืนไปยังผู้ที่บงการและผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดไม่มีเว้น การยึดทรัพย์อย่างมโหฬาร พันลึก สุดที่จะคาดคิดกำลังจะเกิดขึ้นเพราะหลักฐานพยานต่างๆมีครบถ้วนด้วยความอหังการของผู้มีอำนาจนั้นเอง จึงขอปิดท้ายด้วยโคลงของศรีปราชญ์ที่ ท่านนายกทักษิณฯได้ยกขึ้นมาแล้วว่า

“ ธรณี นี่นี้เป็นพยาน

เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง

เราผิดท่านประหาร เราชอบ

เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้คืนสนอง”



เหตุการณ์นี้กำลังจะเป็นจริง โปรดจับตาดู อย่ากระพริบตา ไม่นานเกินรอหลังวันที่ 14 มีนาคมนี้เท่านั้น โปรดอดทนไม่ตกหลุมล่อของฝ่ายอำมาตย์เท่านั้น เสื้อแดงก็จะได้ประชาธิปไตยเต็มใบอย่างแน่นอน


*****************